คนไทยจำนวนหนึ่งดีใจที่พม่าเป็นประชาธิปไตยมีประธานาธิบดีจากการเลือกตั้ง หลังจากอยู่ภายใต้อำนาจของทหารมาหลายสิบปี ทำประเทศล้าหลังไม่พัฒนาเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านอย่างไทย แต่พม่าก็ยังเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดใน 1 ใน 4 ของสภานิติบัญญัติมาจากการแต่งตั้งของฝ่ายทหาร กระทรวงเกี่ยวกับความมั่นคงก็ยังอยู่ในอำนาจของทหาร
แต่พม่าเองก็คงจะต้องเรียนรู้กับระบอบประชาธิปไตยไปอีกพักหนึ่ง ถ้าพวกเขาได้ผู้นำที่เห็นประโยชน์ของประชาชนมากกว่าตัวเองแบบที่คนไทยประสบก็นับเป็นเรื่องที่โชคดี แต่วันหนึ่งก็คงเรียนรู้ว่า แม้ประชาธิปไตยจะเป็นการตัดสินใจด้วยอำนาจของประชาชน แต่ก็ไม่ได้เป็นสูตรสำเร็จว่าเราจะได้ผู้นำที่ดีเสมอไป ประเทศไทยมีบทเรียนอันเจ็บปวดมาแล้วกับระบอบทักษิณที่กลายเป็นทรราชจากการเลือกตั้ง จนกระทั่งทหารต้องเข้ามาจัดการบ้านเมืองอีกครั้ง
แต่เมื่อทหารเข้ามาแล้ว คสช.ควรจะต้องตีโจทย์ให้แตกว่า บ้านเมืองเกิดความขัดแย้งมานับสิบปีเพราะอะไร อะไรที่ คสช.ควรจะต้องทำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงสร้างในการปฏิรูปประเทศ การกระจายอำนาจ การปฏิรูปตำรวจ หรือป้องกันไม่ให้นักการเมืองที่เข้ามาบริหารประเทศบิดเบือนการใช้อำนาจไปแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวได้แบบที่ระบอบทักษิณทำ และประชาชนออกมาต่อต้านจนเป็นความขัดแย้งในประเทศ แต่ปรากฏว่าสิ่งเหล่านี้รัฐบาลทหารกลับไม่ได้ทำอะไรเลย
เราได้ยินพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พูดอยู่แต่ว่ารัฐบาลนี้ทำมากกว่าทุกรัฐบาล แต่ถามว่า ทำอะไรบ้างเป็นรูปธรรมมันมองไม่เห็นนะ นอกจากเห็นใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งต่างๆ ซึ่งมันต้องผ่านการประเมินค่าว่าสิ่งที่ทำนั้นถูกหรือผิด เกิดจากความคิดที่รอบคอบไหมหรือฟังใครมา ยกตัวอย่างเช่น การยกเลิกกฎหมายผังเมืองในธุรกิจที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การข้ามขั้นตอน EIA ซึ่งพูดได้เลยว่า ฝ่ายที่ได้ประโยชน์ก็คือ กลุ่มทุน
พล.อ.ประยุทธ์คงรู้นะครับว่า ตัวเองได้รับการสนับสนุนจากประชาชนฝั่งที่ไม่เอาทักษิณ และพล.อ.ประยุทธ์ก็มองเห็นถึงปัญหาว่า ปัญหาของประเทศก็คือระบอบทักษิณ จะทำอย่างไรไม่ให้ทักษิณกลับมามีอำนาจ
พล.อ.ประยุทธ์คงรู้ว่าหัวใจของทักษิณก็คือ เขามีมวลชนที่ไม่ว่าจะผิดหรือถูกก็เป็นเสียงส่วนใหญ่ที่ทำให้ทักษิณชนะการเลือกตั้งมาเป็นสิบปี ถ้าจะชนะทักษิณหรือป้องกันไม่ให้ทักษิณกลับมามีอำนาจสิ่งที่ต้องทำก็คือต้องช่วงชิงมวลชนฝ่ายทักษิณกลับมา
แต่สุดท้าย คสช.ก็ไม่ได้ทำอะไร นอกจากสะกดให้มวลชนของทักษิณไม่ออกมาเคลื่อนไหวเท่านั้น
