ผู้จัดการรายวัน 360 - อัยการสั่งฟ้อง “ฟิลลิป มอร์ริส” พร้อมคนไทย 8 คนต่อศาลอาญา ฐานเลี่ยงภาษีนำเข้าบุหรี่มูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท ระหว่างปี 46-52 ศาลฯ ประทับรับฟ้อง ให้ประกันตัวจำเลยทุกคน พร้อมนัดครั้งต่อไป 25 เม.ย.นี้ ขณะที่ 4 ผู้ต้องหาชาวต่างชาติที่ออกหมายจับไปก่อนหน้านี้ยังอยู่ระหว่างหลบหนี
วานนี้ (19 ม.ค.) ที่ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.แจ้งวัฒนะ เรือโท สมนึก เสียงก้อง โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วย นายชาติพงษ์ จีระพันธุ รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ และนายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดร่วมกันแถลงข่าวการยื่นฟ้อง คดีบริษัทฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด หลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรนำเข้าบุหรี่
เรือโทสมนึก กล่าวว่า คดีนี้พนักงานอัยการคดีพิเศษได้ยื่นฟ้อง บริษัทฟิลลิป มอร์ริส ฯ ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่มี นายทรอย เจ ม้อดลิน (TROY J MODLIN) เป็นผู้แทน และพนักงานที่เป็นคนไทยอีก 7 คน ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1 -8 ต่อศาลอาญาแล้ว เมื่อวันที่ 18 ม.ค.59 ในความผิดฐานร่วมกันเกี่ยวข้องด้วยประการใดๆ ในการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงค่าภาษีศุลกากร โดยเจตนาที่จะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 , 115 จัตวา ,พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 11 ) พ.ศ.2490 มาตรา 3 , พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 17 ) พ.ศ.2543 มาตรา 10 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 , 91 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 มาตรา 4 , พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ.2489 มาตรา 4-9 ซึ่งคดีมีอัตราโทษ ตามกฎหมายศุลกากร ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่า ราคาที่รวมค่าอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือ ทั้งปรับและจำคุก
ด้านนายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า อัยการบรรยายฟ้องจำนวนทุนทรัพย์อยู่ที่ 2 หมื่นล้านบาท ถ้าศาลรับฟังหลักฐานของโจทก์และมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดจริง ศาลจะสั่งปรับจำเลยเป็นจำนวน 4 เท่าของอากร คิดเป็นเงิน 8 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ คดีนี้มีอายุความ 15 ปี นับแต่เกิดเหตุปี 2546 ซึ่งผู้ต้องหาที่ยังหลบนี้อยู่แต่ละคนถูกกล่าวหาในความผิดต่างกัน ดังนั้น แต่ละคนจะมีอายุความเหลือตั้งแต่ 2-5 ปี หากติดตามตัวมาได้ต้องยื่นฟ้องภายในปี 2561 ซึ่งมั่นใจว่าจะติดตามตัวมาฟ้องได้ภายในอายุความ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ต้องหาที่ทางอัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้องในคดีนี้มี 14 ราย ซึ่งอัยการได้ฟ้องเป็นจำเลยแล้ว 8 ราย ประกอบด้วย นิติบุคคล 1 ราย คือ บริษัทฟิลลิป มอร์ริส ฯ , เอกชนซึ่งเป็นคนไทย 7 ราย ได้แก่ 1.นายศิลาเอก สุนทราภัย 2.นางดาลัค วารณะวัฒน์ 3.น.ส.เสาวลักษณ์ อาภาเบิกบาน 4.น.ส.จรรยานี วิสุทธิกุลพาณิชย์ 5.น.ส.สุจินดา ไตรรัตน์เกยูร 6.นางทรรศสม ลาภประเสริฐ และ 7.น.ส.วราภรณ์ อภิเสถียรสุข ส่วนผู้ต้องหาที่เหลือ 6 รายนั้น มีคดีขาดอายุความ 1 ราย เสียชีวิต 1 ราย และหลบหนีอีก 4 ราย
สำหรับคดีดังกล่าวเป็น 1 ใน 12 คดีอาญา ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการสอบสวนคดีให้แล้วเสร็จ
นายทรอย ม้อดลิน ผู้จัดการสาขาของฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด กล่าวว่า การตัดสินใจของอดีตอัยการสูงสุดนายจุลสิงห์ วสันต์สิงห์ในการสั่งฟ้องบริษัทฯ รวมถึงการสั่งดำเนินคดีกับอดีตพนักงานและพนักงานปัจจุบันของบริษัทนั้นขัดแย้งกับคำสั่งไม่ฟ้องของสำนักงานอัยการสูงสุดเองในข้อหาเดียวกันเมื่อสี่ปีก่อน นอกจากนี้ยังเป็นการขัดแย้งกับคำวินิจฉัยของกรมศุลกากร คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ สำนักตรวจสอบหลังการตรวจปล่อยสินค้า รวมถึงองค์การการค้าโลกก่อนหน้านี้ด้วย
