พล.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญ ร่างแรก ที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้แถลงรายละเอียดไปเมื่อวันที่ 29ม.ค.ที่ผ่านมา และปรากฏว่ามีกระแสคัดค้านจากฝ่ายการเมืองเป็นจำนวนมากว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอ ชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ขอให้กำลังใจและของคุฯทุกองค์กรที่ทำงานร่วมกันอย่างหนัก เพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เสร็จลุล่วงตามระยะเวลาที่กำหนด
"รัฐบาลเชื่อว่า ร่างรัฐธรรมนูญและบทเฉพาะกาล ล้วนมีความสำคัญ เพร่าะมีเป้าหมายในการสกัดคนโกง คนเลว ไม่ให้เข้าสู่อำนาจในการบริหารประเทศชาติ และแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรของชาติอีก ซึ่งไม่จำกัดวงเฉพาะนักการเมืองเท่านั้น แต่รวมไปถึงเครือข่ายทั้งหลายด้วย ในส่วนของรัฐบาลก็จะมีการหารือเพื่อส่งข้อเสนอแนะ ต่อร่างรัฐธรรมนูญ จากมุมมองของรัฐบาลเช่นกัน"
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวด้วยว่า นายกฯระบุว่า นี่คือช่วงเวลาที่ทุกฝ่ายต้องใช้ความกล้าหาญที่เปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดจากระบบเดิมๆ ที่เคยเป็นช่องทางให้ประเทศเสียหาย โดยนักการเมืองที่ใช้รัฐธรรมนูญ และกฎหมายในมือ เพื่อประโยชน์ตนเองและพวกพ้อง ประเทศต้องการรัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล ที่จะช่วยให้ประเทศเดินไปสู่การปฏิรูป และปิดช่องโหว่เหล่านี้
ทุกวันนี้ สิ่งที่นักการเมืองพูดพาดพิงถึงรัฐธรรมนูญ ก็ล้วนกล่าวถึงสิ่งที่กระทบต่อผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่เคยกล่าวถึงประโยชน์ของประเทศ และประชาชนในส่วนรวมเลย รัฐบาลเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ เมื่อประชาชนใช้โอกาสนี้ รวมพลังเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศครั้งสำคัญ ร่วมกัน หากเราไม่สามารถก้าวข้ามไปได้ ก้เท่ากับเราทั้งประเทศยื่นดาบกลับไปให้นักการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ ได้มีโอกาสกลับมาทำร้ายสังคมไทย และอนาคตลูกหลานไทยทั้งชาติ
** "มีชัย"เมินนักการเมืองโจมตี
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. กล่าวว่า ไม่กังวลที่ถูกฝ่ายการเมืองออกมาโจมตี เพราะคนพวกนี้ไม่ชอบการทำงานของกรธ.อยู่แล้ว แต่กรธ. ก็พร้อมที่รับฟังเฉพาะคนที่ติติงในเรื่องที่เป็นเหตุเป็นผล
การที่บางพรรคอ้างว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ และกังวลในประเด็นที่มานายกรัฐมนตรีคนนอก ขอถามว่า อ่อนแอตรงไหน ขอแนะนำเลย หากพรรคการเมืองกังวลว่าจะมีการให้คนนอกมาเป็นนายกฯ เวลาที่จะร่างกฏหมายพรรคการเมือง จะเปิดโอกาสให้แก้โดย ห้ามเสนอคนที่ไม่ได้เป็น ส.ส.เป็นนายกรัฐมนตรี หรือถ้าพรรคใดเสนอไปแล้ว แต่คนๆ นั้นไม่ได้รับเลือกให้เป็นส.ส.ก็จะไม่มีสิทธิเป็นนายกฯ บังคับไว้เลย โดยที่ไม่ต้องเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ ง่ายดี
อย่างไรก็ตาม นายมีชัยได้ย้ำถึงจุดเด่นของร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ในการบริหารงานของรัฐบาล ทางกรธ.ได้กำหนดหลักการที่จะทำให้รัฐบาลมีความซื่อสัตย์ สุจริต ในการใช้งบประมาณแผ่นดิน รวมถึงต้องเปิดเผยข้อมูลให้ประชาบนได้รับทราบ และส่งเสริมความเสมอภาคให้เกิดขึ้น โดยไม่นำงบประมาณแผ่นดินไปเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง และเชื่อมั่นว่า หลักการของการร่างรัฐธรรมนูญ มีเจตนาที่ดี และไม่น่าจะทำให้รัฐบาลอ่อนแอ อีกทั้ง สิ่งที่เป็นยุทธศาสตร์ชาติ ก็ยังสามารถดำเนินการได้ปกติ
ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ ยังมีการแก้ไขปัญหา 3 เรื่องสำคัญ ที่ทำให้บ้านเมืองเกิดปัญหา คือ 1. คนขาดวินัย รู้แต่สิทธิของตัวเอง แต่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น 2. การบังคับใช้กฎหมายขาดความเข้มงวด มีการปล่อยปะละเลย เนื่องมาจากระบบอุปถัมภ์ และระบบวิ่งเต้นของตำรวจ ที่ทำลายกระบวนการทำงาน 3.การทุจริตที่เพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ได้ผล ดังนั้น กรธ.จำเป็นต้องเขียนรัฐธรรมนูญมาแก้และปฏิรูปใน 3 เรื่องนี้
ส่วนในการแก้ปัญหาทุจริต ได้ใช้ยาแรง ด้วยการกำหนดคุณสมบัติเข้มของผู้เข้าสู่การดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะต้องไม่เคยต้องคดี หรือถูกตัดสินเกี่ยวกับการทุจริต หรือละเมิดจริยธรรมร้ายแรง ยังได้ใช้กลไกขององค์กรอิสระ ร่วมตรวจสอบการใช้งบประมาณและการกำหนดนโยบาย หากพบว่า ส่งผลเสียต่อประเทศ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สามารถหารือคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก่อนเสนอความเห็นไปยังรัฐบาล และรัฐสภาได้ โดยในการตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระได้วางกลไกให้มีการตรวจสอบกันเองอยู่แล้ว สำหรับ ป.ป.ช. อาจจะกำหนดโทษถึงขั้นประหารชีวิตให้รุนแรงกว่าองค์กรอื่น หากกระทำผิดเอง
นายมีชัย กล่าวด้วยว่า หากเห็นว่าร่างฯฉบับนี้ ยังมีข้อบกพร่อง ก็ขอให้ประชาชน เสนอความเห็นมา เพื่อให้กรธ.นำไปทบทวน ในวันที่ 15 ก.พ.นี้ได้