พอถึงเวลาที่จะต้องกลับไปสู่การเลือกตั้ง จึงต้องเขียนรัฐธรรรมนูญไม่ให้พรรคของทักษิณชนะ นอกจากนั้นยังมีโจทย์อีกข้อที่ คสช.พูดออกมาตรงๆ ไม่ได้ก็คือการออกแบบบ้านเมืองในช่วงเปลี่ยนผ่านที่กำลังจะมาถึง
คสช.อยากให้การเลือกตั้งเป็นเขตใหญ่ เขตละ 3 คน แต่ให้ประชาชนในเขตนั้นมีสิทธิลงคะแนนเลือกได้คนเดียว แล้วเอาคนที่ได้คะแนนอันดับ 1 ถึง 3 เป็นตัวแทนของประชาชนในเขตนั้น กลายเป็นว่าผู้สมัครแม้จะอยู่พรรคเดียวกันก็ต้องแข่งกันเอง มีโอกาสสูงที่ผู้ได้รับการเลือกตั้งจะมาจาก3คน3พรรค ยากมาที่พรรคเดียวกันจะได้แบบยกทีม ยกเว้นพรรคในเขตนั้นจะมีระบบจัดตั้งที่เข้มแข็งสามารถจัดสรรคะแนนให้คนในพรรคเดียวทั้ง 3 คนได้ ซึ่งโอกาสแบบนี้น้อยมาก
หากเลือกตั้งแบบที่ คสช.เสนอผลลัพธ์จากการเลือกตั้งทั่วประเทศก็คือ ยากมากที่พรรคไหนจะมีคะแนนเสียงข้างมาก 2 พรรคใหญ่อย่างเพื่อไทยกับประชาธิปัตย์ก็ไม่น่าจะมีจำนวนผู้แทนที่ต่างกันมากนัก ดังนั้น รัฐบาลหลังการเลือกตั้งจะต้องเป็นรัฐบาลผสมอย่างแน่นอน ซึ่งคงอยู่ที่ว่า ทหารที่คุมอำนาจต้องการให้พรรคไหนเข้ามาเป็นรัฐบาล
นอกจากนั้น คสช.เสนอว่า ให้ ส.ว. 250 คนมาจากการสรรหา และมีอายุ 1 สมัย 5 ปี และสามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ พูดง่ายๆ แบบไม่อ้อมค้อมก็คือ พรรค ส.ว.ซึ่งเป็นพรรคของทหารจะกลายเป็นพรรคที่มีเสียงข้างมากในสภานิติบัญญัติคือมีเสียงถึง 1 ใน 3 ของทั้งสองสภา ถ้าพรรครัฐบาลแตกแถวก็สามารถใช้เสียงฝ่ายค้านและส.ว.รวมกันคว่ำรัฐบาลได้
ลองคิดดูพม่าที่เราว่ายังไม่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบยังกำหนดเก้าอี้ทหารในสภานิติบัญญัติไว้แค่ 1 ใน 4 แต่สภานิติบัญญัติไทยจะกำหนดไว้ถึง 1 ใน 3 เลยทีเดียว
ในทางกลับกันถ้ารัฐบาลเอาใจทหารก็จะมีเสียงสนับสนุนเพิ่มขึ้นมา 250 เสียง ฝ่ายค้านก็แทบจะหมดความหมายกลายเป็นเผด็จการรัฐสภาก็ว่าได้ แถมฝ่าย ส.ว.ยังมีผู้นำเหล่าทัพทุกพรรคซึ่งคุมอำนาจนั่งกุมบังเหียนอยู่ด้วย
นอกจากนั้นจากที่ร่างแรกของนายมีชัยเสนอให้พรรคการเมืองเสนอชื่อคน 3 คนมาเป็นนายกฯ ข้อเสนอของ คสช.ก็คือ ไม่ต้องเสนอชื่อ โดยมีเงื่อนไขว่าคนนอกสามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้เหมือนเดิม พอเป็นแบบนี้โอกาสสูงมากที่นายกรัฐมนตรีจะมาจากการผลักดันของทหารซึ่งจะกลายเป็นข้อเสนอที่ปฏิเสธไม่ได้ของพรรคการเมืองที่อยากเป็นพรรครัฐบาล
ถึงตอนนี้หลายคนคงคิดไปถึงเงาร่างของนายกฯ ที่อ้วนๆ เตี้ยๆ
