วานนี้ (8 มี.ค.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (มปท.) กล่าวในวงเสวนา "การปฏิรูปตำรวจ" ว่า ปัญหาองค์กรตำรวจคือปัญหาของประเทศ ซึ่งวันนี้เราพบว่า โครงสร้างตำรวจไม่เอื้อให้ตำรวจทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ ในประเทศมีตำรวจกว่า 3 แสนคน ส่วนมากเป็นคนที่มีอุดมการณ์มีความคิด ความภาคภูมิใจรักษากฎหมาย แต่ส่วนใหญ่มีชีวิตที่ไม่ดี ต่ำกว่ามาตรฐานของคนทั่วไป เงินตอบแทนต่ำ การปฎิรูปตำรวจต้องพูดเรื่องค่าตอบแทน โดยจะต้องมีมากกว่าอาชีพอื่น จะได้ไม่ต้องคิดหาเงินด้วยวิธีต่างๆ
ที่ผ่านมา ผู้ใหญ่ที่มีอำนาจที่เกี่ยวข้องไม่คิดแก้ปัญหาให้ ตำรวจต้องคิดเอาเอง ผู้ใหญ่ก็เอาแต่เอาใช้เพื่อประโยชน์ ปัญหาอยู่ที่ใครจะเริ่มต้น ในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่มีทางปฏิรูปตำรวจได้ เพราะไม่กล้า มีกระบวนการตำรวจออกเคลื่อนไหวต่อต้าน มีแต่รัฐบาล คสช. อยู่ในฐานะที่จะปฏิรูปตำรวจได้ ต้องให้ตำรวจเป็นคนคิดเรียกร้องให้ปฏิรูปตัวเอง เพราะไม่มีใครรู้มากไปกว่าตำรวจ
นายสุเทพ กล่าวว่า ประชาชนเรียกร้องมาก ในเรื่องการปรับโครงสร้างการทำงาน และการกระจายอำนาจของตำรวจ วันนี้บริหารงานตำรวจรวมศูนย์ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) จะเห็นว่า ไม่เอื้อต่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาที่เกิดคือ การบริหารงานบุคคลและบริหารงานงบประมาณ พ.ร.บ.ตำรวจฯ เขียนข้อกำหนดในเรื่องการโยกย้ายตำรวจ เขียนไว้มากมาย แต่หากไปถามตำรวจในเรื่องการเลื่อนยศ ไม่มีการใช้หลักนี้ ตำรวจต้องไม่ยอมรับระบบการแต่งตั้งที่มาจากคนที่มีอำนาจ หรือจากคนที่อยู่ส่วนกลาง
หัวใจของการปฏิรูปตำรวจ ต้องไม่ให้ตำรวจอยู่ใต้อิทธิพลนักการเมือง พ่อค้า ผู้บังคับบัญชาที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ต้องรื้อทั้งโครงสร้าง ประชาชนมีโอกาสประเมินผลและตรวจสอบการทำงานของตำรวจได้ ตำรวจทำงานดีเยอะ แต่ไม่เคยได้เลื่อนชั้น เพราะคะแนนของประชาชนไม่มีใครเอาไปพิจารณา พอถึงเวลาแต่งตั้ง ก็ตัวใครตัวมัน
" ตลอดชีวิตที่เป็นนักการเมืองมา 36 ปี เห็นมีข้าราชการ 2 หน่วย ที่วิ่งได้เก่งมาก คือเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และตำรวจ เป็นนักวิ่งทีมชาติวิ่ง 100 เมตรได้เลย คนที่เป็นนายร้อย ต้องพึ่งตำรวจชั้นประทวนมาช่วยงาน เราต้องคิดถึงตำรวจชั้นผู้น้อย วันนี้คิดปฏิรูปตำรวจ ต้องทบทวนโครงสร้างทั้งระบบ แต่คิดว่าเป็นเรื่องยาก พอถึงเวลามีคนออกมาปลุกระดมอยู่ตลอด วันนี้เป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่ต้องเรียกร้องปฏิรูปให้ดีขึ้น" นายสุเทพ กล่าว
นายอุดม รัฐอมฤต โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวว่า มี 2 เรื่อง ที่อยากทำ คือ การยกระดับองค์กรตำรวจ และองค์กรยุติธรรม ทำอย่างไรให้ตำรวจ สามารถดำรงตนอยู่ได้ โดยไม่ข้องแวะวงการการเมือง บางคนวิจารณ์ว่าเหมือน รปภ. อยู่ที่การทำงานว่าจะใช้กฎหมายอย่างไร ทำให้บ้านเมืองอยู่ได้อย่าง การที่มีการมองว่ามีการซื้อขายตำแหน่งนั้น เป็นเพียงการมองกันแต่ภายนอกเท่านั้น
การปฏิรูปตำรวจ เป็นเรื่องที่เราไม่กล้าใช้คำตรงๆ ใน ร่าง รธน. ใช้คำว่า การบังคับใช้กฎหมาย เพราะไม่อยากให้กระทบใจคนหลายฝ่าย จุดประสงค์ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตำรวจ มองในภาพรวมว่า ภารกิจตำรวจ ควรเป็นอย่างไร เราพูดใน กรธ.ว่าหากการปฏิรูปตำรวจไม่ประสบความสำเร็จ เป้าหมายของรัฐธรรมนูญ การปฎิรูป 2 เรื่อง คือ การศึกษา และกระบวนการยุติธรรม ก็ไม่มีความหมาย ตนหวังว่าหากนายกฯ ฟังอยู่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงใน 2 เรื่องก่อนการเลือกตั้ง คือ เรื่องปฏิรูปการศึกษา และการปฏิรูปตำรวจ
ที่ผ่านมา ผู้ใหญ่ที่มีอำนาจที่เกี่ยวข้องไม่คิดแก้ปัญหาให้ ตำรวจต้องคิดเอาเอง ผู้ใหญ่ก็เอาแต่เอาใช้เพื่อประโยชน์ ปัญหาอยู่ที่ใครจะเริ่มต้น ในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่มีทางปฏิรูปตำรวจได้ เพราะไม่กล้า มีกระบวนการตำรวจออกเคลื่อนไหวต่อต้าน มีแต่รัฐบาล คสช. อยู่ในฐานะที่จะปฏิรูปตำรวจได้ ต้องให้ตำรวจเป็นคนคิดเรียกร้องให้ปฏิรูปตัวเอง เพราะไม่มีใครรู้มากไปกว่าตำรวจ
นายสุเทพ กล่าวว่า ประชาชนเรียกร้องมาก ในเรื่องการปรับโครงสร้างการทำงาน และการกระจายอำนาจของตำรวจ วันนี้บริหารงานตำรวจรวมศูนย์ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) จะเห็นว่า ไม่เอื้อต่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาที่เกิดคือ การบริหารงานบุคคลและบริหารงานงบประมาณ พ.ร.บ.ตำรวจฯ เขียนข้อกำหนดในเรื่องการโยกย้ายตำรวจ เขียนไว้มากมาย แต่หากไปถามตำรวจในเรื่องการเลื่อนยศ ไม่มีการใช้หลักนี้ ตำรวจต้องไม่ยอมรับระบบการแต่งตั้งที่มาจากคนที่มีอำนาจ หรือจากคนที่อยู่ส่วนกลาง
หัวใจของการปฏิรูปตำรวจ ต้องไม่ให้ตำรวจอยู่ใต้อิทธิพลนักการเมือง พ่อค้า ผู้บังคับบัญชาที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ต้องรื้อทั้งโครงสร้าง ประชาชนมีโอกาสประเมินผลและตรวจสอบการทำงานของตำรวจได้ ตำรวจทำงานดีเยอะ แต่ไม่เคยได้เลื่อนชั้น เพราะคะแนนของประชาชนไม่มีใครเอาไปพิจารณา พอถึงเวลาแต่งตั้ง ก็ตัวใครตัวมัน
" ตลอดชีวิตที่เป็นนักการเมืองมา 36 ปี เห็นมีข้าราชการ 2 หน่วย ที่วิ่งได้เก่งมาก คือเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และตำรวจ เป็นนักวิ่งทีมชาติวิ่ง 100 เมตรได้เลย คนที่เป็นนายร้อย ต้องพึ่งตำรวจชั้นประทวนมาช่วยงาน เราต้องคิดถึงตำรวจชั้นผู้น้อย วันนี้คิดปฏิรูปตำรวจ ต้องทบทวนโครงสร้างทั้งระบบ แต่คิดว่าเป็นเรื่องยาก พอถึงเวลามีคนออกมาปลุกระดมอยู่ตลอด วันนี้เป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่ต้องเรียกร้องปฏิรูปให้ดีขึ้น" นายสุเทพ กล่าว
นายอุดม รัฐอมฤต โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวว่า มี 2 เรื่อง ที่อยากทำ คือ การยกระดับองค์กรตำรวจ และองค์กรยุติธรรม ทำอย่างไรให้ตำรวจ สามารถดำรงตนอยู่ได้ โดยไม่ข้องแวะวงการการเมือง บางคนวิจารณ์ว่าเหมือน รปภ. อยู่ที่การทำงานว่าจะใช้กฎหมายอย่างไร ทำให้บ้านเมืองอยู่ได้อย่าง การที่มีการมองว่ามีการซื้อขายตำแหน่งนั้น เป็นเพียงการมองกันแต่ภายนอกเท่านั้น
การปฏิรูปตำรวจ เป็นเรื่องที่เราไม่กล้าใช้คำตรงๆ ใน ร่าง รธน. ใช้คำว่า การบังคับใช้กฎหมาย เพราะไม่อยากให้กระทบใจคนหลายฝ่าย จุดประสงค์ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตำรวจ มองในภาพรวมว่า ภารกิจตำรวจ ควรเป็นอย่างไร เราพูดใน กรธ.ว่าหากการปฏิรูปตำรวจไม่ประสบความสำเร็จ เป้าหมายของรัฐธรรมนูญ การปฎิรูป 2 เรื่อง คือ การศึกษา และกระบวนการยุติธรรม ก็ไม่มีความหมาย ตนหวังว่าหากนายกฯ ฟังอยู่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงใน 2 เรื่องก่อนการเลือกตั้ง คือ เรื่องปฏิรูปการศึกษา และการปฏิรูปตำรวจ