**จะเรียกว่ามาตามนัดก็ได้ สำหรับ สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการ กปปส. ที่นัดหมายกันมาก่อนหน้านี้แล้วว่า หลังเทศกาลสงกรานต์จะออกมาแถลงให้รู้ว่า พวกเขามีความเห็นกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คือ ฉบับปี 2559 ที่ร่างโดยคณะกรรมการร่าง ที่นำโดย มีชัย ฤชุพันธุ์ เขาอ้างว่าเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ทั้งเป็นทางออกให้กับบ้านเมืองในยามวิกฤติ หรือเรียกว่า"ผ่าทางตัน" นั่นแหละ เป็นการป้องกันการเกิดรัฐประหาร มีการกำหนดวาระเรื่องการปฏิรูป กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ การปฏิรูปตำรวจ เรียกว่า ตอบโจทย์ตามความต้องการของ กปปส. ว่านั้นแหละ
เมื่อพิจารณาจากท่าทีที่แถลงไปทั้งหมด แม้ว่าจะไม่ได้บอกตรงๆว่า ให้รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะมีการลงประชามติกันในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ อย่างไรก็ดี ก็มีการออกตัวไว้ก่อนว่า ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของชาวบ้านเอง ว่าจะรับ หรือไม่รับ แต่เมื่อพูดแบบนี้ออกมา บอกตรงๆ มันก็ไม่ต่างจากการ "อวย" กันชัดๆ นั่นแหละ และเนื้อหาที่น่าสนใจก็คือ "บทเฉพาะกาล" ที่เปิดทางให้มีการแต่งตั้ง ส.ว. จำนวน 250 คน เข้ามามีส่วนร่วมในการเลือกนายกฯคนนอก สามารถร่วมโหวตให้ยกเว้นข้อบังคับการเลือกนายกฯ นอกบัญชีพรรคการเมือง ในช่วง 5 ปีแรก ซึ่งเมื่อพิจารณาจากวาระก็ถือว่า มากกว่า ส.ส.หนึ่งปี นั่นเท่ากับว่า มีข้อสังเกตตามมาคือ ส.ว.ช่วงเปลี่ยนผ่าน จะได้ร่วมโหวตเลือกนายกฯ ถึงสองครั้ง ใช่ หรือไม่
เมื่อพิจารณาจากท่าทีดังกล่าวของ สุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งเคยเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ก็ถือว่า สวนทางกับบรรดาผู้บริหารพรรคในปัจจุบัน เพราะก่อนหน้านี้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่นำทีมแถลงวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ ทำนองว่า ไม่เป็นประชาธิปไตย ลิดรอนสิทธิของประชาชน สรุปรวมๆ ก็คือ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หากมีผลบังคับใช้ "จะสร้างปัญหาในอนาคต" ตามมา แม้ว่าจะมีแท็กติกทางการพูดไม่ยอมบอกว่า จะ "รับ หรือไม่รับ" เนื่องจากเกรงว่าจะมีปัญหาทางกฎหมายตามมาก็ตาม แต่ความหมายหากให้พิจารณาคาดเดาก็คือ การส่งสัญญาณให้บรรดา "แฟนคลับ" และบรรดาสมาชิกพรรค ไม่รับร่างฯ
แน่นอนว่า ในตอนนั้นการออกมาแถลงของทีมงานผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ ที่นำโดย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถูกวิจารณ์จากมวลชนที่ก่อนหน้านี้แยกไม่ค่อยออก เนื่องจากถูกมองว่ามีฐานกลุ่มเดียวกับมวลชนสนับสนุน กปปส. และส่วนหนึ่งก็ต้องยอมรับว่า ถูกวิจารณ์เนื่องจากไปสอดคล้องกับท่าทีของ พรรคเพื่อไทย เครือข่ายของ ทักษิณ ชินวัตร แม้ว่าหากพิจารณาตามเหตุผลของ อภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีเหตุผลรองรับ โดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้ง ส.ว. 250 คน ที่มาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) การเปิดทางเลือกนายกฯ คนนอก เป็นต้น
ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาจากบรรยากาศก่อนหน้านี้ หลังจากที่ประมวลได้ว่า เมื่อพรรคเพื่อไทย กับพรรคประชาธิปัตย์ มีแนวทางสอดคล้องกันว่า "ไม่รับ" ก็ทำให้เข้าใจกันว่า เส้นทางของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทำท่าจะไม่ราบรื่น โอกาสที่จะผ่านประชามติ ก็ดูเริ่มยากลำบากมากขึ้น แม้ว่าเท่าที่พิจารณาจากโพล หรือผลสำรวจต่างๆ ต่างก็ยังออกมาตรงกันคือ "น่าจะผ่าน" แต่ในช่วงก่อนหน้าสงกรานต์ และหลังสงกรานต์ เริ่มมีความเคลื่อนไหวที่เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ทั้งสองฝ่าย ฝ่ายแรกในที่นี้หมายถึง เครือข่าย ทักษิณ ชินวัตร ที่หากพูดกันแบบตรงๆ ก็คือ เป็นฝ่ายที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่าน นั่นคือ ทั้ง ทักษิณ ชินวัตร และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อนาคตทางการเมืองดับวูบทันที เพราะจะมีคุณสมบัติต้องห้าม นั่นเอง
การออกมาเคลื่อนไหวท้าทายของ วัฒนา เมืองสุข ลูกน้องคนสำคัญของ ทักษิณ ชินวัตร แม้ว่าหลายคนมองว่า นี่คือ "เกมสร้างราคาเฉพาะตัว" ของเขาเอง เพราะว่ากันว่า กำลังลุ้นนั่งเก้าอี้สำคัญในพรรคเพื่อไทยในอนาคต โดยเฉพาะเก้าอี้เลขาธิการพรรค แต่อีกด้านหนึ่งก็ได้สร้างความตึงเครียดขึ้นมาไม่น้อย เพราะทำให้ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ขู่บังคับใช้กฎหมายเข้มงวดมากกว่าเดิม มีการนำตัวไปปรับทัศนคติในค่ายทหาร แต่ด้านนอกก็มีความเคลื่อนไหวกันเป็นขบวน ทั้งเครือข่ายภายใน และองค์กรระหว่างประเทศ สถานทูตประเทศตะวันตก ที่ร่วมกันกดดันให้ปล่อยตัว ซึ่งในที่สุดก็ตามคาด มีการปล่อยตัวออกมา ด้วยการประกันตัวออกมา
แน่นอนว่าแม้ว่า กรณีของ วัฒนา เมืองสุข จะจบลงชั่วคราว เพราะเจ้าตัวก็ประกาศว่า จะเคลื่อนไหวต่อ รวมไปถึงเครือข่ายมวลชนอื่นที่จะทยอยกันออกมาท้าทาย คสช. ต่อเนื่อง หลายฝ่ายก็เริ่มมีการประเมินกันตรงกันว่า โอกาสที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะผ่านฉลุย เริ่มยากลำบากจนถึงขั้น "อาจไม่ผ่าน" กันเลยทีเดียว
ดังนั้น เมื่อบรรยากาศเริ่มเปลี่ยนไป ความไม่แน่นอนเริ่มมาเยือน ทำให้หลายฝ่ายอยากรู้ว่า ทางฝ่าย สุเทพ เทือกสุบรรณ และ กปปส. ว่าจะมีท่าทีอย่างไร จะรับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ มีชัย ฤชุพันธุ์ หรือถ้าจะเรียกตรงๆ ก็ต้องบอกว่า "ฉบับคสช." นั่นแหละ เพราะทั้งที่มาและเนื้อหาสำคัญล้วนมาจากความคิดความต้องการหลักจากพวกเขา แต่เมื่อได้ยินจากปากในวันนี้ เชื่อว่าทำให้บางคนโล่งอกไม่น้อย
ขณะเดียวกัน การที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ ออกมาในแบบถูกที่ ถูกเวลา แบบนี้ทำให้หลายคนมองไปอีกแบบทำนองว่า "ส่งซิก" กัน โดยพิจารณาจากแบ็กกราวด์ความสัมพันธ์ กับระดับ "บิ๊ก" ในคสช. มาตั้งแต่เก่าก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากจำกันได้ เคยมีคำพูดที่หลุดออกมาจากปากของ สุเทพ หลังการรัฐประหารของคสช.ใหม่ๆ ว่า "เป็นพวกเดียวกัน" ทุกอย่างมันก็ชักจะเข้าเค้า
**หากยังจำกันได้ เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ส่งสัญญาณชัดว่า "ขออยู่อีก 5 ปี" อ้างว่า "จะทำให้ทุกอย่างดีขึ้นมาก" และเมื่อมาบรรจบกับบทเฉพาะกาลที่ให้ ส.ว.แต่งตั้ง ร่วมโหวตนายกฯ คนนอก ทุกอย่างมันถึงมองเห็นภาพได้ทันที ส่วนจะดีจริง หรือไม่ สองปีที่ผ่านมามีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันบ้างหรือไม่ มีการปฏิรูปก่อนเลือกตั้งแล้วหรือยัง หรือว่าหลังเลือกตั้งแล้ว จะปฏิรูป แล้วจะเป็นไปได้ น่าเชื่อถือได้หรือไม่ ทุกคนน่าจะมีคำตอบได้ในใจ เพียงแต่ว่า วันนี้ทุกอย่างมันบังเอิญอย่างร้ายกาจ !!
เมื่อพิจารณาจากท่าทีที่แถลงไปทั้งหมด แม้ว่าจะไม่ได้บอกตรงๆว่า ให้รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะมีการลงประชามติกันในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ อย่างไรก็ดี ก็มีการออกตัวไว้ก่อนว่า ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของชาวบ้านเอง ว่าจะรับ หรือไม่รับ แต่เมื่อพูดแบบนี้ออกมา บอกตรงๆ มันก็ไม่ต่างจากการ "อวย" กันชัดๆ นั่นแหละ และเนื้อหาที่น่าสนใจก็คือ "บทเฉพาะกาล" ที่เปิดทางให้มีการแต่งตั้ง ส.ว. จำนวน 250 คน เข้ามามีส่วนร่วมในการเลือกนายกฯคนนอก สามารถร่วมโหวตให้ยกเว้นข้อบังคับการเลือกนายกฯ นอกบัญชีพรรคการเมือง ในช่วง 5 ปีแรก ซึ่งเมื่อพิจารณาจากวาระก็ถือว่า มากกว่า ส.ส.หนึ่งปี นั่นเท่ากับว่า มีข้อสังเกตตามมาคือ ส.ว.ช่วงเปลี่ยนผ่าน จะได้ร่วมโหวตเลือกนายกฯ ถึงสองครั้ง ใช่ หรือไม่
เมื่อพิจารณาจากท่าทีดังกล่าวของ สุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งเคยเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ก็ถือว่า สวนทางกับบรรดาผู้บริหารพรรคในปัจจุบัน เพราะก่อนหน้านี้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่นำทีมแถลงวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ ทำนองว่า ไม่เป็นประชาธิปไตย ลิดรอนสิทธิของประชาชน สรุปรวมๆ ก็คือ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หากมีผลบังคับใช้ "จะสร้างปัญหาในอนาคต" ตามมา แม้ว่าจะมีแท็กติกทางการพูดไม่ยอมบอกว่า จะ "รับ หรือไม่รับ" เนื่องจากเกรงว่าจะมีปัญหาทางกฎหมายตามมาก็ตาม แต่ความหมายหากให้พิจารณาคาดเดาก็คือ การส่งสัญญาณให้บรรดา "แฟนคลับ" และบรรดาสมาชิกพรรค ไม่รับร่างฯ
แน่นอนว่า ในตอนนั้นการออกมาแถลงของทีมงานผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ ที่นำโดย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถูกวิจารณ์จากมวลชนที่ก่อนหน้านี้แยกไม่ค่อยออก เนื่องจากถูกมองว่ามีฐานกลุ่มเดียวกับมวลชนสนับสนุน กปปส. และส่วนหนึ่งก็ต้องยอมรับว่า ถูกวิจารณ์เนื่องจากไปสอดคล้องกับท่าทีของ พรรคเพื่อไทย เครือข่ายของ ทักษิณ ชินวัตร แม้ว่าหากพิจารณาตามเหตุผลของ อภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีเหตุผลรองรับ โดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้ง ส.ว. 250 คน ที่มาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) การเปิดทางเลือกนายกฯ คนนอก เป็นต้น
ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาจากบรรยากาศก่อนหน้านี้ หลังจากที่ประมวลได้ว่า เมื่อพรรคเพื่อไทย กับพรรคประชาธิปัตย์ มีแนวทางสอดคล้องกันว่า "ไม่รับ" ก็ทำให้เข้าใจกันว่า เส้นทางของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทำท่าจะไม่ราบรื่น โอกาสที่จะผ่านประชามติ ก็ดูเริ่มยากลำบากมากขึ้น แม้ว่าเท่าที่พิจารณาจากโพล หรือผลสำรวจต่างๆ ต่างก็ยังออกมาตรงกันคือ "น่าจะผ่าน" แต่ในช่วงก่อนหน้าสงกรานต์ และหลังสงกรานต์ เริ่มมีความเคลื่อนไหวที่เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ทั้งสองฝ่าย ฝ่ายแรกในที่นี้หมายถึง เครือข่าย ทักษิณ ชินวัตร ที่หากพูดกันแบบตรงๆ ก็คือ เป็นฝ่ายที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่าน นั่นคือ ทั้ง ทักษิณ ชินวัตร และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อนาคตทางการเมืองดับวูบทันที เพราะจะมีคุณสมบัติต้องห้าม นั่นเอง
การออกมาเคลื่อนไหวท้าทายของ วัฒนา เมืองสุข ลูกน้องคนสำคัญของ ทักษิณ ชินวัตร แม้ว่าหลายคนมองว่า นี่คือ "เกมสร้างราคาเฉพาะตัว" ของเขาเอง เพราะว่ากันว่า กำลังลุ้นนั่งเก้าอี้สำคัญในพรรคเพื่อไทยในอนาคต โดยเฉพาะเก้าอี้เลขาธิการพรรค แต่อีกด้านหนึ่งก็ได้สร้างความตึงเครียดขึ้นมาไม่น้อย เพราะทำให้ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ขู่บังคับใช้กฎหมายเข้มงวดมากกว่าเดิม มีการนำตัวไปปรับทัศนคติในค่ายทหาร แต่ด้านนอกก็มีความเคลื่อนไหวกันเป็นขบวน ทั้งเครือข่ายภายใน และองค์กรระหว่างประเทศ สถานทูตประเทศตะวันตก ที่ร่วมกันกดดันให้ปล่อยตัว ซึ่งในที่สุดก็ตามคาด มีการปล่อยตัวออกมา ด้วยการประกันตัวออกมา
แน่นอนว่าแม้ว่า กรณีของ วัฒนา เมืองสุข จะจบลงชั่วคราว เพราะเจ้าตัวก็ประกาศว่า จะเคลื่อนไหวต่อ รวมไปถึงเครือข่ายมวลชนอื่นที่จะทยอยกันออกมาท้าทาย คสช. ต่อเนื่อง หลายฝ่ายก็เริ่มมีการประเมินกันตรงกันว่า โอกาสที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะผ่านฉลุย เริ่มยากลำบากจนถึงขั้น "อาจไม่ผ่าน" กันเลยทีเดียว
ดังนั้น เมื่อบรรยากาศเริ่มเปลี่ยนไป ความไม่แน่นอนเริ่มมาเยือน ทำให้หลายฝ่ายอยากรู้ว่า ทางฝ่าย สุเทพ เทือกสุบรรณ และ กปปส. ว่าจะมีท่าทีอย่างไร จะรับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ มีชัย ฤชุพันธุ์ หรือถ้าจะเรียกตรงๆ ก็ต้องบอกว่า "ฉบับคสช." นั่นแหละ เพราะทั้งที่มาและเนื้อหาสำคัญล้วนมาจากความคิดความต้องการหลักจากพวกเขา แต่เมื่อได้ยินจากปากในวันนี้ เชื่อว่าทำให้บางคนโล่งอกไม่น้อย
ขณะเดียวกัน การที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ ออกมาในแบบถูกที่ ถูกเวลา แบบนี้ทำให้หลายคนมองไปอีกแบบทำนองว่า "ส่งซิก" กัน โดยพิจารณาจากแบ็กกราวด์ความสัมพันธ์ กับระดับ "บิ๊ก" ในคสช. มาตั้งแต่เก่าก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากจำกันได้ เคยมีคำพูดที่หลุดออกมาจากปากของ สุเทพ หลังการรัฐประหารของคสช.ใหม่ๆ ว่า "เป็นพวกเดียวกัน" ทุกอย่างมันก็ชักจะเข้าเค้า
**หากยังจำกันได้ เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ส่งสัญญาณชัดว่า "ขออยู่อีก 5 ปี" อ้างว่า "จะทำให้ทุกอย่างดีขึ้นมาก" และเมื่อมาบรรจบกับบทเฉพาะกาลที่ให้ ส.ว.แต่งตั้ง ร่วมโหวตนายกฯ คนนอก ทุกอย่างมันถึงมองเห็นภาพได้ทันที ส่วนจะดีจริง หรือไม่ สองปีที่ผ่านมามีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันบ้างหรือไม่ มีการปฏิรูปก่อนเลือกตั้งแล้วหรือยัง หรือว่าหลังเลือกตั้งแล้ว จะปฏิรูป แล้วจะเป็นไปได้ น่าเชื่อถือได้หรือไม่ ทุกคนน่าจะมีคำตอบได้ในใจ เพียงแต่ว่า วันนี้ทุกอย่างมันบังเอิญอย่างร้ายกาจ !!