ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
มีคำถามเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆหลังจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง ว่าเหตุใดราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงอย่างมาก ประชาชนกลับรู้สึกว่าประเทศไทยมีราคาน้ำมันยังไม่ลงเมื่อเทียบกับตลาดโลก และในเวลานี้ต้องถือว่าราคาน้ำมันดิบโลกได้ร่วงลงต่ำที่สุดทำลายสถิติในรอบ 13 ปีไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
คำตอบข้อแรกๆ ก็มักจะมีคนอธิบายว่าเพราะประเทศไทยยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆในค่าน้ำมัน ทั้งภาษี เงินที่ต้องเก็บเข้าในกองทุนต่างๆ รวมถึงค่าการตลาด ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่นๆ
แต่ความจริงแล้วน่าจะมีเบื้องลึกและเบื้องหลังมากไปกว่านั้นหรือไม่?
เฉพาะในส่วนของน้ำมันนั้น รัฐบาลไทยได้ใช้วิธีการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้แก๊สโซฮอลกันมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาน้ำมันดิบทั่วโลกสูงเพิ่มขึ้น เพราะการเติมเอทิลแอลกอฮอล (เอทานอล)ซึ่งมีราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซินในเวลานั้นก็มีส่วนทำให้ราคาน้ำมันลดลงได้บ้าง และในอีกด้านหนึ่งก็มีเหตุอ้างได้ว่าเป็นการเพิ่มความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์เกษตรช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยและชาวไร่มันสำปะหลังในการนำมาผลิตเป็นเอทานอลอีกด้านหนึ่งด้วย
แต่เมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่องและรุนแรง และน่าเชื่อว่าจะอยู่ในสถานการณ์นี้อีกนานพอสมควร ก็ย่อมส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ประเทศไทยต้องก้าวตามให้ทันสถานการณ์นี้ด้วย
วันที่ 20 มกราคม 2559 ราคาน้ำมันดิบที่ดูไบอยู่เพียงแค่ 5.20 บาทต่อลิตร ในขณะที่ราคา “น้ำมันสำเร็จรูป” ณ หน้าโรงกลั่นที่สิงคโปร์ พบว่า ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 อยู่ที่ประมาณ 10.74 บาทต่อลิตร ในขณะที่ดีเซลหมุนเร็วอยู่เพียงแค่ 7.11 บาทต่อลิตร เท่านั้น (ตามภาพที่ 1)
ภาพที่ 1 แสดงราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่สิงคโปร์เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2559
(ภาพกราฟฟิกจาก www.gasthai.com )
วันที่ 21 มกราคม 2559 ประเทศไทยมีสูตรคำนวณสำหรับราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นไทยให้สูงกว่าสิงคโปร์ เท่ากับ ราคา ณ หน้าโรงกลั่น อ้างอิงสิงคโปร์ + ค่าขนส่ง+ค่าประกันภัย+ค่าปรับปรุงคุณภาพ+ค่าสูญเสียระหว่างทาง ส่งผลทำให้ราคา ณ หน้าโรงกลั่นของไทย น้ำมันไร้สารตะกั่วเบนซิน ออกเทน 95 อยู่ที่ 12.01 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 9.82 บาทต่อลิตร
ส่วนที่น่าจะให้ความสำคัญก็คือราคา “เอทานอล”ของไทย ณ หน้าโรงกลั่นน้ำมัน อยู่ที่ 23.82 บาทต่อลิตร ซึ่งแพงกว่าน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ออกเทน 95 ซึ่งอยู่ที่ 12.02 บาทต่อลิตร !!!
