"บิ๊กตู่"เปิดงานวันแรงงานประจำปี 59 รับข้อเรียกร้อง 15 ข้อ แต่บอกทำทีเดียวไม่ได้ ลั่นวันข้างหน้าค่าแรงขั้นต่ำต้อง 400 - 500 บาท หนุนเพิ่มรักษาฟันในสวัสดิการ ปรับให้เข้าสู่ระบบประกันสังคม ย้ำขอเวลาแค่ 5 ปี ให้มั่นใจ สิ่งที่ทำจะไม่ล้มเหลว
เมื่อเวลา 10.00 น.วานนี้ (1 พ.ค.) ที่ปะรำพิธีท้องสนามหลวง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เป็นประธาน พิธีเปิดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี 2559 ภายใต้คำขวัญ"แรงงานพัฒนา พาเศรษฐกิจมั่นคง ดำรงชาติ ศาสน์ กษัตริย์" โดยมี พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รมว.แรงงาน ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ข้าราชการ สภาองค์การลูกจ้าง 17 องค์กร องค์กรรัฐวิสาหกิจ และเครือข่ายแรงงานนอกระบบ ร่วมงานจำนวนมาก
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่า สถานการณ์ปัจจุบันต้องเร่งสร้างความรับรู้ว่า รัฐบาลได้ทำอะไรแล้วบ้าง และอะไรที่ไม่ได้ทำ อะไรที่ยังอยู่ในกระบวนการ ส่วนข้อเรียกร้องทั้ง 15 ข้อ ที่ทางคณะกรรมการแรงงานเสนอมานั้น จำได้ว่าปีที่แล้วบางข้อก็ขอมา บางอย่างทำไปบ้างแล้ว ซึ่งจะมีการพิจารณาต่อไป แรงงานถือเป็นกลไกสำคัญของประเทศ ถือเป็นเครื่องจักรที่มีอยู่หลายส่วนทั้งความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย คุณธรรม เครื่องจักร ทุกตัวต้องช่วยกันเพื่อเดินหน้าประเทศ
ในส่วนรัฐบาลมีวัตถุประสงค์ และวิสัยทัศน์ให้เร็วที่สุด อย่างน้อย 5 ปีข้างหน้า เราจะต้องเป็นประเทศที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ทั้งหมดจะอยู่ในแผนของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 - 15 ทุก 5 ปี เราจะต้องมีการพัฒนา ซึ่งแรงงานก็อยู่ในส่วนนี้ด้วย ขอร้องว่าเราอย่ามองวันนี้ หรือพรุ่งนี้เท่านั้น ต้องมองไปถึง 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยต้องพัฒนาไปเป็นประเทศ 4.0 ในส่วนของภาคแรงงาน รัฐบาลยืนยันว่าจะดูแลทุกภาคส่วน ทุกคนจะได้รับประโยชน์จากกองทุนต่างๆ ที่มีอยู่ จะดูแลคุ้มครองคุณภาพของแรงงาน ส่งเสริมแรงงานต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการ เพราะอีกไม่กี่ปี โลกจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคใหม่ มีการใช้คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์มากขึ้น การใช้แรงงานไม่มีฝีมือจะลดลง เราต้องเตรียมความพร้อม ขณะเดียวกัน แม้จะมีแรงงานเป็นล้านคน แต่ความต้องการยังไม่เพียงพอกับบางกิจการ ดังนั้น ทุกคนจะต้องเพิ่มพูนความรู้ของตัวเอง วันข้างหน้า จะได้สามารถเลือกงาน หรือโรงงานได้
"15 ข้อที่ขอมานั้น พูดกันมา 2 ปีแล้ว แต่จะให้กลับจากหน้ามือเป็นหลังมือ คงไม่ได้ เพราะมันพันกันหลายอย่าง ต้องมาดูว่าจะส่งผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ หรือไม่ รัฐบาลมีหน้าที่ทำให้ประเทศมีความเข้มแข็ง ประชาชนมีรายได้ ขอให้แรงงานทุกคนพัฒนาตัวเองให้มีความพร้อมกับโรงงานที่เรียกว่าอุตสาหกรรมใหม่ ผมไม่ต้องการให้มีการลดคนงาน หรือเงินเดือนเหมือนที่ต่างประเทศทำกัน