ผู้จัดการรายวัน 360 - "ดร.เซปิง เฟซออฟ" เตรียมเข้าให้ข้อมูล สคบ. 4 มี.ค.นี้ 3 หน่วยงานเตรียมตั้งอนุกรรมการฯคุมการโฆษณาเกินจริง เล็งเอาผิดเอเยนซีแบบ กม.อุ้มบุญ ด้าน รมว.สธ.ชี้ถกเถียงความหมาย "เฟซออฟ" ไร้ประโยชน์ ย้ำทำผิด กม.ต้องลงโทษเลย แพทยสภาแจงอาชีพ "ที่ปรึกษาศัลยกรรมความงาม" ทำได้ ในแง่ให้ข้อมูลที่เป็นจริง ไม่ใช่เทคนิคการทำศัลยกรรม
วานนี้ (25 ก.พ.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณี ดร.เซปิง ไชยศาส์น ยืนยันเดินหน้าโครงการเฟซออฟ ซึ่งยังมีปัญหาเรื่องของการโฆษณาว่า ไม่อยากให้สังคมพุ่งเป้าหรือถกเถียงความหมายเกี่ยวกับคำว่าเฟซออฟ เพราะไม่เกิดประโยชน์ ที่ผ่านมาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและแพทยสภาชี้แจงชัดเจนแล้วว่าไม่มีชื่อเรียก หรือเทคนิควิธีนี้ สิ่งที่ทำก็ไม่ใช่การเปลี่ยนหน้า ซึ่งกรณีนี้ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาล สถานประกอบการ หรือเอเยนซี หากทำผิดกฎหมายก็ต้องดำเนินการ ดีกว่าการมาเล่นคำกัน และอยากให้ประชาชนสนใจเรื่องของความปลอดภัยจากการทำศัลยกรรมเป็นหลัก ส่วนเรื่องของการควบคุมโฆษณาการเสริมความงาม กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กำลังตรวจสอบดูแลอยู่
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณี ดร.เซปิง อ้างว่าเป็นที่ปรึกษาด้านการศัลยกรรมความงาม ทั้งที่ไม่ใช่แพทย์ทำศัลยกรรมความงาม ซึ่งขณะนี้ไม่มีสมาคมวิชาชีพดูแลเรื่องมาตรฐาน นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า เรื่องนี้ผู้ถือกฎหมายอย่างแพทยสภา สบส. และ สคบ.ต้องเข้าไปดูว่าเป็นช่องโหว่หรือไม่ และต้องเข้ามาควบคุมดูแลตรงนี้
** เล็งกำหนดเกณฑ์โฆษณาศัลยกรรม
ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวถึงอาชีพที่ปรึกษาด้านศัลยกรรมความงามว่า ตนมองว่าคนทั่วไปก็สามารถทำได้ แต่คงเป็นแง่ของลักษณะการตลาด หากเปรียบก็เหมือนกับบริษัทรับจ้างโฆษณาว่า ถ้าอยากจะทำส่วนนั้นส่วนนี้สามารถไปทำที่ไหนได้บ้าง แต่คงไม่สามารถแนะนำได้ถึงเทคนิคการทำศัลยกรรมว่าจะต้องผ่าลักษณะแบบไหนอย่างไร เพราะเรื่องนี้เป็นส่วนของแพทย์ที่จะแนะนำแก่คนไข้ได้ หากเป็นแค่การประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลที่เป็นจริงก็สามารถทำได้ แต่ประชาชนก็ต้องระมัดระวังและดูด้วยว่าเป็นการโฆษณาเกินจริงหรือไม่ ซึ่งหากเป็นการโฆษณาเกินจริงก็ถือว่ามีความผิด ซึ่ง สคบ. และ สบส.ต้องเข้าไปดูแล แต่หากมีการกล่าวอ้างถึงแพทย์ ตรงนี้แพทยสภาก็จะเข้ามาดูแลด้วย
ส่วนการหารือร่วมกับ สคบ. และสบส.ในการควบคุมการโฆษณาด้านศัลยกรรมความงามนั้น ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า การห้ามโฆษณาไปเลยนั้นคงเป็นไปไม่ได้ แต่ต้องอยู่ในระเบียบ คุยกันว่าโฆษณาได้ในระดับไหน ซึ่งแนวทางที่วางไว้คือ ต้องเป็นการให้ข้อมูลประชาสัมพันธ์ที่เป็นจริง เช่น สถานพยาบาลสามารถทำอะไรได้บ้าง ราคาเป็นอย่างไร แต่ไม่ใช่บอกว่าที่นี่ดีที่สุด หมอเก่งที่สุด แบบนี้ไม่ได้
** ร่างระเบียบคุม “นายหน้า” เสริมความงาม
นายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการ สคบ. เปิดเผยว่า ดร.เซปิง จะเข้าให้ข้อมูลกับ สคบ.ในวันที่ 4 มี.ค.นี้ ซึ่งจะมาด้วยตัวเองหรือส่งผู้แทนก็ได้ หลังจากที่ไม่ได้เข้าให้ข้อมูลเมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา ส่วน นพ.กมล พันธ์ศรีทุม แพทย์ที่ถูกกล่าวอ้างถึงนั้น ก่อนหน้านี้ได้เชิญมาให้ข้อมูลแล้ว แต่ได้ส่งตัวแทนมา ทำให้ได้ข้อมูลแล้วบางส่วน จากนั้นจะนำมารวบรวมกับที่ ดร.เซปิง จะเข้าให้ข้อมูลต่อไป ซึ่งเป็นการสืบสวนสอบสวนจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ เพื่อเอาผิดกับผู้ที่โฆษณาเกินจริง ซึ่ง ปัจจุบันคลินิกเสริมความงามมีการใช้เอเยนซีมาก อาจมีโทษทั้งจำและปรับเหมือน พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 ที่มีการเอาผิดกับเอเยนซีด้วย โดยจะนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด สคบ. วันที่ 11 มี.ค.2559
“สคบ.อยู่ระหว่างศึกษาร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และแพทยสภา โดยอาจจะมีการตั้งอนุกรรมการขึ้นมาใหม่ 1 ชุด เพื่อทำหน้าที่ในการร่างระเบียบในการควบคุมเอเยนซีหรือนายหน้าที่ทำการโฆษณาเกินจริงเรื่องสุขภาพและความงามเหมือนประเทศเกาหลีใต้" นายอำพล กล่าว
วานนี้ (25 ก.พ.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณี ดร.เซปิง ไชยศาส์น ยืนยันเดินหน้าโครงการเฟซออฟ ซึ่งยังมีปัญหาเรื่องของการโฆษณาว่า ไม่อยากให้สังคมพุ่งเป้าหรือถกเถียงความหมายเกี่ยวกับคำว่าเฟซออฟ เพราะไม่เกิดประโยชน์ ที่ผ่านมาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและแพทยสภาชี้แจงชัดเจนแล้วว่าไม่มีชื่อเรียก หรือเทคนิควิธีนี้ สิ่งที่ทำก็ไม่ใช่การเปลี่ยนหน้า ซึ่งกรณีนี้ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาล สถานประกอบการ หรือเอเยนซี หากทำผิดกฎหมายก็ต้องดำเนินการ ดีกว่าการมาเล่นคำกัน และอยากให้ประชาชนสนใจเรื่องของความปลอดภัยจากการทำศัลยกรรมเป็นหลัก ส่วนเรื่องของการควบคุมโฆษณาการเสริมความงาม กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กำลังตรวจสอบดูแลอยู่
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณี ดร.เซปิง อ้างว่าเป็นที่ปรึกษาด้านการศัลยกรรมความงาม ทั้งที่ไม่ใช่แพทย์ทำศัลยกรรมความงาม ซึ่งขณะนี้ไม่มีสมาคมวิชาชีพดูแลเรื่องมาตรฐาน นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า เรื่องนี้ผู้ถือกฎหมายอย่างแพทยสภา สบส. และ สคบ.ต้องเข้าไปดูว่าเป็นช่องโหว่หรือไม่ และต้องเข้ามาควบคุมดูแลตรงนี้
** เล็งกำหนดเกณฑ์โฆษณาศัลยกรรม
ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวถึงอาชีพที่ปรึกษาด้านศัลยกรรมความงามว่า ตนมองว่าคนทั่วไปก็สามารถทำได้ แต่คงเป็นแง่ของลักษณะการตลาด หากเปรียบก็เหมือนกับบริษัทรับจ้างโฆษณาว่า ถ้าอยากจะทำส่วนนั้นส่วนนี้สามารถไปทำที่ไหนได้บ้าง แต่คงไม่สามารถแนะนำได้ถึงเทคนิคการทำศัลยกรรมว่าจะต้องผ่าลักษณะแบบไหนอย่างไร เพราะเรื่องนี้เป็นส่วนของแพทย์ที่จะแนะนำแก่คนไข้ได้ หากเป็นแค่การประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลที่เป็นจริงก็สามารถทำได้ แต่ประชาชนก็ต้องระมัดระวังและดูด้วยว่าเป็นการโฆษณาเกินจริงหรือไม่ ซึ่งหากเป็นการโฆษณาเกินจริงก็ถือว่ามีความผิด ซึ่ง สคบ. และ สบส.ต้องเข้าไปดูแล แต่หากมีการกล่าวอ้างถึงแพทย์ ตรงนี้แพทยสภาก็จะเข้ามาดูแลด้วย
ส่วนการหารือร่วมกับ สคบ. และสบส.ในการควบคุมการโฆษณาด้านศัลยกรรมความงามนั้น ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า การห้ามโฆษณาไปเลยนั้นคงเป็นไปไม่ได้ แต่ต้องอยู่ในระเบียบ คุยกันว่าโฆษณาได้ในระดับไหน ซึ่งแนวทางที่วางไว้คือ ต้องเป็นการให้ข้อมูลประชาสัมพันธ์ที่เป็นจริง เช่น สถานพยาบาลสามารถทำอะไรได้บ้าง ราคาเป็นอย่างไร แต่ไม่ใช่บอกว่าที่นี่ดีที่สุด หมอเก่งที่สุด แบบนี้ไม่ได้
** ร่างระเบียบคุม “นายหน้า” เสริมความงาม
นายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการ สคบ. เปิดเผยว่า ดร.เซปิง จะเข้าให้ข้อมูลกับ สคบ.ในวันที่ 4 มี.ค.นี้ ซึ่งจะมาด้วยตัวเองหรือส่งผู้แทนก็ได้ หลังจากที่ไม่ได้เข้าให้ข้อมูลเมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา ส่วน นพ.กมล พันธ์ศรีทุม แพทย์ที่ถูกกล่าวอ้างถึงนั้น ก่อนหน้านี้ได้เชิญมาให้ข้อมูลแล้ว แต่ได้ส่งตัวแทนมา ทำให้ได้ข้อมูลแล้วบางส่วน จากนั้นจะนำมารวบรวมกับที่ ดร.เซปิง จะเข้าให้ข้อมูลต่อไป ซึ่งเป็นการสืบสวนสอบสวนจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ เพื่อเอาผิดกับผู้ที่โฆษณาเกินจริง ซึ่ง ปัจจุบันคลินิกเสริมความงามมีการใช้เอเยนซีมาก อาจมีโทษทั้งจำและปรับเหมือน พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 ที่มีการเอาผิดกับเอเยนซีด้วย โดยจะนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด สคบ. วันที่ 11 มี.ค.2559
“สคบ.อยู่ระหว่างศึกษาร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และแพทยสภา โดยอาจจะมีการตั้งอนุกรรมการขึ้นมาใหม่ 1 ชุด เพื่อทำหน้าที่ในการร่างระเบียบในการควบคุมเอเยนซีหรือนายหน้าที่ทำการโฆษณาเกินจริงเรื่องสุขภาพและความงามเหมือนประเทศเกาหลีใต้" นายอำพล กล่าว