ธรรมที่เกื้อกูลในกิจ หรือธรรมที่เกื้อกูลในการทำความดีทุกอย่าง เรียกว่า “ธรรมมีอุปการะมาก” มีอยู่สองอย่างคือ...
1. สติ คือความระลึกได้, นึกได้, สำนึกอยู่ไม่เผลอ
2. สัมปชัญญะ คือความรู้ชัด, รู้ชัดสิ่งที่นึกได้, ตระหนัก, เข้าใจชัดตามความเป็นจริง
อีกความหมายหนึ่งของ “สติสัมปชัญญะ” คือความระลึกได้ และความรู้ตัวทั่วพร้อม”
“สติ” เป็นเจตสิกฝ่ายดีงามที่เกิดทั่วไปกับจิตดีงามทุกดวง
รู้ตัวทั่วพร้อม
“สติ คือความไม่ประมาท” หรือ “ความไม่ประมาท คือสติ”
“ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว เราขอเตือนเธอทั้งหลายให้จำมั่นไว้ว่า สิ่งทั้งปวงมีความเสื่อมและความสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด”
ในที่สุด แม้พระพุทธองค์เองก็ต้องประสบอวสานเหมือนคนทั้งหลาย พระธรรมที่พระองค์เคยพร่ำสอนมาตลอดพระชนมชีพว่า สัตว์ทั้งหลายมีความตายเป็นที่สุดนั้น เป็นสัจธรรมที่ไม่ยกเว้นแม้แต่พระองค์เอง
...(พระพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน (ใบไม้กำมือเดียว) โดย วศิน อินทสระ)
อัปปมาทะ (ความไม่ประมาท) คือความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ หรือความเพียรที่มีสติเป็นเครื่องเร่งเร้าและควบคุม ได้แก่ การดำเนินชีวิต โดยมีสติเป็นเครื่องกำกับความประพฤติปฏิบัติ และการกระทำทุกอย่าง ระมัดระวังตัว ไม่ยอมถลำลงไปในทางเสื่อม แต่ไม่ยอมพลาดโอกาสสำหรับความดีงาม และความเจริญก้าวหน้า ตระหนักในสิ่งที่พึงทำ และพึงละเว้น ใส่ใจสำนึกอยู่เสมอในหน้าที่อันจะต้องรับผิดชอบ ไม่ยอมปล่อยปละละเลย กระทำการด้วยความจริงจัง รอบคอบ และรุดหน้าเรื่อยไป (ข้อนี้เป็นองค์ประกอบภายในและเป็นฝ่ายสมาธิ)
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรคแก่ภิกษุ ฉันนั้น”
“ธรรมเอกที่มีอุปการะมาก เพื่อการเกิดขึ้นแห่งอารยอัษฎางคิกมรรค ก็คือความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท”
“เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่งซึ่งเป็นเหตุให้อารยอัษฎางคิกมรรค ที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญบริบูรณ์ เหมือนอย่างความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทนี้เลย”
“รอยเท้าของสัตว์บกทั้งหลาย ชนิดใดๆ ก็ตาม ย่อมลงในรอยเท้าช้างได้ทั้งหมด รอยเท้าช้างเรียกว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น โดยความใหญ่ ฉันใด กุศลธรรมทั้งหลาย อย่างใดๆ ก็ตาม ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาทได้ทั้งหมด ความไม่ประมาท เรียกได้ว่า เป็นยอดของธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น”
“ผู้มีกัลยาณมิตร พึงเป็นอยู่โดยอาศัยธรรมเอกข้อนี้ คือความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย”
