**เผยโฉมออกมาตามสัญญา เมื่อบ่ายวันศุกร์ที่ 29 มกราคม ที่ผ่านมา สำหรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ล่าสุด ที่ยกร่างโดยคณะกรรมการยกร่างฯ นำโดย มีชัย ฤชุพันธุ์
ในเบื้องต้นเป็น"ร่างแรก" มีจำนวน 270 มาตรา (รวมบทเฉพาะกาล) ขั้นตอนต่อไปก็จะเข้าสู่การรับฟังความคิดเห็นจากสังคม และจากองค์กรต่างๆ ทั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) รัฐบาล สภานิติบัญญัติ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) รวมทั้งพรรคการเมืองต่างๆ ที่เสนอความเห็นเข้าไป
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาตามความเป็นจริงแน่นอนว่ากลุ่มที่มีน้ำหนักสำหรับการเสนอความเห็นก็ต้องยอมรับความจริงแบบปฏิเสธไม่ได้ว่า ต้องเป็นคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เพราะถือว่าเป็น"มดลูก" เป็นต้นตอของ"อำนาจใหม่" ทั้งหลายในเวลานี้
แน่นอนว่า หากพิจารณาจากบรรยากาศภายใต้อำนาจเบ็ดเสร็จ ภายใต้อำนาจพิเศษ ตามมาตรา 44 ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายใตัการนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็อาจสรุปแบบฉาบฉวยได้ทันทีว่า "ไม่เป็นประชาธิปไตย" ไม่ยึดโยงกับประชาชน อะไรทำนองนี้ ซึ่งบรรดาพรรคการเมือง และนักการเมือง โดยเฉพาะนักการเมืองในพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นเครือข่ายของครอบครัว ทักษิณ ชินวัตร กำลังรณรงค์คว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในเวลานี้ โดยสร้างวาทะกรรมในประเด็นดังกล่าวให้เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ
ขณะเดียวกัน อีกพรรคใหญ่ที่แสดงท่าทีต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญ "ฉบับมีชัย" เช่นเดียวกัน ก็คือ พรรคประชาธิปัตย์ แม้ว่าโทนจะไม่ออกมาแบบพลุ่งพล่าน แบบพวกพรรคเพื่อไทย แต่เป้าหมายสำคัญไม่ได้ต่างกัน คือ มีท่าทีคว่ำร่างฯ โดยคาดว่าจะรณรงค์ให้มวลชน หรือผู้สนับสนุนพวกเขาปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญในขั้นตอนการลงประชามติ ซึ่งตามโรดแมปจะเกิดขึ้นในปลายปีนี้
อย่างไรก็ดี เพื่อให้ภาพได้มากขึ้นก็ต้องมาพิจารณาถึงสาเหตุ โดยเฉพาะเหตุผลและคำพูดของ มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ที่ถือว่าหากดูตามแบ็กกราวด์แล้วก็ต้องยอมรับ "ชั้นอ๋อง" เพราะไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลในยุคไหนในอดีตมาตั้งแต่ยุครัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นต้นมา มาถึงยุคปัจจุบัน ในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เขาก็เป็นหนึ่งในทีมงานคนสำคัญด้านกฎหมาย และการร่างรัฐธรรมนูญคราวนี้ หากพูดไม่เกินจริง ประเด็นที่เป็นสาระสำคัญก็มาจากข้อเสนอของรัฐบาล และ คสช.เป็นหลัก
"หากบอกเพียงว่าไม่ดี ผมจะไม่รู้ว่าไม่ดีตรงจุดไหน ส่วนความเห็นของพรรคการเมืองนั้น กรธ.ได้รับฟังและพิจารณามาโดยตลอด แต่สิ่งที่เขาเขียนมานั้น มีแต่น้ำ ไม่มีเนื้อ ดูแล้วก็ไม่ได้เนื้อ เช่น บอกว่ารัฐธรรมนูญต้องเป็นประชาธิปไตย ประชาชนมีส่วนร่วม สิ่งเหล่านี้ กรธ.ได้เขียนไว้ ทั้งความเป็นประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในพรรคการเมือง การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ต้องให้สมาชิกมีส่วนร่วม ดังนั้น ขณะนี้จึงไม่ทราบว่าต้องเขียนอะไรเพิ่มเติมตรงใดอีกบ้าง"
"นอกจากนี้ เรามีกลไกตรวจสอบกันเองในองค์กรอิสระ ส่วน ป.ป.ช.นั้น หากเรามีโอกาสได้ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ จะเพิ่มโทษให้แรงขึ้น อาจถึงประหารชีวิตก็ได้ เพื่อให้ดูเข้มข้น รวมทั้งยังเพิ่มคุณวุฒิ และประสบการณ์ด้วย ยังให้ผู้ตรวจเงินแผ่นดิน ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดความหายนะกับประเทศ โดยหากพบว่ากิจกรรม หรือโครงการใดของรัฐบาลขัดต่อวินัยการเงินการคลัง ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินรายงาน และเชิญ กกต.และ ป.ป.ช.ร่วมดู หากเห็นตรงกันว่าอาจเกิดความเสียหาย ให้รายงานไปยัง ครม.และรัฐสภา"
** คำพูดดังกล่าวของ มีชัย ฤชุพันธุ์ ได้ชี้ให้เห็นว่า ร่างฉบับนี้เป็นฉบับที่เน้นการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะกับนักการเมือง เพราะมีทั้ง "ห้ามเข้า" และ "ห้ามลงสนามตลอดชีวิต" และที่สำคัญอย่างที่เขาพูดก็คือ อาจจะมีบทลงโทษ "ประหารชีวิต" สำหรับนักการเมืองโกง
ขณะเดียวกันมีการเพิ่มอำนาจให้กับองค์กรอิสระในการตรวจสอบอย่างเข้มข้น รวมทั้งให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดในทุกเรื่อง และให้ถือว่าเป็นที่สุดและเด็ดขาด ผูกพันทุกองค์กร ซึ่งต้องบอกว่านี่คือ "ความเก๋า" ของเขาที่ "จับอารมณ์" ของชาวบ้านว่ารู้สึกรังเกียจกับพฤติกรรมของนักการเมืองกระจอกทั้งหลายอย่างไรบ้าง และนำเอาจุดนี้มาเป็นจุดขาย
ขณะเดียวกัน ก็แยกสลายอำนาจของพรรคการเมือง นักการเมือง รวมไปถึงการเข้าสู่อำนาจ ทั้งในรูปแบบรัฐบาล รัฐสภา นั่นคือจากเนื้อหาสำคัญ ที่มีความแยบยล ที่มีการเปิดโอกาส "คนนอก" เป็นนายกฯ แม้ว่าจะให้สภาผู้แทนเป็นคนโหวตก็ตาม แต่ตามลักษณะรูปแบบดังกล่าวทำให้เชื่อว่า ไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมากเหมือนแต่ก่อน แต่รัฐบาลจะเป็นลักษณะรัฐบาลผสมมากขึ้น และที่ต้องยอมรับกันก็คือ ในอนาคตหากต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะทำได้ยาก
**ลักษณะแบบนี้แหละ สาระสำคัญแบบนี้แหละ ที่ทำให้บรรดาพรรคการเมืองใหญ่ ทั้งพรรคเพื่อไทย และประชาธิปัตย์ ถึงกับดิ้นกันพล่าน โดยเฉพาะเพื่อไทย ของ ทักษิณ ชินวัตร ที่ถือว่าได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะระดับ "หัวขบวน" เช่น ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หมดโอกาสลงสนาม เนื่องจากมีคุณสมบัติต้องห้าม ไม่ได้ผุดได้เกิด
ท่าทีล่าสุดของ ภูมิธรรม เวชยชัย อดีตรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย คนใกล้ชิดของ ทักษิณ ชินวัตร ที่ย้ำว่า จะรณรงค์คว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในชั้นลงประชามติ และที่น่าสนใจก็คือ แบะท่าพร้อมจับมือกับพรรคประชาธิปัตย์ ในการรณรงค์คว่ำ เนื่องจากเขาอ้างว่าทั้งสองพรรคมีมวลชนสนับสนุนจำนวนมาก
** อย่างไรก็ดี หากเป็นแบบนี้จริงมันก็เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า มวลชนของสองพรรคดังกล่าวยังเหนียวแน่น หรือมีมาก ประเภทที่เรียกว่าชี้นิ้วสั่งได้ทุกอย่างหรือไม่ ขณะเดียวกัน อีกมุมหนึ่งมันก็พิสูจน์ให้เห็นเช่นกันว่าหากพวกพรรคการเมืองรณรงค์คว่ำร่างรัฐธรรมนูญจะถูกคว่ำหรือไม่ แต่หากพิจารณาจากลักษณะอาการเท่าที่เห็นในเวลานี้ก็ต้องบอกว่า สำหรับชาวบ้านถือว่า "กระอักกระอ่วน" เพราะแม้ว่าจะชื่นชอบกับมาตรการปราบโกงเด็ดขาด แต่ก็อึดอัดกับเรื่องแปลกใหม่ที่ส่งเสริมนายกฯ คนนอก ลดความเข้มแข็งของรัฐบาล แต่หากไม่ให้ผ่านก็ทำให้เลือกตั้งช้า คสช. ก็อยู่ยาวต่อไปอีก หรือแม้แต่ว่า "ให้ผ่าน "เครือข่ายอำนาจใหม่ก็ยังคงอยู่ต่อไป !!
ในเบื้องต้นเป็น"ร่างแรก" มีจำนวน 270 มาตรา (รวมบทเฉพาะกาล) ขั้นตอนต่อไปก็จะเข้าสู่การรับฟังความคิดเห็นจากสังคม และจากองค์กรต่างๆ ทั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) รัฐบาล สภานิติบัญญัติ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) รวมทั้งพรรคการเมืองต่างๆ ที่เสนอความเห็นเข้าไป
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาตามความเป็นจริงแน่นอนว่ากลุ่มที่มีน้ำหนักสำหรับการเสนอความเห็นก็ต้องยอมรับความจริงแบบปฏิเสธไม่ได้ว่า ต้องเป็นคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เพราะถือว่าเป็น"มดลูก" เป็นต้นตอของ"อำนาจใหม่" ทั้งหลายในเวลานี้
แน่นอนว่า หากพิจารณาจากบรรยากาศภายใต้อำนาจเบ็ดเสร็จ ภายใต้อำนาจพิเศษ ตามมาตรา 44 ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายใตัการนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็อาจสรุปแบบฉาบฉวยได้ทันทีว่า "ไม่เป็นประชาธิปไตย" ไม่ยึดโยงกับประชาชน อะไรทำนองนี้ ซึ่งบรรดาพรรคการเมือง และนักการเมือง โดยเฉพาะนักการเมืองในพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นเครือข่ายของครอบครัว ทักษิณ ชินวัตร กำลังรณรงค์คว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในเวลานี้ โดยสร้างวาทะกรรมในประเด็นดังกล่าวให้เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ
ขณะเดียวกัน อีกพรรคใหญ่ที่แสดงท่าทีต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญ "ฉบับมีชัย" เช่นเดียวกัน ก็คือ พรรคประชาธิปัตย์ แม้ว่าโทนจะไม่ออกมาแบบพลุ่งพล่าน แบบพวกพรรคเพื่อไทย แต่เป้าหมายสำคัญไม่ได้ต่างกัน คือ มีท่าทีคว่ำร่างฯ โดยคาดว่าจะรณรงค์ให้มวลชน หรือผู้สนับสนุนพวกเขาปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญในขั้นตอนการลงประชามติ ซึ่งตามโรดแมปจะเกิดขึ้นในปลายปีนี้
อย่างไรก็ดี เพื่อให้ภาพได้มากขึ้นก็ต้องมาพิจารณาถึงสาเหตุ โดยเฉพาะเหตุผลและคำพูดของ มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ที่ถือว่าหากดูตามแบ็กกราวด์แล้วก็ต้องยอมรับ "ชั้นอ๋อง" เพราะไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลในยุคไหนในอดีตมาตั้งแต่ยุครัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นต้นมา มาถึงยุคปัจจุบัน ในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เขาก็เป็นหนึ่งในทีมงานคนสำคัญด้านกฎหมาย และการร่างรัฐธรรมนูญคราวนี้ หากพูดไม่เกินจริง ประเด็นที่เป็นสาระสำคัญก็มาจากข้อเสนอของรัฐบาล และ คสช.เป็นหลัก
"หากบอกเพียงว่าไม่ดี ผมจะไม่รู้ว่าไม่ดีตรงจุดไหน ส่วนความเห็นของพรรคการเมืองนั้น กรธ.ได้รับฟังและพิจารณามาโดยตลอด แต่สิ่งที่เขาเขียนมานั้น มีแต่น้ำ ไม่มีเนื้อ ดูแล้วก็ไม่ได้เนื้อ เช่น บอกว่ารัฐธรรมนูญต้องเป็นประชาธิปไตย ประชาชนมีส่วนร่วม สิ่งเหล่านี้ กรธ.ได้เขียนไว้ ทั้งความเป็นประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในพรรคการเมือง การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ต้องให้สมาชิกมีส่วนร่วม ดังนั้น ขณะนี้จึงไม่ทราบว่าต้องเขียนอะไรเพิ่มเติมตรงใดอีกบ้าง"
