ผู้จัดการรายวัน360- "ศรีราชา"ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เขียนบทความและข้อสังเกต เหตุยื่นฟ้องขอคืนทรัพย์สินจากปตท. ชี้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและมติครม. ปกปิดข้อเท็จจริง
วานนี้ (12 เม.ย.) นายศรีราชา วงศารยางกูร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้แจกจ่ายบทความและข้อสังเกต กรณีศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งล่าสุดไม่รับคำร้องของ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ที่ขอให้ศาลพิจารณาไต่สวนรายการทรัพย์สินที่ปตท. ต้องส่งคืนคลังใหม่ โดยให้ยึดรายงานผลการตรวจสอบทรัพย์สินของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นหลัก พิจารณาด้วยว่าคำสั่งไม่รับฟ้องดังกล่าวไม่น่าจะมีผลกับคำร้องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นฟ้องต่อศาล แม้ในคำฟ้องของผู้ตรวจการฯ จะมีปมว่ารายการทรัพย์สินที่ปตท. ต้องคืนตามที่ตุลาการเจ้าของสำนวนมีคำสั่งนั้น ไม่ถูกต้อง
นายศรีราชา เห็นว่ากรณีดังกล่าว ถือเป็นข้อเท็จจริงคนละส่วนกับคำฟ้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 4 เม.ย.59 เพื่อขอให้เพิกถอนมติครม. วันที่ 18 ธ.ค.50 และ วันที่ 10 ส.ค.53 ในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งมอบทรัพย์สินประกอบด้วย ที่ดินที่ได้จากการเวนคืน สิทธิการใช้ที่ดินเหนือที่ดินเอกชน และทรัพย์สินที่เป็นระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ คือ 1. โครงการท่อบางปะกง-วังน้อย 2. โครงการท่อจากชายแดนไทยพม่า-ราชบุรี และ 3. โครงการท่อราชบุรี-วังน้อย รวมถึงโครงการท่อย่อย ซึ่งมีมูลค่าทางบัญชี ณ วันที่ 30 ก.ย. 44 ประมาณ 16,175 ล้านบาท
"เนื่องจากมติครม.ดังกล่าว เกิดจากการที่นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน ผู้ดำรงตำแหน่งขณะนั้น ปกปิดข้อมูล ข้อเท็จจริง อีกทั้งมีกระบวนการทำผิดกฎหมาย เนื่องจากกรมธนารักษ์ไม่ได้ถูกมอบหมายให้ดำเนินการ แต่กลับไปดำเนินการ ดังนั้นที่ว่าเป็นการกระทำโดยชอบ จริง ๆ คือไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นข้อเท็จจริงใหม่ที่เกิดขึ้น และเป็นประโยชน์สาธารณะ การร้องไม่ปฏิบัติตามมติครม. ยังไม่เคยปรากฏมีการร้องมาก่อน หรือเคยมีอยู่ในคำฟ้องเดิมแน่นอน" นายศรีราชา ระบุ
นายศรีราชา ยังตั้งข้อสังเกตในเรื่องความเป็นมาเกี่ยวกับการยื่นฟ้องต่อปตท. โดยเริ่มตั้งแต่การแปรรูปปตท. เป็นบริษัทมหาชน ตลอดจนเรื่องราวการบริหารจัดการภายในองค์กร ที่ยังเป็นข้อสงสัยในความไม่โปร่งใสและตรวจสอบได้ อาทิเช่น
1. การแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจมาเป็นบริษัทมหาชน ไม่โปร่งใส เนื่องจากสหภาพแรงงานคัดค้านการแปรรูป ผู้บริหารจึงปิดปากด้วยการแจกหุ้นให้ผู้บริหาร และพนักงาน จำนวนลดหลั่นกันลงไปตาม