ไม่ต้องห่วงรัฐบาลเองได้สนับสนุนและเอื้ออำนวยให้บริษัทต่างประเทศเข้ามาลงทุน ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มงาน อย่างปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ไอยูยู) ที่ผ่านมา มีปัญหามาก เราจำเป็นต้องแก้ทั้งระบบ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย กฎหมายที่เกี่ยวกับไอยูยู กว่า 90 ฉบับ ต้องออกใหม่ทั้งหมด ไม่รู้ว่าที่ผ่านมาทำอะไรกันอยู่ จนต้องมาเดือดร้อนทุกวันนี้ ถ้าทำให้ทุกอย่างดี มีมาตรฐานรวมทั้งกฎหมายที่สร้างความชอบธรรม ก็จะไม่เกิดปัญหาหรือผลกระทบต่างๆ"
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้แรงงานต้องมีหลักประกันความมั่นคง มีการจัดรัฐสวัสดิการเหมาะสม สร้างความเข้มแข็งในด้านทักษะแรงงาน วันหน้าค่าแรงจะต้องมากกว่า 400 -500 บาท แต่เราต้องปรับปรุงตัวเองด้วย โดยในปี 60 จะเกิดโรงงานใหม่ๆ 5 -6พันแห่ง เนื่องจากโรงงานเก่าๆ ต้องปิดตัว โรงงานใหม่ เป็นโรงงานที่มีเทคโนโลยีทันสมัยมากขึ้น ขณะนี้เรากำลังมีการพัฒนาการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ จะมีการสร้างรถไฟเยอะแยะ ซึ่งต้องมีการจ้างแรงงาน หลังจากเราหยุดพัฒนาไประยะหนึ่ง วันนี้ต้องมาเร่งให้เร็วขึ้น สิ่งที่รัฐบาลและคสช. ทำวันนี้เหมือนหัวขบวนที่คอยขับเคลื่อนประเทศ เพราะหยุดนิ่งมานาน ดังนั้น แรงงานต้องเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของแรงงาน ผู้ประกอบการเองต้องมีส่วนช่วยให้แรงงานของตัวเองได้ศึกษาต่อ เพราะวันนี้โลกแข่งขันกันสูง
"เราเองอยากให้ประเทศชาติสงบเรียบร้อยอยู่แบบนี้ เพื่อเดินหน้าไปสู่ประชาธิปไตย ไม่ใช่มาทะเลากัน ขอแค่ 5 ปี ให้มั่นใจว่าสิ่งที่ได้ทำมา ไม่ได้ล้มเหลว และที่ทำไม่ได้หวังแม้แต่คะแนนเสียงเดียว เพียงแต่ต้องการให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกคน ยืนยันรัฐบาลดูแลทุกภาคส่วนเท่าเทียมกัน" หัวหน้าคสช. กล่าว
นายกฯ กล่าวด้วยว่า แรงงานคนไหนยังไม่ได้เข้าสู่ระบบประกันสังคม ให้เข้ามา วันหน้าต้องสนับสนุนภาคการรวมกลุ่มการผลิตให้ได้ สหพันธ์แรงงาน ก็ต้องไปดูผู้ที่ประกอบการอยู่ที่บ้านด้วย ประเทศไทยมีคนว่างงานไม่ถึงร้อยละ 1 ส่วนที่ไม่ว่างงาน เพราะขยันต่อสู้ รัฐบาลต้องเสริมตรงนี้ ป้องกันเรื่องการหลอกลวงผิดกฎหมาย โดยเฉพาะแรงงานนอกระบบ หรือที่ยังไม่จดทะเบียน มักจะถูกรังแก รวมถึงต้องมีการปรับปรุงการพิสูจน์สัญชาติ เพื่อให้ผู้ประกอบการมั่นใจ ปัญหาการค้ามนุษย์ รัฐบาลนี้ไม่มีการปล่อยปะละเลยเหมือนเมื่อก่อน ใครเห็นสิ่งที่เป็นปัญหาหรือเดือดร้อนให้แจ้งมา ใครเรียกรับผลประโยชน์ หรือทุจริต จะตรวจสอบทันที สถานประกอบการที่ไม่ผ่านการตรวจแรงงานใน 5 ปี ต้องตรวจทั้งหมด ถ้าพบไม่ถูกต้องจะเล่นงานผู้ประกอบการ แต่ถ้าดีอยู่แล้ว ก็อย่าไปประท้วง ผู้ลงทุนที่มาประเทศไทยเขาขออย่างเดียวให้ประเทศไทยสงบสุขแบบที่ตนเข้ามา โดยสิ่งที่เรากำลังดำเนินการในการปฏิรูปทุกระยะ เขาเห็นด้วยทุกประการ