คสช.คงไม่สั่งให้เขียนรัฐธรรมนูญแบบนี้มาแบบไม่มีเป้าหมายหรอกครับ ชัดเจนว่า คสช.ต้องการคุมอำนาจหลังการเลือกตั้งไปอีกระยะเวลาหนึ่ง และต้องกำหนดได้ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลและใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรี และคุมรัฐบาลให้เดินไปตามครรลองของ คสช.อย่างน้อย 2 การเลือกตั้ง 2 รัฐบาลหลังจากนี้ และป้องกันไม่ให้พรรคของทักษิณกลับมาเป็นรัฐบาลอีกระยะหนึ่ง
ด้านหนึ่ง คสช.รู้ดีว่า แม้มวลชนของทักษิณจะไม่ออกมาเคลื่อนไหวในช่วงนี้ แต่ถ้าเข้าคูหาเลือกตั้งแล้วกติกาเหมือนเดิมพรรคของทักษิณก็ชนะอีก เลยต้องหาทางทำลายพรรคของทักษิณด้วยการออกแบบรัฐธรรมนูญไม่ให้มีพรรคไหนได้เสียงข้างมากอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และมีเสียง ส.ว.เป็นพลังชี้ขาดในรัฐสภา
แต่ปรากฏว่า กรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดนายมีชัยกลับไม่ตอบสนองข้อเสนอของ คสช.ทั้งหมด โดยยังคงยืนยันว่า ยังเลือกตั้งเขตเดียวเบอร์เดียวเหมือนเดิม ส่วน ส.ว.เอาตามข้อเสนอของ คสช. 200 คน แต่ขออีก 50 คนให้มาจากการคัดสรรกลุ่มสาขาอาชีพ และยังยืนยันให้พรรคเสนอชื่อนายกฯเหมือนเดิมแต่เปิดช่องว่า ถ้ายังเลือกนายกฯ จากชื่อที่เสนอไม่ได้ให้ไปขอมติจากรัฐสภา 2 ใน 3 เพื่อเสนอชื่อคนนอกโผ
ที่หัก คสช.อย่างแรงก็คือ ส.ว.ไม่สามารถอภิปรายรัฐบาลได้ อำนาจต่อรองของ คสช.ก็น้อยลงแม้จะยอมให้แม่ทัพทุกเหล่าทัพเข้าไปนั่งใน ส.ว.ก็ตาม
เหมือนกับว่า กรธ.ชุดมีชัย ไม่เข้าใจเป้าหมายว่า นอกจากโจทย์เรื่องทักษิณแล้วทำไม คสช.ต้องการกุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปีนี้
ก็คงต้องรอดูว่าชะตากรรมนักร่างรัฐธรรมนูญอย่างมีชัยจะมีจุดจบเดียวกับบวรศักดิ์หรือไม่
แต่พม่าเองก็คงจะต้องเรียนรู้กับระบอบประชาธิปไตยไปอีกพักหนึ่ง ถ้าพวกเขาได้ผู้นำที่เห็นประโยชน์ของประชาชนมากกว่าตัวเองแบบที่คนไทยประสบก็นับเป็นเรื่องที่โชคดี แต่วันหนึ่งก็คงเรียนรู้ว่า แม้ประชาธิปไตยจะเป็นการตัดสินใจด้วยอำนาจของประชาชน แต่ก็ไม่ได้เป็นสูตรสำเร็จว่าเราจะได้ผู้นำที่ดีเสมอไป ประเทศไทยมีบทเรียนอันเจ็บปวดมาแล้วกับระบอบทักษิณที่กลายเป็นทรราชจากการเลือกตั้ง จนกระทั่งทหารต้องเข้ามาจัดการบ้านเมืองอีกครั้ง
แต่เมื่อทหารเข้ามาแล้ว คสช.ควรจะต้องตีโจทย์ให้แตกว่า บ้านเมืองเกิดความขัดแย้งมานับสิบปีเพราะอะไร อะไรที่ คสช.ควรจะต้องทำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงสร้างในการปฏิรูปประเทศ การกระจายอำนาจ การปฏิรูปตำรวจ หรือป้องกันไม่ให้นักการเมืองที่เข้ามาบริหารประเทศบิดเบือนการใช้อำนาจไปแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวได้แบบที่ระบอบทักษิณทำ และประชาชนออกมาต่อต้านจนเป็นความขัดแย้งในประเทศ แต่ปรากฏว่าสิ่งเหล่านี้รัฐบาลทหารกลับไม่ได้ทำอะไรเลย
เราได้ยินพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พูดอยู่แต่ว่ารัฐบาลนี้ทำมากกว่าทุกรัฐบาล แต่ถามว่า ทำอะไรบ้างเป็นรูปธรรมมันมองไม่เห็นนะ นอกจากเห็นใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งต่างๆ ซึ่งมันต้องผ่านการประเมินค่าว่าสิ่งที่ทำนั้นถูกหรือผิด เกิดจากความคิดที่รอบคอบไหมหรือฟังใครมา ยกตัวอย่างเช่น การยกเลิกกฎหมายผังเมืองในธุรกิจที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การข้ามขั้นตอน EIA ซึ่งพูดได้เลยว่า ฝ่ายที่ได้ประโยชน์ก็คือ กลุ่มทุน
พล.อ.ประยุทธ์คงรู้นะครับว่า ตัวเองได้รับการสนับสนุนจากประชาชนฝั่งที่ไม่เอาทักษิณ และพล.อ.ประยุทธ์ก็มองเห็นถึงปัญหาว่า ปัญหาของประเทศก็คือระบอบทักษิณ จะทำอย่างไรไม่ให้ทักษิณกลับมามีอำนาจ
พล.อ.ประยุทธ์คงรู้ว่าหัวใจของทักษิณก็คือ เขามีมวลชนที่ไม่ว่าจะผิดหรือถูกก็เป็นเสียงส่วนใหญ่ที่ทำให้ทักษิณชนะการเลือกตั้งมาเป็นสิบปี ถ้าจะชนะทักษิณหรือป้องกันไม่ให้ทักษิณกลับมามีอำนาจสิ่งที่ต้องทำก็คือต้องช่วงชิงมวลชนฝ่ายทักษิณกลับมา
แต่สุดท้าย คสช.ก็ไม่ได้ทำอะไร นอกจากสะกดให้มวลชนของทักษิณไม่ออกมาเคลื่อนไหวเท่านั้น
พอถึงเวลาที่จะต้องกลับไปสู่การเลือกตั้ง จึงต้องเขียนรัฐธรรรมนูญไม่ให้พรรคของทักษิณชนะ นอกจากนั้นยังมีโจทย์อีกข้อที่ คสช.พูดออกมาตรงๆ ไม่ได้ก็คือการออกแบบบ้านเมืองในช่วงเปลี่ยนผ่านที่กำลังจะมาถึง
คสช.อยากให้การเลือกตั้งเป็นเขตใหญ่ เขตละ 3 คน แต่ให้ประชาชนในเขตนั้นมีสิทธิลงคะแนนเลือกได้คนเดียว แล้วเอาคนที่ได้คะแนนอันดับ 1 ถึง 3 เป็นตัวแทนของประชาชนในเขตนั้น กลายเป็นว่าผู้สมัครแม้จะอยู่พรรคเดียวกันก็ต้องแข่งกันเอง มีโอกาสสูงที่ผู้ได้รับการเลือกตั้งจะมาจาก3คน3พรรค ยากมาที่พรรคเดียวกันจะได้แบบยกทีม ยกเว้นพรรคในเขตนั้นจะมีระบบจัดตั้งที่เข้มแข็งสามารถจัดสรรคะแนนให้คนในพรรคเดียวทั้ง 3 คนได้ ซึ่งโอกาสแบบนี้น้อยมาก
หากเลือกตั้งแบบที่ คสช.เสนอผลลัพธ์จากการเลือกตั้งทั่วประเทศก็คือ ยากมากที่พรรคไหนจะมีคะแนนเสียงข้างมาก 2 พรรคใหญ่อย่างเพื่อไทยกับประชาธิปัตย์ก็ไม่น่าจะมีจำนวนผู้แทนที่ต่างกันมากนัก ดังนั้น รัฐบาลหลังการเลือกตั้งจะต้องเป็นรัฐบาลผสมอย่างแน่นอน ซึ่งคงอยู่ที่ว่า ทหารที่คุมอำนาจต้องการให้พรรคไหนเข้ามาเป็นรัฐบาล
นอกจากนั้น คสช.เสนอว่า ให้ ส.ว. 250 คนมาจากการสรรหา และมีอายุ 1 สมัย 5 ปี และสามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ พูดง่ายๆ แบบไม่อ้อมค้อมก็คือ พรรค ส.ว.ซึ่งเป็นพรรคของทหารจะกลายเป็นพรรคที่มีเสียงข้างมากในสภานิติบัญญัติคือมีเสียงถึง 1 ใน 3 ของทั้งสองสภา ถ้าพรรครัฐบาลแตกแถวก็สามารถใช้เสียงฝ่ายค้านและส.ว.รวมกันคว่ำรัฐบาลได้
