หลังก่อนหน้านี้มีคำสั่งใช้มาตรา 44 ประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าชุมชนเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งนายกฯ มีดำริว่าจะให้เช่า 99 ปี โดยละเว้นกฎหมายผังเมือง จากนั้นประกาศให้คลังน้ำมัน โรงงานผลิตน้ำมัน ท่อส่งน้ำมัน สายส่งไฟฟ้า โรงงานก๊าซ โรงงานบำบัดน้ำเสีย โรงงานกำจัดขยะ บ่อบำบัดขยะ ทั้งหมดไม่ต้องอยู่ใต้กฎหมายผังเมือง ทำให้ไม่ต้องพิจารณาข้อห้ามตามกฎหมายผังเมือง ซึ่งเป็นมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ที่สำคัญอีกต่อไป
ซึ่งเป็นการทำลายคุณค่าและหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน และขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายผังเมืองที่กำหนดให้รัฐต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และนำไปประกอบการพิจารณากำหนดประเภทและจัดระเบียบการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับเจตจำนงของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการคุ้มครองรักษาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสวัสดิภาพของสังคม
ล่าสุดพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เอาอีกแล้ว มีคำสั่งตามมาตรา 44 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 “ในกรณีที่มีความจําเป็นเร่งด่วนเพื่อประโยชน์ในการดําเนินโครงการหรือกิจการด้านการคมนาคมขนส่ง การชลประทาน การป้องกันสาธารณภัย โรงพยาบาล หรือที่อยู่อาศัย ในระหว่างที่รอผลการพิจารณา รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามวรรคหนึ่ง ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการหรือกิจการนั้น อาจเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติให้ดําเนินการ เพื่อให้ได้มาซึ่งเอกชนผู้รับดําเนินการตามโครงการหรือกิจการไปพลางก่อนได้ แต่จะลงนามผูกพันในสัญญา หรือให้สิทธิกับเอกชนผู้รับดําเนินการตามโครงการหรือกิจการไม่ได้”
สรุปก็คือให้รัฐดำเนินการหาผู้รับเหมาไปก่อน และค่อยทำผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือ EIA ตามหลัง คล้ายกับให้ความมั่นใจกับเอกชนว่าคุณได้งานแน่ไม่ต้องห่วง
หรือว่า พล.อ.ประยุทธ์กำลังพาเรากลับไปสู่ยุคหินเหรอ นี่ไม่ใช่ยุคที่โลกกำลังคำนึงถึงสภาพของสิ่งแวดล้อมที่อาจกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญเรื่องใหญ่เหรอ
มาดูว่าการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือ EIA คืออะไร
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment ย่อว่า EIA) หมายถึง การประเมินผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสุขภาพหรือความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบ รวมทั้งความเสี่ยงที่จะมีผลต่อสภาพความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อธรรมชาติ ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรง การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอาจนิยามได้ว่าเป็น “กระบวนการเพื่อการบ่งชี้ ทำนาย ประเมิน และบรรเทาผลกระทบทางชีวกายภาพ สังคม และผลกระทบที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่มีต่อข้อเสนอการพัฒนาใดๆ ก่อนที่จะมีการตัดสินใจให้ลงมือดำเนินได้” วัตถุประสงค์ของการประเมินก็เพื่อให้เป็นการประกันได้ว่า ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจได้พิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบของโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อม ก่อนทำการอนุมัติให้ดำเนินโครงการที่มีผู้ขออนุญาตดำเนินการ
