เป็นที่รับรู้ในสังคมไทยมาช้านานแล้วว่า เงินเดือนและค่าตอบแทนของบรรดาข้าราชการทั้งหลายนั้น ข้าราชการตุลาการจะได้รับเงินเดือนและค่าตอบแทนสูงกว่าข้าราชการฝ่ายอื่นมาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน
เหตุที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะข้าราชการตุลาการทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีในนามพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์อันเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยในทางศาล แตกต่างจากข้าราชการฝ่ายอื่นซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำหน้าที่สนับสนุนการใช้อำนาจฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติ
อีกประการหนึ่งก็คือ ข้าราชการตุลาการไม่สามารถนำวิชาความรู้ทางกฎหมายไปหารายได้ในทางอื่นเหมือนกับแพทย์ วิศวกร นักบัญชี หรือวิชาชีพอื่น ที่ได้รับเงินเดือนของทางราชการแล้ว ก็ยังสามารถไปทำงานนอกเวลาราชการ เพื่อหารายได้พิเศษทางอื่นซึ่งอาจจะมากกว่าค่าตอบแทนที่ได้รับจากทางราชการเสียอีก
แต่ข้าราชการตุลาการไม่อาจเปิดสำนักงานเพื่อให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย หรือประกอบการค้าเพื่อหารายได้พิเศษ เพราะเป็นการขัดต่อจริยธรรมของตุลาการ
อย่างไรก็ตาม ในการปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการแต่ละครั้ง ข้าราชการตุลาการมักจะถูกกีดกันจากข้าราชการฝ่ายอื่นซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาจัดทำบัญชีเงินเดือน โดยต่างก็เห็นว่าตุลาการได้รับเงินเดือนสูงอยู่แล้ว จึงไม่ควรเพิ่มให้ตามที่ฝ่ายตุลาการเสนอ
ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องเป็นผู้ตัดสินใจในขั้นสุดท้ายว่า สมควรจะปรับบัญชีเงินเดือนให้แก่ฝ่ายตุลาการหรือไม่ เพียงใด
แต่ที่ผ่านมา รัฐบาลซึ่งมาจากฝ่ายการเมืองส่วนใหญ่ก็จะปรับบัญชีอัตราเงินเดือนให้แก่ฝ่ายตุลาการบ้าง แต่ก็ปรับไม่เท่ากับสัดส่วนที่ปรับให้แก่ข้าราชการฝ่ายอื่นแทบทุกครั้ง
ยกตัวอย่างเช่น การปรับอัตราบัญชีเงินเดือนข้าราชการอัยการมาเป็นระยะๆ จนบัดนี้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการแทบจะไม่แตกต่างจากบัญชีอัตราเงินเดือนของข้าราชการตุลาการแล้ว ยกเว้นตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียวที่ต่างกันเล็กน้อย หรือการปรับบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการสำนักงานกฤษฎีกาที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือรัฐบาลในการให้คำปรึกษาหรือร่างกฎหมาย ก็มีสัดส่วนที่เพิ่มสูงมากเมื่อเทียบกับการเพิ่มให้ฝ่ายตุลาการ
แม้รัฐธรรมนูญปี 2540 และปี 2550 ได้บัญญัติรับรองสถานภาพของฝ่ายตุลาการไว้ว่า ไม่ให้นำบัญชีอัตราเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนมายึดโยงกับบัญชีอัตราเงินเดือนของฝ่ายตุลาการก็ตาม
แต่การปรับบัญชีอัตราเงินเดือนของฝ่ายตุลาการแต่ละครั้ง มักจะถูกข้าราชการฝ่ายอื่นคัดค้านอยู่เสมอ จึงต้องขึ้นอยู่กับความเห็นของรัฐบาลว่า จะปรับบัญชีอัตราเงินเดือนของฝ่ายตุลาการให้ตามที่ขอมาหรือไม่ เพียงใด
ดังนั้น คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดที่มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโน เป็นประธาน จึงเห็นว่า เพื่อไม่ให้ฝ่ายตุลาการต้องร้องขอต่อรัฐบาลซึ่งมาจากฝ่ายการเมืองในการขอปรับบัญชีอัตราเงินเดือนในแต่ละครั้งเพื่อให้เกิดบุญคุณต่อกัน อันจะกระทบต่อความเป็นอิสระและความเป็นกลางในการทำหน้าที่ของฝ่ายตุลาการ
ร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 207 วรรคสี่ จึงบัญญัติว่า
เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้พิพากษาหรือตุลาการให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งนี้จะนำระบบบัญชีเงินเดือน หรือเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับมิได้ และเมื่อมีการเพิ่มเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนเป็นสัดส่วนเท่าใด ให้ปรับเพิ่มเงินเดือนและเงินประจำตำแน่งของผู้พิพากษาและตุลาการขึ้นอย่างน้อยให้เป็นไปตามสัดส่วนนั้น”
การกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญให้ปรับเพิ่มเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามสัดส่วนที่เพิ่มแก่ข้าราชการพลเรือน ย่อมเป็นธรรมต่อฝ่ายตุลาการและหลักประกันความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายตุลาการได้เป็นอย่างดี อีกทั้ง ยังเป็นการดำรงสถานภาพของฝ่ายตุลาการไม่ให้ตกต่ำลงไปอีก
แต่น่าเสียดายที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน กลับยังมิได้เห็นความสำคัญของเรื่องบัญชีอัตราเงินเดือนของฝ่ายตุลาการ ที่ต้องเป็นอิสระจากข้าราชการฝ่ายอื่น เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระของตุลาการ
ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกจึงไม่ปรากฏสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องบัญชีเงินเดือนที่เคยบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2540 และปี 2550
อนึ่ง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้แถลงต่อสื่อมวลชนเมื่อเร็วๆนี้ว่า จะรับฟังความคิดเห็นจากผู้พิพากษาอีกครั้งหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องที่ศาสตราจารย์พิเศษธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี ได้มีหนังสือทักท้วงร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 191 ว่า การให้มีกรรมการตุลาการซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นการกระทบต่อความเป็นอิสระของอำนาจตุลาการ
จึงเชื่อว่า เมื่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้รับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านและรับฟังข้อทักท้วงของศาลยุติธรรมแล้ว ก็ควรจะนำร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 207 วรรคสี่ ฉบับของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโน มาใช้กับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสียด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระของตุลาการอย่างเป็นรูปธรรม โดยฝ่ายตุลาการจะได้ไม่ต้องไปร้องขอต่อนักการเมืองในเรื่องการปรับบัญชีอัตราเงินเดือนอีกต่อไป
เหตุที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะข้าราชการตุลาการทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีในนามพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์อันเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยในทางศาล แตกต่างจากข้าราชการฝ่ายอื่นซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำหน้าที่สนับสนุนการใช้อำนาจฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติ
อีกประการหนึ่งก็คือ ข้าราชการตุลาการไม่สามารถนำวิชาความรู้ทางกฎหมายไปหารายได้ในทางอื่นเหมือนกับแพทย์ วิศวกร นักบัญชี หรือวิชาชีพอื่น ที่ได้รับเงินเดือนของทางราชการแล้ว ก็ยังสามารถไปทำงานนอกเวลาราชการ เพื่อหารายได้พิเศษทางอื่นซึ่งอาจจะมากกว่าค่าตอบแทนที่ได้รับจากทางราชการเสียอีก
แต่ข้าราชการตุลาการไม่อาจเปิดสำนักงานเพื่อให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย หรือประกอบการค้าเพื่อหารายได้พิเศษ เพราะเป็นการขัดต่อจริยธรรมของตุลาการ
อย่างไรก็ตาม ในการปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการแต่ละครั้ง ข้าราชการตุลาการมักจะถูกกีดกันจากข้าราชการฝ่ายอื่นซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาจัดทำบัญชีเงินเดือน โดยต่างก็เห็นว่าตุลาการได้รับเงินเดือนสูงอยู่แล้ว จึงไม่ควรเพิ่มให้ตามที่ฝ่ายตุลาการเสนอ
ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องเป็นผู้ตัดสินใจในขั้นสุดท้ายว่า สมควรจะปรับบัญชีเงินเดือนให้แก่ฝ่ายตุลาการหรือไม่ เพียงใด
แต่ที่ผ่านมา รัฐบาลซึ่งมาจากฝ่ายการเมืองส่วนใหญ่ก็จะปรับบัญชีอัตราเงินเดือนให้แก่ฝ่ายตุลาการบ้าง แต่ก็ปรับไม่เท่ากับสัดส่วนที่ปรับให้แก่ข้าราชการฝ่ายอื่นแทบทุกครั้ง