หมายความว่าเอทานอลของไทยในแพงกว่าน้ำมันเบนซินถึงประมาณ 11.80 บาทต่อลิตร ยิ่งเติมเอทานอลในน้ำมันเบนซินมาเป็นแก๊สโซฮอลมากขึ้นเท่าไหร่ ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลเหล่านั้นก็จะยิ่งแพงมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
ดังนั้น ราคา ณ หน้าโรงกลั่น น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วไทยเริ่มต้นที่ 12.02 บาทต่อลิตร
พอเปลี่ยนมาเป็นแก๊สโซฮอล 95 E10 (หมายถึงนำน้ำมันเบนซินผสมเอทานอล 10%) ราคา ณ หน้าโรงกลั่นจะเพิ่มเป็น 13.29 บาทต่อลิตร
พอเติมเอทานอลเพิ่มขึ้นเป็น E 20 (หมายถึงนำน้ำมันเบนซินผสมเอทานอล 20%) ราคา ณ หน้าโรงกลั่นจะเพิ่มขึ้นเป็น 14.57 บาทต่อลิตร
พอเติมเอทานอลเพิ่มขึ้นเป็น E 85 (หมายถึงนำน้ำมันเบนซินผสมเอทานอล 85%) ราคา ณ หน้าโรงกลั่นจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 20.87 บาทต่อลิตร
ด้วยเหตุผลนี้เองถ้าปล่อยไปตามกลไกราคาตลาดที่แท้จริงโดยรัฐไม่เข้าแทรกแซงเรื่องภาษีและเงินกองทุน ก็คงไม่มีใครอยากเติมแก๊สโซฮอลอีกต่อไป และคงจะหันมาเติมน้ำมันเบนซิน 95 แทนทั้งหมดทั้งประเทศ เพราะมีราคาถูกกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล
ด้วยเหตุผลนี้แม้ราคาน้ำมันตลาดโลกจะลดลง แต่ราคาน้ำมันไทยก็ยังลดต่ำลงไปไม่ได้มากอย่างที่ควรจะเป็น เพราะรัฐบาลมีมาตรการส่งเสริมให้ประชาชนต้องยังคงใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลต่อไปเพื่ออุ้มเอทานอล โดยใช้กลไกภาษีและกองทุนมาเป็นตัวบิดเบือนราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95 ให้แพงกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอลทุกชนิด ด้วยการ
1.เรียกเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซินที่ 5.6 บาทต่อลิตร ในขณะที่เก็บภาษีน้ำมันสรรพสามิตของแก๊สโซฮอลให้ต่ำกว่า โดยเก็บภาษีสรรพสามิตในแก๊สโซฮอลทุกประเภท อยู่ประมาณ 84 สตางค์ ถึง 5.04 บาทต่อลิตร
2.เรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันจากน้ำมันเบนซินอีก 6.75 บาทต่อลิตร ในขณะที่เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันจากแก๊สโซฮอลในบางประเภทต่ำกว่า กล่าวคือเก็บเงินจากแก๊สโซฮอล 95 และ 91 E10 เพียงลิตรละ 65 สตางค์ เงินที่เก็บจากเบนซินและแก๊สโซฮอลเข้ากองทุนน้ำมันนี้ก็เพื่อไปชดเชยให้กับผู้ที่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลที่มีสัดส่วนเอทานอลมากๆ ได้แก่ น้ำมันแก๊สโซฮอล E 20 (เอทานอลผสมอยู่ 20%) ได้รับชดเชยจากกองทุนน้ำมัน 2.40 บาท และน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 (เอทานอลผสมอยู่ 85%) ได้รับชดเชยจากกองทุนน้ำมัน 9.23 บาทต่อลิตร
มาตรการบิดเบือนราคาข้างต้นส่งผลทำให้น้ำมันเบนซินแพงกว่าแก๊สโซฮอลได้สำเร็จมาโดยตลอดในช่วงราคาน้ำมันดิบทั่วโลกลดลง ดังตัวอย่างเช่น ราคาน้ำมันเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559 ปรากฏข้อมูลดังนี้
น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95 ราคา ณ หน้าโรงกลั่นอยู่ที่ประมาณ 12.02 บาทต่อลิตร แต่ราคาขายปลีกกลับพุ่งสูงไปถึง 30.06 บาทต่อลิตร
ในขณะที่แก๊สโซฮอลทุกชนิดกลับราคาต่ำกว่าเบนซินทั้งหมด โดยแก๊สโซฮอล 95 E 10 ราคาขายปลีกอยู่ที่ 23.10 บาทต่อลิตร, แก๊สโซฮอล 91 E10 ราคาขายปลีกอยู่ที่ 22.68 บาทต่อลิตร, แก๊สโซฮอล E20 ราคาขายปลีกอยู่ที่ 20.71 บาทต่อลิตร และแก๊สโซฮอล์ E85 ราคาขายปลีกอยู่ที่ 17.89 บาทต่อลิตร (ตามภาพที่ 2)
ภาพที่ 2 ตารางแสดงโครงสร้างราคาน้ำมัน ก๊าซแอลพีจี และก๊าซเอ็นจีวีของประเทศไทย
(ภาพกราฟฟิกจาก www.gasthai.com )
ความสำเร็จในมาตรการนี้คือประชาชนทั่วไปแทบไม่มีใครเติมน้ำมันเบนซิน 95 เพราะมีราคาแพงที่สุด ทั้งๆที่ราคาน้ำมัน ณ หน้าโรงกลั่นของน้ำมันเบนซิน 95 ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับแก๊สโซฮอล แต่น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ผสมเอทานอลยิ่งมากขึ้นกลับยิ่งราคาลดลง ทั้งๆที่ในความเป็นจริงราคาเอทานอล ณ หน้าโรงกลั่นนั้นแพงกว่าน้ำมันเบนซิน ยิ่งเติมเอทานอลมากน้ำมันก็ควรจะต้องแพงมากขึ้น
กลไกราคาที่ “ฝืนตลาด” เช่นนี้ทำให้ราคาน้ำมันเบนซินทั้งระบบถูกพันธนาการไว้ด้วยราคาเอทานอล ย่อมทำให้ในภาวะที่ราคาน้ำมันทั่วโลกดิ่งลง แต่คนไทย 65 ล้านคน ไม่มีโอกาสจะเติมราคาน้ำมันที่ถูกลงกว่านี้ได้ ใช่หรือไม่?
จึงมักจะมีคำกล่าวอ้างว่าคนไทย 65 ล้านคน จำเป็นต้องก้มหน้าก้มตายอมจำนนใช้น้ำมันราคาแพงกว่าประเทศอื่นเพื่ออุ้มเอทานอล เพราะเราต้องช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยและมันสำปะหลังซึ่งผลิตวัตถุดิบหลักในการผลิตเอทานอล (ที่รัฐบาลไทยสนับสนุน) หรือไม่ก็คำกล่าวอ้างว่าคนไทย 65 ล้านคนจำเป็นต้องช่วยค้ำจุนโรงงานเอทานอล 21-25 โรง (ที่รัฐบาลไทยสนับสนุน) เอาไว้เป็นหลักประกันในวันข้างหน้าเผื่อในวันที่ราคาน้ำมันดิบทั่วโลกจะสูงขึ้นกว่านี้
แต่คำถามสำคัญข้อแรกคือ ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จริงๆคือใครกันแน่? เพราะผู้ที่ได้รับราคาเอทานอลที่กำหนดเป็นสูตรไว้จนได้ราคาสูงถึง 23.82 บาทต่อลิตรนั้น ไม่ใช่ทั้งโรงงานเอทานอล และไม่ใช่เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยหรือมันสำปะหลัง แต่กลับเป็นโรงกลั่นน้ำมันที่ไปซื้อเอทานอลจากโรงงานเอทานอลมาผสมกับน้ำมันเบนซินจนได้แก๊สโซฮอลออกมาขายให้กับประชาชน ซึ่งโรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยก็มีอยู่ทั้งหมด 7 ราย
คำถามที่ตามมาคือเมื่อโรงกลั่นน้ำมันได้รับค่าเอทานอลจากการคิดสูตรราคา 23.82 บาทต่อลิตรนั้น ได้ไปเลือกซื้อราคาเอทานอลจากโรงงานผลิตเอทานอลที่มีอยู่ 21-25 รายนั้น ในราคาเท่าไหร่ และซื้อกับใครบ้างและเลือกซื้อแต่ละรายในจำนวนเท่าไหร่? และตกถึงมือเกษตรกรชาวไร่อ้อยและมันสำปะหลังจริงๆอีกเท่าไหร่? คุ้มค่าที่ประชาชนชาวไทย 65 ล้านคนโอบอุ้มหรือไม่?
