วานนี้ (18ก.พ.) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึง การพิจารณาปรับปรุงเนื้อหา ร่างรัฐธรรมนูญ ตามที่มีนักวิชาการห่วงใย ว่า การนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 207 ไม่มีความเหมาะสมนั้น ทางกรธ.กำลังจะพิจารณาถึงความเป็นไปได้ ในการแก้ไขให้เกิดความเหมาะสมต่อไป
สำหรับแนวทางการแก้ไขเนื้อหาดังกล่าว คณะกรธ.จะนำมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 มาพิจารณา ทั้งนี้ เจตนารมณ์เดิมของ คณะกรธ.ที่ไว้ในหมวดศาลรัฐธรรมนูญ คือ ต้องการให้มีองค์กรเข้ามาทำหน้าที่ชี้ขาด ไม่ใช่ปล่อยให้เกิดเป็นปัญหาเหมือนที่ผ่านมา แต่การย้ายกลับมาไว้ที่เดิม จะเป็นการบอกว่าถ้าเกิดปัญหาขึ้นมาหน่วยงานไหนจะมีหน้าที่ในการแก้ไขปัญหา
ทั้งนี้ มาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ระบุว่า "เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทําการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้น ไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ประเพณีการปกครองดังกล่าว ต้องไม่ขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญนี้"
"ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการวินิจฉัยกรณีใดตามความในวรรคหนึ่ง เกิดขึ้นในวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด หรือเมื่อมีกรณีที่เกิดขึ้นนอกวงงานของ สนช.- คสช.-ครม.ศาลฎีกา หรือศาลปกครองสูงสุด จะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยชี้ขาดก็ได้ แต่สําหรับศาลฎีกา และศาลปกครองสูงสุด ให้กระทําได้เฉพาะเมื่อมีมติของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา หรือที่ประชุมใหญ่ตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุด และเฉพาะในส่วน ที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี" เนื้อหาของ มาตรา 5 ระบุ
เมื่อถามว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะนำข้อเสนอของ สนช. ที่ให้รัฐสภา หรือวุฒิสภา ลงมติว่ากรณีใดเป็นวิกฤตที่ต้องให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เรียกผู้นำเหล่าทัพมาหารือเพื่อแก้ไขปัญหา มาไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้าย นายมีชัย กล่าวว่า คงเป็นไปได้ยาก เพราะหากต้นตอของวิกฤติดังกล่าว เกิดมาจากที่รัฐสภาเองจะทำอย่างไร ในความเป็นจริง เคยมีปัญหา และมีการเชิญผู้นำเหล่าทัพมาแล้ว แต่ต่างฝ่ายก็บอกว่าไม่ได้เป็นวิกฤติ จึงไม่รู้ว่าจะออกแบบอย่างไร อย่างไรก็ตาม ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พยายามจะอุดช่องโหว่เพื่อไม่ให้เกิดวิกฤติ
เมื่อถามว่า ขณะนี้มีกระแสข่าวที่ระบุว่า กรธ.กำลังพิจารณาว่า จะให้ ส.ว. มาจากการสรรหาทั้งหมด นายมีชัย กล่าวว่า ยังไม่มีการพิจารณา เพราะตอนนี้กำลังพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในส่วนแรกอยู่ ยังไม่ถึงมาตราที่เกี่ยวกับวุฒิสภา
**"บิ๊กตู่"ไม่จัดดีเบต ร่างรธน.
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ให้สัมภาษณ์ภายหลังเดินทางกลับจากการเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐอเมริกา สมัยพิเศษ ถึงข้อเสนอของพรรคเพื่อไทย ให้มีการดีเบต ร่างรัฐธรรมนูญ ระหว่าง กรธ. กับฝ่ายการเมือง ว่า ไม่ต้อง เรามีประชามติ มีการรับฟังความคิดเห็นอยู่แล้ว ทำไมต้องยุ่งอะไรกันหนักหนา
" กฎหมายจะเขียน หรือไม่เขียน ปัญหาอยู่ที่ว่า คุณยอมรับกฎหมายกันหรือเปล่า ไปเน้นกันตรงนั้น ต่อให้เขียนวิลิศมาหราอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นทางไหนก็ตาม ก็มีปัญหาหมด ถ้าคนไม่รับกฎหมาย ไปทบทวนไอ้คนเหล่านั้นดู ถ้าทุกคนจะเดินประเทศให้ได้ ไปสู่ความมั่นคง ปลอดภัย มีการพัฒนาที่ยั่งยืน ถ้าทุกคนร่วมมือกัน อยู่ภายใต้กฎหมาย ไม่ต้องเขียนอะไรเลยก็อยู่ได้ แต่แบบนี้กฎหมายเดิมอยู่ได้ไหมล่ะ เขียนใหม่แล้วจะอยู่ได้ไหม นั้นคือคำถามผม ถามเขากลับไป ดีเบตกับผมแบบนี้ ไม่ต้องไปดีเบตกับใคร ให้คนที่คัดค้านอยู่มาดีเบตกับผม ที่ผ่านมามันดีหนักหนาอย่างไร เคารพกฎหมายแค่ไหน ตรงนี้คือประเด็นของผม" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