** ปชช.ชอบกลไกปราบโกงในร่างรธน.
นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ โฆษก กรธ. กล่าวถึงการลงพื้นที่รับฟังเสียงประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือ ต่อรัฐธรรมนูญร่างแรก ที่ จ.เชียงใหม่ ว่า ได้รับการตอบรับจากประชาชนดีมาก มีประชาชนจากทุกภาคส่วน ทั้งข้าราชการ นักธุรกิจ และชาวบ้าน เข้าร่วมจำนวนมาก ซึ่งประเด็นที่ประชาชนสนใจและชอบมากคือ เรื่องกลไกป้องกันการทุจริต ที่กำหนดไว้อย่างเข้มข้น โดยเฉพาะบทลงโทษสำหรับนักการเมืองที่ทุจริต การกำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่เข้มข้น และการใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว ที่ผู้เข้าร่วมงานคิดว่าสามารถขจัดการซื้อเสียงได้ รวมถึงการเพิ่มอำนาจองค์กรอิสระ ในการตรวจสอบนักการเมือง ที่คิดว่าจะสามารถทำงานได้จริง ไม่ถูกแทรกแซงจากนักการเมืองเหมือนอย่างที่ผ่านมา รวมถึงให้องค์กรเหล่านี้ถูกตรวจสอบได้
" เราไม่ได้เกลียดนักการเมือง แต่เราต้องการคนดี มีคุณภาพ เราจึงกำหนดคุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไว้เช่นนั้น ซึ่งนักการเมือง หรือพรรคการเมืองส่วนใหญ่มองด้านเดียว มองแต่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำให้พวกเขาเข้ามาสู่อำนาจได้ยากกว่าเดิม แต่ในร่างฉบับนี้ ยังมีข้อดีอีกมากมายทำไมไม่ออกมาพูดถึงกันบ้าง ข้อกำหนดแบบนี้ ประเทศอื่นๆเขาก็ทำกัน แต่ทำไมเขาไม่มีปัญหา ประเทศอื่นเขาพัฒนาไปถึงไหนกันแล้ว ผมคิดว่ามันอยู่ที่พฤติกรรมของคนมากกว่า ทุกวันนี้นักการเมืองออกมาพูดบิดเบือนให้ประชาชนฟังกันทุกวันจนมากไปแล้ว" นายชาติชาย กล่าว
** ปชป.บอกมีส่วนดีที่พอรับได้
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จากที่ได้พิจารณาดูทั้ง 270 มาตรา 15 หมวดแล้ว พบว่า มีทั้งส่วนดีที่ยอมรับได้ และมีส่วนที่ต้องแก้ไข โดยส่วนที่ยอมรับได้ คือมีความพยายามจะหาทางป้องกันการทุจริตอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะเรื่องการเข้าสู่อำนาจรัฐ การใช้อำนาจรัฐ และการตรวจสอบอำนาจรัฐ รวมทั้ง การบัญญัติให้มีกฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐ ใน มาตรา 259 ที่ระบุว่า กฎหมายวินัยการเงินการคลังนั้นจะเป็นหนึ่งในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ที่กรธ. จะไปร่าง อีกสิ่งหนึ่งที่รับได้ก็คือในมาตราที่ 241 ที่บัญญัติให้ 3 องค์กร ได้แก่ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ช่วยกันมีส่วนทักท้วง เพื่อระงับยับยั้งความเสียหายต่อการเงินการคลังของรัฐ ที่เกิดจากนโยบายของรัฐบาล
ส่วนเรื่องที่คิดว่าต้องปรับแก้ คือ มาตรา 50 ที่ระบุว่า รัฐต้องดำเนินการให้เกิดการศึกษาภาคบังคับโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพราะที่ผ่านมารัฐธรรมนุญปี 40 และ ปี 50 และรัฐบาลของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้จัดให้การศึกษาให้กับประชาชนเลยการศึกษาภาคบังคับไปแล้ว คือถึง 12 ปี ซึ่งตามภาคบังคับ คือ 9 ปี รวมถึงการจัดการพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ควรกำหนดมาตรการต่างๆให้ชัดเจน เพื่อกันรัฐบาลหลีกเลี่ยงที่จะดำเนินการ
