**สถานการณ์ประเทศไทยยามนี้ยังว้าเหว่ วังเวงเคว้งคว้าง การปฏิรูปประเทศตามเจตนารมณ์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังดูเลื่อนลอยไร้หลักยึด แต่ก็ต้องให้ความเป็นธรรมว่า เรื่องนี้จับต้องเป็นรูปธรรมได้ยาก จำเป็นต้องใช้เวลานาน ถึงนานมาก
แต่กระนั้นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือการปฏิรูประยะเร่งด่วน ก็ยังไปไม่ค่อยจะถึงไหนอยู่ดี
การบริหารงานภายใต้ระบอบที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย จะคาดหวังให้ประเทศเจริญรุดหน้าคงเป็นไปได้ยาก ยิ่งอยู่ภายใต้การยึดอำนาจรัฐประหารด้วยแล้ว ยิ่งยากหนัก เพราะนานาอารยประเทศไม่ยอมรับ ไม่ให้ความร่วมมือ ตั้งแง่รังเกียจรังงอน ฉะนั้น สิ่งที่ทำได้มากที่สุดเหนืออื่นใด เหนือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ก็คือ การแก้ปัญหาความขัดแย้ง สะสางปัญหาพื้นฐานภายในที่รัฐบาลทั่วไปทำได้ยากลำบาก
สิ่งที่รัฐบาลคสช. หมายมั่นปั้นมือนั่น ก็คือ ประชารัฐ ที่จะใช้เข้ามาแทนที่ ประชานิยม แต่จนถึงชั่วโมงนี้ก็ยังไม่เห็นเด่นชัดว่ามันดีกว่าตรงไหน บางเรื่องบางปัจจัยที่หลายฝ่ายมองว่าน่าจะเป็นเรื่องที่รัฐบาลควรจัดการให้ประชาชน ทำให้เป็นรัฐสวัสดิการ ก็ยังดูสับสนอลเวง ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน
เหลือบไปดูสถานการณ์ความมั่นคงที่ขณะนี้อยู่ในช่วงกระชับกระบองเข้ม เพราะอยู่ในช่วงเวลาเขม็งเกลียวไปสู่การทำประชามติ รัฐบาลต้องการกดทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในคอนโทรลให้มากที่สุด การแสดงความคิดความเห็นอะไรต่างๆ รัฐบาลต้องขอให้งดไว้ก่อนทั้งหมด
ดูไปแล้วการกระชับอำนาจเข้มข้นเหมือนตอนยึดอำนาจใหม่ๆ ยังไงยังงั้นเลยทีเดียว และก็เป็นช่องให้คนนินทาถึงความเหลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียม ระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญ กับฝ่ายคัดค้านต่อต้านรัฐธรรมนูญ
การเดินไปสู่หนทางการทำประชามติของฝ่ายหนุนสะดวกโยธินเหลือเกิน ในทางกลับกันฝ่ายฝ่ายต่อต้านล้วนเต็มไปด้วยขวากหนาม จะติดคุกติดตะรางกันวันไหนก็ไม่รู้ บรรดานักการเมืองออกมาประสานเสียงบ่นเช้าเย็นเหมือนคนแก่ว่า เกิดความไม่เท่าเทียมในจุดนี้มากเหลือเกิน
ความชอบธรรมในการทำประชามติมันอยู่ตรงไหน เมื่อถึงบทสรุปสุดท้ายแล้วจะได้รับการยอมรับหรือไม่ เสียงนินทาดังอยู่เนืองๆว่าเหมือนมัดมือชกกันฝ่ายเดียว แต่เอาเข้าจริงก็ไม่รู้ว่านักการเมือง ที่เชี่ยวชาญด้านการเลือกตั้ง จะลุยกันเต็มแรงแค่ไหน จะยอมไม่ให้มีการเลือกตั้งด้วยการไปโหวตคว่ำประชามติ จริงหรือไม่