แต่พอออกคำสั่งแบบนี้รัฐก็ใช้อำนาจบาตรใหญ่ดำเนินการได้ทันที ไม่ว่าจะสร้างเขื่อนแม่วงก์หรือรถไฟฟ้าความเร็วสูง หรือว่าจะสร้างถนนยกระดับลงในแม่น้ำเจ้าพระยา โรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่งมีคนบอกว่า คำสั่งดังกล่าวก็เพื่อเป้าหมายของโครงการเหล่านี้นี่แหละ
ก่อนที่พล.อ.ประยุทธ์จะนำประเทศไทยกลับไปสู่ความล้าหลัง มาดูว่า ประเทศเริ่มมีมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้างโครงการต่างๆ มาตั้งแต่เมื่อไหร่
นโยบายสิ่งแวดล้อมของเมืองไทยเริ่มมีในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517
มาตรา 77 รัฐพึงรักษาความสมดุลของสภาพแวดล้อมและความงามทางธรรมชาติ รวมทั้งป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร และน่านน้ำ
มาตรา 97 รัฐพึงรักษาสิ่งแวดล้อมให้สะอาด และพึงขจัดสิ่งเป็นพิษ ซึ่งทำลายสุขภาพและอนามัยของประชาชน
สมัยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประกาศใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมเป็นทางการฉบับแรก คือ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2518 และได้กำหนดให้มีการจัดทำรายงาน EIA แต่ได้ดำเนินการจัดทำรายงาน EIA อย่างจริงจังใน พ.ศ. 2514
ในพ.ศ. 2535 ได้มีการพัฒนาระบบ EIA อีกครั้ง ในสมัยนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี มีการปรับปรุงกฎหมายสิ่งแวดล้อมและประกาศออกมาเป็นพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ. สิ่งแวดล้อม 2535)
จะเห็นว่าทั้ง 2 ยุคที่มีการพัฒนาด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อมนั้น อยู่ในยุคของรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเช่นเดียวกัน
แต่มาถึงยุคเผด็จการในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ดูเหมือนว่า การเคร่งครัดเรื่องมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมถูกมองว่าเป็นอุปสรรคของการพัฒนาไปเสียแล้ว
คล้ายๆ กับมีปรัชญาว่า การพัฒนาต้องมาก่อนคุณภาพชีวิตของประชาชน แม้ว่าจะไม่คุ้มกับการทำลายสภาพสิ่งแวดล้อม แต่ถ้าสามารถใช้ประโยชน์ได้ก็ให้ยึดประโยชน์เป็นหลัก ปัญหาสิ่งแวดล้อมก็ค่อยไปว่ากัน นี่ไม่มีใครพูดนะครับ แต่ผมวิเคราะห์เอาจากเมื่อเห็นคำสั่งครั้งนี้
ผมเชื่อว่า ถ้าเรื่องแบบนี้ทำในยุครัฐบาลประชาธิปไตยประชาชนจะต้องออกมาคัดค้านอย่างกว้างขวาง และคนจะต้องพูดกันว่าสิ่งที่รัฐทำนั้นเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มทุน เพราะฝ่ายได้ประโยชน์ก็คือเอกชนที่รับงานโครงการ ไม่เห็นว่า ประเทศชาติและประชาชนจะได้ประโยชน์ในระยะยาว เพราะเป็นการฉีกทิ้งมาตรการป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนในระยะยาวทิ้งไป
แล้วถามว่า ความจำเป็นเร่งด่วนคืออะไรขอบเขตอยู่ตรงไหน การได้เอกชนเข้ามาดำเนินการก่อนโดยที่ยังไม่มีผลการทำ EIA จะมีหลักประกันอย่างไรว่าเอกชนรายนั้นจะไม่เข้าไปดำเนินการเพื่อเตรียมการต่อพื้นที่ซึ่งอาจเกิดการกระทบกระทั่งต่อชุมชนและสภาพแวดล้อม ทั้งยังเป็นการลำดับความสำคัญของขั้นตอนที่ผิด อย่างนี้ไม่ใช่การกดดันทางอ้อมว่ายังไงก็ต้องทำ EIA ให้ผ่านแล้วกล้อมแกล้มไปว่า ตรงไหนกระทบสิ่งแวดล้อมให้ไปแก้ในภายหลัง
อย่ามาพูดนะครับว่า รัฐไม่ได้เลิกการทำ EIA เพียงแต่ให้เริ่มโครงการไปก่อนแต่ EIA ก็ยังทำเหมือนเดิม เพราะความหมายมันต่างกันมาก ทำไมถึงรอ EIA ไม่ได้ คำสั่งนี้คนที่ได้ประโยชน์ก็มีแต่เอกชนที่ได้โครงการไป