“ธรรมเอกอันจะทำให้ยึดเอาประโยชน์ไว้ได้ทั้งสองอย่างคือ ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ (ประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์เฉพาะหน้า หรือประโยชน์สามัญของชีวิต เช่น ทรัพย์ ยศ กามสุข เป็นต้น) และสัมปรายิกัตถะ (ประโยชน์เบื้องหน้า หรือประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไปทางจิตใจ หรือคุณธรรม) ก็คือความไม่ประมาท”
“สังขาร (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น) ทั้งหลาย มีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ที่มุ่งหมายให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาทเถิด”
“ความไม่ประมาท ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม”...ฯลฯ
...(พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์-ป.อ.ปยุตฺโต)
“สติ” (รู้ตัวทั่วพร้อม) คำเดียวครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลไว้หมด “เห็นเราคือจักรวาล-เห็นจักรวาลคือเรา”
จะรู้จะเห็นเช่นนี้ได้ ก็ต้องอาศัยหมั่นฝึกหมั่นซ้อม ดอกผลจึงจะเกิดขึ้น
หมั่นซ้อมเกิดผล
มีพุทธพจน์บทหนึ่ง เตือนจิตเตือนใจได้ดีมาก นั่นคือ... “อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา-บัณฑิต ย่อมฝึกตน”
ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นเครื่องรุ่งเรืองของตน รักอื่นเสมอด้วยรักตน ไม่มี ผู้รักตน ย่อมอยากเห็นตนรุ่งเรือง จึงหมั่นฝึกหมั่นซ้อม และได้รับผลสำเร็จเป็นลำดับๆ ไป
บรรดาผู้อ่อนซ้อมทั้งหลาย เขาไม่ได้รักตนหรอก บางทีอาจจะไม่รู้จักตน ไม่เห็นตนอยู่ในสายตาด้วยซ้ำไป จึงหลงรักสิ่งอื่นที่อยู่นอกตน กลายเป็นวิถีรักหลอกๆ ตามกระแสมายาสาไถย ที่เห็นแก่ตัวเป็นใหญ่
บัณฑิตทั้งหลาย จึงหมั่นฝึกหมั่นซ้อมตนเป็นนิสัย ละสิ่งชั่ว ทำสิ่งดี และทำจิตให้ผ่องใส
ดูกายใจตาย
“รู้ตัวทั่วพร้อม” ก็คือ “ดูกายเคลื่อนไหว ดูใจนึกคิด” อยู่สม่ำเสมอ เผลอเมื่อไหร่ ก็ขาดสติเมื่อนั้น
ดูกายเคลื่อนไหว นี่ง่ายๆ จะทำอะไรก็ได้ ให้รู้สึก เช่น เวลาอยู่เฉยๆ ก็นวดนิ้วมือ เป็นต้น นวดนิ้วโป้ง-รู้สึก นวดนิ้วชี้-รู้สึก นวดนิ้วกลาง-รู้สึก นวดนิ้วนาง-รู้สึก นวดนิ้วก้อย-รู้สึก
ดูใจนึกคิด นี่ยากหน่อย ฝึกบ่อยๆ ซ้อมบ่อยๆ ก็ง่ายเอง เช่น ใจคิดโกรธ-รู้สึก-เรากลายเป็นมนุษย์นรก ใจคิดโลภ-รู้สึก-เรากลายเป็นมนุษย์เปรตอสุรกาย ใจคิดหลง-รู้สึก-เรากลายเป็นมนุษย์สัตว์เดรัจฉาน ใจคิดถึงศีลห้า และกุศลกรรมบถ 10-รู้สึก-เรากลายเป็นมนุษย์แท้ ใจคิดถึงมหากุศล 8-รู้สึก-เรากลายเป็นมนุษย์เทพ ใจคิดถึงสมถกรรมฐาน-รู้สึก-เรากลายเป็นมนุษย์พรหม ใจคิดถึงวิปัสสนากรรมฐาน-รู้สึก-เรากลายเป็นมนุษย์นิพพาน
นี่คือทาง 7 สายของมนุษย์ เฉกเช่นเราทุกคนที่กำลังสั่งสมไว้ให้เป็นผู้นำเราไปสู่ที่เกิดใหม่ในโลกใหม่ หลังจากที่เราหมดลมหายใจในโลกนี้
ดูกายเคลื่อนไหว-ดูใจนึกคิดอย่างที่เป็นมาตรฐาน หรือวิชาการหน่อย นั่นคือ...
สติปัฏฐาน 4 คือที่ตั้งของสติ หรือการตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลาย ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน ได้แก่...
