เมื่อปลายปี 2556 มีการเปิดประมูลทีวีดิจิตอล 24 ช่อง หลังการประมูลปิดฉากมีการเสนอราคามูลค่ารวม 4 ประเภท 50,862 ล้านบาท แบ่งเป็นการเสนอราคาประเภทช่องทั่วไปความคมชัดสูง (HD) 7 ใบอนุญาต รวมมูลค่า 23,700 ล้านบาท, ช่องทั่วไปความคมชัดปกติ (SD) 7 ใบอนุญาต รวมมูลค่า 15,950 ล้านบาท, ช่องข่าวสารสาระ 7 ใบอนุญาต รวมมูลค่า 9,238 ล้านบาท และช่องเด็ก เยาวชน และครอบครัว 3 ใบอนุญาต รวมมูลค่า 1,974 ล้านบาท
ณ เวลานั้นทุกบริษัทที่เข้าร่วมประมูลได้ ต่างวาดหวังว่าจะสร้างความร่ำรวยในฐานะผู้ประกอบการทีวีทั้งนั้น จำได้ว่าตอนนั้นคุณสนธิ ลิ้มทองกุล บอกว่าไปไม่รอดหรอก เพราะราคามันแพงและมีช่องมากไป แล้ววันนี้สิ่งนั้นก็เป็นความจริง
ผลการวัดเรตติ้งทีวีดิจิตอลพบว่า ผลเรตติ้งที่ต่ำมาก ยกเว้นช่อง 7 กับช่อง 3 แล้ว ช่องเวิร์คพอยท์อยู่ประมาณ 1 ส่วนช่องอื่นก็มีค่าเรตติ้งไม่ถึงหนึ่งทั้งสิ้น อันดับ 5 ช่องท้ายมีค่าเรตติ้งแค่ 0.0 กว่าๆ เท่านั้นเอง
เรตติ้งก็คือ จำนวนเปอร์เซ็นต์เทียบกับจำนวนประชากร เช่น สมมติว่า ช่อง 7 มีค่าเรตติ้ง 3 ก็เท่ากับ 3% ของจำนวนประชากร ประชากรไทยมี 60 กว่าล้านคน มีการตั้งค่าง่ายๆ ว่า 1% เท่ากับ 600,000 คน คิดดูสิครับเรตติ้งของเดือนมีนาคม ช่องวอยซ์ทีวีของลูกทักษิณมีเรตติ้งรองบ๊วย 0.029 เท่ากับมีคนดู 17,400 คนเท่านั้น หรือช่องเนชั่นที่ทำทีวีดาวเทียมมาก่อนมีเรตติ้ง 0.082 เท่ากับมีคนดูทั่วประเทศ 49,200 คนเท่านั้นเอง
ส่วนช่อง 7 อยู่ที่ 3.363 ช่อง 3 อยู่ที่ 2.447 ช่องเวิร์คพอยท์ 1.136 ช่องโมโน 0.642 ช่องวัน 0.525 นี่คือ 5 อันดับแรกของเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
แต่ตัวเลขหมายถึงค่าเฉลี่ยของทุกรายการทั้งสถานีนะครับ บางรายการอาจมีเรตติ้งที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยมาก ซึ่งส่วนใหญ่รายการเด่นๆ ก็เป็นช่อง 7 กับช่อง 3 สองช่องเท่านั้นที่มีเรตติ้งจริงๆ
นับตั้งแต่มีการจัดทำเรตติ้งกันมา ตัวเลขเรตติ้งสูงสุด คือ 30 จากละครเรื่อง “คู่กรรม” ที่เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ แสดงนำที่ออกอากาศทางช่อง 7
การวัดเรตติ้งทีวีดิจิตอล เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นำกล่องที่เรียกว่า People Meter Current System ติดตั้งที่บ้านของกลุ่มตัวอย่าง และวัดด้วยการตรวจจับแบนเนอร์ที่ปรากฏขึ้นบนจอ เมื่อผู้ชมกดรีโมต หรือกดเปลี่ยนช่องทีวี เครื่องมือจะบันทึกไว้ วิธีนี้เป็นวิธีที่ดำเนินการมากว่า 20 ปี โดยขนาดกลุ่มตัวอย่างอยู่ที่ 1,800 หลังคาเรือน หรือ 6,300 คน เมื่อคนในบ้านเปิดดูโทรทัศน์รายการใด เครื่องจะบันทึกรายละเอียดในการชมเอาไว้
มีการตั้งคำถามเรื่องความน่าเชื่อถือเหมือนกัน เมื่อเทียบกับจำนวนครัวเรือนในประเทศไทยที่มีกว่า 20 ล้านครัวเรือน ว่ามีข้อมูลเพียงพอกับการนำมาวิเคราะห์หรือไม่ และการสำรวจครอบคลุมฐานะทางเศรษฐกิจของแต่ละบ้านแค่ไหน