ยกตัวอย่างเช่น การปรับอัตราบัญชีเงินเดือนข้าราชการอัยการมาเป็นระยะๆ จนบัดนี้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการแทบจะไม่แตกต่างจากบัญชีอัตราเงินเดือนของข้าราชการตุลาการแล้ว ยกเว้นตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียวที่ต่างกันเล็กน้อย หรือการปรับบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการสำนักงานกฤษฎีกาที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือรัฐบาลในการให้คำปรึกษาหรือร่างกฎหมาย ก็มีสัดส่วนที่เพิ่มสูงมากเมื่อเทียบกับการเพิ่มให้ฝ่ายตุลาการ
แม้รัฐธรรมนูญปี 2540 และปี 2550 ได้บัญญัติรับรองสถานภาพของฝ่ายตุลาการไว้ว่า ไม่ให้นำบัญชีอัตราเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนมายึดโยงกับบัญชีอัตราเงินเดือนของฝ่ายตุลาการก็ตาม
แต่การปรับบัญชีอัตราเงินเดือนของฝ่ายตุลาการแต่ละครั้ง มักจะถูกข้าราชการฝ่ายอื่นคัดค้านอยู่เสมอ จึงต้องขึ้นอยู่กับความเห็นของรัฐบาลว่า จะปรับบัญชีอัตราเงินเดือนของฝ่ายตุลาการให้ตามที่ขอมาหรือไม่ เพียงใด
ดังนั้น คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดที่มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโน เป็นประธาน จึงเห็นว่า เพื่อไม่ให้ฝ่ายตุลาการต้องร้องขอต่อรัฐบาลซึ่งมาจากฝ่ายการเมืองในการขอปรับบัญชีอัตราเงินเดือนในแต่ละครั้งเพื่อให้เกิดบุญคุณต่อกัน อันจะกระทบต่อความเป็นอิสระและความเป็นกลางในการทำหน้าที่ของฝ่ายตุลาการ
ร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 207 วรรคสี่ จึงบัญญัติว่า
เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้พิพากษาหรือตุลาการให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งนี้จะนำระบบบัญชีเงินเดือน หรือเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับมิได้ และเมื่อมีการเพิ่มเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนเป็นสัดส่วนเท่าใด ให้ปรับเพิ่มเงินเดือนและเงินประจำตำแน่งของผู้พิพากษาและตุลาการขึ้นอย่างน้อยให้เป็นไปตามสัดส่วนนั้น”
การกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญให้ปรับเพิ่มเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามสัดส่วนที่เพิ่มแก่ข้าราชการพลเรือน ย่อมเป็นธรรมต่อฝ่ายตุลาการและหลักประกันความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายตุลาการได้เป็นอย่างดี อีกทั้ง ยังเป็นการดำรงสถานภาพของฝ่ายตุลาการไม่ให้ตกต่ำลงไปอีก
แต่น่าเสียดายที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน กลับยังมิได้เห็นความสำคัญของเรื่องบัญชีอัตราเงินเดือนของฝ่ายตุลาการ ที่ต้องเป็นอิสระจากข้าราชการฝ่ายอื่น เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระของตุลาการ
ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกจึงไม่ปรากฏสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องบัญชีเงินเดือนที่เคยบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2540 และปี 2550
อนึ่ง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้แถลงต่อสื่อมวลชนเมื่อเร็วๆนี้ว่า จะรับฟังความคิดเห็นจากผู้พิพากษาอีกครั้งหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องที่ศาสตราจารย์พิเศษธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี ได้มีหนังสือทักท้วงร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 191 ว่า การให้มีกรรมการตุลาการซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นการกระทบต่อความเป็นอิสระของอำนาจตุลาการ
จึงเชื่อว่า เมื่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้รับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านและรับฟังข้อทักท้วงของศาลยุติธรรมแล้ว ก็ควรจะนำร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 207 วรรคสี่ ฉบับของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโน มาใช้กับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสียด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระของตุลาการอย่างเป็นรูปธรรม โดยฝ่ายตุลาการจะได้ไม่ต้องไปร้องขอต่อนักการเมืองในเรื่องการปรับบัญชีอัตราเงินเดือนอีกต่อไป
นายหิ่งห้อย