วานนี้ (10มี.ค.) น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวในวงเสวนาเรื่อง "ทิศทางรัฐธรรมนูญไทยในยุคการปฏิรูป" จัดโดย ม.เกษตรศาสตร์ ว่า ทิศทางการปฏิรูปที่คนไทยอยากเห็น คือ "ให้คนไทยได้กินอิ่ม และนอนอุ่น" นอกเหนือจากนั้นคือ สิทธิเสรีภาพต่างๆ ประชาธิปไตยทางการเมืองอยู่ได้ต้องมีฐานที่แข็งแรงคือประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ซึ่งที่ผ่านมามีความเหลื่อมล้ำ มีการแย่งชิงทรัพยากร จนนำไปสู่ความขัดแย้งทางสังคม และการเมือง ดังนั้นเราจะแก้ปัญหาทางการเมืองได้ต้องลดความเหลื่อมล้ำ ร่างรัฐธรรมนูญที่บอกว่าต้องการจะปราบการทุจริตคอร์รัปชัน แต่การทุจริตเกิดขึ้นโดยโครงสร้าง 3 ฝ่าย คือ กลุ่มการเมืองผู้ใช้อำนาจรัฐ ข้าราชการ และกลุ่มทุน โดยนักการเมืองกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนได้ ถ้าจะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ และปราบคอร์รัปชัน ต้องไล่มาถึงกลุ่มทุน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทุจริต เพราะทุนผูกขาดใช้อำนาจเงินมหาศาลเข้าหาอำนาจรัฐให้เอื้อประโยชน์ให้
" ดิฉันขอตั้งฉายารัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า เป็นฉบับทุนขุนนาง ทำให้รัฐมีอำนาจใหญ่ขึ้น ลดอำนาจประชาชน และทำให้อำนาจข้าราชการเทคโนแครตมากขึ้น และถูกครอบงำโดยกลุ่มทุน ซึ่งการจะสร้างดุลยภาพต้องให้อำนาจประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมตรวจสอบมากขึ้น ที่ผ่านมากฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ผ่านจากรัฐสภาไทยน้อยมาก ธุรกิจมีอิทธิพลสูงมาก ทำไมไม่ส่งเสริมให้ประชาชนรวมกลุ่มตรวจสอบธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งหลาย เสรีภาพต้องไม่ใช่เสรีภาพของกลุ่มทุน ซึ่งไม่เป็นการปฏิรูป เราต้องมีเช็กลิสต์ ตรวจสอบว่ารัฐธรรมนูญจะนำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นหรือเลวลง อย่าคิดว่าจัดการนักการเมืองอย่างเดียว ยังมีกลุ่มทุนผูกขาดที่ยังไม่สามารถจัดการได้ จะไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง อีกทั้งการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 44 จะส่งผลให้เสพติดอำนาจพิเศษ และทำให้คนไทยเคยชิน ควรพัฒนากลไกปกติให้มีประสิทธิภาพ" น.ส.รสนา กล่าว
ด้านนายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ประเทศไทยมีหลายเรื่องที่ต้องปฏิรูป แต่ไม่มีเรื่องไหนสักเรื่องที่เห็นได้ชัดว่ามีการปฏิรูปอย่างมีทิศทางมีอนาคต ซึ่งควรจะทำแต่ทำไม่ได้แม้แต่เรื่องเดียว การปฏิรูปไม่เกิดขึ้นเพราะสังคมมีความคิดเห็นที่หลากหลาย ต้องการการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ และการทดสอบ แต่เรากลับทำกระบวนการทั้งหมดนี้โดยคนส่วนน้อยมาก ที่ไม่มีความชอบธรรมเลย ไม่มีทางพิสูจน์ได้เลยว่าเป็นการปฏิรูป เพราะไม่ได้ฟังความเห็นใคร ที่สำคัญคือ คนที่มีความคิดว่าต้องปฏิรูปแล้วไม่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่า จะปฏิรูปอะไร กำลังบอกว่าจะต้องกำหนดแผนทั้งหมดของการปฏิรูปไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หากปรับไม่ได้ เป็นเรื่องอันตรายมาก จะเอาแนวทางปฏิรูปที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมไปใส่ร่างรัฐธรรมนูญ แล้วโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ อีกทั้งร่างรัฐธรรมนูญยังแก้ไขได้ยากมาก ตนเห็นว่าแก้ไม่ได้ พอบอกอย่างนี้ ก็หาว่าบิดเบือน
"ตอนนี้ไม่ต้องไปพยายามปฏิรูปอะไร ไว้ให้ประชาชนปฏิรูป ขอให้ให้กำหนดกติกา การเลือกตั้ง การได้มาซึ่งรัฐบาล และการตรวจสอบรัฐบาลให้ดี ให้ระบบที่ดีไปปฏิรูปในอนาคตโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน" นายจาตุรนต์ กล่าว และว่า ร่างรัฐธรรมนูญคราวนี้ มีความคิดเห็นต่างกันมาก ไม่ใช่แค่ให้มีการเลือกตั้งแล้วบ้านเมืองจะดีเอง ถ้าร่างยังเป็นแบบนี้ จะทำประเทศไทยจะไปสู่การรัฐประหารอีกรอบ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนเชื่อว่าสุดท้ายรัฐบาล จะต้องอยู่ไปถึง 4 ปี ถือว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญ ที่ต้องใช้ให้เป็นประโยชน์ สิ่งที่ควรจะต้องทำคือ 1. รัฐบาลจะต้องดำเนินการปฏิรูปประเทศ ควบคู่ไปกับการบริหารราชการแผ่นดินปกติไม่ให้เสียของ 2. อะไรที่สวนทางกับการปฏิรูป จำเป็นต้องจัดการ หรือไม่ทำสวนทางเสียเอง และ 3.รัฐบาลควรจะเร่งทำหรือให้ความสำคัญกับสิ่งที่รัฐบาลจากการเลือกตั้งจะทำได้ยาก เช่น การปฏิรูปตำรวจ 4. การปฏิรูปคน ถ้ามีการสร้างคนที่มีคุณภาพได้แล้ว เศรษฐกิจและสังคมจะเดินหน้าตามมาประสบความสำเร็จไม่ยาก
" ดิฉันขอตั้งฉายารัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า เป็นฉบับทุนขุนนาง ทำให้รัฐมีอำนาจใหญ่ขึ้น ลดอำนาจประชาชน และทำให้อำนาจข้าราชการเทคโนแครตมากขึ้น และถูกครอบงำโดยกลุ่มทุน ซึ่งการจะสร้างดุลยภาพต้องให้อำนาจประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมตรวจสอบมากขึ้น ที่ผ่านมากฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ผ่านจากรัฐสภาไทยน้อยมาก ธุรกิจมีอิทธิพลสูงมาก ทำไมไม่ส่งเสริมให้ประชาชนรวมกลุ่มตรวจสอบธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งหลาย เสรีภาพต้องไม่ใช่เสรีภาพของกลุ่มทุน ซึ่งไม่เป็นการปฏิรูป เราต้องมีเช็กลิสต์ ตรวจสอบว่ารัฐธรรมนูญจะนำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นหรือเลวลง อย่าคิดว่าจัดการนักการเมืองอย่างเดียว ยังมีกลุ่มทุนผูกขาดที่ยังไม่สามารถจัดการได้ จะไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง อีกทั้งการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 44 จะส่งผลให้เสพติดอำนาจพิเศษ และทำให้คนไทยเคยชิน ควรพัฒนากลไกปกติให้มีประสิทธิภาพ" น.ส.รสนา กล่าว
ด้านนายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ประเทศไทยมีหลายเรื่องที่ต้องปฏิรูป แต่ไม่มีเรื่องไหนสักเรื่องที่เห็นได้ชัดว่ามีการปฏิรูปอย่างมีทิศทางมีอนาคต ซึ่งควรจะทำแต่ทำไม่ได้แม้แต่เรื่องเดียว การปฏิรูปไม่เกิดขึ้นเพราะสังคมมีความคิดเห็นที่หลากหลาย ต้องการการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ และการทดสอบ แต่เรากลับทำกระบวนการทั้งหมดนี้โดยคนส่วนน้อยมาก ที่ไม่มีความชอบธรรมเลย ไม่มีทางพิสูจน์ได้เลยว่าเป็นการปฏิรูป เพราะไม่ได้ฟังความเห็นใคร ที่สำคัญคือ คนที่มีความคิดว่าต้องปฏิรูปแล้วไม่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่า จะปฏิรูปอะไร กำลังบอกว่าจะต้องกำหนดแผนทั้งหมดของการปฏิรูปไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หากปรับไม่ได้ เป็นเรื่องอันตรายมาก จะเอาแนวทางปฏิรูปที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมไปใส่ร่างรัฐธรรมนูญ แล้วโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ อีกทั้งร่างรัฐธรรมนูญยังแก้ไขได้ยากมาก ตนเห็นว่าแก้ไม่ได้ พอบอกอย่างนี้ ก็หาว่าบิดเบือน
"ตอนนี้ไม่ต้องไปพยายามปฏิรูปอะไร ไว้ให้ประชาชนปฏิรูป ขอให้ให้กำหนดกติกา การเลือกตั้ง การได้มาซึ่งรัฐบาล และการตรวจสอบรัฐบาลให้ดี ให้ระบบที่ดีไปปฏิรูปในอนาคตโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน" นายจาตุรนต์ กล่าว และว่า ร่างรัฐธรรมนูญคราวนี้ มีความคิดเห็นต่างกันมาก ไม่ใช่แค่ให้มีการเลือกตั้งแล้วบ้านเมืองจะดีเอง ถ้าร่างยังเป็นแบบนี้ จะทำประเทศไทยจะไปสู่การรัฐประหารอีกรอบ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนเชื่อว่าสุดท้ายรัฐบาล จะต้องอยู่ไปถึง 4 ปี ถือว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญ ที่ต้องใช้ให้เป็นประโยชน์ สิ่งที่ควรจะต้องทำคือ 1. รัฐบาลจะต้องดำเนินการปฏิรูปประเทศ ควบคู่ไปกับการบริหารราชการแผ่นดินปกติไม่ให้เสียของ 2. อะไรที่สวนทางกับการปฏิรูป จำเป็นต้องจัดการ หรือไม่ทำสวนทางเสียเอง และ 3.รัฐบาลควรจะเร่งทำหรือให้ความสำคัญกับสิ่งที่รัฐบาลจากการเลือกตั้งจะทำได้ยาก เช่น การปฏิรูปตำรวจ 4. การปฏิรูปคน ถ้ามีการสร้างคนที่มีคุณภาพได้แล้ว เศรษฐกิจและสังคมจะเดินหน้าตามมาประสบความสำเร็จไม่ยาก