ประเด็นราคาที่ต้องตั้งคำถามข้างต้นนี้เพราะราคาเอทานอล 23.82 บาทต่อลิตร ที่โรงกลั่นน้ำมันได้ไปนั้น ถือได้ว่าเป็นราคาที่สูงมาก และ โดยเฉลี่ยแล้วโรงกลั่นน้ำมันไทยก็ได้ขายเอทานอลในสูงกว่าราคาตลาดโลกตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาด้วย โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับราคาเอทานอลในวันนี้ที่ประเทศบราซิลซึ่งขายกันที่ประมาณ 18-19 บาทต่อลิตรเท่านั้น
ซึ่งแม้จะมีการอ้างว่า การจะเทียบกับราคาเอทานอลไทยกับตลาดต่างประเทศนั้นจะต้องเปรียบเทียบคิดค่าเอทานอลขนส่งมายังประเทศไทยเพิ่มเข้าไปด้วยว่าอะไรคุ้มค่ากว่ากัน เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการตอบสาเหตุว่าทำไมต้นทุนภายในประเทศที่สูงกว่าเมื่อเทียบต่างประเทศทั้งบราซิลและสหรัฐอเมริกา แต่ความจริงแล้วจะต้องตอบคำถามให้ชัดเจนว่าการส่งเสริมและโอบอุ้มแก๊สโซฮอลที่มีต้นทุนเอทานอลแพงกว่าต่างประเทศ “ผ่านโรงกลั่นน้ำมันเพียงไม่กี่ราย” นั้นเป็นธรรมต่อประชาชนทั้ง 65 ล้านคน ที่ไม่มีโอกาสที่จะใช้ราคาน้ำมันเบนซินตามราคาตลาดโลกแล้วหรือยัง?
ประเทศพม่าซึ่งอยู่ติดกับประเทศไทยนั้น ยังไม่ได้มีโรงกลั่นน้ำมันมากเหมือนกับประเทศไทยและกำลังความสามารถในการกลั่นก็น้อยกว่าประเทศไทยอย่างมาก และใช้วิธีการนำเข้า”น้ำมันสำเร็จรูป” จากต่างประเทศเป็นส่วนสำคัญ แต่ด้วยโครงสร้างราคาน้ำมันที่แตกต่างจากประเทศไทย และไม่ติดอุปสรรคการบิดเบือนราคาเพื่ออุ้มเอทานอลเหมือนประเทศไทย จึงทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกของพม่าต่ำกว่าไทยอย่างมาก ดังเช่นราคาน้ำมันเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2559 พบว่า
ราคาน้ำมันสำเร็จรูปเบนซิน ออกเทน 95 ที่ย่างกุ้ง ประเทศพม่า อยู่ที่ประมาณ 18.42 บาท แต่ที่ประเทศไทยขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ 30.06 บาทต่อลิตร และประเทศไทยขายปลีกแก๊สโซฮอล 95 ที่ 23.10 บาทต่อลิตร
ราคาน้ำมันดีเซลที่ย่างกุ้ง ประเทศพม่า อยู่ที่ประมาณ 13.95 บาทต่อลิตร แต่ราคาน้ำมันดีเซลประเทศไทยอยู่ที่ 19.29 บาทต่อลิตร
ประเทศไทยมีโรงกลั่นน้ำมันและความสามารถในการกลั่นมากกว่าพม่าแท้ๆ แต่ราคาน้ำมันกลับแพงกว่าพม่า ได้อย่างไร !!!?
ถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องคิดนอกกรอบ ทบทวนเรื่องโครงสร้างราคาพลังงานใหม่และบทบาทของกองทุนน้ำมันเพื่อคืนความสุขให้กับประชาชนได้แล้วหรือไม่?