"นอกจากนี้ เรามีกลไกตรวจสอบกันเองในองค์กรอิสระ ส่วน ป.ป.ช.นั้น หากเรามีโอกาสได้ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ จะเพิ่มโทษให้แรงขึ้น อาจถึงประหารชีวิตก็ได้ เพื่อให้ดูเข้มข้น รวมทั้งยังเพิ่มคุณวุฒิ และประสบการณ์ด้วย ยังให้ผู้ตรวจเงินแผ่นดิน ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดความหายนะกับประเทศ โดยหากพบว่ากิจกรรม หรือโครงการใดของรัฐบาลขัดต่อวินัยการเงินการคลัง ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินรายงาน และเชิญ กกต.และ ป.ป.ช.ร่วมดู หากเห็นตรงกันว่าอาจเกิดความเสียหาย ให้รายงานไปยัง ครม.และรัฐสภา"
** คำพูดดังกล่าวของ มีชัย ฤชุพันธุ์ ได้ชี้ให้เห็นว่า ร่างฉบับนี้เป็นฉบับที่เน้นการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะกับนักการเมือง เพราะมีทั้ง "ห้ามเข้า" และ "ห้ามลงสนามตลอดชีวิต" และที่สำคัญอย่างที่เขาพูดก็คือ อาจจะมีบทลงโทษ "ประหารชีวิต" สำหรับนักการเมืองโกง
ขณะเดียวกันมีการเพิ่มอำนาจให้กับองค์กรอิสระในการตรวจสอบอย่างเข้มข้น รวมทั้งให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดในทุกเรื่อง และให้ถือว่าเป็นที่สุดและเด็ดขาด ผูกพันทุกองค์กร ซึ่งต้องบอกว่านี่คือ "ความเก๋า" ของเขาที่ "จับอารมณ์" ของชาวบ้านว่ารู้สึกรังเกียจกับพฤติกรรมของนักการเมืองกระจอกทั้งหลายอย่างไรบ้าง และนำเอาจุดนี้มาเป็นจุดขาย
ขณะเดียวกัน ก็แยกสลายอำนาจของพรรคการเมือง นักการเมือง รวมไปถึงการเข้าสู่อำนาจ ทั้งในรูปแบบรัฐบาล รัฐสภา นั่นคือจากเนื้อหาสำคัญ ที่มีความแยบยล ที่มีการเปิดโอกาส "คนนอก" เป็นนายกฯ แม้ว่าจะให้สภาผู้แทนเป็นคนโหวตก็ตาม แต่ตามลักษณะรูปแบบดังกล่าวทำให้เชื่อว่า ไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมากเหมือนแต่ก่อน แต่รัฐบาลจะเป็นลักษณะรัฐบาลผสมมากขึ้น และที่ต้องยอมรับกันก็คือ ในอนาคตหากต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะทำได้ยาก
**ลักษณะแบบนี้แหละ สาระสำคัญแบบนี้แหละ ที่ทำให้บรรดาพรรคการเมืองใหญ่ ทั้งพรรคเพื่อไทย และประชาธิปัตย์ ถึงกับดิ้นกันพล่าน โดยเฉพาะเพื่อไทย ของ ทักษิณ ชินวัตร ที่ถือว่าได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะระดับ "หัวขบวน" เช่น ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หมดโอกาสลงสนาม เนื่องจากมีคุณสมบัติต้องห้าม ไม่ได้ผุดได้เกิด
ท่าทีล่าสุดของ ภูมิธรรม เวชยชัย อดีตรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย คนใกล้ชิดของ ทักษิณ ชินวัตร ที่ย้ำว่า จะรณรงค์คว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในชั้นลงประชามติ และที่น่าสนใจก็คือ แบะท่าพร้อมจับมือกับพรรคประชาธิปัตย์ ในการรณรงค์คว่ำ เนื่องจากเขาอ้างว่าทั้งสองพรรคมีมวลชนสนับสนุนจำนวนมาก
** อย่างไรก็ดี หากเป็นแบบนี้จริงมันก็เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า มวลชนของสองพรรคดังกล่าวยังเหนียวแน่น หรือมีมาก ประเภทที่เรียกว่าชี้นิ้วสั่งได้ทุกอย่างหรือไม่ ขณะเดียวกัน อีกมุมหนึ่งมันก็พิสูจน์ให้เห็นเช่นกันว่าหากพวกพรรคการเมืองรณรงค์คว่ำร่างรัฐธรรมนูญจะถูกคว่ำหรือไม่ แต่หากพิจารณาจากลักษณะอาการเท่าที่เห็นในเวลานี้ก็ต้องบอกว่า สำหรับชาวบ้านถือว่า "กระอักกระอ่วน" เพราะแม้ว่าจะชื่นชอบกับมาตรการปราบโกงเด็ดขาด แต่ก็อึดอัดกับเรื่องแปลกใหม่ที่ส่งเสริมนายกฯ คนนอก ลดความเข้มแข็งของรัฐบาล แต่หากไม่ให้ผ่านก็ทำให้เลือกตั้งช้า คสช. ก็อยู่ยาวต่อไปอีก หรือแม้แต่ว่า "ให้ผ่าน "เครือข่ายอำนาจใหม่ก็ยังคงอยู่ต่อไป !!