นอกจากนี้ ยังไม่มีการระบุว่าให้รองประธานสภาผู้แทนราษฎร 1 ตำแหน่งมาจากฝ่ายค้าน ซึ่งตรงนี้ ตนอยากให้มีด้วย จะได้เป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบถ่วงดุล เพราะการที่ไม่บัญญัติตรงนี้ลงไปนั้นก็อาจจะทำให้พรรคการเมืองที่เป็นเสียงข้างมาก ซึ่งมีสมาชิกดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ดำเนินการไม่เหมาะสมกับประมุขของฝ่ายนิติบัญญัติ อีกทั้งเรื่องของการตั้งกระทู้สด เพื่อตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลนั้น ตนก็ไม่มั่นใจว่าจะดำรงอยู่หรือไม่ ดังนั้น อยากจะฝากกรธ.ช่วยสร้างความมั่นใจว่า สิ่งนี้จะมีอยู่ด้วย
สำหรับเรื่องนายกรัฐมนตรีคนนอก ในร่างฯฉบับนี้กลับระบุว่า แต่ละพรรคสามารถเสนอชื่อใครก็ได้ เพื่อให้เข้ามาเป็นนายกฯจำนวน 3 ชื่อ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นส.ส.ก็ได้ ตนขอติงว่า ความคิดนายกฯ คนนอกนั้น เกิดขึ้นเพราะต้องการนายกฯ คนนอกเข้ามาแก้วิกฤติ แต่เหตุผลนี้คงจะไม่จำเป็นอีกแล้ว หลังจากการเข้ามาบริหารประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทำให้ไม่มีวิกฤติ อีกทั้งที่ผ่านมามีการพูดว่า ต้องมีนายกฯ คนกลาง แต่ข้อบัญญัติเรื่องการเสนอชื่อเช่นนี้ คงไม่ทำให้เกิดนายกรัฐมนตรีคนกลางแน่นอน เพราะเป็นผู้ที่ถูกพรรคการเมืองเสนอชื่อ
" ตามหลักการประชาธิปไตยถ้าบัญญัติให้นายกฯ มาจากส.ส.นั้น ก็น่าจะทำให้ร่างรัฐธรรมนูญได้รับการยอมรับมากขึ้น แต่ว่าถ้า กรธ.ยืนยันว่า การมีนายกฯคนนอกนั้นจำเป็น หากเกิดวิกฤติ ก็อยากจะให้กรธ.อธิบายให้ชัดเจนว่า จะมีนายกฯ คนนอก จากการวิกฤติอย่างไร และวิกฤติแบบไหน"
อีกเรื่องที่อยากให้แก้ไข ก็คือ เรื่องหมวดพระมหากษัตริย์ใน มาตรา 24 ที่ระบุว่า “การถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ ที่ให้ผู้ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณ สามารถถวายสัตย์ต่อพระรัชทายาทซึ่งบรรลุนิติภาวะ หรือต่อผู้แทนพระองค์ก็ได้ ในระหว่างที่ยังไม่ได้ถวายสัตย์ ผู้ถวายสัตย์ สามารถปฏิบัติหน้าที่ระหว่างที่รอการเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณ" ซึ่งตนสงสัยว่า ทำไมถึงไปบัญญัติว่า ให้ปฏิบัติหน้าที่ระหว่างรอการถวายสัตย์ไปก่อนได้ ก็อยากจะให้ กรธ. แสดงความชัดเจนตรงนี้ด้วย
ส่วนท่าที่ของพรรคประชาธิปัตย์ ว่าจะรับ หรือไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญนั้น ขณะนี้ยังเร็วไปที่จะบอกว่ารับหรือไม่รับ เพราะต้องดูเนื้อหา สาระ ในร่างสุดท้ายก่อน
** ติง"มีชัย"ควรลดความแข็งกร้าว
นายองอาจ ยังเตือนไปยัง นายมีชัย ว่า ควรระวังท่าทีต่างๆ ด้วย ขณะที่บรรยายที่รัฐสภา โดยมีถ้อยคำตอบโต้บุคคลที่ว่า ร่างรัฐธรรมนูญของนายมีชัย นั้นโหด โดยระบุว่า หากร่างรัฐธรรมนูญของตนไม่ผ่าน อาจจะมีร่างที่โหดกว่านี้ออกมาอีก ซึ่งตนคิดว่าประธานกรธ. ควรจะต้องระวัดระวังท่าทีให้มากกว่านี้ เพราะอาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อการทำหน้าที่ของกรธ.ต่อการร่างรัฐธรรมนูญได้
"การทำแบบนี้จะไม่ทำให้เกิดประโยชน์ และทำให้เกิดปัญหาต่อร่างรัฐธรรมนูญโดยไม่จำเป็น ผมอยากจะให้นายมีชัย พยายามทำให้สังคมนั้นเข้าใจกับร่างรัฐธรรมนูญให้มากที่สุด เพราะเชื่อว่า นายมีชัย และ กรธ. คงอยากจะให้ประชาชนนั้นยอมรับในร่างรัฐธรรมนูญ และหวังว่าหลังจากนี้ คงจะไม่เห็นท่าทีของ กรธ. ที่ออกมาในเชิงข่มขู่ หรือชี้นำเช่นนี้อีก" นายองอาจ กล่าว
