xs
xsm
sm
md
lg

ศาลปกครองไม่คุ้มครอง “เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล” ให้ชะลอ กสทช.ยึดเงินค้ำประกันเกือบ 2 พันล้าน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

พันธุทิพา ศกุณต์ไชย
ศาลปกครองกลาง ยกคำร้อง “เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล” ขอคุ้มครองชั่วคราว กรณี กสทช.จะยึดเงินค้ำประกันเกือบ 2 พันล้าน จากการถูกเพิกถอนใบอนุญาตทำทีวีดิจิตอล จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาในคดีบริษัทไทยทีวีฟ้อง กสทช.

ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งยกคำขอกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาของบริษัท ไทย ทีวี จำกัด ซึ่งมีนางพันธุทิพา ศกุณต์ไชย หรือเจ๊ติ๋ม ทีวีพูล ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลช่องไทยทีวี และเอ็มวีทีวี แฟมิลี่ (ชื่อเดิม โลก้า) เป็นผู้บริหาร ที่ขอให้ศาลสั่ง กสทช.ระงับการดำเนินการเรียกเก็บชำระเงินตามหนังสือค้ำประกัน หรือแบงก์การันตีของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) รวม 16 ฉบับรวมเป็นเงิน 1,976 ล้านบาท ไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาในคดีที่บริษัท ไทยทีวี ฟ้อง กสทช.

โดยเหตุที่ศาลยกคำขอดังกล่าว ระบุว่า ข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่า กสทช.ได้มีหนังสือแจ้งให้บริษัท ไทยทีวี นำเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และค่าธรรมเสียมใบอนุญาตประกอบกิจการเพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอลรายปีรวม 3 ครั้ง ระยะเวลารวม 90 วัน แต่เมื่อครบกำหนดบริษัท ไทยทีวีไม่ได้นำเงินมาชำระ กสทช.จึงมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่ และประกอบกิจการโทรทัศน์ทั้ง 2 ช่องรายการนับแต่วันที่ 4 ก.พ. 59 พร้อมแจ้งไปยังบริษัทไทยทีวีว่า ให้นำเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตของงวดที่ 2 ถึงงวดที่ 6 และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการรายปีประจำปี 2557-2559 มาชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ หากไม่ชำระจะใช้สิทธิเรียกให้ธนาคารกรุงเทพฯชำระเงินตามหนังสือคำประกัน ซึ่งศาลเห็นว่า การที่บริษัท ไทยทีวี มีหนังสือแจ้งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามหนังสือค้ำประกันก็เนื่องจากเหตุที่ว่ายังมีข้อต่อสู้ที่บริษัทไทยทีวีอาจไม่ต้องรับผิด เพราะมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพื่อขอให้ธนาคารปฏิเสธการชำระเงิน และข้อต่อสู้นี้ธนาคารย่อมยกขึ้นเป็นเหตุปฏิเสธการชำระเงินให้แก่ กสทช.ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 294 ที่บัญญัติว่า “นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหน้าที่นั้น ท่านว่าผู้ค้ำประกันยังอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรเพียงพอที่ศาลจะพิจารณากำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามคำขอของบริษัทไทยทีวีมาใช้ได้”


กำลังโหลดความคิดเห็น