เมือวานนี้ (11ม.ค.) ที่อาคารคริสตจักรแห่งประเทศไทย ขบวนการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชน (ขสช.) ซึ่งเป็นการรวมตัวของเครือข่ายภาคประชาสังคม เครือข่ายวิชาการ และเครือข่ายองค์กรประชาชน รวม 20 เครือข่าย ได้แถลงจุดยืนภายหลังร่วมหารือ กรณี คสช. ใช้อำนาจ ม. 44 ปลดคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (บอร์ดสสส.) 7 คน การระงับการจ่ายเงินสนับสนุนโครงการ รวมถึงกรณีกรมสรรพากร ตรวจสอบและเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง 5 ปี ขององค์กรภาคประชาสังคม
นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า จุดยืนของ ขสช. มี 5 ประเด็นดังนี้ 1. ปัญหาการปลดบอร์ด สสส. ถือว่าไม่ชอบธรรม เพราะไม่พบการทุจริต ขอให้มีการตรวจสอบ หากไม่พบความผิด ต้องคืนความเป็นธรรม และยกเลิกคำสั่งปลดเพื่อให้คณะกรรมการกลับเข้ามาปฏิบัติงานได้หลังตรวจสอบ ส่วนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ ต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต และไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจด้านแอลกอฮอล์ บุหรี่ อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดย ขสช.จะติดตามความคืบหน้าการประชุมของบอร์ดสสส. ในวันที่ 15 ม.ค. 59 หากไม่มีการดำเนินการตามข้อเรียกร้อง จะเคลื่อนไหวใหญ่ทั่วประเทศ
2. การระงับการจ่ายงบประมาณดำเนินการ และไม่อนุมัติโครงการที่มีงบประมาณเกิน 5 ล้านบาท รวมกว่า 1,953 ล้านบาท ส่งผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานในองค์กรต่างๆ ประมาณ 5,200 คน รวมผู้ปฏิบัติงานในโครงการย่อย คาดว่าเกิน 10,000 คน นอกจากนี้ ประชาชนยังขาดโอกาสได้รับประโยชน์จากโครงการลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ หากโครงการยังถูกแช่แข็ง จะยื่นฟ้อง สสส.ต่อศาลปกครอง
3. กรณีกรมสรรพากรเก็บภาษีมูลนิธิ และองค์กรต่างๆ ที่ร่วมปฏิบัติงานกับ สสส. ย้อนหลัง 5 ปี รวมค่าปรับกว่า 800 ล้านบาทนั้น ขสช. จะร่วมมือกันฟ้องร้อง เพื่อยกเลิกประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับเรื่องนี้
4. ข้อเสนอการปฏิรูป สสส. เสนอให้เพิ่มการสนับสนุนโครงการแก่องค์กร และประชาชน เพิ่มสัดส่วนคณะกรรมการ และกรรมการระดับต่างๆ ให้ผู้ที่มีผลงานและประสบการณ์การพัฒนาด้านต่างๆ เข้ามามีบทบาทใน สสส. มากขึ้น
5. กรณีโครงการประชารัฐ ขสช. จะติดตามการดำเนินโครงการประชารัฐที่รับทุนจาก สสส. โดยเฉพาะโครงการที่มีคณะกรรมการมาจากกลุ่มธุรกิจด้านเกษตร/อาหาร และแอลกอฮอล์ ร่วมด้วย ว่าดำเนินเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนหรือเพื่อกลุ่มทุน
นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากไม่มีการทบทวน มาตรา 44 ก่อนวันที่ 15 ม.ค. ซึ่งจะมีการประชุมบอร์ด สสส. เครือข่ายฯ จะเข้าไปพบนายกฯ อธิบดีกรมสรรพากร และผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ส่วนกรณีการระงับงบประมาณโครงการฯ ควรระงับเฉพาะที่มีการทุจริต ไม่ใช่เหมารวมทั้งหมด
นายวิวัฒน์ ตามี่ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง กล่าวว่า การที่กรมสรรพากร ออกประกาศให้องค์กรที่รับทุนจาก สสส.ต้องเสียภาษีย้อนหลัง 5 ปี รวมแล้วเป็นเงินกว่า 800 ล้านบาท คงไม่มีองค์กรใดมีเงินมากมายมาเสีย เพราะเงินที่ได้รับดำเนินการไปกับกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์หมดแล้ว แต่ท้ายที่สุด หากมีการระบุว่าต้องจ่ายภาษี สสส. ควรมีการตั้งกองทุนเยียวยาขึ้น
