**แม้ว่านานๆ จะใส่เสื้อกั๊กออกมาสักที แต่สำหรับ ธีรยุทธ บุญมี นักวิชาการ นักวิเคราะห์สังคม ถือว่ายังคมคายน่าติดตามทุกครั้ง อย่างล่าสุดในงานวัน"สัญญา ธรรมศักดิ์" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันอังคารที่ 5 เมษายน ที่ผ่านมา เขาก็ไปร่วมวิเคราะห์วิจารณ์สังคม และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้แบบตรงใจเช่นเคย โดยเฉพาะกับภารกิจการปฏิรูปในปัจจุบัน และสะท้อนไปถึงอนาคตที่ดูแล้วล้มเหลวค่อนข้างแน่นอน รวมไปถึงยังมองว่า ด้วยเนื้อหาของรัฐธรรมนูญปัจจุบัน กำลังนำไปสู่แนวโน้มของ "รัฐข้าราชการ"
"หัวใจสำคัญที่สุดของการปฏิรูป ก็คือ การส่งเสริม สนับสนุน สร้างเครือข่ายกลไกอำนาจ และค่านิยมความรับผิดชอบของภาคสังคม และชุมชนขึ้นมา เพื่อถ่วงดุลกับการใช้อิทธิพลอำนาจเกินขอบเขตกติกาของทั้งนักการเมือง ข้าราชการ และกลุ่มอิทธิพล การแก้ปัญหาหาบเร่ แผงลอย วินมอเตอร์ไซค์ได้อย่างยั่งยืนนั้น แก้ได้โดยอำนาจของชุมชน และการปกครองท้องถิ่น โดยไม่จำเป็นต้องใช้การรัฐประหาร หรือ มาตรา 44 แต่อย่างใด"
** "ผมไม่สรุปว่าควรจะเป็นอย่างไร แต่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นในคำอธิบายของคสช. ที่ดูเหมือนว่า อยากดูแลสถานการณ์ต่ออีก 5 ปี มองว่าคสช.ไม่ได้แสดงความมุ่งมั่นในเรื่องการปฏิรูป ไม่ผูกพันภารกิจปฏิรูปกับกองทัพตั้งแต่ต้น ที่รัฐบาลพลเรือนถูกมองว่า อ่อนแอ ปฏิรูปไม่ได้ก็พอรับฟังได้ ในขณะที่ คสช.มีอำนาจมากเต็มที่ ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้ รัฐบาลจากการเลือกตั้งมีความพร้อมน้อยกว่ารัฐบาลปัจจุบันแน่นอน แล้วจะขอเวลาดูทำไมอีก 5 ปี จะได้ทำหรือ มันขัดแย้งในตัวเอง และไม่สร้างความเชื่อมั่น"
"การที่มี ส.ว.สรรหา เท่ากับว่าเอาหลักการประชาธิปไตยไปเสียสละด้วยเหตุผลที่จะดูแลการปฏิรูป แต่พอมีอำนาจเต็มไม่ทำ มันสมเหตุสมผลหรือเปล่า เมื่อไม่เป็นเหตุเป็นผล มันจะสร้างปัญหาในอนาคตขึ้นมา"
"การเน้นเร่งร่างรัฐธรรมนูญไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องในเรื่องการปฏิรูป ซึ่งแนวทางเช่นนี้เกิดขึ้นมาตลอด ตั้งแต่ปี 2535 มาจนถึงปี 2549 ที่ต้องโยนเรื่องการปฏิรูปให้นักกฎหมายเข้ามาแก้ มองว่าสิ่งสำคัญจะทำอย่างไรให้ประชาชนออกมามีส่วนร่วมปฏิรูป ซึ่งน่าเสียดายเวลา 2 ปี ของคสช. ซึ่งแม้มีการดำเนินการในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะการจัดระเบียบสังคม แต่เชื่อว่าหลังจากนี้ไม่กี่ปี ก็จะกลับมาเหมือนเดิม สิ่งที่ควรทำคือ การฝึกฝนประชาชนในการใช้อำนาจตรวจสอบการคอร์รัปชัน เราเหลือเวลาอีกในปีหน้า หวังว่ารัฐบาลจะดำเนินการในเรื่องนี้มากขึ้น"
