ผู้จัดการรายวัน360-เลื่อนประชุมบอร์ด สสส. เป็น 22 ม.ค. หลังเจอตอไม่ครบองค์ประชุม "ณรงค์"สั่งแก้เกม ชง ครม. เลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ถูกปลดเป็นรองประธานบอร์ดคนที่ 2 ก่อน ด้าน ขสช. บุกสภาทนายความขอช่วยตีความ หลังสรรพากรประกาศรีดภาษี
ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ โฆษกคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (บอร์ด สสส.) เปิดเผยว่า การประชุมบอร์ด สสส. วันที่ 15 ม.ค.2559 ต้องเลื่อนออกไปก่อน เนื่องจากมีการให้ความเห็นจากนักกฎหมายว่าการออกคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตามมาตรา 44 ที่ปลดกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. ทั้ง 7 ท่าน เมื่อวันที่ 5 ม.ค. ที่ผ่านมา อาจมีองค์ประกอบไม่ครบตาม พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 เนื่องจากขาดรองประธานคณะกรรมการกองทุน คนที่ 2 แม้ว่าจะมีจำนวนคณะกรรมการฯ ครบองค์ประชุมก็ตาม
ทั้งนี้ จากข้อจำกัดดังกล่าว พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานบอร์ด สสส. จึงให้นำรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนฯ เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 19 ม.ค.2559 เพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็นรองประธานบอร์ด สสส. คนที่ 2 เพื่อให้ครบองค์ประกอบและสามารถจัดประชุมบอร์ด สสส. ได้ในวันที่ 22 ม.ค.2559 เพื่อให้การทำงานของ สสส. ดำเนินงานต่อไปได้โดยไม่หยุดชะงัก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการแต่งตั้งรองประธานกองทุนคนที่ 2 จะต้องเลือกมาจากกรรมการในสัดส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งขณะนี้เหลืออยู่ 2 คนที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่ คือ นางทิชา ณ นคร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา และนายชำนาญ พิเชษฐพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
ส่วนวาระในการประชุมบอร์ด สสส. ยังคงเป็นเรื่องการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ และแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิเช่นเดิม และอาจจะมีการพิจารณาแต่งตั้งผู้จัดการ สสส. คนใหม่ แทน ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ที่ลาออกไป
นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า เพิ่งทราบเรื่องดังกล่าว แต่ก็เข้าใจถึงเหตุผลที่ต้องเลื่อนประชุมบอร์ด สสส. เพราะเป็นเรื่องของทางเทคนิค ทำให้ไม่สามารถประชุมได้ โดยวันที่ 15 ม.ค.นี้ ขบวนการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชน (ขสช.) จะยังไม่เดินทางไปที่ สสส. แต่วันที่ 14 ม.ค. จะเดินทางไปที่สภาทนายความ เพื่อปรึกษาในเรื่องข้อกฎหมายการจัดเก็บภาษี โดยจะขอให้วินิจฉัยการตีความการของกรมสรรพากรและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ให้มูลนิธิที่รับทุน สสส. ต้องเสียภาษี เป็นไปโดยชอบหรือไม่ ซึ่งจะให้พิจารณาจากสัญญาโครงการต่างๆ
ส่วนเรื่องของการตรวจสอบผู้ทรงคุณวุฒิที่ถูกปลดด้วย ม.44 ชอบธรรมหรือไม่ รวมทั้งประเด็นการปลดล็อกการอนุมัติงบประมาณโครงการต่างๆ ของ สสส. และการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิว่าเป็นไปตามกลไกและมีคุณสมบัติตามข้อเรียกร้องของ ขสช. หรือไม่นั้น จะมีการจับตาในการประชุมบอร์ดครั้งต่อไป
นายคำรณ ชูเดชา เครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า ตนไม่เข้าใจกรมสรรพากรว่าเพราะอะไรถึงมาตรวจสอบภาษีองค์กรที่รับงบจาก สสส. เนื่องจากองค์กรเหล่านี้ มีการจ่ายภาษีเงินได้ทั้งส่วนบุคคล ทั้งส่วนองค์กรมาตลอด จึงทำให้คิดว่าการตรวจครั้งนี้ไม่ชอบมาพากล และมีการตีความเกินกฎหมายเรื่องการเก็บภาษีองค์กรเหล่านี้ เนื่องจาก สสส. และสำนักงานอัยการสูงสุดเคยตีความว่าองค์กรหรือมูลนิธิที่รับงบ สสส. เป็นการทำงานแทน ไม่ใช่รับจ้างทำงาน จึงไม่ต้องจ่ายภาษีต่างหาก เพราะ สสส.มีการจ่ายภาษี ณ ที่จ่ายแล้วร้อยละ 1
“กรมสรรพากรต้องการให้เราเอาสัญญาทำงานกับ สสส. ไปตีตราสาร เพื่อให้เข้าข่ายต้องจ่ายภาษี เหมือนรับจ้างทำงานให้ สสส. โดยหากรับงบมา 1,000 บาท ต้องจ่ายภาษี 1 บาท ซึ่งไม่ถูกต้อง ขัดกับการตีความของ สสส. จึงน่าคิดว่า พ.ร.บ.สสส.ทำงานผ่านมา 14 ปี ไม่เห็นมีปัญหา แต่กลับมามีตอนนี้ และเครือข่ายสุขภาพด้านแรงงานได้ไปยื่นหนังสือร้องต่อประธานบอร์ด สสส. ให้ช่วยเรื่องนี้ แต่หากยังไม่มีความคืบหน้าจะไปสอบถามด้วยตัวเองกับอธิบดีกรมสรรพากรในสัปดาห์หน้า และในวันที่ 14 ม.ค. จะไปปรึกษากับสภาทนายความเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว รวมทั้งแนวทางการฟ้องศาลปกครอง บอร์ด สสส. ในเรื่องงบอุดหนุนที่ยังแช่แข็งอยู่” นายคำรณกล่าว
ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ โฆษกคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (บอร์ด สสส.) เปิดเผยว่า การประชุมบอร์ด สสส. วันที่ 15 ม.ค.2559 ต้องเลื่อนออกไปก่อน เนื่องจากมีการให้ความเห็นจากนักกฎหมายว่าการออกคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตามมาตรา 44 ที่ปลดกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. ทั้ง 7 ท่าน เมื่อวันที่ 5 ม.ค. ที่ผ่านมา อาจมีองค์ประกอบไม่ครบตาม พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 เนื่องจากขาดรองประธานคณะกรรมการกองทุน คนที่ 2 แม้ว่าจะมีจำนวนคณะกรรมการฯ ครบองค์ประชุมก็ตาม
ทั้งนี้ จากข้อจำกัดดังกล่าว พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานบอร์ด สสส. จึงให้นำรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนฯ เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 19 ม.ค.2559 เพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็นรองประธานบอร์ด สสส. คนที่ 2 เพื่อให้ครบองค์ประกอบและสามารถจัดประชุมบอร์ด สสส. ได้ในวันที่ 22 ม.ค.2559 เพื่อให้การทำงานของ สสส. ดำเนินงานต่อไปได้โดยไม่หยุดชะงัก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการแต่งตั้งรองประธานกองทุนคนที่ 2 จะต้องเลือกมาจากกรรมการในสัดส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งขณะนี้เหลืออยู่ 2 คนที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่ คือ นางทิชา ณ นคร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา และนายชำนาญ พิเชษฐพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
ส่วนวาระในการประชุมบอร์ด สสส. ยังคงเป็นเรื่องการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ และแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิเช่นเดิม และอาจจะมีการพิจารณาแต่งตั้งผู้จัดการ สสส. คนใหม่ แทน ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ที่ลาออกไป
นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า เพิ่งทราบเรื่องดังกล่าว แต่ก็เข้าใจถึงเหตุผลที่ต้องเลื่อนประชุมบอร์ด สสส. เพราะเป็นเรื่องของทางเทคนิค ทำให้ไม่สามารถประชุมได้ โดยวันที่ 15 ม.ค.นี้ ขบวนการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชน (ขสช.) จะยังไม่เดินทางไปที่ สสส. แต่วันที่ 14 ม.ค. จะเดินทางไปที่สภาทนายความ เพื่อปรึกษาในเรื่องข้อกฎหมายการจัดเก็บภาษี โดยจะขอให้วินิจฉัยการตีความการของกรมสรรพากรและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ให้มูลนิธิที่รับทุน สสส. ต้องเสียภาษี เป็นไปโดยชอบหรือไม่ ซึ่งจะให้พิจารณาจากสัญญาโครงการต่างๆ
ส่วนเรื่องของการตรวจสอบผู้ทรงคุณวุฒิที่ถูกปลดด้วย ม.44 ชอบธรรมหรือไม่ รวมทั้งประเด็นการปลดล็อกการอนุมัติงบประมาณโครงการต่างๆ ของ สสส. และการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิว่าเป็นไปตามกลไกและมีคุณสมบัติตามข้อเรียกร้องของ ขสช. หรือไม่นั้น จะมีการจับตาในการประชุมบอร์ดครั้งต่อไป
นายคำรณ ชูเดชา เครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า ตนไม่เข้าใจกรมสรรพากรว่าเพราะอะไรถึงมาตรวจสอบภาษีองค์กรที่รับงบจาก สสส. เนื่องจากองค์กรเหล่านี้ มีการจ่ายภาษีเงินได้ทั้งส่วนบุคคล ทั้งส่วนองค์กรมาตลอด จึงทำให้คิดว่าการตรวจครั้งนี้ไม่ชอบมาพากล และมีการตีความเกินกฎหมายเรื่องการเก็บภาษีองค์กรเหล่านี้ เนื่องจาก สสส. และสำนักงานอัยการสูงสุดเคยตีความว่าองค์กรหรือมูลนิธิที่รับงบ สสส. เป็นการทำงานแทน ไม่ใช่รับจ้างทำงาน จึงไม่ต้องจ่ายภาษีต่างหาก เพราะ สสส.มีการจ่ายภาษี ณ ที่จ่ายแล้วร้อยละ 1
“กรมสรรพากรต้องการให้เราเอาสัญญาทำงานกับ สสส. ไปตีตราสาร เพื่อให้เข้าข่ายต้องจ่ายภาษี เหมือนรับจ้างทำงานให้ สสส. โดยหากรับงบมา 1,000 บาท ต้องจ่ายภาษี 1 บาท ซึ่งไม่ถูกต้อง ขัดกับการตีความของ สสส. จึงน่าคิดว่า พ.ร.บ.สสส.ทำงานผ่านมา 14 ปี ไม่เห็นมีปัญหา แต่กลับมามีตอนนี้ และเครือข่ายสุขภาพด้านแรงงานได้ไปยื่นหนังสือร้องต่อประธานบอร์ด สสส. ให้ช่วยเรื่องนี้ แต่หากยังไม่มีความคืบหน้าจะไปสอบถามด้วยตัวเองกับอธิบดีกรมสรรพากรในสัปดาห์หน้า และในวันที่ 14 ม.ค. จะไปปรึกษากับสภาทนายความเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว รวมทั้งแนวทางการฟ้องศาลปกครอง บอร์ด สสส. ในเรื่องงบอุดหนุนที่ยังแช่แข็งอยู่” นายคำรณกล่าว