"สิ่งที่มีปัญหาวันนี้คือโครงการลงทุนของรัฐ 4 แสนกว่าล้าน ทำไม่ได้ เพราะมีแรงต้านจากหลายฝ่าย ถ้าปีหน้าทำไม่ได้ เงินก็จะค้างท่อ และแรงงานก็ไม่มีงานทำ อยากให้แรงงานทุกคน เป็นเหมือนสมาชิกขององค์กร เพื่อสร้างจริยธรรม ถ้าเราเรียกร้องเกินไป บริษัทก็ต้องปิดตัว เดือดร้อนไปหมด แต่ถ้ามีสิ่งใดไม่เป็นไปตามกฎหมาย ให้บอก เราจะแก้ให้ ขณะที่การคุ้มครองลูกจ้างผู้ประกันตน เรากำลังทำอยู่ทั้งหมด รวมถึงครอบคลุมแรงงานที่ทำงานบ้าน วันนี้ก็มีค่ารักษาฟันเพิ่มขึ้น ขณะนี้อยู่ในกระบวนการ นี่คือสิ่งที่เพิ่มมาจากค่าแรง 300 บาท ที่เราไม่รู้ตัว" นายกฯ กล่าว
ทั้งนี้ ระหว่างที่นายกฯ กำลังพูดอยู่บนเวทีได้มีแรงงานชายคนหนึ่งตะโกนขึ้นมา นายกฯได้หยุดฟังด้วยสีหน้าเคร่งเครียด เพราะคิดว่าจะมาตะโกนประท้วง จนทำให้นายทหารรักษาความปลอดภัยที่อยู่บนเวที ต้องเข้ามายืนประชิดนายกฯ แต่เมื่อฟังข้อความแล้วรู้ว่าเป็นกองเชียร์ ที่มาสนับสนุนนายกฯ เลยยิ้มได้ ก่อนปล่อยมุขแล้วพูดต่อ จากนั้นระหว่างที่พูดมีตัวแทนสหภาพแรงงานคนหนึ่งเป็นลม เนื่องจากสภาพอากาศร้อนอบอ้าว นายกฯจึงหยุดพูด แล้วหันหลังกลับไปกล่าวด้วยว่า "สงสัยร่างกายไม่แข็งแรง ต้องไปวิ่งรอบสนามหลวงสักรอบสองรอบก่อน" ก่อนจะอนุญาตให้ลงไปพักด้านล่างเวที
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ช่วงเช้าที่ผ่านมา พล.อ.ศิริชัย เป็นประธานประกอบพิธีสงฆ์ เนื่องในวันแรงงาน ที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า จากนั้นได้เคลื่อนขบวนเทิดพระเกียรติฯ นำโดย รมว.แรงงาน ข้าราชการ และผู้ใช้แรงงาน ไปตามถนนราชดำเนินสู่ท้องสนามหลวง
สำหรับข้อเรียกร้องของ สภาองค์การลูกจ้างสภาลูกจ้างแห่งชาติ (สสช.) ที่ยื่นต่อนายกฯ จำนวน 15 ข้อ ได้แก่ 1 . ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ฉบับที่ 87 และ ฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง 2. ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราเท่ากันทั่วประเทศ และควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค 3. ปฏิรูปสำนักงานประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทนโดยแก้ไขกฎกระทรวง เกี่ยวกับบัตรรับรองสิทธิให้ใช้ได้ทุกโรงพยาบาล ประกาศให้ผู้ประกันตน มาตรา 39 ที่ขาดจากการเป็นผู้ประกันตน เข้ามาขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ใหม่ ตามระยะเวลาที่ สปส. กำหนด และเพิ่มสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 40 ยกระดับการจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วย อุบัติเหตุฉุกเฉินตามความเป็นจริง รวมถึงเพิ่มเงินทดแทนการขาดรายได้จากอุบัติเหตุการทำงานจากเดิมร้อยละ 60 เพิ่มเป็นร้อยละ 100 ของค่าจ้าง
4. ให้รัฐบาลเร่งนำร่างพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ…และร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ... ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมของผู้ใช้แรงงานเข้าสู่สภานิติบัญญัติ 5. ให้ตรากฎหมายตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่สถานประกอบกิจการปิดกิจการ เลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย 6. ให้ยกเว้นเก็บภาษีเงินได้ กรณีค่าชดเชยของลูกจ้างภาคเอกชนและเงินตอบแทนความชอบของพนักงานรัฐวิสาหกิจ รวมถึงเงินได้อื่นๆ ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายของลูกจ้าง