**เสียงสะท้อนจากอดีตส.ส.ทั่วไป คล้ายกับประชาชนหลายส่วน ที่ต้องการให้มีการเลือกตั้งไว้ก่อน เหมือนไปตายเอาดาบหน้า จากนั้นค่อยมาคิดเรื่องอื่นภายหลัง มุมมองอดีตส.ส. คือขอให้เลือกตั้งเป็นผู้แทนก่อน เหมือนดึงเกมมาเล่นในมือส่วนหนึ่ง ดีกว่าปล่อยให้เขาเล่นฝ่ายเดียว ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นตรรกกะที่ถูกหรือผิดกันแน่
กระนั้นในส่วนของพรรคการเมือง หรือหัวขบวนแกนนำ จำเป็นต้องเล่นบทแม่ทัพ นำขบวนต่อต้านเผด็จการ ยอมรับไม่ได้กับเผด็จการ กติกาที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ยึดหลักประชาธิปไตยจ๋า แต่ในใจอาจจะอยากเลือกตั้งจนตัวสั่นก็ได้ ใครจะรู้ แต่เมื่อบทถูกเขียนมาแบบนี้ ก็ต้องเล่นไปตามบทแบบนั้น ไม่งั้นก็เสียเชิง เสียคะแนน เสียมวลชน การเมืองไทยมันก็ตลบแตลงแบบนี้แหละ หาความจริงแท้แน่นอนได้ยากลำบาก
ถามว่าประโคมโหมไม่รับประชามติ แล้วมั่นใจรึว่าจะได้เลือกตั้งหากประชามติไม่ผ่าน นักการเมืองก็ใช่ว่าจะมั่นใจนัก ได้แต่คิดเข้าข้างตัวเองว่า แม้ประชามติจะล้มไป คสช.ก็ยื้อเลือกตั้งไปได้ไม่ไกล เพราะทดแรงกดดันไม่ไหวอีกต่อไป แต่เอาเข้าจริงจะเป็นอย่างนั้นหรือไม่ ยังไม่มีตอบคำถามได้เต็มปาก
เหลือบมามองสถานการณ์ใกล้ตัว เหตุการณ์เฉพาะหน้า ช่วงระหว่างทางเดินไปสู่การลงประชามติ ปรากฏร่องรอยของการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ผู้เห็นต่างคือผู้ที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวัง ติดตามความเคลื่อนไหว ผู้ที่เห็นด้วย คือบุคคลธรรมดาทั่วไปไม่ต้องจับตา สถานการณ์มันเป็แบบนี้จริงๆ
เสียงข่มขู่ทั้งจากฝ่ายความมั่นคง ทหาร ตำรวจ มาเป็นคีย์เดียวกัน ฮึ่มฮั่ม งัดสารพัดกฎหมายที่มีอยู่ในมือ รวมทั้งถ้าถึงคราวจำเป็นจริงๆอาจต้องงัดมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวมาใช้ หวังใจจะกำราบปราบให้เหี้ยน
การใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กฎหมายอาญามาตรา 116 มาจัดการนักเลงคีย์บอร์ด นักเคลื่อนไหว แม้ได้ผลก็เป็นดาบสองคม เป็นการขับเน้นภาพรัฏฐาธิปัตย์ ใช้อำนาจเด็ดขาดเกินจำเป็น จับตัวก่อนตั้งข้อหา และวันนี้ปรากฏว่า กฎหมาย 2 ตัวดังกล่าวยังไม่เพียงพอ มีมาตรา 112 ข้อหาฉกรรจ์ มาฟันซ้ำกันแบบสุดสะพรึง
นัยว่าจะปราบกันไม่เหลือซาก ไม่ให้เหลือความเคลื่อนไหวแม้แต่ก้าวเดียว ข้อหา 112 ถือว่าหนักหนาสาหัส บางครั้งบางทีก็เอามาพูดซ้ำ เล่าอ้างไม่ได้ หลายข้อหาก็ถูกตั้งบนความเคลือบแคลง หลายคนก็ถูกตั้งข้อหาบนความสงสัย
แอบตั้งข้อสังเกตในใจกันว่าหวังผลทางการเมืองหรือไม่ การจับกุมคุมขังทั้งแก๊ง ทั้งเครือข่ายคนใกล้ชิด มันสมเหตุสมผลแล้วหรือยัง นั่นยิ่งทำให้การจับตาสังเกตการณ์จากภายนอก การเฝ้าดูขององค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ยิ่งเข้มข้นเช่นเดียวกัน
การร้องเรียนยูเอ็น ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบรรดาอาจารย์หนล่าสุด ล้วนเข้าเป้า ตรงประเด็น เปิดช่องให้โลกล้อมประเทศไทยมากขึ้น