แต่การตัดสินใจซื้อโฆษณานั้นดูจากเรตติ้ง ดังนั้น เมื่อดูตัวเลขเรตติ้งของทีวีดิจิตอลแล้วเห็นชัดเลยว่าหลายช่องนั้นรอดยาก เมื่อเทียบกับเงินที่ต้องจ่ายให้ กสทช.ลองดูสิครับหลายช่องที่ประมูลได้เคยเป็นทีวีดาวเทียมมาก่อน ไม่ต้องจ่ายเงินให้ กสทช.ยังเหนื่อยเลย แถมช่องทางในการเข้าถึงของคนดูระหว่างทีวีดาวเทียมกับทีวีดิจิตอลก็ไม่แตกต่างกัน
จากตัวเลขเรตติ้งนั้นเห็นชัดเลยว่า คนดูทีวีช่องที่เกิดใหม่รวมทั้งช่องเก่าที่ยกเว้นช่อง 3 กับ 7 น้อยมาก พวกช่อง 5 ช่อง 9 ก็คงได้เฉพาะบางรายการ แต่ภาพรวมก็ต่ำติดดินเหมือนกัน
มีการโทษว่าความล้มเหลวนั้นเกิดจากการทำงานของ กสทช.โดยผู้ประกอบการหลายรายรวมตัวกันยื่นฟ้อง กสทช.ขอให้ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งให้ กสทช.ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด และใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ออกมาตรการเยียวยาความเสียหายให้กับผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล พร้อมชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดต่อทีวีดิจิตอลทั้ง 5 ช่อง เป็นเงิน 9,550 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีด้วย
โดยคำฟ้อง สรุปว่า กสทช.ได้ละเว้นและละเลยการปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดโดยล่าช้า ในการดำเนินการให้มีการเปลี่ยนผ่านระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอล, การควบคุมและกำกับดูแลมาตรฐานหรือคุณภาพของกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล, การแจกคูปองสนับสนุนประชาชน, การขยายโครงข่ายทีวีดิจิตอล และกำกับดูแลผู้ประกอบการโครงข่ายทีวีดิจิตอล ให้สามารถขยายโครงข่ายทีวีดิจิตอลให้ทันตามที่กำหนด, ละเลยการสื่อสารต่อสาธารณะสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมให้ประชาชนรับรู้และมั่นใจการเปลี่ยนมาชมทีวีดิจิตอล, ละเลยการออกกฎเกณฑ์และประกาศต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้มีการแข่งขันทางการค้า ในการประกอบกิจการทีวีดิจิตอล
ตอนนี้ก็ยังรออยู่ว่าศาลจะว่ายังไง
แต่ผมมาคิดนะครับว่า จะไปโทษ กสทช.ฝ่ายเดียวก็ไม่ได้ เพราะตอนประมูลทุกช่องก็รู้สถานการณ์อยู่แล้ว ตอนนั้นก็หวังว่าจะกอบโกยรายได้มหาศาลกันทั้งนั้น การแจกคูปองให้ประชาชนเพื่อรับกล่องจะไปโทษ กสทช.ก็ไม่ได้หรอก เพราะแจกแล้วจะไปบังคับให้ประชาชนมารับก็ไม่ได้ ที่เขาไม่รับเพราะทุกวันนี้ชาวบ้านเขาดูทีวีผ่านจานดาวเทียมกันหมดแล้ว เมื่อในจานก็มีทุกช่องอยู่แล้วจะไปรับกล่องมาติดเพื่อดูได้บางช่องทำไม