7. ให้รัฐบาลตราพ.ร.ฎ. การจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบเพื่อเป็นกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามบทบัญญัติว่าด้วยกองทุนเงินสงเคราะห์ในหมวด 13 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
8. ให้สนับสนุนและผลักดันกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจ และยุติการแปรรูปหรือแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทเอกชน 9.ให้ยกระดับสำนักความปลอดภัยแรงงานเป็นกรมความปลอดภัยแรงงาน 10.ให้จัดสรรงบสนับสนุนพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย 11.ให้บังคับให้สถานประกอบกิจการ ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 11/1 กรณีแรงงานรับเหมาช่วง (ซับคอนแทรกต์) ให้ได้รับสิทธิประโยชน์เท่ากับลูกจ้างประจำโดยเคร่งครัด 12. ให้เร่งปรับปรุงกฎหมายเพื่อคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของแรงงานนอกระบบ รวมทั้งจัดตั้งกรมคุ้มครองส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบขึ้นมาดูแลโดยเฉพาะ 13. ให้จัดงบสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปฐมวัยที่ดูแลลูกหลานของผู้ใช้แรงงานที่จัดตั้งขึ้นมาแล้วอย่างต่อเนื่อง 14.รัฐบาลต้องจัดให้มีระบบบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้าเพื่อลดความเหลื่อมล้ำที่ครอบคลุมประชากรทุกคนและเพียงพอต่อการดำรงชีวิต ไม่ต่ำกว่าเส้นความยากจนหรือสัดส่วนรายได้เฉลี่ยของประเทศไทย และ 15.รมว.แรงงาน ต้องตั้งคณะทำงาน ติดตามข้อเรียกร้องวันแรงงานชาติ ปี 2559 นี้ด้วย.
เมื่อเวลา 10.00 น.วานนี้ (1 พ.ค.) ที่ปะรำพิธีท้องสนามหลวง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เป็นประธาน พิธีเปิดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี 2559 ภายใต้คำขวัญ"แรงงานพัฒนา พาเศรษฐกิจมั่นคง ดำรงชาติ ศาสน์ กษัตริย์" โดยมี พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รมว.แรงงาน ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ข้าราชการ สภาองค์การลูกจ้าง 17 องค์กร องค์กรรัฐวิสาหกิจ และเครือข่ายแรงงานนอกระบบ ร่วมงานจำนวนมาก
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่า สถานการณ์ปัจจุบันต้องเร่งสร้างความรับรู้ว่า รัฐบาลได้ทำอะไรแล้วบ้าง และอะไรที่ไม่ได้ทำ อะไรที่ยังอยู่ในกระบวนการ ส่วนข้อเรียกร้องทั้ง 15 ข้อ ที่ทางคณะกรรมการแรงงานเสนอมานั้น จำได้ว่าปีที่แล้วบางข้อก็ขอมา บางอย่างทำไปบ้างแล้ว ซึ่งจะมีการพิจารณาต่อไป แรงงานถือเป็นกลไกสำคัญของประเทศ ถือเป็นเครื่องจักรที่มีอยู่หลายส่วนทั้งความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย คุณธรรม เครื่องจักร ทุกตัวต้องช่วยกันเพื่อเดินหน้าประเทศ