"แนวโน้มรัฐธรรมนูญจะทำให้เกิดเป็นรัฐราชการ และมีความเป็นอนุรักษ์นิยมมาจากพื้นฐานเดิมของกองทัพ ซึ่งในเรื่องการมี ส.ว.สรรหา ก็เป็นสิ่งที่มาจากบุคคลแวดล้อม คสช. ที่ต้องการอยู่ในวังวนของผลประโยชน์ ซึ่งการมี ส.ว.สรรหา จะแก้ปัญหาต่างๆได้หรือไม่นั้น โดยหลักประชาธิปไตยไม่ต้องมีส.ว.ก็ได้ ประเทศเราจำเป็นหรือไม่ก็ยังไม่มีการถกเถียงกันในเรื่องนี้ "
แม้ว่าคำพูด และบทวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองและสังคมของ ธีรยุทธ บุญมี อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ หรือคนแรกๆ ที่พูดแบบนี้ แต่ด้วยสถานะความเป็นนักวิชาการที่ยังพอเชื่อถือได้ ทำให้เพิ่มน้ำหนักมากขึ้น เป็นการเพิ่มแรงกระทุ้งไปที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ให้เร่งมือในเรื่องการปฏิรูปตามความต้องการของชาวบ้านมากขึ้นกว่าเดิม
** ที่ผ่านมาพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มักจะมีอารมณ์หงุดหงิดทุกครั้ง เมื่อถูกคำถามเร่งรัดถึงเรื่องการปฏิรูปในเรื่องเร่งด่วน เช่น เรื่องการปฏิรูปตำรวจ การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความมั่นคงทางสังคมในอนาคต แต่พล.อ.ประยุทธ์ ก็มักอ้างว่า ต้องใช้เวลา หรือก่อนหน้านี้เคยอ้างว่า "ทำไม่ทัน" ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลหน้า นั่นเท่ากับว่า ในยุครัฐบาล คสช.จะไม่มีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวแล้ว และคาดว่าเรื่องการปฏิรูปตำรวจในอนาคต จะไม่มีการปฏิรูปกันครั้งใหญ่อย่างแน่นอน ทั้งที่เรื่องดังกล่าวเป็นความต้องการหลัก และเร่งด่วนที่สุดของชาวบ้าน และหวังพึ่งพาอำนาจพิเศษแบบเบ็ดเสร็จในมือของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่ทุกอย่างก็ยังล่องลอยในสายลม
ขณะเดียวกัน สิ่งที่รัฐบาลคสช. ดำเนินการกลับทำในสิ่งที่เป็นเรื่องตรงกันข้าม นอกเหนือจากการโยกย้ายนายตำรวจระดับสูงที่เคยเป็นเครือข่ายการเมืองในกลุ่ม "อำนาจเก่า" ออกไป หรือหากบางคนสามารถประนีประนอมกันได้ แม้ว่าจะเคยสังกัดกลุ่มเก่ากันอย่างชัดเจนก็ตาม ก็ยังสามารถอยู่ดี มีสุข ขณะที่ตำแหน่งอื่นก็เพียงแค่โยกย้าย สลับสับเปลี่ยนกันเข้ามา โดยเป็น"เครือข่ายอำนาจใหม่" เข้ามาแทน แม้ว่าพิจารณาในภาพรวมของการทำงานตำรวจในยุคนี้ ก็ต้องยอมรับความจริงว่าตอบสนองความต้องการของชาวบ้านได้ดีไม่น้อย แต่ความหมายก็คือ "มันไม่ใช่ประเด็น" เพราะมันไม่มีหลักประกันสำหรับอนาคต
เพราะในอนาคตหากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ ชาวบ้านก็ต้องมาลุ้นกันอีกว่า การทำหน้าที่ของตำรวจ จะออกมาแบบไหนกันอีก และมีความตั้งใจที่จะรับใช้ประชาชนหรือรับใช้นักการเมืองหรือผู้มีอำนาจแบบเดิมอีก
**ดังนั้นหากพิจารณาจากคำพูดข้างต้นของ ธีรยุทธ บุญมี เชื่อว่าหลายคนย่อมเห็นตรงกันว่า ตรงใจ และมองแบบเดียวกันว่า สองปีที่ผ่านมาหากพิจารณาในเรื่องผลงานด้านปฏิรูป ก็ต้องบอกว่า "ล้มเหลว" แบบที่ไม่มีความตั้งใจจริงจัง และแนวโน้มข้างหน้าเรากำลังก้าวเดินไปเป็น "รัฐราชการ" เสียอีก ซึ่งผิดทิศผิดทาง ออกห่างแนวทางปฏิรูปมากกว่าเดิม เหมือนกับคำพูดที่หลายคนกล่าวว่า สองปียังไม่มีผลงาน ยังคิด
"หัวใจสำคัญที่สุดของการปฏิรูป ก็คือ การส่งเสริม สนับสนุน สร้างเครือข่ายกลไกอำนาจ และค่านิยมความรับผิดชอบของภาคสังคม และชุมชนขึ้นมา เพื่อถ่วงดุลกับการใช้อิทธิพลอำนาจเกินขอบเขตกติกาของทั้งนักการเมือง ข้าราชการ และกลุ่มอิทธิพล การแก้ปัญหาหาบเร่ แผงลอย วินมอเตอร์ไซค์ได้อย่างยั่งยืนนั้น แก้ได้โดยอำนาจของชุมชน และการปกครองท้องถิ่น โดยไม่จำเป็นต้องใช้การรัฐประหาร หรือ มาตรา 44 แต่อย่างใด"
** "ผมไม่สรุปว่าควรจะเป็นอย่างไร แต่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นในคำอธิบายของคสช. ที่ดูเหมือนว่า อยากดูแลสถานการณ์ต่ออีก 5 ปี มองว่าคสช.ไม่ได้แสดงความมุ่งมั่นในเรื่องการปฏิรูป ไม่ผูกพันภารกิจปฏิรูปกับกองทัพตั้งแต่ต้น ที่รัฐบาลพลเรือนถูกมองว่า อ่อนแอ ปฏิรูปไม่ได้ก็พอรับฟังได้ ในขณะที่ คสช.มีอำนาจมากเต็มที่ ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้ รัฐบาลจากการเลือกตั้งมีความพร้อมน้อยกว่ารัฐบาลปัจจุบันแน่นอน แล้วจะขอเวลาดูทำไมอีก 5 ปี จะได้ทำหรือ มันขัดแย้งในตัวเอง และไม่สร้างความเชื่อมั่น"
"การที่มี ส.ว.สรรหา เท่ากับว่าเอาหลักการประชาธิปไตยไปเสียสละด้วยเหตุผลที่จะดูแลการปฏิรูป แต่พอมีอำนาจเต็มไม่ทำ มันสมเหตุสมผลหรือเปล่า เมื่อไม่เป็นเหตุเป็นผล มันจะสร้างปัญหาในอนาคตขึ้นมา"
"การเน้นเร่งร่างรัฐธรรมนูญไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องในเรื่องการปฏิรูป ซึ่งแนวทางเช่นนี้เกิดขึ้นมาตลอด ตั้งแต่ปี 2535 มาจนถึงปี 2549 ที่ต้องโยนเรื่องการปฏิรูปให้นักกฎหมายเข้ามาแก้ มองว่าสิ่งสำคัญจะทำอย่างไรให้ประชาชนออกมามีส่วนร่วมปฏิรูป ซึ่งน่าเสียดายเวลา 2 ปี ของคสช. ซึ่งแม้มีการดำเนินการในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะการจัดระเบียบสังคม แต่เชื่อว่าหลังจากนี้ไม่กี่ปี ก็จะกลับมาเหมือนเดิม สิ่งที่ควรทำคือ การฝึกฝนประชาชนในการใช้อำนาจตรวจสอบการคอร์รัปชัน เราเหลือเวลาอีกในปีหน้า หวังว่ารัฐบาลจะดำเนินการในเรื่องนี้มากขึ้น"
"แนวโน้มรัฐธรรมนูญจะทำให้เกิดเป็นรัฐราชการ และมีความเป็นอนุรักษ์นิยมมาจากพื้นฐานเดิมของกองทัพ ซึ่งในเรื่องการมี ส.ว.สรรหา ก็เป็นสิ่งที่มาจากบุคคลแวดล้อม คสช. ที่ต้องการอยู่ในวังวนของผลประโยชน์ ซึ่งการมี ส.ว.สรรหา จะแก้ปัญหาต่างๆได้หรือไม่นั้น โดยหลักประชาธิปไตยไม่ต้องมีส.ว.ก็ได้ ประเทศเราจำเป็นหรือไม่ก็ยังไม่มีการถกเถียงกันในเรื่องนี้ "