ปัญหาที่ผู้ประกอบการไม่พูดก็คือ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคสื่อที่หันไปเสพโซเชียลมีเดีย คุณภาพรายการของตัวเอง ผมเองยอมรับว่าดูทีวีน้อยลง ส่วนทีวีดิจิตอลนั้นแทบไม่ได้ดูเลย จำไม่ได้ว่าช่องไหนอยู่เลขอะไรด้วยซ้ำ ผมเชื่อว่าชาวบ้านร้านตลาดโดยทั่วไปก็เช่นเดียวกัน เขาดูแต่ช่องและรายการที่สนใจเท่านั้น แบบนี้จะไปโทษ กสทช.เหรอครับ มันอยู่ที่คนดูซึ่งก็เพราะผู้ประกอบการไม่ได้มีรายการที่เชิญชวนให้ดูนั่นเอง
ถ้าจะโทษ กสทช.ก็คือต้องตั้งคำถามว่า ทำไมถึงเปิดให้ประมูลมากขนาดนั้น เพราะสุดท้ายแล้วเมื่อช่องมากเกินก็ไปไม่รอด เมื่อแต่ละช่องล้มไปแล้วก็ไม่สามารถเก็บเงินเข้ารัฐได้อยู่ดี แล้วทีวีไม่ได้มีแค่นี้มีทีวีดาวเทียมอีกเป็นร้อยช่อง
ดังนั้น สถานการณ์ของทีวีดิจิตอลตอนนี้จึงร่อแร่มาก 2 ช่องของเจ๊ติ๋มทีวีพูล ปิดฉากไปแล้ว และ กสทช.ให้ข่าวว่ามีอีก 5 ช่องที่จะเสี่ยงจอดำตามรอยช่องไทยทีวีและช่องโลก้าของเจ๊ติ๋ม แต่ข่าววงในพูดกันว่า อาการหนักกันทั้งนั้น แม้ค่ายที่มีสายป่านยาวอย่างไทยรัฐก็ตาม
ตอนนี้นอกจากพึ่งพาศาลแล้วผู้ประกอบการต้องรวมตัวกันขอเลื่อนการจ่ายเงินงวดที่ 3 และขอให้พิจารณาลดค่าเช่าโครงข่ายทีวีดิจิตอล หรือ มักซ์ ลงร้อยละ 50 แต่ไม่ใช่ กสทช.จะตัดสินใจได้ตามลำพังเพราะต้องดูเงื่อนไขของสัญญาสัมปทาน ถ้าทำอะไรผลีผลามก็อาจจะเป็นการทำผิดกฎหมายเสียเอง
เค้กยังมีเท่าเดิม แต่มีผู้มาขอส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นหลายเท่า ทีวีดาวเทียมแบบเอเอสทีวี นิวส์วัน แม้ไม่ต้องจ่ายเงินค่าสัมปทานก็ยังเหนื่อย เพราะทีวีดิจิตอลกดราคาโฆษณาลงมา สุดท้ายก็อาการหนักทั้งวงการ
เรียกได้ว่าคำนวณสถานการณ์ผิดพลาด และรำไม่ดีโทษปี่โทษกลองกันทั้งนั้น
ณ เวลานั้นทุกบริษัทที่เข้าร่วมประมูลได้ ต่างวาดหวังว่าจะสร้างความร่ำรวยในฐานะผู้ประกอบการทีวีทั้งนั้น จำได้ว่าตอนนั้นคุณสนธิ ลิ้มทองกุล บอกว่าไปไม่รอดหรอก เพราะราคามันแพงและมีช่องมากไป แล้ววันนี้สิ่งนั้นก็เป็นความจริง
ผลการวัดเรตติ้งทีวีดิจิตอลพบว่า ผลเรตติ้งที่ต่ำมาก ยกเว้นช่อง 7 กับช่อง 3 แล้ว ช่องเวิร์คพอยท์อยู่ประมาณ 1 ส่วนช่องอื่นก็มีค่าเรตติ้งไม่ถึงหนึ่งทั้งสิ้น อันดับ 5 ช่องท้ายมีค่าเรตติ้งแค่ 0.0 กว่าๆ เท่านั้นเอง
เรตติ้งก็คือ จำนวนเปอร์เซ็นต์เทียบกับจำนวนประชากร เช่น สมมติว่า ช่อง 7 มีค่าเรตติ้ง 3 ก็เท่ากับ 3% ของจำนวนประชากร ประชากรไทยมี 60 กว่าล้านคน มีการตั้งค่าง่ายๆ ว่า 1% เท่ากับ 600,000 คน คิดดูสิครับเรตติ้งของเดือนมีนาคม ช่องวอยซ์ทีวีของลูกทักษิณมีเรตติ้งรองบ๊วย 0.029 เท่ากับมีคนดู 17,400 คนเท่านั้น หรือช่องเนชั่นที่ทำทีวีดาวเทียมมาก่อนมีเรตติ้ง 0.082 เท่ากับมีคนดูทั่วประเทศ 49,200 คนเท่านั้นเอง
ส่วนช่อง 7 อยู่ที่ 3.363 ช่อง 3 อยู่ที่ 2.447 ช่องเวิร์คพอยท์ 1.136 ช่องโมโน 0.642 ช่องวัน 0.525 นี่คือ 5 อันดับแรกของเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
แต่ตัวเลขหมายถึงค่าเฉลี่ยของทุกรายการทั้งสถานีนะครับ บางรายการอาจมีเรตติ้งที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยมาก ซึ่งส่วนใหญ่รายการเด่นๆ ก็เป็นช่อง 7 กับช่อง 3 สองช่องเท่านั้นที่มีเรตติ้งจริงๆ
นับตั้งแต่มีการจัดทำเรตติ้งกันมา ตัวเลขเรตติ้งสูงสุด คือ 30 จากละครเรื่อง “คู่กรรม” ที่เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ แสดงนำที่ออกอากาศทางช่อง 7
การวัดเรตติ้งทีวีดิจิตอล เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นำกล่องที่เรียกว่า People Meter Current System ติดตั้งที่บ้านของกลุ่มตัวอย่าง และวัดด้วยการตรวจจับแบนเนอร์ที่ปรากฏขึ้นบนจอ เมื่อผู้ชมกดรีโมต หรือกดเปลี่ยนช่องทีวี เครื่องมือจะบันทึกไว้ วิธีนี้เป็นวิธีที่ดำเนินการมากว่า 20 ปี โดยขนาดกลุ่มตัวอย่างอยู่ที่ 1,800 หลังคาเรือน หรือ 6,300 คน เมื่อคนในบ้านเปิดดูโทรทัศน์รายการใด เครื่องจะบันทึกรายละเอียดในการชมเอาไว้
มีการตั้งคำถามเรื่องความน่าเชื่อถือเหมือนกัน เมื่อเทียบกับจำนวนครัวเรือนในประเทศไทยที่มีกว่า 20 ล้านครัวเรือน ว่ามีข้อมูลเพียงพอกับการนำมาวิเคราะห์หรือไม่ และการสำรวจครอบคลุมฐานะทางเศรษฐกิจของแต่ละบ้านแค่ไหน
แต่การตัดสินใจซื้อโฆษณานั้นดูจากเรตติ้ง ดังนั้น เมื่อดูตัวเลขเรตติ้งของทีวีดิจิตอลแล้วเห็นชัดเลยว่าหลายช่องนั้นรอดยาก เมื่อเทียบกับเงินที่ต้องจ่ายให้ กสทช.ลองดูสิครับหลายช่องที่ประมูลได้เคยเป็นทีวีดาวเทียมมาก่อน ไม่ต้องจ่ายเงินให้ กสทช.ยังเหนื่อยเลย แถมช่องทางในการเข้าถึงของคนดูระหว่างทีวีดาวเทียมกับทีวีดิจิตอลก็ไม่แตกต่างกัน
จากตัวเลขเรตติ้งนั้นเห็นชัดเลยว่า คนดูทีวีช่องที่เกิดใหม่รวมทั้งช่องเก่าที่ยกเว้นช่อง 3 กับ 7 น้อยมาก พวกช่อง 5 ช่อง 9 ก็คงได้เฉพาะบางรายการ แต่ภาพรวมก็ต่ำติดดินเหมือนกัน
มีการโทษว่าความล้มเหลวนั้นเกิดจากการทำงานของ กสทช.โดยผู้ประกอบการหลายรายรวมตัวกันยื่นฟ้อง กสทช.ขอให้ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งให้ กสทช.ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด และใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ออกมาตรการเยียวยาความเสียหายให้กับผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล พร้อมชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดต่อทีวีดิจิตอลทั้ง 5 ช่อง เป็นเงิน 9,550 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีด้วย