ลองคิดดูพม่าที่เราว่ายังไม่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบยังกำหนดเก้าอี้ทหารในสภานิติบัญญัติไว้แค่ 1 ใน 4 แต่สภานิติบัญญัติไทยจะกำหนดไว้ถึง 1 ใน 3 เลยทีเดียว
ในทางกลับกันถ้ารัฐบาลเอาใจทหารก็จะมีเสียงสนับสนุนเพิ่มขึ้นมา 250 เสียง ฝ่ายค้านก็แทบจะหมดความหมายกลายเป็นเผด็จการรัฐสภาก็ว่าได้ แถมฝ่าย ส.ว.ยังมีผู้นำเหล่าทัพทุกพรรคซึ่งคุมอำนาจนั่งกุมบังเหียนอยู่ด้วย
นอกจากนั้นจากที่ร่างแรกของนายมีชัยเสนอให้พรรคการเมืองเสนอชื่อคน 3 คนมาเป็นนายกฯ ข้อเสนอของ คสช.ก็คือ ไม่ต้องเสนอชื่อ โดยมีเงื่อนไขว่าคนนอกสามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้เหมือนเดิม พอเป็นแบบนี้โอกาสสูงมากที่นายกรัฐมนตรีจะมาจากการผลักดันของทหารซึ่งจะกลายเป็นข้อเสนอที่ปฏิเสธไม่ได้ของพรรคการเมืองที่อยากเป็นพรรครัฐบาล
ถึงตอนนี้หลายคนคงคิดไปถึงเงาร่างของนายกฯ ที่อ้วนๆ เตี้ยๆ
คสช.คงไม่สั่งให้เขียนรัฐธรรมนูญแบบนี้มาแบบไม่มีเป้าหมายหรอกครับ ชัดเจนว่า คสช.ต้องการคุมอำนาจหลังการเลือกตั้งไปอีกระยะเวลาหนึ่ง และต้องกำหนดได้ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลและใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรี และคุมรัฐบาลให้เดินไปตามครรลองของ คสช.อย่างน้อย 2 การเลือกตั้ง 2 รัฐบาลหลังจากนี้ และป้องกันไม่ให้พรรคของทักษิณกลับมาเป็นรัฐบาลอีกระยะหนึ่ง
ด้านหนึ่ง คสช.รู้ดีว่า แม้มวลชนของทักษิณจะไม่ออกมาเคลื่อนไหวในช่วงนี้ แต่ถ้าเข้าคูหาเลือกตั้งแล้วกติกาเหมือนเดิมพรรคของทักษิณก็ชนะอีก เลยต้องหาทางทำลายพรรคของทักษิณด้วยการออกแบบรัฐธรรมนูญไม่ให้มีพรรคไหนได้เสียงข้างมากอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และมีเสียง ส.ว.เป็นพลังชี้ขาดในรัฐสภา
แต่ปรากฏว่า กรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดนายมีชัยกลับไม่ตอบสนองข้อเสนอของ คสช.ทั้งหมด โดยยังคงยืนยันว่า ยังเลือกตั้งเขตเดียวเบอร์เดียวเหมือนเดิม ส่วน ส.ว.เอาตามข้อเสนอของ คสช. 200 คน แต่ขออีก 50 คนให้มาจากการคัดสรรกลุ่มสาขาอาชีพ และยังยืนยันให้พรรคเสนอชื่อนายกฯเหมือนเดิมแต่เปิดช่องว่า ถ้ายังเลือกนายกฯ จากชื่อที่เสนอไม่ได้ให้ไปขอมติจากรัฐสภา 2 ใน 3 เพื่อเสนอชื่อคนนอกโผ
ที่หัก คสช.อย่างแรงก็คือ ส.ว.ไม่สามารถอภิปรายรัฐบาลได้ อำนาจต่อรองของ คสช.ก็น้อยลงแม้จะยอมให้แม่ทัพทุกเหล่าทัพเข้าไปนั่งใน ส.ว.ก็ตาม
เหมือนกับว่า กรธ.ชุดมีชัย ไม่เข้าใจเป้าหมายว่า นอกจากโจทย์เรื่องทักษิณแล้วทำไม คสช.ต้องการกุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปีนี้
ก็คงต้องรอดูว่าชะตากรรมนักร่างรัฐธรรมนูญอย่างมีชัยจะมีจุดจบเดียวกับบวรศักดิ์หรือไม่