ในส่วนรัฐบาลมีวัตถุประสงค์ และวิสัยทัศน์ให้เร็วที่สุด อย่างน้อย 5 ปีข้างหน้า เราจะต้องเป็นประเทศที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ทั้งหมดจะอยู่ในแผนของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 - 15 ทุก 5 ปี เราจะต้องมีการพัฒนา ซึ่งแรงงานก็อยู่ในส่วนนี้ด้วย ขอร้องว่าเราอย่ามองวันนี้ หรือพรุ่งนี้เท่านั้น ต้องมองไปถึง 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยต้องพัฒนาไปเป็นประเทศ 4.0 ในส่วนของภาคแรงงาน รัฐบาลยืนยันว่าจะดูแลทุกภาคส่วน ทุกคนจะได้รับประโยชน์จากกองทุนต่างๆ ที่มีอยู่ จะดูแลคุ้มครองคุณภาพของแรงงาน ส่งเสริมแรงงานต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการ เพราะอีกไม่กี่ปี โลกจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคใหม่ มีการใช้คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์มากขึ้น การใช้แรงงานไม่มีฝีมือจะลดลง เราต้องเตรียมความพร้อม ขณะเดียวกัน แม้จะมีแรงงานเป็นล้านคน แต่ความต้องการยังไม่เพียงพอกับบางกิจการ ดังนั้น ทุกคนจะต้องเพิ่มพูนความรู้ของตัวเอง วันข้างหน้า จะได้สามารถเลือกงาน หรือโรงงานได้
"15 ข้อที่ขอมานั้น พูดกันมา 2 ปีแล้ว แต่จะให้กลับจากหน้ามือเป็นหลังมือ คงไม่ได้ เพราะมันพันกันหลายอย่าง ต้องมาดูว่าจะส่งผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ หรือไม่ รัฐบาลมีหน้าที่ทำให้ประเทศมีความเข้มแข็ง ประชาชนมีรายได้ ขอให้แรงงานทุกคนพัฒนาตัวเองให้มีความพร้อมกับโรงงานที่เรียกว่าอุตสาหกรรมใหม่ ผมไม่ต้องการให้มีการลดคนงาน หรือเงินเดือนเหมือนที่ต่างประเทศทำกัน ไม่ต้องห่วงรัฐบาลเองได้สนับสนุนและเอื้ออำนวยให้บริษัทต่างประเทศเข้ามาลงทุน ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มงาน อย่างปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ไอยูยู) ที่ผ่านมา มีปัญหามาก เราจำเป็นต้องแก้ทั้งระบบ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย กฎหมายที่เกี่ยวกับไอยูยู กว่า 90 ฉบับ ต้องออกใหม่ทั้งหมด ไม่รู้ว่าที่ผ่านมาทำอะไรกันอยู่ จนต้องมาเดือดร้อนทุกวันนี้ ถ้าทำให้ทุกอย่างดี มีมาตรฐานรวมทั้งกฎหมายที่สร้างความชอบธรรม ก็จะไม่เกิดปัญหาหรือผลกระทบต่างๆ"
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้แรงงานต้องมีหลักประกันความมั่นคง มีการจัดรัฐสวัสดิการเหมาะสม สร้างความเข้มแข็งในด้านทักษะแรงงาน วันหน้าค่าแรงจะต้องมากกว่า 400 -500 บาท แต่เราต้องปรับปรุงตัวเองด้วย โดยในปี 60 จะเกิดโรงงานใหม่ๆ 5 -6พันแห่ง เนื่องจากโรงงานเก่าๆ ต้องปิดตัว โรงงานใหม่ เป็นโรงงานที่มีเทคโนโลยีทันสมัยมากขึ้น ขณะนี้เรากำลังมีการพัฒนาการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ จะมีการสร้างรถไฟเยอะแยะ ซึ่งต้องมีการจ้างแรงงาน หลังจากเราหยุดพัฒนาไประยะหนึ่ง วันนี้ต้องมาเร่งให้เร็วขึ้น สิ่งที่รัฐบาลและคสช. ทำวันนี้เหมือนหัวขบวนที่คอยขับเคลื่อนประเทศ เพราะหยุดนิ่งมานาน ดังนั้น แรงงานต้องเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของแรงงาน ผู้ประกอบการเองต้องมีส่วนช่วยให้แรงงานของตัวเองได้ศึกษาต่อ เพราะวันนี้โลกแข่งขันกันสูง