1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการตั้งสติกำหนดพิจารณากาย ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
ท่านจำแนกวิธีปฏิบัติไว้หลายอย่าง คือ
- อานาปานสติ กำหนดลมหายใจ 1
- อิริยาบถ กำหนดรู้ทันอิริยาบถ 1
- สัมปชัญญะ สร้างสัมปชัญญะในการกระทำความเคลื่อนไหวทุกอย่าง 1
- ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลาย ที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ 1
- ธาตุมนสิการ พิจารณาเห็นร่างกายของตน โดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ 1
- นวสีวถิกา พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ อันแปลกกันไปใน 9 ระยะเวลาให้เห็นคติธรรมดาของ
ร่างกายของผู้อื่นเช่นใด ของตนก็จักเป็นเช่นนั้น 1
2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่าเป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา คือมีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดเวทนา อันเป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นสามิส และเป็นนิรามิสตามที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ
3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา คือมีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้สึกชัดจิตของตนที่มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ เศร้าหมอง หรือผ่องใส ฟุ้งซ่าน หรือเป็นสมาธิ ฯลฯ อย่างไรๆ ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ
4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่าเป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา คือมีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ 5 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 โพชฌงค์ 7 อริยสัจจ์ 4 ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญ บริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นๆ
...(พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดย พระพรหมคุณาจารย์-ป.อ.ปยุตฺโต)
ดูกายเคลื่อนไหว-ดูใจนึกคิด ก็คือดูสติ ดูตรงไหน? ดูตรงที่ตั้งของมัน 4 แห่ง กาย เวทนา จิต ธรรม ดังกล่าวมา
สติ คือความระลึกได้ หรือความสำนึกพร้อมอยู่ เป็นเจตสิกดวงหนึ่งในจำนวนทั้งหมด 52 ดวง (ที่ผู้ใฝ่ศึกษาควรรู้อย่างยิ่ง)
เจตสิก 52 คือธรรมที่ประกอบกับจิต หรือสภาวธรรมที่เกิดดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุที่อาศัยเดียวกันกับจิต หรืออาการและคุณสมบัติต่างๆ ของจิต
เจตสิก คือ อาการของจิต
แล้ว “จิต” ล่ะ คืออะไร?
คำว่า “จิต” มีนิยามมากมายเหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้าง ผู้เขียนเคยแสดงทัศนะไว้หลายครั้งในที่ต่างๆ แต่ในครั้งนี้ ไม่อยากจะกล่าวอะไร
เพราะบางสิ่ง...บางครั้งก็อยู่เหนือถ้อยคำ หรืออยู่เหนือการปรุงแต่งใดๆ
พึงอยู่อย่างปกติ ดูกายใจตน สักวันหนึ่ง ขณะหนึ่ง ก็คงจะเห็นตน
คือคนเห็นธรรม
- ไม่มีอะไรเลย ไม่มีใครเบียดเบียน
- ชนทั้งหลายผู้ยังอ่อนปัญญา เฝ้าแต่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง และหวนละห้อยถึงความหลังอันล่วงแล้ว จึงซูบซีดหม่นหมอง เสมือนต้นอ้อสดที่เขาถอนทึ้งขึ้งทิ้งไว้ที่ในกลางแดด
- ดอกบัว เกิดและเจริญงอกงามในน้ำ แต่ไม่ติดน้ำ ทั้งส่งกลิ่นหอม ชื่นชูในให้รื่นรมย์ ฉันใด พระพุทธเจ้าทรงเกิดในโลกและอยู่ในโลก แต่ไม่ติดโลกเหมือนบัวไม่ติดน้ำ ฉันนั้น
- ผู้ถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ดำรงอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นปัจจุบัน
ฉะนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส
- ฯลฯ
นั่นคือ อมฤตพจนา หมวดพ้นทุกข์-พบสุข โดย พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
พระพุทธเจ้าตรัสว่า... “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา-ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม”
“เรา” ในที่นี้ นอกจากจะหมายถึง “ตถาคต” แล้ว ยังหมายถึง “ตน” แห่ง “เรา” ทั้งหลายทั้งปวงด้วย
“ดูกายใจตน” ด้วยความวิริยะไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็จะ “เห็นตน” ซึ่งก็คือ “เห็นธรรม” นั่นเอง
“รู้ตัวทั่วพร้อม
หมั่นซ้อมเกิดผล
ดูกายใจผล
คือคนเห็นธรรม”
ขงจื๊อ กล่าวไว้ว่า “ลิขิตฟ้า หรือจะสู้มานะตน” ซึ่งลิขิตฟ้าก็คือ เหตุปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ไม่ว่าทางกายภาพ ความบังเอิญ แต่ทั้งหลายนี้ ล้วนแต่ต้องพ่ายแพ้ให้กับวิริยะหรือความเพียร
พระพุทธเจ้า ทรงเน้นเรื่องความเพียรมาก ธรรมะที่สำคัญของพระพุทธองค์จะมีเรื่องของความเพียรหรือวิริยะเป็นองค์ประกอบอยู่มากมาย เช่น ปธาน 4 (หรือสัมมัปปธาน 4) อิทธิบาท 4 พละ 5 อินทรีย์ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 บารมี 10 เป็นต้น
พึงเพียรไปเถิด รู้ตัวทั่วพร้อม รู้จักตนเอง สักวันหนึ่ง ขณะหนึ่ง ก็จะผุดเกิด รู้ตน เห็นตน คือ เห็นธรรม นั่นแล
1. สติ คือความระลึกได้, นึกได้, สำนึกอยู่ไม่เผลอ
2. สัมปชัญญะ คือความรู้ชัด, รู้ชัดสิ่งที่นึกได้, ตระหนัก, เข้าใจชัดตามความเป็นจริง
อีกความหมายหนึ่งของ “สติสัมปชัญญะ” คือความระลึกได้ และความรู้ตัวทั่วพร้อม”
“สติ” เป็นเจตสิกฝ่ายดีงามที่เกิดทั่วไปกับจิตดีงามทุกดวง
รู้ตัวทั่วพร้อม
“สติ คือความไม่ประมาท” หรือ “ความไม่ประมาท คือสติ”
“ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว เราขอเตือนเธอทั้งหลายให้จำมั่นไว้ว่า สิ่งทั้งปวงมีความเสื่อมและความสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด”
ในที่สุด แม้พระพุทธองค์เองก็ต้องประสบอวสานเหมือนคนทั้งหลาย พระธรรมที่พระองค์เคยพร่ำสอนมาตลอดพระชนมชีพว่า สัตว์ทั้งหลายมีความตายเป็นที่สุดนั้น เป็นสัจธรรมที่ไม่ยกเว้นแม้แต่พระองค์เอง
...(พระพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน (ใบไม้กำมือเดียว) โดย วศิน อินทสระ)
อัปปมาทะ (ความไม่ประมาท) คือความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ หรือความเพียรที่มีสติเป็นเครื่องเร่งเร้าและควบคุม ได้แก่ การดำเนินชีวิต โดยมีสติเป็นเครื่องกำกับความประพฤติปฏิบัติ และการกระทำทุกอย่าง ระมัดระวังตัว ไม่ยอมถลำลงไปในทางเสื่อม แต่ไม่ยอมพลาดโอกาสสำหรับความดีงาม และความเจริญก้าวหน้า ตระหนักในสิ่งที่พึงทำ และพึงละเว้น ใส่ใจสำนึกอยู่เสมอในหน้าที่อันจะต้องรับผิดชอบ ไม่ยอมปล่อยปละละเลย กระทำการด้วยความจริงจัง รอบคอบ และรุดหน้าเรื่อยไป (ข้อนี้เป็นองค์ประกอบภายในและเป็นฝ่ายสมาธิ)
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรคแก่ภิกษุ ฉันนั้น”
“ธรรมเอกที่มีอุปการะมาก เพื่อการเกิดขึ้นแห่งอารยอัษฎางคิกมรรค ก็คือความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท”
“เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่งซึ่งเป็นเหตุให้อารยอัษฎางคิกมรรค ที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญบริบูรณ์ เหมือนอย่างความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทนี้เลย”
