เครือข่ายเอ็นจีโอ “ขสช.” ออกแถลง 5 ประเด็น บี้ คสช.ยกเลิก ม.44 ปลดบอร์ด สสส. ย้ำกรรมการใหม่สเปกต้องดีเท่าคนถูกปลด จวกฟรีซงบ 1.9 พันล้านบาท ทำเครือข่ายกระทบกว่า 10,000 คน บางแห่งต้องเลย์ออฟ ขู่ฟ้อง สสส.หากไม่ปลดล็อก พร้อมบี้บอร์ด สสส.ยื่นกฤษฎีกาตีความ มูลนิธิรับทุน สสส.ทำงานสาธารณะไม่ใช่รับจ้าง หลังถูกรีดภาษีย้อนหลัง 800 ล้านบาท จ่อเคลื่อนไหวใหญ่ทั่วประเทศหากไม่ทำตามข้อเรียกร้อง
วันนี้ (11 ม.ค.) เมื่อเวลา 11.00 น. ที่อาคารคริสตจักรแห่งประเทศไทย ขบวนการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชน (ขสช.) ซึ่งเป็นการรวมตัวของเครือข่ายภาคประชาสังคม เครือข่ายวิชาการ และเครือข่ายองค์กรประชาชน รวม 20 เครือข่าย เช่น ชมรมแพทย์ชนบท เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายเด็กเยาวชนและครอบครัว เครือข่ายงดเหล้าและบุหรี่ เครือข่ายแรงงานนอกระบบ เป็นต้น ได้แถลงจุดยืนภายหลังร่วมหารือกรณีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ปลดคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพจำนวน 7 คน การระงับการจ่ายเงินสนับสนุนโครงการ รวมถึงกรณีกรมสรรพากรตรวจสอบและเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง 5 ปีขององค์กรภาคประชาสังคม
นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า จุดยืนของ ขสช.มี 5 ประเด็นดังนี้ 1. ปัญหาการปลดบอร์ด สสส. ถือว่าไม่ชอบธรรม เพราะไม่พบการทุจริต ขอให้มีการตรวจสอบ หากไม่พบความผิดต้องคืนความเป็นธรรม และยกเลิกคำสั่งปลดเพื่อให้คณะกรรมการกลับเข้ามาปฏิบัติงานได้หลังตรวจสอบ ส่วนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ ต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต และมีผลงาน คุณสมบัติไม่ด้อยไปกว่าคณะกรรมการที่ถูกปลด และไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจด้านแอลกอฮอล์ บุหรี่ อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ไม่มีความสัมพันธ์หรือทัศนคติที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิรูประบบสุขภาพ โดย ขสช.จะติดตามความคืบหน้าการประชุมของบอร์ด สสส.ในวันที่ 15 ม.ค. 2559 หากไม่มีการดำเนินการตามข้อเรียกร้องจะเคลื่อนไหวใหญ่ทั่วประเทศ
นายธีระกล่าวว่า 2. การระงับการจ่ายงบประมาณดำเนินการและไม่อนุมัติโครงการที่มีงบประมาณเกิน 5 ล้านบาท รวมกว่า 1,953 ล้านบาท เป็นโครงการที่งบประมาณเกิน 5 ล้านบาท จำนวน 515 โครงการ รวมงบประมาณ 1,643 ล้าน ส่งผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานในองค์กรต่างๆ ประมาณ 5,200 คน รวมผู้ปฏิบัติงานในโครงการย่อยคาดว่าเกิน 10,000 คน นอกจากนี้ ประชาชนยังขาดโอกาสได้รับประโยชน์จากโครงการลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ หากโครงการยังถูกแช่แข็งจะยื่นฟ้อง สสส.ต่อศาลปกครอง 3. กรณีกรมสรรพากรเก็บภาษีมูลนิธิและองค์กรต่างๆ ที่ร่วมปฏิบัติงานกับ สสส.ย้อนหลัง 5 ปี รวมค่าปรับกว่า 800 ล้านบาทนั้น ขสช.จะร่วมมือกันฟ้องร้องเพื่อยกเลิกประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับเรื่องนี้ และขอให้บอร์ด สสส.ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ ข้อตกลงการปฏิบัติงานระหว่างภาคีและ สสส. ไม่ใช่การรับจ้างทำของ แต่เป็นการดำเนินการเพื่อสาธารณะประโยชน์ และขอให้กรมสรรพากรยุติการคุกคามองค์กรต่างๆ
“สสส.เคยให้สำนักงานอัยการสูงสุดตีความแล้วเมื่อปี 2547 ซึ่งวินิจฉัยว่าเป็นการดำเนินการแทน ทั้งนี้ งบประมาณที่ได้รับนั้นแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. งบค่าตอบแทนบุคลากร ซึ่งจะมีการหักภาษี ณ ที่ จ่าย โดย สสส.จะหักค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก่อนโอนงบประมาณ และผู้ปฏิบัติงานที่รับค่าตอบแทนก็มีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และ 2. งบประมาณการดำเนินกิจกรรม ไม่ได้เป็นรายได้เพื่อเอามาแบ่งปันกัน แต่เพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งผลงานที่เกิดขึ้นก็ถือว่าเป็นผลงานของ สสส. อุปกรณ์หรือครุภัณฑ์ที่จัดซื้อก็ถือว่าเป็นทรัพย์สินของ สสส. เมื่อเงินเหลือก็ต้องส่งคืน” นายธีระกล่าว
น.ส.จิตติมา ภาณุเดชะ ผู้ประสานงานเครือข่ายสุขภาวะทางเพศ กล่าวว่า 4. ข้อเสนอการปฏิรูป สสส. เสนอให้เพิ่มการสนับสนุนโครงการแก่องค์กรและประชาชน เพิ่มสัดส่วนคณะกรรมการและกรรมการระดับต่างๆ ให้ผู้ที่มีผลงานและประสบการณ์การพัฒนาด้านต่างๆ เข้ามามีบทบาทใน สสส.มากขึ้น ไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มเดิม ทำงานใกล้ชิดภาคประชาสังคมมากขึ้น สนับสนุนให้ออกระเบียบใหม่ที่ป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนของคณะกรรมการและผู้ได้รับประโยชน์จากการรับทุน กระจายระบบการสนับสนุนทุนระดับภูมิภาค และมีการประเมินผลการดำเนินงานของ สสส.และผู้บริหาร สสส.โดยโปร่งใสและมีส่วนร่วมโดยภาคีให้มากขึ้น และ 5. กรณีโครงการประชารัฐ ขสช.จะติดตามการดำเนินโครงการประชารัฐที่รับทุนจาก สสส. โดยเฉพาะโครงการที่มีคณะกรรมการมาจากกลุ่มธุรกิจด้านเกษตร/อาหาร และแอลกอฮอล์ร่วมด้วยว่าดำเนินเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนหรือเพื่อกลุ่มทุน
นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากไม่มีการทบทวนมาตรา 44 ก่อนวันที่ 15 มกราคม 2559 ซึ่งจะมีการประชุมบอร์ดสสส. เครือข่ายฯจะเข้าไปพบนายกรัