พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช.กล่าวถึงกรณีหลายพรรคการเมืองออกมาระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ว่า เรื่องนี้ต้องถามประชาชนด้วย นักการเมืองก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคนในชาติ ถ้าพูดถึงสัดส่วนก็ไม่มาก ดังนั้น เมื่อจะอาสาสมัครเข้ามาเป็นผู้แทนของประชาชนในการบริหารราชการแผ่นดิน ก็ต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หรือมีความคิดในการแก้ปัญหา ที่เขามีส่วนร่วมทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างไร ซึ่งไม่ใช่อยู่ดีๆ ตนจะไปทำร้ายนักการเมืองเหล่านี้ แต่เพราะมันมีเรื่อง เพราะฉะนั้นทำอย่างไร เขาจึงจะอาสาเข้ามาจะต้องไม่มีเรื่อง ทาง สนช. - กรธ. เขาก็กลัวจะมีเรื่อง ประชาชนส่วนใหญ่ก็อยากให้มีมาตรการ แล้วนักการเมืองจะไม่ฟังคนอื่นหรืออย่างไร จะเอาแต่การเมืองอย่างเดียวเลยหรือ แล้วประเทศจะเดินหน้ากันต่อไปอย่างไร
เมื่อถามว่า การให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้วินิจฉัยผ่าทางตันทางการเมืองหากเกิดวิกฤต พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องของ กรธ.เขาคิดมา ซึ่งที่ผ่านมา ก็มีกลไกอยู่แล้ว ทั้ง ส.ว.ต่างๆ แต่ไม่สามารถขจัดความขัดแย้งได้ ก็เลยหาวิธีการว่าจะทำอย่างไร ก็ไม่ใช่ว่ามันผิดหรือถูก ทุกเรื่องต้องไปดูที่ประเด็นของปัญหา ว่าปัญหามันเกิดขึ้นจากอะไร ความขัดแย้งทางกฎหมายใช่หรือไม่ เอากฎหมายมาขัดแย้งกันหรือเปล่า กระบวนการยุติธรรมไม่ได้รับความเชื่อถือใช่หรือไม่ ก็ต้องมาแก้ทั้งหมด ถ้าไม่มีเรื่องก็ไม่จำเป็นต้องมาแก้ เพราะมีกลไกของมันอยู่แล้ว แต่มาตรการในช่วงการปฏิรูป จำเป็นหรือเปล่า และที่ผ่านมาใครเป็นผู้ขจัดความขัดแย้ง ทุกคนต่างก็ไม่เชื่อฟังกันทั้งหมด ส.ว.ก็ทำหน้าที่ไม่ได้ จนนำไปสู่เรื่อง ส.ว.ที่มาจากพรรคการเมืองด้วย จึงมีการไปแก้ว่า ส.ว.ไม่ต้องมาจากพรรคการเมืองได้หรือไม่ เพื่อจะได้ทำหน้าที่ของ ส.ว.อย่างแท้จริง ไม่ใช่มาจากการเมืองทั้ง 2 ฝั่ง ถ้าเรามองอย่างนี้ จะทำให้รู้ว่าเรากำลังแก้ปัญหา
เมื่อถามว่า ข้อเสนอที่ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ระบุว่า จะนิรโทษกรรมให้การกระทำที่ถูกต้องของคสช. แต่ไม่นิรโทษให้ผู้ที่กระทำการทุจริต พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "แล้วทำทุจริตแล้วหรือยัง ถ้าทุจริต ก็โอเค ก็แล้วแต่ เพราะผมไม่มีเจตนาที่จะทำอะไรทุจริตสักอย่าง และเชื่อมั่นว่า วันนี้รัฐบาลก็ยังไม่ได้ทุจริตอะไร นโยบายของรัฐบาลมีความรอบคอบ การปฏิบัติต่างๆ ก็รอบคอบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ แต่ถ้ารัฐบาลกำหนดอะไรไว้ดูเหมือนดี แต่ไม่ไปตามหรือไปไล่ล่าก็เป็นอีกเรื่อง วันนี้รัฐบาลได้ทำทุกอย่างแล้ว แต่รับประกันไม่ได้ว่าเพราะมันมีหลายชั้น แต่เมื่อมีมาตรการแล้วก็เชื่อว่าศาลจะรับฟัง"
เมื่อถามว่า นายกรัฐมนตรี มีความคิดอย่างไรต่อภาพรวมของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ในส่วนการเป็นนายกฯ ยังไม่มีความคิดเห็น เพราะยังถือว่ายังไม่ใช่ขั้นตอนของนายกฯ แต่ตนมีความคิดเห็นในฐานะของประชาชน ก็อาจมีความคิดของตัวเองบ้าง
"พรรคการเมืองเป็นใคร ถ้าเขาจะเข้ามาสู่การเมืองในอนาคตอันใกล้นี้ เขาจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนตัวเองหรือไม่ วันนี้แค่บางคนทำผิดกฎหมายชัดเจนยังไม่ยอมรับเลย ผมถามว่าจะยอมให้เขาเข้ามาอีกหรือเปล่า อย่ามาถามผมเพราะผมเป็นผู้แก้ไข กำลังทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อเดินหน้าให้กับคนอีก 70 ล้านคน ไม่ใช่เดินหน้าให้กับนักการเมือง และผมก็ไม่ใช่ศัตรูกับเขา ผมเข้ามาเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้เขาด้วยซ้ำ สิ่งที่ร่างรัฐธรรมนูญมา ถ้ามันดี รับเสียบ้าง ไม่ใช่ออกมาตีทุกวัน " นายกรัฐมนตรี กล่าว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่หลายฝ่ายออกมาวิจารณ์ และระบุจะคว่ำ ร่าง รธน. ฉบับนายมีชัย ว่า ยังเร็วเกินไปที่แต่ละฝ่ายจะออกมาบอกว่ารับ หรือไม่รับ เพราะตามขั้นตอน ต้องมีการรับฟังความเห็นเพิ่มเติมของฝ่ายต่างๆ ก่อน จึงอย่าด่วนสรุปว่า กรธ. จะไม่ฟังเหตุผลอะไร หรือจะไม่เปลี่ยนแปลงใดๆ หากอยากให้การเมืองเดินไปข้างหน้าด้วยความมั่นคง กรธ. ก็ต้องฟังเสียงทักท้วงด้วยเช่นเดียวกัน
" อย่างเช่น การเสนอชื่อนายกฯ 3 คนปัญหาเกิดจาก กรธ. ไม่ยืนยันว่านายกฯ ควรเป็นส.ส. ซึ่งเป็นหลักพื้นฐาน หากจะเอาคนนอกมา ยกเว้นโดยอ้างสถานการณ์พิเศษ ก็จะเป็นเหตุผลที่อธิบายได้ง่ายกว่า แต่เมื่อไม่มีการกำหนดเงื่อนไขนี้ ก็ทำให้เกิดปัญหา ก็ต้องมึการแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหากัน ทุกคน ทุกพรรค ควรยินดีที่จะมาพูดคุยกันด้วยเหตุผล แต่คสช.ก็ควรเปิดพื้นที่ให้มีการแสดงออกแลกเปลี่ยนกัน เพื่อให้การใช้สิทธิเสรีภาพมีความชัดเจน สังคมก็จะคุ้นเคยกับการใช้สิทธิเสรีภาพแบบมีความรับผิดชอบ อะไรที่เกินเลย ล้ำเส้น กระทบความมั่นคง เราก็มีกฎหมายกำกับอยู่แล้ว แต่หากปิดทุกอย่างตอนนี้ เมื่อถึงเวลาเปิดใช้ ใครจะรับรองได้ว่า มันจะไม่กลับไปยุ่งวุ่นวายเหมือนเดิม" นายอภิสิทธิ์ กล่าวและว่า การเสนอนายกฯ 3 คนนั้น ตนยังยืนยันว่า ไม่ตอบโจทย์ เพราะหากบัญญัติว่า นายกฯ ต้องมาจาก ส.ส. นักการเมืองทั้ง 500 ก็เป็นได้ แต่เมื่อระบุเสนอชื่อคนนอกได้ โดยให้พรรคการเมืองเสนอได้ เมื่อเกิดวิกฤต ไม่มีฝักฝ่ายแล้วเสนอโดยพรรคการเมือง จะทำได้จริงหรือ ตนเห็นว่าเป็นการคิดที่ไม่ครบถ้วน และไม่ยึดหลักการก่อน อยากให้ทบทวนเรื่องนี้คือ นายกฯต้องมาจากส.ส. แต่เมื่อเกิดวิกฤตที่ต้องมีนายกฯคนนอก ก็ควรกำหนดเงื่อนไขให้ชัดเจนทุกอย่างก็เดินไปได้
เมื่อถามว่า การให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้วินิจฉัยผ่าทางตันทางการเมืองหากเกิดวิกฤต พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องของ กรธ.เขาคิดมา ซึ่งที่ผ่านมา ก็มีกลไกอยู่แล้ว ทั้ง ส.ว.ต่างๆ แต่ไม่สามารถขจัดความขัดแย้งได้ ก็เลยหาวิธีการว่าจะทำอย่างไร ก็ไม่ใช่ว่ามันผิดหรือถูก ทุกเรื่องต้องไปดูที่ประเด็นของปัญหา ว่าปัญหามันเกิดขึ้นจากอะไร ความขัดแย้งทางกฎหมายใช่หรือไม่ เอากฎหมายมาขัดแย้งกันหรือเปล่า กระบวนการยุติธรรมไม่ได้รับความเชื่อถือใช่หรือไม่ ก็ต้องมาแก้ทั้งหมด ถ้าไม่มีเรื่องก็ไม่จำเป็นต้องมาแก้ เพราะมีกลไกของมันอยู่แล้ว แต่มาตรการในช่วงการปฏิรูป จำเป็นหรือเปล่า และที่ผ่านมาใครเป็นผู้ขจัดความขัดแย้ง ทุกคนต่างก็ไม่เชื่อฟังกันทั้งหมด ส.ว.ก็ทำหน้าที่ไม่ได้ จนนำไปสู่เรื่อง ส.ว.ที่มาจากพรรคการเมืองด้วย จึงมีการไปแก้ว่า ส.ว.ไม่ต้องมาจากพรรคการเมืองได้หรือไม่ เพื่อจะได้ทำหน้าที่ของ ส.ว.อย่างแท้จริง ไม่ใช่มาจากการเมืองทั้ง 2 ฝั่ง ถ้าเรามองอย่างนี้ จะทำให้รู้ว่าเรากำลังแก้ปัญหา
เมื่อถามว่า ข้อเสนอที่ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ระบุว่า จะนิรโทษกรรมให้การกระทำที่ถูกต้องของคสช. แต่ไม่นิรโทษให้ผู้ที่กระทำการทุจริต พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "แล้วทำทุจริตแล้วหรือยัง ถ้าทุจริต ก็โอเค ก็แล้วแต่ เพราะผมไม่มีเจตนาที่จะทำอะไรทุจริตสักอย่าง และเชื่อมั่นว่า วันนี้รัฐบาลก็ยังไม่ได้ทุจริตอะไร นโยบายของรัฐบาลมีความรอบคอบ การปฏิบัติต่างๆ ก็รอบคอบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ แต่ถ้ารัฐบาลกำหนดอะไรไว้ดูเหมือนดี แต่ไม่ไปตามหรือไปไล่ล่าก็เป็นอีกเรื่อง วันนี้รัฐบาลได้ทำทุกอย่างแล้ว แต่รับประกันไม่ได้ว่าเพราะมันมีหลายชั้น แต่เมื่อมีมาตรการแล้วก็เชื่อว่าศาลจะรับฟัง"
เมื่อถามว่า นายกรัฐมนตรี มีความคิดอย่างไรต่อภาพรวมของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ในส่วนการเป็นนายกฯ ยังไม่มีความคิดเห็น เพราะยังถือว่ายังไม่ใช่ขั้นตอนของนายกฯ แต่ตนมีความคิดเห็นในฐานะของประชาชน ก็อาจมีความคิดของตัวเองบ้าง
"พรรคการเมืองเป็นใคร ถ้าเขาจะเข้ามาสู่การเมืองในอนาคตอันใกล้นี้ เขาจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนตัวเองหรือไม่ วันนี้แค่บางคนทำผิดกฎหมายชัดเจนยังไม่ยอมรับเลย ผมถามว่าจะยอมให้เขาเข้ามาอีกหรือเปล่า อย่ามาถามผมเพราะผมเป็นผู้แก้ไข กำลังทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อเดินหน้าให้กับคนอีก 70 ล้านคน ไม่ใช่เดินหน้าให้กับนักการเมือง และผมก็ไม่ใช่ศัตรูกับเขา ผมเข้ามาเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้เขาด้วยซ้ำ สิ่งที่ร่างรัฐธรรมนูญมา ถ้ามันดี รับเสียบ้าง ไม่ใช่ออกมาตีทุกวัน " นายกรัฐมนตรี กล่าว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่หลายฝ่ายออกมาวิจารณ์ และระบุจะคว่ำ ร่าง รธน. ฉบับนายมีชัย ว่า ยังเร็วเกินไปที่แต่ละฝ่ายจะออกมาบอกว่ารับ หรือไม่รับ เพราะตามขั้นตอน ต้องมีการรับฟังความเห็นเพิ่มเติมของฝ่ายต่างๆ ก่อน จึงอย่าด่วนสรุปว่า กรธ. จะไม่ฟังเหตุผลอะไร หรือจะไม่เปลี่ยนแปลงใดๆ หากอยากให้การเมืองเดินไปข้างหน้าด้วยความมั่นคง กรธ. ก็ต้องฟังเสียงทักท้วงด้วยเช่นเดียวกัน
" อย่างเช่น การเสนอชื่อนายกฯ 3 คนปัญหาเกิดจาก กรธ. ไม่ยืนยันว่านายกฯ ควรเป็นส.ส. ซึ่งเป็นหลักพื้นฐาน หากจะเอาคนนอกมา ยกเว้นโดยอ้างสถานการณ์พิเศษ ก็จะเป็นเหตุผลที่อธิบายได้ง่ายกว่า แต่เมื่อไม่มีการกำหนดเงื่อนไขนี้ ก็ทำให้เกิดปัญหา ก็ต้องมึการแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหากัน ทุกคน ทุกพรรค ควรยินดีที่จะมาพูดคุยกันด้วยเหตุผล แต่คสช.ก็ควรเปิดพื้นที่ให้มีการแสดงออกแลกเปลี่ยนกัน เพื่อให้การใช้สิทธิเสรีภาพมีความชัดเจน สังคมก็จะคุ้นเคยกับการใช้สิทธิเสรีภาพแบบมีความรับผิดชอบ อะไรที่เกินเลย ล้ำเส้น กระทบความมั่นคง เราก็มีกฎหมายกำกับอยู่แล้ว แต่หากปิดทุกอย่างตอนนี้ เมื่อถึงเวลาเปิดใช้ ใครจะรับรองได้ว่า มันจะไม่กลับไปยุ่งวุ่นวายเหมือนเดิม" นายอภิสิทธิ์ กล่าวและว่า การเสนอนายกฯ 3 คนนั้น ตนยังยืนยันว่า ไม่ตอบโจทย์ เพราะหากบัญญัติว่า นายกฯ ต้องมาจาก ส.ส. นักการเมืองทั้ง 500 ก็เป็นได้ แต่เมื่อระบุเสนอชื่อคนนอกได้ โดยให้พรรคการเมืองเสนอได้ เมื่อเกิดวิกฤต ไม่มีฝักฝ่ายแล้วเสนอโดยพรรคการเมือง จะทำได้จริงหรือ ตนเห็นว่าเป็นการคิดที่ไม่ครบถ้วน และไม่ยึดหลักการก่อน อยากให้ทบทวนเรื่องนี้คือ นายกฯต้องมาจากส.ส. แต่เมื่อเกิดวิกฤตที่ต้องมีนายกฯคนนอก ก็ควรกำหนดเงื่อนไขให้ชัดเจนทุกอย่างก็เดินไปได้