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี กลุ่มผู้บริหาร สสส. ยังไม่เข้าใจ กรณีที่ คสช. ใช้อำนาจตาม มาตรา 44 สั่งปลดบอร์ด สสส.ทั้ง 7 คน ว่า ถ้าเขาถามมาคสช.ก็ส่งคนไปชี้แจง และทุกคนที่ถูกคำสั่งดังกล่าว หากคิดว่าตัวเองมีปัญหา สามารถสอบถามมายังหน่วยงานตรวจสอบที่มีอยู่ได้ แต่หากไม่ได้รับความสะดวก ก็ให้มาถามตน ตนจะได้ไปถามต่อให้ แต่จะให้ตนตอบเองไม่ได้ รัฐบาลทราบว่าไม่มีทางที่จะทำอะไรแล้วถูกใจทั้งหมด แต่จำเป็นต้องทำ
นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า จุดยืนของ ขสช. มี 5 ประเด็นดังนี้ 1. ปัญหาการปลดบอร์ด สสส. ถือว่าไม่ชอบธรรม เพราะไม่พบการทุจริต ขอให้มีการตรวจสอบ หากไม่พบความผิด ต้องคืนความเป็นธรรม และยกเลิกคำสั่งปลดเพื่อให้คณะกรรมการกลับเข้ามาปฏิบัติงานได้หลังตรวจสอบ ส่วนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ ต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต และไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจด้านแอลกอฮอล์ บุหรี่ อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดย ขสช.จะติดตามความคืบหน้าการประชุมของบอร์ดสสส. ในวันที่ 15 ม.ค. 59 หากไม่มีการดำเนินการตามข้อเรียกร้อง จะเคลื่อนไหวใหญ่ทั่วประเทศ
2. การระงับการจ่ายงบประมาณดำเนินการ และไม่อนุมัติโครงการที่มีงบประมาณเกิน 5 ล้านบาท รวมกว่า 1,953 ล้านบาท ส่งผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานในองค์กรต่างๆ ประมาณ 5,200 คน รวมผู้ปฏิบัติงานในโครงการย่อย คาดว่าเกิน 10,000 คน นอกจากนี้ ประชาชนยังขาดโอกาสได้รับประโยชน์จากโครงการลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ หากโครงการยังถูกแช่แข็ง จะยื่นฟ้อง สสส.ต่อศาลปกครอง
3. กรณีกรมสรรพากรเก็บภาษีมูลนิธิ และองค์กรต่างๆ ที่ร่วมปฏิบัติงานกับ สสส. ย้อนหลัง 5 ปี รวมค่าปรับกว่า 800 ล้านบาทนั้น ขสช. จะร่วมมือกันฟ้องร้อง เพื่อยกเลิกประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับเรื่องนี้
4. ข้อเสนอการปฏิรูป สสส. เสนอให้เพิ่มการสนับสนุนโครงการแก่องค์กร และประชาชน เพิ่มสัดส่วนคณะกรรมการ และกรรมการระดับต่างๆ ให้ผู้ที่มีผลงานและประสบการณ์การพัฒนาด้านต่างๆ เข้ามามีบทบาทใน สสส. มากขึ้น
5. กรณีโครงการประชารัฐ ขสช. จะติดตามการดำเนินโครงการประชารัฐที่รับทุนจาก สสส. โดยเฉพาะโครงการที่มีคณะกรรมการมาจากกลุ่มธุรกิจด้านเกษตร/อาหาร และแอลกอฮอล์ ร่วมด้วย ว่าดำเนินเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนหรือเพื่อกลุ่มทุน
นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากไม่มีการทบทวน มาตรา 44 ก่อนวันที่ 15 ม.ค. ซึ่งจะมีการประชุมบอร์ด สสส. เครือข่ายฯ จะเข้าไปพบนายกฯ อธิบดีกรมสรรพากร และผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ส่วนกรณีการระงับงบประมาณโครงการฯ ควรระงับเฉพาะที่มีการทุจริต ไม่ใช่เหมารวมทั้งหมด
นายวิวัฒน์ ตามี่ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง กล่าวว่า การที่กรมสรรพากร ออกประกาศให้องค์กรที่รับทุนจาก สสส.ต้องเสียภาษีย้อนหลัง 5 ปี รวมแล้วเป็นเงินกว่า 800 ล้านบาท คงไม่มีองค์กรใดมีเงินมากมายมาเสีย เพราะเงินที่ได้รับดำเนินการไปกับกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์หมดแล้ว แต่ท้ายที่สุด หากมีการระบุว่าต้องจ่ายภาษี สสส. ควรมีการตั้งกองทุนเยียวยาขึ้น
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี กลุ่มผู้บริหาร สสส. ยังไม่เข้าใจ กรณีที่ คสช. ใช้อำนาจตาม มาตรา 44 สั่งปลดบอร์ด สสส.ทั้ง 7 คน ว่า ถ้าเขาถามมาคสช.ก็ส่งคนไปชี้แจง และทุกคนที่ถูกคำสั่งดังกล่าว หากคิดว่าตัวเองมีปัญหา สามารถสอบถามมายังหน่วยงานตรวจสอบที่มีอยู่ได้ แต่หากไม่ได้รับความสะดวก ก็ให้มาถามตน ตนจะได้ไปถามต่อให้ แต่จะให้ตนตอบเองไม่ได้ รัฐบาลทราบว่าไม่มีทางที่จะทำอะไรแล้วถูกใจทั้งหมด แต่จำเป็นต้องทำ