2. การแปรรูปค้นพบบัญชีผู้ถือหุ้น ที่ระบุกระทรวงการคลังถือร้อยละ 49 อีกร้อยละ 2 เป็นของกองทุนของรัฐบาล ส่วนที่นำมาขายให้ประชาชนซื้อมีจำนวนร้อยละ 49 จองผ่านธนาคาร เพียงไม่ถึง2 นาทีขายหมด จึงน่าสงสัยว่า หุ้นจำนวนมหาศาลหายไปไหนในระยะเวลาอันสั้น การเปิดขายให้ประชานเป็นเพียงพิธีกรรมว่ามีการเปิดขายหรือไม่
จากการพิจารณาเอกสารผู้ถือหุ้นพบว่า มีผู้ถือหุ้นเป็นชื่อธนาคารต่างชาติ 10 ธนาคาร ถือหุ้นแห่งละ 1.2% รวมเป็น 12% แต่ละธนาคาร มีคำว่า“Nominee”วงเล็บอยู่ข้างท้ายชื่อ เป็นไปได้หรือไม่ว่า คือ ผู้ได้รับประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ปตท. มีกำไรโดยเฉลี่ยปีละ 50,000 ล้านบาท ก็จะได้ปันผล 6,000 ล้านบาท กลุ่มผู้ที่เป็นนอมินี จะได้เงินปันผลได้เดือนละ 500 ล้านบาท วันละ 16.67 ล้านบาท หากมีกำไร 100,000 ล้านบาทต่อปี จะได้เงินปันผลถึงปีละ 12,000 ล้านบาท หรือจะได้วันละ 33.33 ล้านบาท
3. การบริหารงานไม่โปร่งใส มีความเชื่อมโยงกันในกลุ่มคณะกรรมการนโยบายพลังงาน และกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จะมีคนในกลุ่มก๊วนอยู่ในกลุ่มพลังงานดังกล่าวเชื่อมโยงกันตลอดมา มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงในปตท. นำข้อมูล เล่ห์กลการโกงรูปแบบต่างๆ ใน ปตท. มาเปิดเผยให้ฟัง เช่น นำเงินกองทุนน้ำมันไปจ่ายเป็นค่าขนส่งก๊าซ ช่วยให้ปตท. ลดค่าใช้จ่าย ช่วยเพิ่มกำไรกว่า 20,000 กว่าล้านบาท ในปีสองปีที่ผ่านมา
วานนี้ (12 เม.ย.) นายศรีราชา วงศารยางกูร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้แจกจ่ายบทความและข้อสังเกต กรณีศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งล่าสุดไม่รับคำร้องของ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ที่ขอให้ศาลพิจารณาไต่สวนรายการทรัพย์สินที่ปตท. ต้องส่งคืนคลังใหม่ โดยให้ยึดรายงานผลการตรวจสอบทรัพย์สินของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นหลัก พิจารณาด้วยว่าคำสั่งไม่รับฟ้องดังกล่าวไม่น่าจะมีผลกับคำร้องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นฟ้องต่อศาล แม้ในคำฟ้องของผู้ตรวจการฯ จะมีปมว่ารายการทรัพย์สินที่ปตท. ต้องคืนตามที่ตุลาการเจ้าของสำนวนมีคำสั่งนั้น ไม่ถูกต้อง
นายศรีราชา เห็นว่ากรณีดังกล่าว ถือเป็นข้อเท็จจริงคนละส่วนกับคำฟ้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 4 เม.ย.59 เพื่อขอให้เพิกถอนมติครม. วันที่ 18 ธ.ค.50 และ วันที่ 10 ส.ค.53 ในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งมอบทรัพย์สินประกอบด้วย ที่ดินที่ได้จากการเวนคืน สิทธิการใช้ที่ดินเหนือที่ดินเอกชน และทรัพย์สินที่เป็นระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ คือ 1. โครงการท่อบางปะกง-วังน้อย 2. โครงการท่อจากชายแดนไทยพม่า-ราชบุรี และ 3. โครงการท่อราชบุรี-วังน้อย รวมถึงโครงการท่อย่อย ซึ่งมีมูลค่าทางบัญชี ณ วันที่ 30 ก.ย. 44 ประมาณ 16,175 ล้านบาท
"เนื่องจากมติครม.ดังกล่าว เกิดจากการที่นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน ผู้ดำรงตำแหน่งขณะนั้น ปกปิดข้อมูล ข้อเท็จจริง อีกทั้งมีกระบวนการทำผิดกฎหมาย เนื่องจากกรมธนารักษ์ไม่ได้ถูกมอบหมายให้ดำเนินการ แต่กลับไปดำเนินการ ดังนั้นที่ว่าเป็นการกระทำโดยชอบ จริง ๆ คือไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นข้อเท็จจริงใหม่ที่เกิดขึ้น และเป็นประโยชน์สาธารณะ การร้องไม่ปฏิบัติตามมติครม. ยังไม่เคยปรากฏมีการร้องมาก่อน หรือเคยมีอยู่ในคำฟ้องเดิมแน่นอน" นายศรีราชา ระบุ
นายศรีราชา ยังตั้งข้อสังเกตในเรื่องความเป็นมาเกี่ยวกับการยื่นฟ้องต่อปตท. โดยเริ่มตั้งแต่การแปรรูปปตท. เป็นบริษัทมหาชน ตลอดจนเรื่องราวการบริหารจัดการภายในองค์กร ที่ยังเป็นข้อสงสัยในความไม่โปร่งใสและตรวจสอบได้ อาทิเช่น
1. การแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจมาเป็นบริษัทมหาชน ไม่โปร่งใส เนื่องจากสหภาพแรงงานคัดค้านการแปรรูป ผู้บริหารจึงปิดปากด้วยการแจกหุ้นให้ผู้บริหาร และพนักงาน จำนวนลดหลั่นกันลงไปตาม
2. การแปรรูปค้นพบบัญชีผู้ถือหุ้น ที่ระบุกระทรวงการคลังถือร้อยละ 49 อีกร้อยละ 2 เป็นของกองทุนของรัฐบาล ส่วนที่นำมาขายให้ประชาชนซื้อมีจำนวนร้อยละ 49 จองผ่านธนาคาร เพียงไม่ถึง2 นาทีขายหมด จึงน่าสงสัยว่า หุ้นจำนวนมหาศาลหายไปไหนในระยะเวลาอันสั้น การเปิดขายให้ประชานเป็นเพียงพิธีกรรมว่ามีการเปิดขายหรือไม่
จากการพิจารณาเอกสารผู้ถือหุ้นพบว่า มีผู้ถือหุ้นเป็นชื่อธนาคารต่างชาติ 10 ธนาคาร ถือหุ้นแห่งละ 1.2% รวมเป็น 12% แต่ละธนาคาร มีคำว่า“Nominee”วงเล็บอยู่ข้างท้ายชื่อ เป็นไปได้หรือไม่ว่า คือ ผู้ได้รับประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ปตท. มีกำไรโดยเฉลี่ยปีละ 50,000 ล้านบาท ก็จะได้ปันผล 6,000 ล้านบาท กลุ่มผู้ที่เป็นนอมินี จะได้เงินปันผลได้เดือนละ 500 ล้านบาท วันละ 16.67 ล้านบาท หากมีกำไร 100,000 ล้านบาทต่อปี จะได้เงินปันผลถึงปีละ 12,000 ล้านบาท หรือจะได้วันละ 33.33 ล้านบาท
3. การบริหารงานไม่โปร่งใส มีความเชื่อมโยงกันในกลุ่มคณะกรรมการนโยบายพลังงาน และกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จะมีคนในกลุ่มก๊วนอยู่ในกลุ่มพลังงานดังกล่าวเชื่อมโยงกันตลอดมา มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงในปตท. นำข้อมูล เล่ห์กลการโกงรูปแบบต่างๆ ใน ปตท. มาเปิดเผยให้ฟัง เช่น นำเงินกองทุนน้ำมันไปจ่ายเป็นค่าขนส่งก๊าซ ช่วยให้ปตท. ลดค่าใช้จ่าย ช่วยเพิ่มกำไรกว่า 20,000 กว่าล้านบาท ในปีสองปีที่ผ่านมา