เรื่องนี้แม้รัฐบาลคสช.จะแสดงท่าทีไม่สนใจ พร่ำบอกเสมอมาว่า เป็นเรื่องภายในประเทศที่สะสางกันเองได้ แต่กระนั้นต้องระมัดระวังท่าที ควรตอบโต้ด้วยความสุภาพ มิฉะนั้นมาตรการบอยคอต แซงก์ชั่น จะรุนแรงขึ้นกว่าเดิม จะยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจภายในประเทศ คนที่ปวดกะโหลกกลุ้มใจกว่าใครก็คือ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่ต้องรับหน้าเสื่อพยุงเศรษฐกิจไทย ณ ยามนี้นั่นแหละ
**บรรดาโฆษกทหาร เที่ยวออกมาพูดเอาใจนายกันอย่างสนุกปาก คิดว่ายิ่งพูด ยิ่งได้แต้ม อาจคิดผิด คนนินทาหมาดูถูก ว่าเป็นเพียงกบในกะลา เป็นนายทหารมุดหัวอยู่แต่ในกรม กอง ไม่เปิดใจ เปิดหูรับฟังเสียงภายนอก ฟังแต่ผู้บังคับบัญชา
ตรรกกะที่ใช้ได้ในจุดๆหนึ่ง อาจจะใช้ไม่ได้ในอีกจุดๆหนึ่ง ดังนั้นเลือกเดินสายกลางไว้ดีกว่า หากพลาดพลั้งถลำไปจะได้ไม่เสียหายหนักสถานการณ์การเมืองยามนี้ต้องบอกว่า ถมึงทึงสุดๆแล้วเหมือนกัน อำนาจ กฎหมาย อยู่ในการบังคับใช้ในขีดขั้นรุนแรง เหลือเพียงแค่ มาตรา 44 เท่านั้นที่ยังไม่งัดมาบังคับใช้ ในเรื่องของการรักษาความมั่นคง รักษาสถานการณ์การเดินไปสู่ประชามติไม่ให้กระเพื่อม และว่าจะไปก็ไม่ควรนำมาใช้แน่นอน เพราะมันสุดโต่ง เด็ดขาดเกินไป
น่าสนใจเหลือเกินว่าการทำประชามติครั้งนี้ ทำไมถึงต้องกด ต้องบีบคั้นกันขนาดนี้ ถ้ามันไม่ผ่านแล้วจะมีใครตายหรืออย่างไร ทำให้หวนนึกย้อนไป บางทีคนไทยกำลังฆ่ากันตาย ฝ่ายความมั่นคงไม่เห็นออกมาขึงขังกันขนาดนี้
**บางเรื่องบางราวมันก็เข้าใจยาก ตรรกกะมันจะผิดเพี้ยนไปหมดเมื่อมีเรื่องการเมืองและผลประโยชน์มาเจือปน นี่คือความจริงประเทศไทย !!!
แต่กระนั้นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือการปฏิรูประยะเร่งด่วน ก็ยังไปไม่ค่อยจะถึงไหนอยู่ดี
การบริหารงานภายใต้ระบอบที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย จะคาดหวังให้ประเทศเจริญรุดหน้าคงเป็นไปได้ยาก ยิ่งอยู่ภายใต้การยึดอำนาจรัฐประหารด้วยแล้ว ยิ่งยากหนัก เพราะนานาอารยประเทศไม่ยอมรับ ไม่ให้ความร่วมมือ ตั้งแง่รังเกียจรังงอน ฉะนั้น สิ่งที่ทำได้มากที่สุดเหนืออื่นใด เหนือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ก็คือ การแก้ปัญหาความขัดแย้ง สะสางปัญหาพื้นฐานภายในที่รัฐบาลทั่วไปทำได้ยากลำบาก
สิ่งที่รัฐบาลคสช. หมายมั่นปั้นมือนั่น ก็คือ ประชารัฐ ที่จะใช้เข้ามาแทนที่ ประชานิยม แต่จนถึงชั่วโมงนี้ก็ยังไม่เห็นเด่นชัดว่ามันดีกว่าตรงไหน บางเรื่องบางปัจจัยที่หลายฝ่ายมองว่าน่าจะเป็นเรื่องที่รัฐบาลควรจัดการให้ประชาชน ทำให้เป็นรัฐสวัสดิการ ก็ยังดูสับสนอลเวง ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน
เหลือบไปดูสถานการณ์ความมั่นคงที่ขณะนี้อยู่ในช่วงกระชับกระบองเข้ม เพราะอยู่ในช่วงเวลาเขม็งเกลียวไปสู่การทำประชามติ รัฐบาลต้องการกดทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในคอนโทรลให้มากที่สุด การแสดงความคิดความเห็นอะไรต่างๆ รัฐบาลต้องขอให้งดไว้ก่อนทั้งหมด