“รอยเท้าของสัตว์บกทั้งหลาย ชนิดใดๆ ก็ตาม ย่อมลงในรอยเท้าช้างได้ทั้งหมด รอยเท้าช้างเรียกว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น โดยความใหญ่ ฉันใด กุศลธรรมทั้งหลาย อย่างใดๆ ก็ตาม ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาทได้ทั้งหมด ความไม่ประมาท เรียกได้ว่า เป็นยอดของธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น”
“ผู้มีกัลยาณมิตร พึงเป็นอยู่โดยอาศัยธรรมเอกข้อนี้ คือความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย”
“ธรรมเอกอันจะทำให้ยึดเอาประโยชน์ไว้ได้ทั้งสองอย่างคือ ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ (ประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์เฉพาะหน้า หรือประโยชน์สามัญของชีวิต เช่น ทรัพย์ ยศ กามสุข เป็นต้น) และสัมปรายิกัตถะ (ประโยชน์เบื้องหน้า หรือประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไปทางจิตใจ หรือคุณธรรม) ก็คือความไม่ประมาท”
“สังขาร (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น) ทั้งหลาย มีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ที่มุ่งหมายให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาทเถิด”
“ความไม่ประมาท ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม”...ฯลฯ
...(พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์-ป.อ.ปยุตฺโต)
“สติ” (รู้ตัวทั่วพร้อม) คำเดียวครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลไว้หมด “เห็นเราคือจักรวาล-เห็นจักรวาลคือเรา”
จะรู้จะเห็นเช่นนี้ได้ ก็ต้องอาศัยหมั่นฝึกหมั่นซ้อม ดอกผลจึงจะเกิดขึ้น
หมั่นซ้อมเกิดผล
มีพุทธพจน์บทหนึ่ง เตือนจิตเตือนใจได้ดีมาก นั่นคือ... “อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา-บัณฑิต ย่อมฝึกตน”
ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นเครื่องรุ่งเรืองของตน รักอื่นเสมอด้วยรักตน ไม่มี ผู้รักตน ย่อมอยากเห็นตนรุ่งเรือง จึงหมั่นฝึกหมั่นซ้อม และได้รับผลสำเร็จเป็นลำดับๆ ไป
บรรดาผู้อ่อนซ้อมทั้งหลาย เขาไม่ได้รักตนหรอก บางทีอาจจะไม่รู้จักตน ไม่เห็นตนอยู่ในสายตาด้วยซ้ำไป จึงหลงรักสิ่งอื่นที่อยู่นอกตน กลายเป็นวิถีรักหลอกๆ ตามกระแสมายาสาไถย ที่เห็นแก่ตัวเป็นใหญ่
บัณฑิตทั้งหลาย จึงหมั่นฝึกหมั่นซ้อมตนเป็นนิสัย ละสิ่งชั่ว ทำสิ่งดี และทำจิตให้ผ่องใส
ดูกายใจตาย
“รู้ตัวทั่วพร้อม” ก็คือ “ดูกายเคลื่อนไหว ดูใจนึกคิด” อยู่สม่ำเสมอ เผลอเมื่อไหร่ ก็ขาดสติเมื่อนั้น
ดูกายเคลื่อนไหว นี่ง่ายๆ จะทำอะไรก็ได้ ให้รู้สึก เช่น เวลาอยู่เฉยๆ ก็นวดนิ้วมือ เป็นต้น นวดนิ้วโป้ง-รู้สึก นวดนิ้วชี้-รู้สึก นวดนิ้วกลาง-รู้สึก นวดนิ้วนาง-รู้สึก นวดนิ้วก้อย-รู้สึก
ดูใจนึกคิด นี่ยากหน่อย ฝึกบ่อยๆ ซ้อมบ่อยๆ ก็ง่ายเอง เช่น ใจคิดโกรธ-รู้สึก-เรากลายเป็นมนุษย์นรก ใจคิดโลภ-รู้สึก-เรากลายเป็นมนุษย์เปรตอสุรกาย ใจคิดหลง-รู้สึก-เรากลายเป็นมนุษย์สัตว์เดรัจฉาน ใจคิดถึงศีลห้า และกุศลกรรมบถ 10-รู้สึก-เรากลายเป็นมนุษย์แท้ ใจคิดถึงมหากุศล 8-รู้สึก-เรากลายเป็นมนุษย์เทพ ใจคิดถึงสมถกรรมฐาน-รู้สึก-เรากลายเป็นมนุษย์พรหม ใจคิดถึงวิปัสสนากรรมฐาน-รู้สึก-เรากลายเป็นมนุษย์นิพพาน
นี่คือทาง 7 สายของมนุษย์ เฉกเช่นเราทุกคนที่กำลังสั่งสมไว้ให้เป็นผู้นำเราไปสู่ที่เกิดใหม่ในโลกใหม่ หลังจากที่เราหมดลมหายใจในโลกนี้
ดูกายเคลื่อนไหว-ดูใจนึกคิดอย่างที่เป็นมาตรฐาน หรือวิชาการหน่อย นั่นคือ...
สติปัฏฐาน 4 คือที่ตั้งของสติ หรือการตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลาย ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน ได้แก่...