** "ภูมิธรรม"เมินคำขู่จาก"มีชัย"
นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ประเทศไทยมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร จุดที่คนพูดถึงความต้องการประชาธิปไตยถูกบิดเบือน กล่าวหาว่ากำลังเห็นแก่ประโยชน์ของตน หรือไม่ต้องการให้ประเทศมีทางออก ขณะที่คนที่ไม่เอาประชาธิปไตย แต่ฝักใฝ่เผด็จการ กลับกลายเป็นคนดีที่กำลังช่วยเหลือประเทศ ประชาธิปไตย คือ ระบบและกติกาที่ให้หลักประกันคนส่วนใหญ่ของประเทศได้เป็นผู้กำหนด คิด และตัดสินใจอนาคตของสังคมและชีวิตของพวกเขาเอง ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ไม่ใช่พวก 10-20 คน ที่เรียกตัวเองว่า กรธ. จะมีสิทธิ์ มากำหนด หรือเอาอำนาจของประชาชนไป
วันนี้สังคมไทยกำลังถูกกลุ่มผู้มีอำนาจ พยายามโฆษณาชวนเชื่อว่า กติกาที่จะกำหนดการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ไม่จำเป็นต้องมีความเป็นประชาธิปไตย โดยใช้วาทกรรมเปรียบเทียบที่น่าขันว่า จะขอเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ แบบตุ๊กๆ หรือแบบเรือหางยาว ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศถูกทำให้รู้สึกหรือเข้าใจว่า มีวิกฤต และวิกฤตนั้นเกิดขึ้นเพราะการทะเลาะขัดแย้งของประชาชน โดยระบอบประชาธิปไตยไม่สามารถแก้ไขได้ ต้องใช้ประชาธิปไตยแบบไทยๆ จึงจะฝ่าวิกฤตได้ แท้ที่จริงแล้วระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนช่วยกันร่าง ช่วยกันผลักดันกันมา ไม่ได้เกิดวิกฤต เพราะตัวระบบของมันเอง ระบอบประชาธิปไตยมีทางออกเสมอ เพราะเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ประเทศประชาธิปไตยทั้งหลายควรคืนอำนาจกลับไปให้ประชาชนตัดสินใจใหม่ทุกๆ รอบวาระที่รัฐธรรมนูญกำหนด
"ผมไม่เชื่อ และไม่กลัวคำขู่ของนายมีชัย ที่ว่าถ้าไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว จะได้รัฐธรรมนูญที่โหดกว่า เพราะถ้าประชาชนร่วมกันไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แสดงว่า ประชาชนพร้อมใจกันไม่ยอมรับความไม่เป็นประชาธิปไตย และเท่ากับช่วยกันตะโกนเสียงดังๆว่า ไม่เอารัฐธรรมนูญ ที่ฝักใฝ่เผด็จการ ไม่เอารัฐธรรมนูญที่โกงอำนาจประชาชน แบบบวรศักดิ์ ก็ไม่เอา แบบมีชัย ก็ยิ่งไม่เอา ถ้ากล้าเอาที่โหดกว่าเดิมมายัดเยียดใส่มือประชาชนอีก นายมีชัยกล้า ก็ลองดู ลองเลยครับ" นายภูมิธรรม กล่าว
** ท้าแม่น้ำ 5 สายลงเลือกตั้งแข่งกัน
นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับบทเฉพาะกาล ที่ให้สภาปฏิรูปการขับเคลื่อนประเทศ (สปท.) อยู่ต่ออีก 1 ปี เพราะเมื่อได้ ส.ส.มาแล้ว จะอยู่ต่อทำไม ต้องปล่อยให้เขาทำ ถามว่าช่วงนี้มีเวลาอีกเยอะแยะ ทำไมไม่ลงมือทำให้เห็นความก้าวหน้า ส่วนการจะให้สมาชิก สปท. หรือ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงเลือกตั้งได้หลังเว้นวรรค 90 วันนั้น ไม่มีปัญหา และไม่จำเป็นต้องเว้นวรรคด้วย ไม่ว่า สปท.-สนช.-คสช. - ครม. หรือแม้แต่ กรธ. ลงมาให้หมดเลยไม่ต้องวางเงื่อนไขอะไร เพราะประชาชนจะเป็นคนตัดสินใจเอง
ส่วนกรณีที่นายมีชัยบอกว่าถ้าร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่อีกครั้ง อาจได้ฉบับที่โหดกว่าเดิมนั้น นายมีชัย ป็นผู้หลักผู้ใหญ่ รู้ดีว่าควรทำอย่างไร เว้นเสียแต่ว่ามีอะไรมากดดันท่าน
"ผมยังยืนยันว่า หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ ควรให้หยิบฉบับปี 40 หรือ 50 มาใช้ก่อน ไม่มีความชอบธรรมที่จะไปเอาฉบับนายบวรศักดิ์ หรือนายมีชัย มาใช้ เพราะประชาชนไม่เคยให้การยอมรับ" นายอำนวย ระบุ.
"รัฐบาลเชื่อว่า ร่างรัฐธรรมนูญและบทเฉพาะกาล ล้วนมีความสำคัญ เพร่าะมีเป้าหมายในการสกัดคนโกง คนเลว ไม่ให้เข้าสู่อำนาจในการบริหารประเทศชาติ และแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรของชาติอีก ซึ่งไม่จำกัดวงเฉพาะนักการเมืองเท่านั้น แต่รวมไปถึงเครือข่ายทั้งหลายด้วย ในส่วนของรัฐบาลก็จะมีการหารือเพื่อส่งข้อเสนอแนะ ต่อร่างรัฐธรรมนูญ จากมุมมองของรัฐบาลเช่นกัน"
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวด้วยว่า นายกฯระบุว่า นี่คือช่วงเวลาที่ทุกฝ่ายต้องใช้ความกล้าหาญที่เปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดจากระบบเดิมๆ ที่เคยเป็นช่องทางให้ประเทศเสียหาย โดยนักการเมืองที่ใช้รัฐธรรมนูญ และกฎหมายในมือ เพื่อประโยชน์ตนเองและพวกพ้อง ประเทศต้องการรัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล ที่จะช่วยให้ประเทศเดินไปสู่การปฏิรูป และปิดช่องโหว่เหล่านี้
ทุกวันนี้ สิ่งที่นักการเมืองพูดพาดพิงถึงรัฐธรรมนูญ ก็ล้วนกล่าวถึงสิ่งที่กระทบต่อผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่เคยกล่าวถึงประโยชน์ของประเทศ และประชาชนในส่วนรวมเลย รัฐบาลเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ เมื่อประชาชนใช้โอกาสนี้ รวมพลังเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศครั้งสำคัญ ร่วมกัน หากเราไม่สามารถก้าวข้ามไปได้ ก้เท่ากับเราทั้งประเทศยื่นดาบกลับไปให้นักการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ ได้มีโอกาสกลับมาทำร้ายสังคมไทย และอนาคตลูกหลานไทยทั้งชาติ
** "มีชัย"เมินนักการเมืองโจมตี
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. กล่าวว่า ไม่กังวลที่ถูกฝ่ายการเมืองออกมาโจมตี เพราะคนพวกนี้ไม่ชอบการทำงานของกรธ.อยู่แล้ว แต่กรธ. ก็พร้อมที่รับฟังเฉพาะคนที่ติติงในเรื่องที่เป็นเหตุเป็นผล
การที่บางพรรคอ้างว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ และกังวลในประเด็นที่มานายกรัฐมนตรีคนนอก ขอถามว่า อ่อนแอตรงไหน ขอแนะนำเลย หากพรรคการเมืองกังวลว่าจะมีการให้คนนอกมาเป็นนายกฯ เวลาที่จะร่างกฏหมายพรรคการเมือง จะเปิดโอกาสให้แก้โดย ห้ามเสนอคนที่ไม่ได้เป็น ส.ส.เป็นนายกรัฐมนตรี หรือถ้าพรรคใดเสนอไปแล้ว แต่คนๆ นั้นไม่ได้รับเลือกให้เป็นส.ส.ก็จะไม่มีสิทธิเป็นนายกฯ บังคับไว้เลย โดยที่ไม่ต้องเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ ง่ายดี
อย่างไรก็ตาม นายมีชัยได้ย้ำถึงจุดเด่นของร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ในการบริหารงานของรัฐบาล ทางกรธ.ได้กำหนดหลักการที่จะทำให้รัฐบาลมีความซื่อสัตย์ สุจริต ในการใช้งบประมาณแผ่นดิน รวมถึงต้องเปิดเผยข้อมูลให้ประชาบนได้รับทราบ และส่งเสริมความเสมอภาคให้เกิดขึ้น โดยไม่นำงบประมาณแผ่นดินไปเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง และเชื่อมั่นว่า หลักการของการร่างรัฐธรรมนูญ มีเจตนาที่ดี และไม่น่าจะทำให้รัฐบาลอ่อนแอ อีกทั้ง สิ่งที่เป็นยุทธศาสตร์ชาติ ก็ยังสามารถดำเนินการได้ปกติ
ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ ยังมีการแก้ไขปัญหา 3 เรื่องสำคัญ ที่ทำให้บ้านเมืองเกิดปัญหา คือ 1. คนขาดวินัย รู้แต่สิทธิของตัวเอง แต่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น 2. การบังคับใช้กฎหมายขาดความเข้มงวด มีการปล่อยปะละเลย เนื่องมาจากระบบอุปถัมภ์ และระบบวิ่งเต้นของตำรวจ ที่ทำลายกระบวนการทำงาน 3.การทุจริตที่เพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ได้ผล ดังนั้น กรธ.จำเป็นต้องเขียนรัฐธรรมนูญมาแก้และปฏิรูปใน 3 เรื่องนี้
ส่วนในการแก้ปัญหาทุจริต ได้ใช้ยาแรง ด้วยการกำหนดคุณสมบัติเข้มของผู้เข้าสู่การดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะต้องไม่เคยต้องคดี หรือถูกตัดสินเกี่ยวกับการทุจริต หรือละเมิดจริยธรรมร้ายแรง ยังได้ใช้กลไกขององค์กรอิสระ ร่วมตรวจสอบการใช้งบประมาณและการกำหนดนโยบาย หากพบว่า ส่งผลเสียต่อประเทศ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สามารถหารือคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก่อนเสนอความเห็นไปยังรัฐบาล และรัฐสภาได้ โดยในการตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระได้วางกลไกให้มีการตรวจสอบกันเองอยู่แล้ว สำหรับ ป.ป.ช. อาจจะกำหนดโทษถึงขั้นประหารชีวิตให้รุนแรงกว่าองค์กรอื่น หากกระทำผิดเอง
นายมีชัย กล่าวด้วยว่า หากเห็นว่าร่างฯฉบับนี้ ยังมีข้อบกพร่อง ก็ขอให้ประชาชน เสนอความเห็นมา เพื่อให้กรธ.นำไปทบทวน ในวันที่ 15 ก.พ.นี้ได้
** ปชช.ชอบกลไกปราบโกงในร่างรธน.
นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ โฆษก กรธ. กล่าวถึงการลงพื้นที่รับฟังเสียงประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือ ต่อรัฐธรรมนูญร่างแรก ที่ จ.เชียงใหม่ ว่า ได้รับการตอบรับจากประชาชนดีมาก มีประชาชนจากทุกภาคส่วน ทั้งข้าราชการ นักธุรกิจ และชาวบ้าน เข้าร่วมจำนวนมาก ซึ่งประเด็นที่ประชาชนสนใจและชอบมากคือ เรื่องกลไกป้องกันการทุจริต ที่กำหนดไว้อย่างเข้มข้น โดยเฉพาะบทลงโทษสำหรับนักการเมืองที่ทุจริต การกำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่เข้มข้น และการใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว ที่ผู้เข้าร่วมงานคิดว่าสามารถขจัดการซื้อเสียงได้ รวมถึงการเพิ่มอำนาจองค์กรอิสระ ในการตรวจสอบนักการเมือง ที่คิดว่าจะสามารถทำงานได้จริง ไม่ถูกแทรกแซงจากนักการเมืองเหมือนอย่างที่ผ่านมา รวมถึงให้องค์กรเหล่านี้ถูกตรวจสอบได้
" เราไม่ได้เกลียดนักการเมือง แต่เราต้องการคนดี มีคุณภาพ เราจึงกำหนดคุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไว้เช่นนั้น ซึ่งนักการเมือง หรือพรรคการเมืองส่วนใหญ่มองด้านเดียว มองแต่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำให้พวกเขาเข้ามาสู่อำนาจได้ยากกว่าเดิม แต่ในร่างฉบับนี้ ยังมีข้อดีอีกมากมายทำไมไม่ออกมาพูดถึงกันบ้าง ข้อกำหนดแบบนี้ ประเทศอื่นๆเขาก็ทำกัน แต่ทำไมเขาไม่มีปัญหา ประเทศอื่นเขาพัฒนาไปถึงไหนกันแล้ว ผมคิดว่ามันอยู่ที่พฤติกรรมของคนมากกว่า ทุกวันนี้นักการเมืองออกมาพูดบิดเบือนให้ประชาชนฟังกันทุกวันจนมากไปแล้ว" นายชาติชาย กล่าว
** ปชป.บอกมีส่วนดีที่พอรับได้
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จากที่ได้พิจารณาดูทั้ง 270 มาตรา 15 หมวดแล้ว พบว่า มีทั้งส่วนดีที่ยอมรับได้ และมีส่วนที่ต้องแก้ไข โดยส่วนที่ยอมรับได้ คือมีความพยายามจะหาทางป้องกันการทุจริตอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะเรื่องการเข้าสู่อำนาจรัฐ การใช้อำนาจรัฐ และการตรวจสอบอำนาจรัฐ รวมทั้ง การบัญญัติให้มีกฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐ ใน มาตรา 259 ที่ระบุว่า กฎหมายวินัยการเงินการคลังนั้นจะเป็นหนึ่งในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ที่กรธ. จะไปร่าง อีกสิ่งหนึ่งที่รับได้ก็คือในมาตราที่ 241 ที่บัญญัติให้ 3 องค์กร ได้แก่ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ช่วยกันมีส่วนทักท้วง เพื่อระงับยับยั้งความเสียหายต่อการเงินการคลังของรัฐ ที่เกิดจากนโยบายของรัฐบาล
ส่วนเรื่องที่คิดว่าต้องปรับแก้ คือ มาตรา 50 ที่ระบุว่า รัฐต้องดำเนินการให้เกิดการศึกษาภาคบังคับโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพราะที่ผ่านมารัฐธรรมนุญปี 40 และ ปี 50 และรัฐบาลของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้จัดให้การศึกษาให้กับประชาชนเลยการศึกษาภาคบังคับไปแล้ว คือถึง 12 ปี ซึ่งตามภาคบังคับ คือ 9 ปี รวมถึงการจัดการพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ควรกำหนดมาตรการต่างๆให้ชัดเจน เพื่อกันรัฐบาลหลีกเลี่ยงที่จะดำเนินการ