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
มีคำถามเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆหลังจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง ว่าเหตุใดราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงอย่างมาก ประชาชนกลับรู้สึกว่าประเทศไทยมีราคาน้ำมันยังไม่ลงเมื่อเทียบกับตลาดโลก และในเวลานี้ต้องถือว่าราคาน้ำมันดิบโลกได้ร่วงลงต่ำที่สุดทำลายสถิติในรอบ 13 ปีไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
คำตอบข้อแรกๆ ก็มักจะมีคนอธิบายว่าเพราะประเทศไทยยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆในค่าน้ำมัน ทั้งภาษี เงินที่ต้องเก็บเข้าในกองทุนต่างๆ รวมถึงค่าการตลาด ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่นๆ
แต่ความจริงแล้วน่าจะมีเบื้องลึกและเบื้องหลังมากไปกว่านั้นหรือไม่?
เฉพาะในส่วนของน้ำมันนั้น รัฐบาลไทยได้ใช้วิธีการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้แก๊สโซฮอลกันมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาน้ำมันดิบทั่วโลกสูงเพิ่มขึ้น เพราะการเติมเอทิลแอลกอฮอล (เอทานอล)ซึ่งมีราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซินในเวลานั้นก็มีส่วนทำให้ราคาน้ำมันลดลงได้บ้าง และในอีกด้านหนึ่งก็มีเหตุอ้างได้ว่าเป็นการเพิ่มความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์เกษตรช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยและชาวไร่มันสำปะหลังในการนำมาผลิตเป็นเอทานอลอีกด้านหนึ่งด้วย
แต่เมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่องและรุนแรง และน่าเชื่อว่าจะอยู่ในสถานการณ์นี้อีกนานพอสมควร ก็ย่อมส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ประเทศไทยต้องก้าวตามให้ทันสถานการณ์นี้ด้วย
วันที่ 20 มกราคม 2559 ราคาน้ำมันดิบที่ดูไบอยู่เพียงแค่ 5.20 บาทต่อลิตร ในขณะที่ราคา “น้ำมันสำเร็จรูป” ณ หน้าโรงกลั่นที่สิงคโปร์ พบว่า ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 อยู่ที่ประมาณ 10.74 บาทต่อลิตร ในขณะที่ดีเซลหมุนเร็วอยู่เพียงแค่ 7.11 บาทต่อลิตร เท่านั้น (ตามภาพที่ 1)
ภาพที่ 1 แสดงราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่สิงคโปร์เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2559
(ภาพกราฟฟิกจาก www.gasthai.com )
วันที่ 21 มกราคม 2559 ประเทศไทยมีสูตรคำนวณสำหรับราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นไทยให้สูงกว่าสิงคโปร์ เท่ากับ ราคา ณ หน้าโรงกลั่น อ้างอิงสิงคโปร์ + ค่าขนส่ง+ค่าประกันภัย+ค่าปรับปรุงคุณภาพ+ค่าสูญเสียระหว่างทาง ส่งผลทำให้ราคา ณ หน้าโรงกลั่นของไทย น้ำมันไร้สารตะกั่วเบนซิน ออกเทน 95 อยู่ที่ 12.01 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 9.82 บาทต่อลิตร
ส่วนที่น่าจะให้ความสำคัญก็คือราคา “เอทานอล”ของไทย ณ หน้าโรงกลั่นน้ำมัน อยู่ที่ 23.82 บาทต่อลิตร ซึ่งแพงกว่าน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ออกเทน 95 ซึ่งอยู่ที่ 12.02 บาทต่อลิตร !!!