"เราเองอยากให้ประเทศชาติสงบเรียบร้อยอยู่แบบนี้ เพื่อเดินหน้าไปสู่ประชาธิปไตย ไม่ใช่มาทะเลากัน ขอแค่ 5 ปี ให้มั่นใจว่าสิ่งที่ได้ทำมา ไม่ได้ล้มเหลว และที่ทำไม่ได้หวังแม้แต่คะแนนเสียงเดียว เพียงแต่ต้องการให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกคน ยืนยันรัฐบาลดูแลทุกภาคส่วนเท่าเทียมกัน" หัวหน้าคสช. กล่าว
นายกฯ กล่าวด้วยว่า แรงงานคนไหนยังไม่ได้เข้าสู่ระบบประกันสังคม ให้เข้ามา วันหน้าต้องสนับสนุนภาคการรวมกลุ่มการผลิตให้ได้ สหพันธ์แรงงาน ก็ต้องไปดูผู้ที่ประกอบการอยู่ที่บ้านด้วย ประเทศไทยมีคนว่างงานไม่ถึงร้อยละ 1 ส่วนที่ไม่ว่างงาน เพราะขยันต่อสู้ รัฐบาลต้องเสริมตรงนี้ ป้องกันเรื่องการหลอกลวงผิดกฎหมาย โดยเฉพาะแรงงานนอกระบบ หรือที่ยังไม่จดทะเบียน มักจะถูกรังแก รวมถึงต้องมีการปรับปรุงการพิสูจน์สัญชาติ เพื่อให้ผู้ประกอบการมั่นใจ ปัญหาการค้ามนุษย์ รัฐบาลนี้ไม่มีการปล่อยปะละเลยเหมือนเมื่อก่อน ใครเห็นสิ่งที่เป็นปัญหาหรือเดือดร้อนให้แจ้งมา ใครเรียกรับผลประโยชน์ หรือทุจริต จะตรวจสอบทันที สถานประกอบการที่ไม่ผ่านการตรวจแรงงานใน 5 ปี ต้องตรวจทั้งหมด ถ้าพบไม่ถูกต้องจะเล่นงานผู้ประกอบการ แต่ถ้าดีอยู่แล้ว ก็อย่าไปประท้วง ผู้ลงทุนที่มาประเทศไทยเขาขออย่างเดียวให้ประเทศไทยสงบสุขแบบที่ตนเข้ามา โดยสิ่งที่เรากำลังดำเนินการในการปฏิรูปทุกระยะ เขาเห็นด้วยทุกประการ
"สิ่งที่มีปัญหาวันนี้คือโครงการลงทุนของรัฐ 4 แสนกว่าล้าน ทำไม่ได้ เพราะมีแรงต้านจากหลายฝ่าย ถ้าปีหน้าทำไม่ได้ เงินก็จะค้างท่อ และแรงงานก็ไม่มีงานทำ อยากให้แรงงานทุกคน เป็นเหมือนสมาชิกขององค์กร เพื่อสร้างจริยธรรม ถ้าเราเรียกร้องเกินไป บริษัทก็ต้องปิดตัว เดือดร้อนไปหมด แต่ถ้ามีสิ่งใดไม่เป็นไปตามกฎหมาย ให้บอก เราจะแก้ให้ ขณะที่การคุ้มครองลูกจ้างผู้ประกันตน เรากำลังทำอยู่ทั้งหมด รวมถึงครอบคลุมแรงงานที่ทำงานบ้าน วันนี้ก็มีค่ารักษาฟันเพิ่มขึ้น ขณะนี้อยู่ในกระบวนการ นี่คือสิ่งที่เพิ่มมาจากค่าแรง 300 บาท ที่เราไม่รู้ตัว" นายกฯ กล่าว
ทั้งนี้ ระหว่างที่นายกฯ กำลังพูดอยู่บนเวทีได้มีแรงงานชายคนหนึ่งตะโกนขึ้นมา นายกฯได้หยุดฟังด้วยสีหน้าเคร่งเครียด เพราะคิดว่าจะมาตะโกนประท้วง จนทำให้นายทหารรักษาความปลอดภัยที่อยู่บนเวที ต้องเข้ามายืนประชิดนายกฯ แต่เมื่อฟังข้อความแล้วรู้ว่าเป็นกองเชียร์ ที่มาสนับสนุนนายกฯ เลยยิ้มได้ ก่อนปล่อยมุขแล้วพูดต่อ จากนั้นระหว่างที่พูดมีตัวแทนสหภาพแรงงานคนหนึ่งเป็นลม เนื่องจากสภาพอากาศร้อนอบอ้าว นายกฯจึงหยุดพูด แล้วหันหลังกลับไปกล่าวด้วยว่า "สงสัยร่างกายไม่แข็งแรง ต้องไปวิ่งรอบสนามหลวงสักรอบสองรอบก่อน" ก่อนจะอนุญาตให้ลงไปพักด้านล่างเวที
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ช่วงเช้าที่ผ่านมา พล.อ.ศิริชัย เป็นประธานประกอบพิธีสงฆ์ เนื่องในวันแรงงาน ที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า จากนั้นได้เคลื่อนขบวนเทิดพระเกียรติฯ นำโดย รมว.แรงงาน ข้าราชการ และผู้ใช้แรงงาน ไปตามถนนราชดำเนินสู่ท้องสนามหลวง