นอกจากนี้ ยังไม่มีการระบุว่าให้รองประธานสภาผู้แทนราษฎร 1 ตำแหน่งมาจากฝ่ายค้าน ซึ่งตรงนี้ ตนอยากให้มีด้วย จะได้เป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบถ่วงดุล เพราะการที่ไม่บัญญัติตรงนี้ลงไปนั้นก็อาจจะทำให้พรรคการเมืองที่เป็นเสียงข้างมาก ซึ่งมีสมาชิกดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ดำเนินการไม่เหมาะสมกับประมุขของฝ่ายนิติบัญญัติ อีกทั้งเรื่องของการตั้งกระทู้สด เพื่อตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลนั้น ตนก็ไม่มั่นใจว่าจะดำรงอยู่หรือไม่ ดังนั้น อยากจะฝากกรธ.ช่วยสร้างความมั่นใจว่า สิ่งนี้จะมีอยู่ด้วย
สำหรับเรื่องนายกรัฐมนตรีคนนอก ในร่างฯฉบับนี้กลับระบุว่า แต่ละพรรคสามารถเสนอชื่อใครก็ได้ เพื่อให้เข้ามาเป็นนายกฯจำนวน 3 ชื่อ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นส.ส.ก็ได้ ตนขอติงว่า ความคิดนายกฯ คนนอกนั้น เกิดขึ้นเพราะต้องการนายกฯ คนนอกเข้ามาแก้วิกฤติ แต่เหตุผลนี้คงจะไม่จำเป็นอีกแล้ว หลังจากการเข้ามาบริหารประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทำให้ไม่มีวิกฤติ อีกทั้งที่ผ่านมามีการพูดว่า ต้องมีนายกฯ คนกลาง แต่ข้อบัญญัติเรื่องการเสนอชื่อเช่นนี้ คงไม่ทำให้เกิดนายกรัฐมนตรีคนกลางแน่นอน เพราะเป็นผู้ที่ถูกพรรคการเมืองเสนอชื่อ
" ตามหลักการประชาธิปไตยถ้าบัญญัติให้นายกฯ มาจากส.ส.นั้น ก็น่าจะทำให้ร่างรัฐธรรมนูญได้รับการยอมรับมากขึ้น แต่ว่าถ้า กรธ.ยืนยันว่า การมีนายกฯคนนอกนั้นจำเป็น หากเกิดวิกฤติ ก็อยากจะให้กรธ.อธิบายให้ชัดเจนว่า จะมีนายกฯ คนนอก จากการวิกฤติอย่างไร และวิกฤติแบบไหน"
อีกเรื่องที่อยากให้แก้ไข ก็คือ เรื่องหมวดพระมหากษัตริย์ใน มาตรา 24 ที่ระบุว่า “การถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ ที่ให้ผู้ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณ สามารถถวายสัตย์ต่อพระรัชทายาทซึ่งบรรลุนิติภาวะ หรือต่อผู้แทนพระองค์ก็ได้ ในระหว่างที่ยังไม่ได้ถวายสัตย์ ผู้ถวายสัตย์ สามารถปฏิบัติหน้าที่ระหว่างที่รอการเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณ" ซึ่งตนสงสัยว่า ทำไมถึงไปบัญญัติว่า ให้ปฏิบัติหน้าที่ระหว่างรอการถวายสัตย์ไปก่อนได้ ก็อยากจะให้ กรธ. แสดงความชัดเจนตรงนี้ด้วย
ส่วนท่าที่ของพรรคประชาธิปัตย์ ว่าจะรับ หรือไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญนั้น ขณะนี้ยังเร็วไปที่จะบอกว่ารับหรือไม่รับ เพราะต้องดูเนื้อหา สาระ ในร่างสุดท้ายก่อน
** ติง"มีชัย"ควรลดความแข็งกร้าว
นายองอาจ ยังเตือนไปยัง นายมีชัย ว่า ควรระวังท่าทีต่างๆ ด้วย ขณะที่บรรยายที่รัฐสภา โดยมีถ้อยคำตอบโต้บุคคลที่ว่า ร่างรัฐธรรมนูญของนายมีชัย นั้นโหด โดยระบุว่า หากร่างรัฐธรรมนูญของตนไม่ผ่าน อาจจะมีร่างที่โหดกว่านี้ออกมาอีก ซึ่งตนคิดว่าประธานกรธ. ควรจะต้องระวัดระวังท่าทีให้มากกว่านี้ เพราะอาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อการทำหน้าที่ของกรธ.ต่อการร่างรัฐธรรมนูญได้
"การทำแบบนี้จะไม่ทำให้เกิดประโยชน์ และทำให้เกิดปัญหาต่อร่างรัฐธรรมนูญโดยไม่จำเป็น ผมอยากจะให้นายมีชัย พยายามทำให้สังคมนั้นเข้าใจกับร่างรัฐธรรมนูญให้มากที่สุด เพราะเชื่อว่า นายมีชัย และ กรธ. คงอยากจะให้ประชาชนนั้นยอมรับในร่างรัฐธรรมนูญ และหวังว่าหลังจากนี้ คงจะไม่เห็นท่าทีของ กรธ. ที่ออกมาในเชิงข่มขู่ หรือชี้นำเช่นนี้อีก" นายองอาจ กล่าว