หมายความว่าเอทานอลของไทยในแพงกว่าน้ำมันเบนซินถึงประมาณ 11.80 บาทต่อลิตร ยิ่งเติมเอทานอลในน้ำมันเบนซินมาเป็นแก๊สโซฮอลมากขึ้นเท่าไหร่ ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลเหล่านั้นก็จะยิ่งแพงมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
ดังนั้น ราคา ณ หน้าโรงกลั่น น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วไทยเริ่มต้นที่ 12.02 บาทต่อลิตร
พอเปลี่ยนมาเป็นแก๊สโซฮอล 95 E10 (หมายถึงนำน้ำมันเบนซินผสมเอทานอล 10%) ราคา ณ หน้าโรงกลั่นจะเพิ่มเป็น 13.29 บาทต่อลิตร
พอเติมเอทานอลเพิ่มขึ้นเป็น E 20 (หมายถึงนำน้ำมันเบนซินผสมเอทานอล 20%) ราคา ณ หน้าโรงกลั่นจะเพิ่มขึ้นเป็น 14.57 บาทต่อลิตร
พอเติมเอทานอลเพิ่มขึ้นเป็น E 85 (หมายถึงนำน้ำมันเบนซินผสมเอทานอล 85%) ราคา ณ หน้าโรงกลั่นจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 20.87 บาทต่อลิตร
ด้วยเหตุผลนี้เองถ้าปล่อยไปตามกลไกราคาตลาดที่แท้จริงโดยรัฐไม่เข้าแทรกแซงเรื่องภาษีและเงินกองทุน ก็คงไม่มีใครอยากเติมแก๊สโซฮอลอีกต่อไป และคงจะหันมาเติมน้ำมันเบนซิน 95 แทนทั้งหมดทั้งประเทศ เพราะมีราคาถูกกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล
ด้วยเหตุผลนี้แม้ราคาน้ำมันตลาดโลกจะลดลง แต่ราคาน้ำมันไทยก็ยังลดต่ำลงไปไม่ได้มากอย่างที่ควรจะเป็น เพราะรัฐบาลมีมาตรการส่งเสริมให้ประชาชนต้องยังคงใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลต่อไปเพื่ออุ้มเอทานอล โดยใช้กลไกภาษีและกองทุนมาเป็นตัวบิดเบือนราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95 ให้แพงกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอลทุกชนิด ด้วยการ
1.เรียกเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซินที่ 5.6 บาทต่อลิตร ในขณะที่เก็บภาษีน้ำมันสรรพสามิตของแก๊สโซฮอลให้ต่ำกว่า โดยเก็บภาษีสรรพสามิตในแก๊สโซฮอลทุกประเภท อยู่ประมาณ 84 สตางค์ ถึง 5.04 บาทต่อลิตร
2.เรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันจากน้ำมันเบนซินอีก 6.75 บาทต่อลิตร ในขณะที่เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันจากแก๊สโซฮอลในบางประเภทต่ำกว่า กล่าวคือเก็บเงินจากแก๊สโซฮอล 95 และ 91 E10 เพียงลิตรละ 65 สตางค์ เงินที่เก็บจากเบนซินและแก๊สโซฮอลเข้ากองทุนน้ำมันนี้ก็เพื่อไปชดเชยให้กับผู้ที่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลที่มีสัดส่วนเอทานอลมากๆ ได้แก่ น้ำมันแก๊สโซฮอล E 20 (เอทานอลผสมอยู่ 20%) ได้รับชดเชยจากกองทุนน้ำมัน 2.40 บาท และน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 (เอทานอลผสมอยู่ 85%) ได้รับชดเชยจากกองทุนน้ำมัน 9.23 บาทต่อลิตร
มาตรการบิดเบือนราคาข้างต้นส่งผลทำให้น้ำมันเบนซินแพงกว่าแก๊สโซฮอลได้สำเร็จมาโดยตลอดในช่วงราคาน้ำมันดิบทั่วโลกลดลง ดังตัวอย่างเช่น ราคาน้ำมันเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559 ปรากฏข้อมูลดังนี้
น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95 ราคา ณ หน้าโรงกลั่นอยู่ที่ประมาณ 12.02 บาทต่อลิตร แต่ราคาขายปลีกกลับพุ่งสูงไปถึง 30.06 บาทต่อลิตร
ในขณะที่แก๊สโซฮอลทุกชนิดกลับราคาต่ำกว่าเบนซินทั้งหมด โดยแก๊สโซฮอล 95 E 10 ราคาขายปลีกอยู่ที่ 23.10 บาทต่อลิตร, แก๊สโซฮอล 91 E10 ราคาขายปลีกอยู่ที่ 22.68 บาทต่อลิตร, แก๊สโซฮอล E20 ราคาขายปลีกอยู่ที่ 20.71 บาทต่อลิตร และแก๊สโซฮอล์ E85 ราคาขายปลีกอยู่ที่ 17.89 บาทต่อลิตร (ตามภาพที่ 2)
ภาพที่ 2 ตารางแสดงโครงสร้างราคาน้ำมัน ก๊าซแอลพีจี และก๊าซเอ็นจีวีของประเทศไทย
(ภาพกราฟฟิกจาก www.gasthai.com )
ความสำเร็จในมาตรการนี้คือประชาชนทั่วไปแทบไม่มีใครเติมน้ำมันเบนซิน 95 เพราะมีราคาแพงที่สุด ทั้งๆที่ราคาน้ำมัน ณ หน้าโรงกลั่นของน้ำมันเบนซิน 95 ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับแก๊สโซฮอล แต่น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ผสมเอทานอลยิ่งมากขึ้นกลับยิ่งราคาลดลง ทั้งๆที่ในความเป็นจริงราคาเอทานอล ณ หน้าโรงกลั่นนั้นแพงกว่าน้ำมันเบนซิน ยิ่งเติมเอทานอลมากน้ำมันก็ควรจะต้องแพงมากขึ้น
กลไกราคาที่ “ฝืนตลาด” เช่นนี้ทำให้ราคาน้ำมันเบนซินทั้งระบบถูกพันธนาการไว้ด้วยราคาเอทานอล ย่อมทำให้ในภาวะที่ราคาน้ำมันทั่วโลกดิ่งลง แต่คนไทย 65 ล้านคน ไม่มีโอกาสจะเติมราคาน้ำมันที่ถูกลงกว่านี้ได้ ใช่หรือไม่?
จึงมักจะมีคำกล่าวอ้างว่าคนไทย 65 ล้านคน จำเป็นต้องก้มหน้าก้มตายอมจำนนใช้น้ำมันราคาแพงกว่าประเทศอื่นเพื่ออุ้มเอทานอล เพราะเราต้องช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยและมันสำปะหลังซึ่งผลิตวัตถุดิบหลักในการผลิตเอทานอล (ที่รัฐบาลไทยสนับสนุน) หรือไม่ก็คำกล่าวอ้างว่าคนไทย 65 ล้านคนจำเป็นต้องช่วยค้ำจุนโรงงานเอทานอล 21-25 โรง (ที่รัฐบาลไทยสนับสนุน) เอาไว้เป็นหลักประกันในวันข้างหน้าเผื่อในวันที่ราคาน้ำมันดิบทั่วโลกจะสูงขึ้นกว่านี้
แต่คำถามสำคัญข้อแรกคือ ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จริงๆคือใครกันแน่? เพราะผู้ที่ได้รับราคาเอทานอลที่กำหนดเป็นสูตรไว้จนได้ราคาสูงถึง 23.82 บาทต่อลิตรนั้น ไม่ใช่ทั้งโรงงานเอทานอล และไม่ใช่เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยหรือมันสำปะหลัง แต่กลับเป็นโรงกลั่นน้ำมันที่ไปซื้อเอทานอลจากโรงงานเอทานอลมาผสมกับน้ำมันเบนซินจนได้แก๊สโซฮอลออกมาขายให้กับประชาชน ซึ่งโรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยก็มีอยู่ทั้งหมด 7 ราย
คำถามที่ตามมาคือเมื่อโรงกลั่นน้ำมันได้รับค่าเอทานอลจากการคิดสูตรราคา 23.82 บาทต่อลิตรนั้น ได้ไปเลือกซื้อราคาเอทานอลจากโรงงานผลิตเอทานอลที่มีอยู่ 21-25 รายนั้น ในราคาเท่าไหร่ และซื้อกับใครบ้างและเลือกซื้อแต่ละรายในจำนวนเท่าไหร่? และตกถึงมือเกษตรกรชาวไร่อ้อยและมันสำปะหลังจริงๆอีกเท่าไหร่? คุ้มค่าที่ประชาชนชาวไทย 65 ล้านคนโอบอุ้มหรือไม่?