สำหรับข้อเรียกร้องของ สภาองค์การลูกจ้างสภาลูกจ้างแห่งชาติ (สสช.) ที่ยื่นต่อนายกฯ จำนวน 15 ข้อ ได้แก่ 1 . ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ฉบับที่ 87 และ ฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง 2. ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราเท่ากันทั่วประเทศ และควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค 3. ปฏิรูปสำนักงานประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทนโดยแก้ไขกฎกระทรวง เกี่ยวกับบัตรรับรองสิทธิให้ใช้ได้ทุกโรงพยาบาล ประกาศให้ผู้ประกันตน มาตรา 39 ที่ขาดจากการเป็นผู้ประกันตน เข้ามาขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ใหม่ ตามระยะเวลาที่ สปส. กำหนด และเพิ่มสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 40 ยกระดับการจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วย อุบัติเหตุฉุกเฉินตามความเป็นจริง รวมถึงเพิ่มเงินทดแทนการขาดรายได้จากอุบัติเหตุการทำงานจากเดิมร้อยละ 60 เพิ่มเป็นร้อยละ 100 ของค่าจ้าง
4. ให้รัฐบาลเร่งนำร่างพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ…และร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ... ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมของผู้ใช้แรงงานเข้าสู่สภานิติบัญญัติ 5. ให้ตรากฎหมายตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่สถานประกอบกิจการปิดกิจการ เลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย 6. ให้ยกเว้นเก็บภาษีเงินได้ กรณีค่าชดเชยของลูกจ้างภาคเอกชนและเงินตอบแทนความชอบของพนักงานรัฐวิสาหกิจ รวมถึงเงินได้อื่นๆ ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายของลูกจ้าง
7. ให้รัฐบาลตราพ.ร.ฎ. การจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบเพื่อเป็นกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามบทบัญญัติว่าด้วยกองทุนเงินสงเคราะห์ในหมวด 13 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
8. ให้สนับสนุนและผลักดันกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจ และยุติการแปรรูปหรือแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทเอกชน 9.ให้ยกระดับสำนักความปลอดภัยแรงงานเป็นกรมความปลอดภัยแรงงาน 10.ให้จัดสรรงบสนับสนุนพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย 11.ให้บังคับให้สถานประกอบกิจการ ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 11/1 กรณีแรงงานรับเหมาช่วง (ซับคอนแทรกต์) ให้ได้รับสิทธิประโยชน์เท่ากับลูกจ้างประจำโดยเคร่งครัด 12. ให้เร่งปรับปรุงกฎหมายเพื่อคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของแรงงานนอกระบบ รวมทั้งจัดตั้งกรมคุ้มครองส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบขึ้นมาดูแลโดยเฉพาะ 13. ให้จัดงบสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปฐมวัยที่ดูแลลูกหลานของผู้ใช้แรงงานที่จัดตั้งขึ้นมาแล้วอย่างต่อเนื่อง 14.รัฐบาลต้องจัดให้มีระบบบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้าเพื่อลดความเหลื่อมล้ำที่ครอบคลุมประชากรทุกคนและเพียงพอต่อการดำรงชีวิต ไม่ต่ำกว่าเส้นความยากจนหรือสัดส่วนรายได้เฉลี่ยของประเทศไทย และ 15.รมว.แรงงาน ต้องตั้งคณะทำงาน ติดตามข้อเรียกร้องวันแรงงานชาติ ปี 2559 นี้ด้วย.