1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการตั้งสติกำหนดพิจารณากาย ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
ท่านจำแนกวิธีปฏิบัติไว้หลายอย่าง คือ
- อานาปานสติ กำหนดลมหายใจ 1
- อิริยาบถ กำหนดรู้ทันอิริยาบถ 1
- สัมปชัญญะ สร้างสัมปชัญญะในการกระทำความเคลื่อนไหวทุกอย่าง 1
- ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลาย ที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ 1
- ธาตุมนสิการ พิจารณาเห็นร่างกายของตน โดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ 1
- นวสีวถิกา พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ อันแปลกกันไปใน 9 ระยะเวลาให้เห็นคติธรรมดาของ
ร่างกายของผู้อื่นเช่นใด ของตนก็จักเป็นเช่นนั้น 1
2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่าเป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา คือมีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดเวทนา อันเป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นสามิส และเป็นนิรามิสตามที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ
3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา คือมีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้สึกชัดจิตของตนที่มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ เศร้าหมอง หรือผ่องใส ฟุ้งซ่าน หรือเป็นสมาธิ ฯลฯ อย่างไรๆ ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ
4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่าเป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา คือมีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ 5 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 โพชฌงค์ 7 อริยสัจจ์ 4 ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญ บริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นๆ
...(พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดย พระพรหมคุณาจารย์-ป.อ.ปยุตฺโต)
ดูกายเคลื่อนไหว-ดูใจนึกคิด ก็คือดูสติ ดูตรงไหน? ดูตรงที่ตั้งของมัน 4 แห่ง กาย เวทนา จิต ธรรม ดังกล่าวมา
สติ คือความระลึกได้ หรือความสำนึกพร้อมอยู่ เป็นเจตสิกดวงหนึ่งในจำนวนทั้งหมด 52 ดวง (ที่ผู้ใฝ่ศึกษาควรรู้อย่างยิ่ง)
เจตสิก 52 คือธรรมที่ประกอบกับจิต หรือสภาวธรรมที่เกิดดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุที่อาศัยเดียวกันกับจิต หรืออาการและคุณสมบัติต่างๆ ของจิต
เจตสิก คือ อาการของจิต
แล้ว “จิต” ล่ะ คืออะไร?
คำว่า “จิต” มีนิยามมากมายเหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้าง ผู้เขียนเคยแสดงทัศนะไว้หลายครั้งในที่ต่างๆ แต่ในครั้งนี้ ไม่อยากจะกล่าวอะไร
เพราะบางสิ่ง...บางครั้งก็อยู่เหนือถ้อยคำ หรืออยู่เหนือการปรุงแต่งใดๆ
พึงอยู่อย่างปกติ ดูกายใจตน สักวันหนึ่ง ขณะหนึ่ง ก็คงจะเห็นตน
คือคนเห็นธรรม
- ไม่มีอะไรเลย ไม่มีใครเบียดเบียน
- ชนทั้งหลายผู้ยังอ่อนปัญญา เฝ้าแต่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง และหวนละห้อยถึงความหลังอันล่วงแล้ว จึงซูบซีดหม่นหมอง เสมือนต้นอ้อสดที่เขาถอนทึ้งขึ้งทิ้งไว้ที่ในกลางแดด
- ดอกบัว เกิดและเจริญงอกงามในน้ำ แต่ไม่ติดน้ำ ทั้งส่งกลิ่นหอม ชื่นชูในให้รื่นรมย์ ฉันใด พระพุทธเจ้าทรงเกิดในโลกและอยู่ในโลก แต่ไม่ติดโลกเหมือนบัวไม่ติดน้ำ ฉันนั้น
- ผู้ถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ดำรงอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นปัจจุบัน
ฉะนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส
- ฯลฯ
นั่นคือ อมฤตพจนา หมวดพ้นทุกข์-พบสุข โดย พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
พระพุทธเจ้าตรัสว่า... “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา-ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม”
“เรา” ในที่นี้ นอกจากจะหมายถึง “ตถาคต” แล้ว ยังหมายถึง “ตน” แห่ง “เรา” ทั้งหลายทั้งปวงด้วย
“ดูกายใจตน” ด้วยความวิริยะไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็จะ “เห็นตน” ซึ่งก็คือ “เห็นธรรม” นั่นเอง
“รู้ตัวทั่วพร้อม
หมั่นซ้อมเกิดผล
ดูกายใจผล
คือคนเห็นธรรม”
ขงจื๊อ กล่าวไว้ว่า “ลิขิตฟ้า หรือจะสู้มานะตน” ซึ่งลิขิตฟ้าก็คือ เหตุปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ไม่ว่าทางกายภาพ ความบังเอิญ แต่ทั้งหลายนี้ ล้วนแต่ต้องพ่ายแพ้ให้กับวิริยะหรือความเพียร
พระพุทธเจ้า ทรงเน้นเรื่องความเพียรมาก ธรรมะที่สำคัญของพระพุทธองค์จะมีเรื่องของความเพียรหรือวิริยะเป็นองค์ประกอบอยู่มากมาย เช่น ปธาน 4 (หรือสัมมัปปธาน 4) อิทธิบาท 4 พละ 5 อินทรีย์ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 บารมี 10 เป็นต้น
พึงเพียรไปเถิด รู้ตัวทั่วพร้อม รู้จักตนเอง สักวันหนึ่ง ขณะหนึ่ง ก็จะผุดเกิด รู้ตน เห็นตน คือ เห็นธรรม นั่นแล