ดูเหมือนรัฐบาลชุดนี้จะให้ความสำคัญกับกลุ่มทุนมาก เอากลุ่มทุนใหญ่ของชาติเข้าไปเป็นที่ปรึกษาการทำงานของรัฐบาล บอกว่าจะผลักดันนโยบาย “ประชารัฐ” ถามว่า สิ่งที่ทำนี้มีประโยชน์ต่อ “ประชารัฐ” ตรงไหน หัวใจของ “ประชารัฐ” คือ รัฐกับประชาชนใช่หรือไม่ หรือ “ประชารัฐ” ในความหมายของรัฐบาลเป็นอย่างอื่น
ทำไมทิ้งความสำคัญของขั้นตอนการทำ EIA พล.อ.ประยุทธ์ตอบหน่อยสิครับ แล้วช่วยบอกว่าใครได้ประโยชน์
ซึ่งเป็นการทำลายคุณค่าและหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน และขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายผังเมืองที่กำหนดให้รัฐต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และนำไปประกอบการพิจารณากำหนดประเภทและจัดระเบียบการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับเจตจำนงของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการคุ้มครองรักษาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสวัสดิภาพของสังคม
ล่าสุดพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เอาอีกแล้ว มีคำสั่งตามมาตรา 44 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 “ในกรณีที่มีความจําเป็นเร่งด่วนเพื่อประโยชน์ในการดําเนินโครงการหรือกิจการด้านการคมนาคมขนส่ง การชลประทาน การป้องกันสาธารณภัย โรงพยาบาล หรือที่อยู่อาศัย ในระหว่างที่รอผลการพิจารณา รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามวรรคหนึ่ง ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการหรือกิจการนั้น อาจเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติให้ดําเนินการ เพื่อให้ได้มาซึ่งเอกชนผู้รับดําเนินการตามโครงการหรือกิจการไปพลางก่อนได้ แต่จะลงนามผูกพันในสัญญา หรือให้สิทธิกับเอกชนผู้รับดําเนินการตามโครงการหรือกิจการไม่ได้”
สรุปก็คือให้รัฐดำเนินการหาผู้รับเหมาไปก่อน และค่อยทำผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือ EIA ตามหลัง คล้ายกับให้ความมั่นใจกับเอกชนว่าคุณได้งานแน่ไม่ต้องห่วง
หรือว่า พล.อ.ประยุทธ์กำลังพาเรากลับไปสู่ยุคหินเหรอ นี่ไม่ใช่ยุคที่โลกกำลังคำนึงถึงสภาพของสิ่งแวดล้อมที่อาจกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญเรื่องใหญ่เหรอ
มาดูว่าการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือ EIA คืออะไร
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment ย่อว่า EIA) หมายถึง การประเมินผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสุขภาพหรือความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบ รวมทั้งความเสี่ยงที่จะมีผลต่อสภาพความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อธรรมชาติ ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรง การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอาจนิยามได้ว่าเป็น “กระบวนการเพื่อการบ่งชี้ ทำนาย ประเมิน และบรรเทาผลกระทบทางชีวกายภาพ สังคม และผลกระทบที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่มีต่อข้อเสนอการพัฒนาใดๆ ก่อนที่จะมีการตัดสินใจให้ลงมือดำเนินได้” วัตถุประสงค์ของการประเมินก็เพื่อให้เป็นการประกันได้ว่า ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจได้พิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบของโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อม ก่อนทำการอนุมัติให้ดำเนินโครงการที่มีผู้ขออนุญาตดำเนินการ
แต่พอออกคำสั่งแบบนี้รัฐก็ใช้อำนาจบาตรใหญ่ดำเนินการได้ทันที ไม่ว่าจะสร้างเขื่อนแม่วงก์หรือรถไฟฟ้าความเร็วสูง หรือว่าจะสร้างถนนยกระดับลงในแม่น้ำเจ้าพระยา โรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่งมีคนบอกว่า คำสั่งดังกล่าวก็เพื่อเป้าหมายของโครงการเหล่านี้นี่แหละ
ก่อนที่พล.อ.ประยุทธ์จะนำประเทศไทยกลับไปสู่ความล้าหลัง มาดูว่า ประเทศเริ่มมีมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้างโครงการต่างๆ มาตั้งแต่เมื่อไหร่
นโยบายสิ่งแวดล้อมของเมืองไทยเริ่มมีในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517
มาตรา 77 รัฐพึงรักษาความสมดุลของสภาพแวดล้อมและความงามทางธรรมชาติ รวมทั้งป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร และน่านน้ำ
มาตรา 97 รัฐพึงรักษาสิ่งแวดล้อมให้สะอาด และพึงขจัดสิ่งเป็นพิษ ซึ่งทำลายสุขภาพและอนามัยของประชาชน
สมัยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประกาศใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมเป็นทางการฉบับแรก คือ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2518 และได้กำหนดให้มีการจัดทำรายงาน EIA แต่ได้ดำเนินการจัดทำรายงาน EIA อย่างจริงจังใน พ.ศ. 2514
ในพ.ศ. 2535 ได้มีการพัฒนาระบบ EIA อีกครั้ง ในสมัยนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี มีการปรับปรุงกฎหมายสิ่งแวดล้อมและประกาศออกมาเป็นพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ. สิ่งแวดล้อม 2535)
จะเห็นว่าทั้ง 2 ยุคที่มีการพัฒนาด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อมนั้น อยู่ในยุคของรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเช่นเดียวกัน
แต่มาถึงยุคเผด็จการในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ดูเหมือนว่า การเคร่งครัดเรื่องมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมถูกมองว่าเป็นอุปสรรคของการพัฒนาไปเสียแล้ว
คล้ายๆ กับมีปรัชญาว่า การพัฒนาต้องมาก่อนคุณภาพชีวิตของประชาชน แม้ว่าจะไม่คุ้มกับการทำลายสภาพสิ่งแวดล้อม แต่ถ้าสามารถใช้ประโยชน์ได้ก็ให้ยึดประโยชน์เป็นหลัก ปัญหาสิ่งแวดล้อมก็ค่อยไปว่ากัน นี่ไม่มีใครพูดนะครับ แต่ผมวิเคราะห์เอาจากเมื่อเห็นคำสั่งครั้งนี้
ผมเชื่อว่า ถ้าเรื่องแบบนี้ทำในยุครัฐบาลประชาธิปไตยประชาชนจะต้องออกมาคัดค้านอย่างกว้างขวาง และคนจะต้องพูดกันว่าสิ่งที่รัฐทำนั้นเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มทุน เพราะฝ่ายได้ประโยชน์ก็คือเอกชนที่รับงานโครงการ ไม่เห็นว่า ประเทศชาติและประชาชนจะได้ประโยชน์ในระยะยาว เพราะเป็นการฉีกทิ้งมาตรการป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนในระยะยาวทิ้งไป
แล้วถามว่า ความจำเป็นเร่งด่วนคืออะไรขอบเขตอยู่ตรงไหน การได้เอกชนเข้ามาดำเนินการก่อนโดยที่ยังไม่มีผลการทำ EIA จะมีหลักประกันอย่างไรว่าเอกชนรายนั้นจะไม่เข้าไปดำเนินการเพื่อเตรียมการต่อพื้นที่ซึ่งอาจเกิดการกระทบกระทั่งต่อชุมชนและสภาพแวดล้อม ทั้งยังเป็นการลำดับความสำคัญของขั้นตอนที่ผิด อย่างนี้ไม่ใช่การกดดันทางอ้อมว่ายังไงก็ต้องทำ EIA ให้ผ่านแล้วกล้อมแกล้มไปว่า ตรงไหนกระทบสิ่งแวดล้อมให้ไปแก้ในภายหลัง
อย่ามาพูดนะครับว่า รัฐไม่ได้เลิกการทำ EIA เพียงแต่ให้เริ่มโครงการไปก่อนแต่ EIA ก็ยังทำเหมือนเดิม เพราะความหมายมันต่างกันมาก ทำไมถึงรอ EIA ไม่ได้ คำสั่งนี้คนที่ได้ประโยชน์ก็มีแต่เอกชนที่ได้โครงการไป
ดูเหมือนรัฐบาลชุดนี้จะให้ความสำคัญกับกลุ่มทุนมาก เอากลุ่มทุนใหญ่ของชาติเข้าไปเป็นที่ปรึกษาการทำงานของรัฐบาล บอกว่าจะผลักดันนโยบาย “ประชารัฐ” ถามว่า สิ่งที่ทำนี้มีประโยชน์ต่อ “ประชารัฐ” ตรงไหน หัวใจของ “ประชารัฐ” คือ รัฐกับประชาชนใช่หรือไม่ หรือ “ประชารัฐ” ในความหมายของรัฐบาลเป็นอย่างอื่น
ทำไมทิ้งความสำคัญของขั้นตอนการทำ EIA พล.อ.ประยุทธ์ตอบหน่อยสิครับ แล้วช่วยบอกว่าใครได้ประโยชน์