วานนี้ (19 ม.ค.) ที่ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.แจ้งวัฒนะ เรือโท สมนึก เสียงก้อง โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วย นายชาติพงษ์ จีระพันธุ รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ และนายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดร่วมกันแถลงข่าวการยื่นฟ้อง คดีบริษัทฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด หลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรนำเข้าบุหรี่
เรือโทสมนึก กล่าวว่า คดีนี้พนักงานอัยการคดีพิเศษได้ยื่นฟ้อง บริษัทฟิลลิป มอร์ริส ฯ ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่มี นายทรอย เจ ม้อดลิน (TROY J MODLIN) เป็นผู้แทน และพนักงานที่เป็นคนไทยอีก 7 คน ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1 -8 ต่อศาลอาญาแล้ว เมื่อวันที่ 18 ม.ค.59 ในความผิดฐานร่วมกันเกี่ยวข้องด้วยประการใดๆ ในการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงค่าภาษีศุลกากร โดยเจตนาที่จะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 , 115 จัตวา ,พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 11 ) พ.ศ.2490 มาตรา 3 , พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 17 ) พ.ศ.2543 มาตรา 10 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 , 91 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 มาตรา 4 , พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ.2489 มาตรา 4-9 ซึ่งคดีมีอัตราโทษ ตามกฎหมายศุลกากร ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่า ราคาที่รวมค่าอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือ ทั้งปรับและจำคุก
ด้านนายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า อัยการบรรยายฟ้องจำนวนทุนทรัพย์อยู่ที่ 2 หมื่นล้านบาท ถ้าศาลรับฟังหลักฐานของโจทก์และมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดจริง ศาลจะสั่งปรับจำเลยเป็นจำนวน 4 เท่าของอากร คิดเป็นเงิน 8 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ คดีนี้มีอายุความ 15 ปี นับแต่เกิดเหตุปี 2546 ซึ่งผู้ต้องหาที่ยังหลบนี้อยู่แต่ละคนถูกกล่าวหาในความผิดต่างกัน ดังนั้น แต่ละคนจะมีอายุความเหลือตั้งแต่ 2-5 ปี หากติดตามตัวมาได้ต้องยื่นฟ้องภายในปี 2561 ซึ่งมั่นใจว่าจะติดตามตัวมาฟ้องได้ภายในอายุความ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ต้องหาที่ทางอัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้องในคดีนี้มี 14 ราย ซึ่งอัยการได้ฟ้องเป็นจำเลยแล้ว 8 ราย ประกอบด้วย นิติบุคคล 1 ราย คือ บริษัทฟิลลิป มอร์ริส ฯ , เอกชนซึ่งเป็นคนไทย 7 ราย ได้แก่ 1.นายศิลาเอก สุนทราภัย 2.นางดาลัค วารณะวัฒน์ 3.น.ส.เสาวลักษณ์ อาภาเบิกบาน 4.น.ส.จรรยานี วิสุทธิกุลพาณิชย์ 5.น.ส.สุจินดา ไตรรัตน์เกยูร 6.นางทรรศสม ลาภประเสริฐ และ 7.น.ส.วราภรณ์ อภิเสถียรสุข ส่วนผู้ต้องหาที่เหลือ 6 รายนั้น มีคดีขาดอายุความ 1 ราย เสียชีวิต 1 ราย และหลบหนีอีก 4 ราย
สำหรับคดีดังกล่าวเป็น 1 ใน 12 คดีอาญา ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการสอบสวนคดีให้แล้วเสร็จ
นายทรอย ม้อดลิน ผู้จัดการสาขาของฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด กล่าวว่า การตัดสินใจของอดีตอัยการสูงสุดนายจุลสิงห์ วสันต์สิงห์ในการสั่งฟ้องบริษัทฯ รวมถึงการสั่งดำเนินคดีกับอดีตพนักงานและพนักงานปัจจุบันของบริษัทนั้นขัดแย้งกับคำสั่งไม่ฟ้องของสำนักงานอัยการสูงสุดเองในข้อหาเดียวกันเมื่อสี่ปีก่อน นอกจากนี้ยังเป็นการขัดแย้งกับคำวินิจฉัยของกรมศุลกากร คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ สำนักตรวจสอบหลังการตรวจปล่อยสินค้า รวมถึงองค์การการค้าโลกก่อนหน้านี้ด้วย