ผู้จัดการรายวัน360 - "บิ๊กต๊อก" ระบุ ดีเอสไอ ส่งพระลิขิต สมเด็จสังฆราช ให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบถือเป็นหน้าที่ หลัง จนท.รัฐ ผิด ม.157 ไม่อาบัติปาราชิก ธัมมชโย ตั้งแต่ปี 2542
สืบเนื่องจาก ดีเอสไอ สรุปสำนวนกรณี พระลิขิต 6 ฉบับ ของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ให้ดำเนินการตามพระธรรมวินัย อาบัติปาราชิก พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ฐานเป็นภิกษุยักยอกทรัพย์กว่า 950 ล้านบาทของวัดมาเป็นของตน เมื่อปี 2542 แต่ก็เงียบหายไป
ความคืบหน้า วานนี้ (5 เม.ย.) กระทรวงยุติธรรม พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า มันเป็นขั้นตอนหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบแต่ไม่อยากให้เจาะจงในประเด็นใด กรณีนี้เราควรมองเป็นในแง่ระบบกฎหมายและระบบหน้าที่รับผิดชอบมากกว่า
รายงานข่าวแจ้งว่า ดีเอสไอ ยืนยันพระลิขิตเป็นพระวินิจฉัยที่ต้องปฏิบัติตาม เพราะรับรองโดยมติมหาเถรสมาคม และมติคณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย โดยคดีที่เกี่ยวพันกับ พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย อยู่ในขั้นตอนสอบสวนของดีเอสไอเป็นคดีพิเศษ 2 คดี คือ คดีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่รอการชี้มูล และ คดีรับเช็คสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น 878 ฉบับ ยอดเงินกว่า 2,000 ล้านบาท ได้ออกหมายเรียกพระธัมมชโย มาให้ปากคำในฐานะผู้ต้องหา คดีฟอกเงินและรับของโจร และต้องมารับทราบข้อกล่าวหา ในวันที่ 8 เม.ย.นี้
พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงกรณี นายสัมพันธ์ เสริมชีพ ทนายความวัดพระธรรมกาย ออกมาระบุว่า พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ต้องการขอเลื่อนนัดหมายการเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในคดีสมคบฟอกเงิน ว่า ขณะนี้ทางดีเอสไอยังไม่ได้รับการประสานจากทางวัดพระธรรมกายแต่อย่างใด
ตามขั้นตอน หากผู้ที่ถูกออกหมายเรียกให้มารับทราบข้อกล่าวหานั้น ถ้าไม่สะดวกตามวันและเวลาที่พนักงานสอบสวนได้ออกหมายเรียกไป ก็สามารถขอเลื่อนนัดออกไปได้ 1 ครั้ง ซึ่งขึ้นอยู่กับเหตุผลที่ขัดข้อง
สืบเนื่องจาก ดีเอสไอ สรุปสำนวนกรณี พระลิขิต 6 ฉบับ ของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ให้ดำเนินการตามพระธรรมวินัย อาบัติปาราชิก พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ฐานเป็นภิกษุยักยอกทรัพย์กว่า 950 ล้านบาทของวัดมาเป็นของตน เมื่อปี 2542 แต่ก็เงียบหายไป
ความคืบหน้า วานนี้ (5 เม.ย.) กระทรวงยุติธรรม พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า มันเป็นขั้นตอนหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบแต่ไม่อยากให้เจาะจงในประเด็นใด กรณีนี้เราควรมองเป็นในแง่ระบบกฎหมายและระบบหน้าที่รับผิดชอบมากกว่า
รายงานข่าวแจ้งว่า ดีเอสไอ ยืนยันพระลิขิตเป็นพระวินิจฉัยที่ต้องปฏิบัติตาม เพราะรับรองโดยมติมหาเถรสมาคม และมติคณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย โดยคดีที่เกี่ยวพันกับ พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย อยู่ในขั้นตอนสอบสวนของดีเอสไอเป็นคดีพิเศษ 2 คดี คือ คดีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่รอการชี้มูล และ คดีรับเช็คสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น 878 ฉบับ ยอดเงินกว่า 2,000 ล้านบาท ได้ออกหมายเรียกพระธัมมชโย มาให้ปากคำในฐานะผู้ต้องหา คดีฟอกเงินและรับของโจร และต้องมารับทราบข้อกล่าวหา ในวันที่ 8 เม.ย.นี้
พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงกรณี นายสัมพันธ์ เสริมชีพ ทนายความวัดพระธรรมกาย ออกมาระบุว่า พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ต้องการขอเลื่อนนัดหมายการเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในคดีสมคบฟอกเงิน ว่า ขณะนี้ทางดีเอสไอยังไม่ได้รับการประสานจากทางวัดพระธรรมกายแต่อย่างใด
ตามขั้นตอน หากผู้ที่ถูกออกหมายเรียกให้มารับทราบข้อกล่าวหานั้น ถ้าไม่สะดวกตามวันและเวลาที่พนักงานสอบสวนได้ออกหมายเรียกไป ก็สามารถขอเลื่อนนัดออกไปได้ 1 ครั้ง ซึ่งขึ้นอยู่กับเหตุผลที่ขัดข้อง