แม้ว่าคำพูด และบทวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองและสังคมของ ธีรยุทธ บุญมี อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ หรือคนแรกๆ ที่พูดแบบนี้ แต่ด้วยสถานะความเป็นนักวิชาการที่ยังพอเชื่อถือได้ ทำให้เพิ่มน้ำหนักมากขึ้น เป็นการเพิ่มแรงกระทุ้งไปที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ให้เร่งมือในเรื่องการปฏิรูปตามความต้องการของชาวบ้านมากขึ้นกว่าเดิม
** ที่ผ่านมาพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มักจะมีอารมณ์หงุดหงิดทุกครั้ง เมื่อถูกคำถามเร่งรัดถึงเรื่องการปฏิรูปในเรื่องเร่งด่วน เช่น เรื่องการปฏิรูปตำรวจ การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความมั่นคงทางสังคมในอนาคต แต่พล.อ.ประยุทธ์ ก็มักอ้างว่า ต้องใช้เวลา หรือก่อนหน้านี้เคยอ้างว่า "ทำไม่ทัน" ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลหน้า นั่นเท่ากับว่า ในยุครัฐบาล คสช.จะไม่มีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวแล้ว และคาดว่าเรื่องการปฏิรูปตำรวจในอนาคต จะไม่มีการปฏิรูปกันครั้งใหญ่อย่างแน่นอน ทั้งที่เรื่องดังกล่าวเป็นความต้องการหลัก และเร่งด่วนที่สุดของชาวบ้าน และหวังพึ่งพาอำนาจพิเศษแบบเบ็ดเสร็จในมือของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่ทุกอย่างก็ยังล่องลอยในสายลม
ขณะเดียวกัน สิ่งที่รัฐบาลคสช. ดำเนินการกลับทำในสิ่งที่เป็นเรื่องตรงกันข้าม นอกเหนือจากการโยกย้ายนายตำรวจระดับสูงที่เคยเป็นเครือข่ายการเมืองในกลุ่ม "อำนาจเก่า" ออกไป หรือหากบางคนสามารถประนีประนอมกันได้ แม้ว่าจะเคยสังกัดกลุ่มเก่ากันอย่างชัดเจนก็ตาม ก็ยังสามารถอยู่ดี มีสุข ขณะที่ตำแหน่งอื่นก็เพียงแค่โยกย้าย สลับสับเปลี่ยนกันเข้ามา โดยเป็น"เครือข่ายอำนาจใหม่" เข้ามาแทน แม้ว่าพิจารณาในภาพรวมของการทำงานตำรวจในยุคนี้ ก็ต้องยอมรับความจริงว่าตอบสนองความต้องการของชาวบ้านได้ดีไม่น้อย แต่ความหมายก็คือ "มันไม่ใช่ประเด็น" เพราะมันไม่มีหลักประกันสำหรับอนาคต
เพราะในอนาคตหากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ ชาวบ้านก็ต้องมาลุ้นกันอีกว่า การทำหน้าที่ของตำรวจ จะออกมาแบบไหนกันอีก และมีความตั้งใจที่จะรับใช้ประชาชนหรือรับใช้นักการเมืองหรือผู้มีอำนาจแบบเดิมอีก
**ดังนั้นหากพิจารณาจากคำพูดข้างต้นของ ธีรยุทธ บุญมี เชื่อว่าหลายคนย่อมเห็นตรงกันว่า ตรงใจ และมองแบบเดียวกันว่า สองปีที่ผ่านมาหากพิจารณาในเรื่องผลงานด้านปฏิรูป ก็ต้องบอกว่า "ล้มเหลว" แบบที่ไม่มีความตั้งใจจริงจัง และแนวโน้มข้างหน้าเรากำลังก้าวเดินไปเป็น "รัฐราชการ" เสียอีก ซึ่งผิดทิศผิดทาง ออกห่างแนวทางปฏิรูปมากกว่าเดิม เหมือนกับคำพูดที่หลายคนกล่าวว่า สองปียังไม่มีผลงาน ยังคิด