โดยคำฟ้อง สรุปว่า กสทช.ได้ละเว้นและละเลยการปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดโดยล่าช้า ในการดำเนินการให้มีการเปลี่ยนผ่านระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอล, การควบคุมและกำกับดูแลมาตรฐานหรือคุณภาพของกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล, การแจกคูปองสนับสนุนประชาชน, การขยายโครงข่ายทีวีดิจิตอล และกำกับดูแลผู้ประกอบการโครงข่ายทีวีดิจิตอล ให้สามารถขยายโครงข่ายทีวีดิจิตอลให้ทันตามที่กำหนด, ละเลยการสื่อสารต่อสาธารณะสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมให้ประชาชนรับรู้และมั่นใจการเปลี่ยนมาชมทีวีดิจิตอล, ละเลยการออกกฎเกณฑ์และประกาศต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้มีการแข่งขันทางการค้า ในการประกอบกิจการทีวีดิจิตอล
ตอนนี้ก็ยังรออยู่ว่าศาลจะว่ายังไง
แต่ผมมาคิดนะครับว่า จะไปโทษ กสทช.ฝ่ายเดียวก็ไม่ได้ เพราะตอนประมูลทุกช่องก็รู้สถานการณ์อยู่แล้ว ตอนนั้นก็หวังว่าจะกอบโกยรายได้มหาศาลกันทั้งนั้น การแจกคูปองให้ประชาชนเพื่อรับกล่องจะไปโทษ กสทช.ก็ไม่ได้หรอก เพราะแจกแล้วจะไปบังคับให้ประชาชนมารับก็ไม่ได้ ที่เขาไม่รับเพราะทุกวันนี้ชาวบ้านเขาดูทีวีผ่านจานดาวเทียมกันหมดแล้ว เมื่อในจานก็มีทุกช่องอยู่แล้วจะไปรับกล่องมาติดเพื่อดูได้บางช่องทำไม
ปัญหาที่ผู้ประกอบการไม่พูดก็คือ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคสื่อที่หันไปเสพโซเชียลมีเดีย คุณภาพรายการของตัวเอง ผมเองยอมรับว่าดูทีวีน้อยลง ส่วนทีวีดิจิตอลนั้นแทบไม่ได้ดูเลย จำไม่ได้ว่าช่องไหนอยู่เลขอะไรด้วยซ้ำ ผมเชื่อว่าชาวบ้านร้านตลาดโดยทั่วไปก็เช่นเดียวกัน เขาดูแต่ช่องและรายการที่สนใจเท่านั้น แบบนี้จะไปโทษ กสทช.เหรอครับ มันอยู่ที่คนดูซึ่งก็เพราะผู้ประกอบการไม่ได้มีรายการที่เชิญชวนให้ดูนั่นเอง
ถ้าจะโทษ กสทช.ก็คือต้องตั้งคำถามว่า ทำไมถึงเปิดให้ประมูลมากขนาดนั้น เพราะสุดท้ายแล้วเมื่อช่องมากเกินก็ไปไม่รอด เมื่อแต่ละช่องล้มไปแล้วก็ไม่สามารถเก็บเงินเข้ารัฐได้อยู่ดี แล้วทีวีไม่ได้มีแค่นี้มีทีวีดาวเทียมอีกเป็นร้อยช่อง
ดังนั้น สถานการณ์ของทีวีดิจิตอลตอนนี้จึงร่อแร่มาก 2 ช่องของเจ๊ติ๋มทีวีพูล ปิดฉากไปแล้ว และ กสทช.ให้ข่าวว่ามีอีก 5 ช่องที่จะเสี่ยงจอดำตามรอยช่องไทยทีวีและช่องโลก้าของเจ๊ติ๋ม แต่ข่าววงในพูดกันว่า อาการหนักกันทั้งนั้น แม้ค่ายที่มีสายป่านยาวอย่างไทยรัฐก็ตาม
ตอนนี้นอกจากพึ่งพาศาลแล้วผู้ประกอบการต้องรวมตัวกันขอเลื่อนการจ่ายเงินงวดที่ 3 และขอให้พิจารณาลดค่าเช่าโครงข่ายทีวีดิจิตอล หรือ มักซ์ ลงร้อยละ 50 แต่ไม่ใช่ กสทช.จะตัดสินใจได้ตามลำพังเพราะต้องดูเงื่อนไขของสัญญาสัมปทาน ถ้าทำอะไรผลีผลามก็อาจจะเป็นการทำผิดกฎหมายเสียเอง
เค้กยังมีเท่าเดิม แต่มีผู้มาขอส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นหลายเท่า ทีวีดาวเทียมแบบเอเอสทีวี นิวส์วัน แม้ไม่ต้องจ่ายเงินค่าสัมปทานก็ยังเหนื่อย เพราะทีวีดิจิตอลกดราคาโฆษณาลงมา สุดท้ายก็อาการหนักทั้งวงการ
เรียกได้ว่าคำนวณสถานการณ์ผิดพลาด และรำไม่ดีโทษปี่โทษกลองกันทั้งนั้น