วานนี้ (25ก.พ.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เชิญ กกต. นำโดยนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง เข้าพบเพื่อหารือเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว 2557 เพื่อเตรียมการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
หลังการหารือ นายสมชัย เปิดเผยว่า ได้คุยกันเรื่องข้อกฎหมายว่าจะเขียนในรัฐธรรมนูญอย่างไร เพื่อให้เกิดปัญหาในการดำเนินการน้อยที่สุด เช่นเรื่องจะต้องใช้เสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิเป็นเกณฑ์ จะเขียนอย่างไรให้ไม่ต้องมาตีความอีกในภายหลัง
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเกณฑ์การส่งร่างรัฐธรรมนูญถึงมือประชาชน อย่างน้อยร้อยละ 80 จึงจะออกเสียประชามติได้ ก็ให้ยกหลักเกณฑ์นี้ออก และใช้ถ้อยคำว่า หลังจากที่ กรธ.ส่งรัฐธรรมนูญให้แก่ครม. และ สนช.แล้ว จากนั้นจะต้องสรุปสาระสำคัญให้ กกต. หลังสรุปสาระสำคัญส่งกกต.แล้ว ให้กกต.จัดให้มีการออกเสียงประชามติภายในเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน แต่ไม่เกิน 120 วัน ดังนั้นวันออกเสียงประชามติ ก็อยู่ในกำหนดเดิมคือ 31 ก.ค. และอาจบวกไปอีก 7 วัน
ส่วนหลักเกณฑ์ที่จะทำให้มีผู้ออกเสียงมากขึ้นได้กำหนดคุณสมบัติผู้ออกเสียงประชามติจะใช้เกณฑ์อายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ในวันออกเสียงประชามติ จะเป็นการขยายฐานผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติมากขึ้นกว่าเดิม จากเดิมที่ใช้วันที่ 1 ม.ค.ของปีที่มีการออกเสียง หรือที่มีการเลือกตั้ง ขณะนี้ขอให้มีการแก้ใหม่ไปจนถึงวันออกเสียง ซึ่งสอดคล้องกับร่างรัฐธรรมนูญของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. ที่ใช้เกณฑ์ 18 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง นอกจากนี้ ยังได้หารือเกี่ยวกับเรื่องการรักษาความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติว่า สิ่งใดควรทำ ไม่ควรทำ
นายสมชัย ยังกล่าวช่วงเวลาที่ประชาชนจะได้มีโอกาสอ่านร่างรธน.ก่อนลงประชามติว่า มีเวลามาก เพราะหลังจากมีการสรุปร่างรธน.แล้ว กกต.มีบทบาทเผยแพร่เนื้อหาสาระของรธน. ทุกช่องท่าง ทุกรูปแบบ ให้กว้างขวางที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ดังนั้นกลางเดือนเม.ย. เนื้อหาสาระรธน. จะถูกเผยแพร่ไปถึงประชาชน และให้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน กกต.จะเป็นฝ่ายจัดเวทีกลางให้ทุกฝ่ายที่จะประสงค์จะรณรงค์ ทั้งในซีกรับ หรือไม่รับก็ตาม และที่ได้ตกลงร่วมกันอย่างหนึ่งคือ กกต.แสดงเจตนาจัดให้มีการออกเสียงประชามติ ให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน ทั้งเรื่องของผลการประชามติ และ กระบวนการจัดทำประชามติ เพื่อกราบเรียนให้นายกฯทราบ
นายสมชัย กล่าวว่า ร่างรธน.ที่จะจัดพิมพ์มี 3 รูปแบบคือ 1. จัดพิมพ์รัฐธรรมนูญฉบับเต็ม 1.2 ล้านฉบับ แจกจ่ายตามแหล่งชุมชน เป็นจุดที่ประชาชนเข้าถึงได้ เช่น ที่ทำการกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ศูนย์เรียนประชาธิปไตย การศึกษานอกโรงเรียน ห้องอ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน ตำบล โรงเรียนสามารถขอได้ เป็นต้น 2. สรุปสาระสำคัญของร่างรธน. ยาวไม่เกิน20 หน้า 6 ล้านเล่ม แจกจ่ายประชาชนที่ประสงค์จะขอ และ 3. สรุปย่อสาระสำคัญ 17 ล้านฉบับ ส่งให้ทุกครัวเรือนที่มีผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ
ทั้ง 3 รูปแบบจะนำเสนอต่อประชาชน เฉพาะการจัดพิมพ์เอกสาร ลดงบประมาณจาก 800 ล้านบาท เหลือ 200 ล้านบาท ส่วนงบประมาณโดยรวม ยังไม่กำหนด แต่ไม่เกิน 3,400 ล้านบาท และอาจปรับลดลงเล็กน้อย
สำหรับเรื่องการรณรงค์ให้รับ หรือไม่รับ สามารถทำได้ แต่การรณรงค์ดังกล่าวต้องไม่สร้างความได้เปรียบเสียเปรียบ หรือเอื้อกลุ่มการเมืองใด ไม่ใช้ถ้อยคำเท็จ หรือใช้ถ้อยคำนำสู่ความเสียหายแก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ใส่ร้ายป้ายสี ลักษณะคล้ายกับการเลือกตั้งส.ส. ซึ่งสามารถนำไปสู่การให้ใบเหลือง ใบแดงได้
ฉะนั้น อยากให้ประชาชนคลายใจว่า ไม่มีกฎหมายใหม่ที่จำกัดสิทธิ เสรีภาพ ประชาชน ทุกคนยังแสดงความเห็นได้อย่างเสรี สำหรับ พ.ร.บ.ว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ กฎหมายกำหนดบทลงโทษให้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นักการเมือง ประชาชน หรือแม้แต่ กกต.เอง เจ้าหน้าที่ของรัฐทำผิด ไม่เป็นกลาง ก็มีบทลงโทษและรุนแรงกว่าประชาชน
ทั้งนี้ กกต.หวังว่าจะมีประชาชนออกมาใช้สิทธิมากที่สุด ส่วนการใช้หน่วยราชการหรือบุคลากรของรัฐ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไปให้ข้อเท็จจริงไม่ผิด ในการให้ความรู้ แต่ไม่มีสิทธิไปบอกว่าควรรับ หรือไม่ควรรับ จะถือเป็นความผิด ส่วนกรณี ร.ด.รณรงค์ให้ทราบได้ว่า จะมีการลงประชามติ หรือให้ทราบเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญทำได้ แต่ไม่ใช่ไปบอกว่าควรรับ รณรงค์ให้ข้อเท็จจริงทุกฝ่ายทำได้
หลังการหารือ นายสมชัย เปิดเผยว่า ได้คุยกันเรื่องข้อกฎหมายว่าจะเขียนในรัฐธรรมนูญอย่างไร เพื่อให้เกิดปัญหาในการดำเนินการน้อยที่สุด เช่นเรื่องจะต้องใช้เสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิเป็นเกณฑ์ จะเขียนอย่างไรให้ไม่ต้องมาตีความอีกในภายหลัง
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเกณฑ์การส่งร่างรัฐธรรมนูญถึงมือประชาชน อย่างน้อยร้อยละ 80 จึงจะออกเสียประชามติได้ ก็ให้ยกหลักเกณฑ์นี้ออก และใช้ถ้อยคำว่า หลังจากที่ กรธ.ส่งรัฐธรรมนูญให้แก่ครม. และ สนช.แล้ว จากนั้นจะต้องสรุปสาระสำคัญให้ กกต. หลังสรุปสาระสำคัญส่งกกต.แล้ว ให้กกต.จัดให้มีการออกเสียงประชามติภายในเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน แต่ไม่เกิน 120 วัน ดังนั้นวันออกเสียงประชามติ ก็อยู่ในกำหนดเดิมคือ 31 ก.ค. และอาจบวกไปอีก 7 วัน
ส่วนหลักเกณฑ์ที่จะทำให้มีผู้ออกเสียงมากขึ้นได้กำหนดคุณสมบัติผู้ออกเสียงประชามติจะใช้เกณฑ์อายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ในวันออกเสียงประชามติ จะเป็นการขยายฐานผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติมากขึ้นกว่าเดิม จากเดิมที่ใช้วันที่ 1 ม.ค.ของปีที่มีการออกเสียง หรือที่มีการเลือกตั้ง ขณะนี้ขอให้มีการแก้ใหม่ไปจนถึงวันออกเสียง ซึ่งสอดคล้องกับร่างรัฐธรรมนูญของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. ที่ใช้เกณฑ์ 18 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง นอกจากนี้ ยังได้หารือเกี่ยวกับเรื่องการรักษาความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติว่า สิ่งใดควรทำ ไม่ควรทำ
นายสมชัย ยังกล่าวช่วงเวลาที่ประชาชนจะได้มีโอกาสอ่านร่างรธน.ก่อนลงประชามติว่า มีเวลามาก เพราะหลังจากมีการสรุปร่างรธน.แล้ว กกต.มีบทบาทเผยแพร่เนื้อหาสาระของรธน. ทุกช่องท่าง ทุกรูปแบบ ให้กว้างขวางที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ดังนั้นกลางเดือนเม.ย. เนื้อหาสาระรธน. จะถูกเผยแพร่ไปถึงประชาชน และให้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน กกต.จะเป็นฝ่ายจัดเวทีกลางให้ทุกฝ่ายที่จะประสงค์จะรณรงค์ ทั้งในซีกรับ หรือไม่รับก็ตาม และที่ได้ตกลงร่วมกันอย่างหนึ่งคือ กกต.แสดงเจตนาจัดให้มีการออกเสียงประชามติ ให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน ทั้งเรื่องของผลการประชามติ และ กระบวนการจัดทำประชามติ เพื่อกราบเรียนให้นายกฯทราบ
นายสมชัย กล่าวว่า ร่างรธน.ที่จะจัดพิมพ์มี 3 รูปแบบคือ 1. จัดพิมพ์รัฐธรรมนูญฉบับเต็ม 1.2 ล้านฉบับ แจกจ่ายตามแหล่งชุมชน เป็นจุดที่ประชาชนเข้าถึงได้ เช่น ที่ทำการกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ศูนย์เรียนประชาธิปไตย การศึกษานอกโรงเรียน ห้องอ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน ตำบล โรงเรียนสามารถขอได้ เป็นต้น 2. สรุปสาระสำคัญของร่างรธน. ยาวไม่เกิน20 หน้า 6 ล้านเล่ม แจกจ่ายประชาชนที่ประสงค์จะขอ และ 3. สรุปย่อสาระสำคัญ 17 ล้านฉบับ ส่งให้ทุกครัวเรือนที่มีผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ
ทั้ง 3 รูปแบบจะนำเสนอต่อประชาชน เฉพาะการจัดพิมพ์เอกสาร ลดงบประมาณจาก 800 ล้านบาท เหลือ 200 ล้านบาท ส่วนงบประมาณโดยรวม ยังไม่กำหนด แต่ไม่เกิน 3,400 ล้านบาท และอาจปรับลดลงเล็กน้อย
สำหรับเรื่องการรณรงค์ให้รับ หรือไม่รับ สามารถทำได้ แต่การรณรงค์ดังกล่าวต้องไม่สร้างความได้เปรียบเสียเปรียบ หรือเอื้อกลุ่มการเมืองใด ไม่ใช้ถ้อยคำเท็จ หรือใช้ถ้อยคำนำสู่ความเสียหายแก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ใส่ร้ายป้ายสี ลักษณะคล้ายกับการเลือกตั้งส.ส. ซึ่งสามารถนำไปสู่การให้ใบเหลือง ใบแดงได้
ฉะนั้น อยากให้ประชาชนคลายใจว่า ไม่มีกฎหมายใหม่ที่จำกัดสิทธิ เสรีภาพ ประชาชน ทุกคนยังแสดงความเห็นได้อย่างเสรี สำหรับ พ.ร.บ.ว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ กฎหมายกำหนดบทลงโทษให้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นักการเมือง ประชาชน หรือแม้แต่ กกต.เอง เจ้าหน้าที่ของรัฐทำผิด ไม่เป็นกลาง ก็มีบทลงโทษและรุนแรงกว่าประชาชน
ทั้งนี้ กกต.หวังว่าจะมีประชาชนออกมาใช้สิทธิมากที่สุด ส่วนการใช้หน่วยราชการหรือบุคลากรของรัฐ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไปให้ข้อเท็จจริงไม่ผิด ในการให้ความรู้ แต่ไม่มีสิทธิไปบอกว่าควรรับ หรือไม่ควรรับ จะถือเป็นความผิด ส่วนกรณี ร.ด.รณรงค์ให้ทราบได้ว่า จะมีการลงประชามติ หรือให้ทราบเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญทำได้ แต่ไม่ใช่ไปบอกว่าควรรับ รณรงค์ให้ข้อเท็จจริงทุกฝ่ายทำได้