ดูไปแล้วการกระชับอำนาจเข้มข้นเหมือนตอนยึดอำนาจใหม่ๆ ยังไงยังงั้นเลยทีเดียว และก็เป็นช่องให้คนนินทาถึงความเหลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียม ระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญ กับฝ่ายคัดค้านต่อต้านรัฐธรรมนูญ
การเดินไปสู่หนทางการทำประชามติของฝ่ายหนุนสะดวกโยธินเหลือเกิน ในทางกลับกันฝ่ายฝ่ายต่อต้านล้วนเต็มไปด้วยขวากหนาม จะติดคุกติดตะรางกันวันไหนก็ไม่รู้ บรรดานักการเมืองออกมาประสานเสียงบ่นเช้าเย็นเหมือนคนแก่ว่า เกิดความไม่เท่าเทียมในจุดนี้มากเหลือเกิน
ความชอบธรรมในการทำประชามติมันอยู่ตรงไหน เมื่อถึงบทสรุปสุดท้ายแล้วจะได้รับการยอมรับหรือไม่ เสียงนินทาดังอยู่เนืองๆว่าเหมือนมัดมือชกกันฝ่ายเดียว แต่เอาเข้าจริงก็ไม่รู้ว่านักการเมือง ที่เชี่ยวชาญด้านการเลือกตั้ง จะลุยกันเต็มแรงแค่ไหน จะยอมไม่ให้มีการเลือกตั้งด้วยการไปโหวตคว่ำประชามติ จริงหรือไม่
**เสียงสะท้อนจากอดีตส.ส.ทั่วไป คล้ายกับประชาชนหลายส่วน ที่ต้องการให้มีการเลือกตั้งไว้ก่อน เหมือนไปตายเอาดาบหน้า จากนั้นค่อยมาคิดเรื่องอื่นภายหลัง มุมมองอดีตส.ส. คือขอให้เลือกตั้งเป็นผู้แทนก่อน เหมือนดึงเกมมาเล่นในมือส่วนหนึ่ง ดีกว่าปล่อยให้เขาเล่นฝ่ายเดียว ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นตรรกกะที่ถูกหรือผิดกันแน่
กระนั้นในส่วนของพรรคการเมือง หรือหัวขบวนแกนนำ จำเป็นต้องเล่นบทแม่ทัพ นำขบวนต่อต้านเผด็จการ ยอมรับไม่ได้กับเผด็จการ กติกาที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ยึดหลักประชาธิปไตยจ๋า แต่ในใจอาจจะอยากเลือกตั้งจนตัวสั่นก็ได้ ใครจะรู้ แต่เมื่อบทถูกเขียนมาแบบนี้ ก็ต้องเล่นไปตามบทแบบนั้น ไม่งั้นก็เสียเชิง เสียคะแนน เสียมวลชน การเมืองไทยมันก็ตลบแตลงแบบนี้แหละ หาความจริงแท้แน่นอนได้ยากลำบาก
ถามว่าประโคมโหมไม่รับประชามติ แล้วมั่นใจรึว่าจะได้เลือกตั้งหากประชามติไม่ผ่าน นักการเมืองก็ใช่ว่าจะมั่นใจนัก ได้แต่คิดเข้าข้างตัวเองว่า แม้ประชามติจะล้มไป คสช.ก็ยื้อเลือกตั้งไปได้ไม่ไกล เพราะทดแรงกดดันไม่ไหวอีกต่อไป แต่เอาเข้าจริงจะเป็นอย่างนั้นหรือไม่ ยังไม่มีตอบคำถามได้เต็มปาก
เหลือบมามองสถานการณ์ใกล้ตัว เหตุการณ์เฉพาะหน้า ช่วงระหว่างทางเดินไปสู่การลงประชามติ ปรากฏร่องรอยของการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ผู้เห็นต่างคือผู้ที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวัง ติดตามความเคลื่อนไหว ผู้ที่เห็นด้วย คือบุคคลธรรมดาทั่วไปไม่ต้องจับตา สถานการณ์มันเป็แบบนี้จริงๆ
เสียงข่มขู่ทั้งจากฝ่ายความมั่นคง ทหาร ตำรวจ มาเป็นคีย์เดียวกัน ฮึ่มฮั่ม งัดสารพัดกฎหมายที่มีอยู่ในมือ รวมทั้งถ้าถึงคราวจำเป็นจริงๆอาจต้องงัดมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวมาใช้ หวังใจจะกำราบปราบให้เหี้ยน
การใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กฎหมายอาญามาตรา 116 มาจัดการนักเลงคีย์บอร์ด นักเคลื่อนไหว แม้ได้ผลก็เป็นดาบสองคม เป็นการขับเน้นภาพรัฏฐาธิปัตย์ ใช้อำนาจเด็ดขาดเกินจำเป็น จับตัวก่อนตั้งข้อหา และวันนี้ปรากฏว่า กฎหมาย 2 ตัวดังกล่าวยังไม่เพียงพอ มีมาตรา 112 ข้อหาฉกรรจ์ มาฟันซ้ำกันแบบสุดสะพรึง
นัยว่าจะปราบกันไม่เหลือซาก ไม่ให้เหลือความเคลื่อนไหวแม้แต่ก้าวเดียว ข้อหา 112 ถือว่าหนักหนาสาหัส บางครั้งบางทีก็เอามาพูดซ้ำ เล่าอ้างไม่ได้ หลายข้อหาก็ถูกตั้งบนความเคลือบแคลง หลายคนก็ถูกตั้งข้อหาบนความสงสัย
แอบตั้งข้อสังเกตในใจกันว่าหวังผลทางการเมืองหรือไม่ การจับกุมคุมขังทั้งแก๊ง ทั้งเครือข่ายคนใกล้ชิด มันสมเหตุสมผลแล้วหรือยัง นั่นยิ่งทำให้การจับตาสังเกตการณ์จากภายนอก การเฝ้าดูขององค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ยิ่งเข้มข้นเช่นเดียวกัน
การร้องเรียนยูเอ็น ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบรรดาอาจารย์หนล่าสุด ล้วนเข้าเป้า ตรงประเด็น เปิดช่องให้โลกล้อมประเทศไทยมากขึ้น
เรื่องนี้แม้รัฐบาลคสช.จะแสดงท่าทีไม่สนใจ พร่ำบอกเสมอมาว่า เป็นเรื่องภายในประเทศที่สะสางกันเองได้ แต่กระนั้นต้องระมัดระวังท่าที ควรตอบโต้ด้วยความสุภาพ มิฉะนั้นมาตรการบอยคอต แซงก์ชั่น จะรุนแรงขึ้นกว่าเดิม จะยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจภายในประเทศ คนที่ปวดกะโหลกกลุ้มใจกว่าใครก็คือ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่ต้องรับหน้าเสื่อพยุงเศรษฐกิจไทย ณ ยามนี้นั่นแหละ
**บรรดาโฆษกทหาร เที่ยวออกมาพูดเอาใจนายกันอย่างสนุกปาก คิดว่ายิ่งพูด ยิ่งได้แต้ม อาจคิดผิด คนนินทาหมาดูถูก ว่าเป็นเพียงกบในกะลา เป็นนายทหารมุดหัวอยู่แต่ในกรม กอง ไม่เปิดใจ เปิดหูรับฟังเสียงภายนอก ฟังแต่ผู้บังคับบัญชา
ตรรกกะที่ใช้ได้ในจุดๆหนึ่ง อาจจะใช้ไม่ได้ในอีกจุดๆหนึ่ง ดังนั้นเลือกเดินสายกลางไว้ดีกว่า หากพลาดพลั้งถลำไปจะได้ไม่เสียหายหนักสถานการณ์การเมืองยามนี้ต้องบอกว่า ถมึงทึงสุดๆแล้วเหมือนกัน อำนาจ กฎหมาย อยู่ในการบังคับใช้ในขีดขั้นรุนแรง เหลือเพียงแค่ มาตรา 44 เท่านั้นที่ยังไม่งัดมาบังคับใช้ ในเรื่องของการรักษาความมั่นคง รักษาสถานการณ์การเดินไปสู่ประชามติไม่ให้กระเพื่อม และว่าจะไปก็ไม่ควรนำมาใช้แน่นอน เพราะมันสุดโต่ง เด็ดขาดเกินไป
น่าสนใจเหลือเกินว่าการทำประชามติครั้งนี้ ทำไมถึงต้องกด ต้องบีบคั้นกันขนาดนี้ ถ้ามันไม่ผ่านแล้วจะมีใครตายหรืออย่างไร ทำให้หวนนึกย้อนไป บางทีคนไทยกำลังฆ่ากันตาย ฝ่ายความมั่นคงไม่เห็นออกมาขึงขังกันขนาดนี้
**บางเรื่องบางราวมันก็เข้าใจยาก ตรรกกะมันจะผิดเพี้ยนไปหมดเมื่อมีเรื่องการเมืองและผลประโยชน์มาเจือปน นี่คือความจริงประเทศไทย !!!