** "ภูมิธรรม"เมินคำขู่จาก"มีชัย"
นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ประเทศไทยมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร จุดที่คนพูดถึงความต้องการประชาธิปไตยถูกบิดเบือน กล่าวหาว่ากำลังเห็นแก่ประโยชน์ของตน หรือไม่ต้องการให้ประเทศมีทางออก ขณะที่คนที่ไม่เอาประชาธิปไตย แต่ฝักใฝ่เผด็จการ กลับกลายเป็นคนดีที่กำลังช่วยเหลือประเทศ ประชาธิปไตย คือ ระบบและกติกาที่ให้หลักประกันคนส่วนใหญ่ของประเทศได้เป็นผู้กำหนด คิด และตัดสินใจอนาคตของสังคมและชีวิตของพวกเขาเอง ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ไม่ใช่พวก 10-20 คน ที่เรียกตัวเองว่า กรธ. จะมีสิทธิ์ มากำหนด หรือเอาอำนาจของประชาชนไป
วันนี้สังคมไทยกำลังถูกกลุ่มผู้มีอำนาจ พยายามโฆษณาชวนเชื่อว่า กติกาที่จะกำหนดการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ไม่จำเป็นต้องมีความเป็นประชาธิปไตย โดยใช้วาทกรรมเปรียบเทียบที่น่าขันว่า จะขอเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ แบบตุ๊กๆ หรือแบบเรือหางยาว ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศถูกทำให้รู้สึกหรือเข้าใจว่า มีวิกฤต และวิกฤตนั้นเกิดขึ้นเพราะการทะเลาะขัดแย้งของประชาชน โดยระบอบประชาธิปไตยไม่สามารถแก้ไขได้ ต้องใช้ประชาธิปไตยแบบไทยๆ จึงจะฝ่าวิกฤตได้ แท้ที่จริงแล้วระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนช่วยกันร่าง ช่วยกันผลักดันกันมา ไม่ได้เกิดวิกฤต เพราะตัวระบบของมันเอง ระบอบประชาธิปไตยมีทางออกเสมอ เพราะเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ประเทศประชาธิปไตยทั้งหลายควรคืนอำนาจกลับไปให้ประชาชนตัดสินใจใหม่ทุกๆ รอบวาระที่รัฐธรรมนูญกำหนด
"ผมไม่เชื่อ และไม่กลัวคำขู่ของนายมีชัย ที่ว่าถ้าไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว จะได้รัฐธรรมนูญที่โหดกว่า เพราะถ้าประชาชนร่วมกันไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แสดงว่า ประชาชนพร้อมใจกันไม่ยอมรับความไม่เป็นประชาธิปไตย และเท่ากับช่วยกันตะโกนเสียงดังๆว่า ไม่เอารัฐธรรมนูญ ที่ฝักใฝ่เผด็จการ ไม่เอารัฐธรรมนูญที่โกงอำนาจประชาชน แบบบวรศักดิ์ ก็ไม่เอา แบบมีชัย ก็ยิ่งไม่เอา ถ้ากล้าเอาที่โหดกว่าเดิมมายัดเยียดใส่มือประชาชนอีก นายมีชัยกล้า ก็ลองดู ลองเลยครับ" นายภูมิธรรม กล่าว
** ท้าแม่น้ำ 5 สายลงเลือกตั้งแข่งกัน
นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับบทเฉพาะกาล ที่ให้สภาปฏิรูปการขับเคลื่อนประเทศ (สปท.) อยู่ต่ออีก 1 ปี เพราะเมื่อได้ ส.ส.มาแล้ว จะอยู่ต่อทำไม ต้องปล่อยให้เขาทำ ถามว่าช่วงนี้มีเวลาอีกเยอะแยะ ทำไมไม่ลงมือทำให้เห็นความก้าวหน้า ส่วนการจะให้สมาชิก สปท. หรือ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงเลือกตั้งได้หลังเว้นวรรค 90 วันนั้น ไม่มีปัญหา และไม่จำเป็นต้องเว้นวรรคด้วย ไม่ว่า สปท.-สนช.-คสช. - ครม. หรือแม้แต่ กรธ. ลงมาให้หมดเลยไม่ต้องวางเงื่อนไขอะไร เพราะประชาชนจะเป็นคนตัดสินใจเอง
ส่วนกรณีที่นายมีชัยบอกว่าถ้าร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่อีกครั้ง อาจได้ฉบับที่โหดกว่าเดิมนั้น นายมีชัย ป็นผู้หลักผู้ใหญ่ รู้ดีว่าควรทำอย่างไร เว้นเสียแต่ว่ามีอะไรมากดดันท่าน
"ผมยังยืนยันว่า หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ ควรให้หยิบฉบับปี 40 หรือ 50 มาใช้ก่อน ไม่มีความชอบธรรมที่จะไปเอาฉบับนายบวรศักดิ์ หรือนายมีชัย มาใช้ เพราะประชาชนไม่เคยให้การยอมรับ" นายอำนวย ระบุ.