ประเด็นราคาที่ต้องตั้งคำถามข้างต้นนี้เพราะราคาเอทานอล 23.82 บาทต่อลิตร ที่โรงกลั่นน้ำมันได้ไปนั้น ถือได้ว่าเป็นราคาที่สูงมาก และ โดยเฉลี่ยแล้วโรงกลั่นน้ำมันไทยก็ได้ขายเอทานอลในสูงกว่าราคาตลาดโลกตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาด้วย โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับราคาเอทานอลในวันนี้ที่ประเทศบราซิลซึ่งขายกันที่ประมาณ 18-19 บาทต่อลิตรเท่านั้น
ซึ่งแม้จะมีการอ้างว่า การจะเทียบกับราคาเอทานอลไทยกับตลาดต่างประเทศนั้นจะต้องเปรียบเทียบคิดค่าเอทานอลขนส่งมายังประเทศไทยเพิ่มเข้าไปด้วยว่าอะไรคุ้มค่ากว่ากัน เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการตอบสาเหตุว่าทำไมต้นทุนภายในประเทศที่สูงกว่าเมื่อเทียบต่างประเทศทั้งบราซิลและสหรัฐอเมริกา แต่ความจริงแล้วจะต้องตอบคำถามให้ชัดเจนว่าการส่งเสริมและโอบอุ้มแก๊สโซฮอลที่มีต้นทุนเอทานอลแพงกว่าต่างประเทศ “ผ่านโรงกลั่นน้ำมันเพียงไม่กี่ราย” นั้นเป็นธรรมต่อประชาชนทั้ง 65 ล้านคน ที่ไม่มีโอกาสที่จะใช้ราคาน้ำมันเบนซินตามราคาตลาดโลกแล้วหรือยัง?
ประเทศพม่าซึ่งอยู่ติดกับประเทศไทยนั้น ยังไม่ได้มีโรงกลั่นน้ำมันมากเหมือนกับประเทศไทยและกำลังความสามารถในการกลั่นก็น้อยกว่าประเทศไทยอย่างมาก และใช้วิธีการนำเข้า”น้ำมันสำเร็จรูป” จากต่างประเทศเป็นส่วนสำคัญ แต่ด้วยโครงสร้างราคาน้ำมันที่แตกต่างจากประเทศไทย และไม่ติดอุปสรรคการบิดเบือนราคาเพื่ออุ้มเอทานอลเหมือนประเทศไทย จึงทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกของพม่าต่ำกว่าไทยอย่างมาก ดังเช่นราคาน้ำมันเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2559 พบว่า
ราคาน้ำมันสำเร็จรูปเบนซิน ออกเทน 95 ที่ย่างกุ้ง ประเทศพม่า อยู่ที่ประมาณ 18.42 บาท แต่ที่ประเทศไทยขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ 30.06 บาทต่อลิตร และประเทศไทยขายปลีกแก๊สโซฮอล 95 ที่ 23.10 บาทต่อลิตร
ราคาน้ำมันดีเซลที่ย่างกุ้ง ประเทศพม่า อยู่ที่ประมาณ 13.95 บาทต่อลิตร แต่ราคาน้ำมันดีเซลประเทศไทยอยู่ที่ 19.29 บาทต่อลิตร
ประเทศไทยมีโรงกลั่นน้ำมันและความสามารถในการกลั่นมากกว่าพม่าแท้ๆ แต่ราคาน้ำมันกลับแพงกว่าพม่า ได้อย่างไร !!!?
ถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องคิดนอกกรอบ ทบทวนเรื่องโครงสร้างราคาพลังงานใหม่และบทบาทของกองทุนน้ำมันเพื่อคืนความสุขให้กับประชาชนได้แล้วหรือไม่?