สำหรับแนวทางการแก้ไขเนื้อหาดังกล่าว คณะกรธ.จะนำมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 มาพิจารณา ทั้งนี้ เจตนารมณ์เดิมของ คณะกรธ.ที่ไว้ในหมวดศาลรัฐธรรมนูญ คือ ต้องการให้มีองค์กรเข้ามาทำหน้าที่ชี้ขาด ไม่ใช่ปล่อยให้เกิดเป็นปัญหาเหมือนที่ผ่านมา แต่การย้ายกลับมาไว้ที่เดิม จะเป็นการบอกว่าถ้าเกิดปัญหาขึ้นมาหน่วยงานไหนจะมีหน้าที่ในการแก้ไขปัญหา
ทั้งนี้ มาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ระบุว่า "เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทําการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้น ไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ประเพณีการปกครองดังกล่าว ต้องไม่ขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญนี้"
"ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการวินิจฉัยกรณีใดตามความในวรรคหนึ่ง เกิดขึ้นในวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด หรือเมื่อมีกรณีที่เกิดขึ้นนอกวงงานของ สนช.- คสช.-ครม.ศาลฎีกา หรือศาลปกครองสูงสุด จะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยชี้ขาดก็ได้ แต่สําหรับศาลฎีกา และศาลปกครองสูงสุด ให้กระทําได้เฉพาะเมื่อมีมติของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา หรือที่ประชุมใหญ่ตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุด และเฉพาะในส่วน ที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี" เนื้อหาของ มาตรา 5 ระบุ
เมื่อถามว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะนำข้อเสนอของ สนช. ที่ให้รัฐสภา หรือวุฒิสภา ลงมติว่ากรณีใดเป็นวิกฤตที่ต้องให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เรียกผู้นำเหล่าทัพมาหารือเพื่อแก้ไขปัญหา มาไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้าย นายมีชัย กล่าวว่า คงเป็นไปได้ยาก เพราะหากต้นตอของวิกฤติดังกล่าว เกิดมาจากที่รัฐสภาเองจะทำอย่างไร ในความเป็นจริง เคยมีปัญหา และมีการเชิญผู้นำเหล่าทัพมาแล้ว แต่ต่างฝ่ายก็บอกว่าไม่ได้เป็นวิกฤติ จึงไม่รู้ว่าจะออกแบบอย่างไร อย่างไรก็ตาม ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พยายามจะอุดช่องโหว่เพื่อไม่ให้เกิดวิกฤติ
เมื่อถามว่า ขณะนี้มีกระแสข่าวที่ระบุว่า กรธ.กำลังพิจารณาว่า จะให้ ส.ว. มาจากการสรรหาทั้งหมด นายมีชัย กล่าวว่า ยังไม่มีการพิจารณา เพราะตอนนี้กำลังพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในส่วนแรกอยู่ ยังไม่ถึงมาตราที่เกี่ยวกับวุฒิสภา
**"บิ๊กตู่"ไม่จัดดีเบต ร่างรธน.
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ให้สัมภาษณ์ภายหลังเดินทางกลับจากการเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐอเมริกา สมัยพิเศษ ถึงข้อเสนอของพรรคเพื่อไทย ให้มีการดีเบต ร่างรัฐธรรมนูญ ระหว่าง กรธ. กับฝ่ายการเมือง ว่า ไม่ต้อง เรามีประชามติ มีการรับฟังความคิดเห็นอยู่แล้ว ทำไมต้องยุ่งอะไรกันหนักหนา
" กฎหมายจะเขียน หรือไม่เขียน ปัญหาอยู่ที่ว่า คุณยอมรับกฎหมายกันหรือเปล่า ไปเน้นกันตรงนั้น ต่อให้เขียนวิลิศมาหราอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นทางไหนก็ตาม ก็มีปัญหาหมด ถ้าคนไม่รับกฎหมาย ไปทบทวนไอ้คนเหล่านั้นดู ถ้าทุกคนจะเดินประเทศให้ได้ ไปสู่ความมั่นคง ปลอดภัย มีการพัฒนาที่ยั่งยืน ถ้าทุกคนร่วมมือกัน อยู่ภายใต้กฎหมาย ไม่ต้องเขียนอะไรเลยก็อยู่ได้ แต่แบบนี้กฎหมายเดิมอยู่ได้ไหมล่ะ เขียนใหม่แล้วจะอยู่ได้ไหม นั้นคือคำถามผม ถามเขากลับไป ดีเบตกับผมแบบนี้ ไม่ต้องไปดีเบตกับใคร ให้คนที่คัดค้านอยู่มาดีเบตกับผม ที่ผ่านมามันดีหนักหนาอย่างไร เคารพกฎหมายแค่ไหน ตรงนี้คือประเด็นของผม" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว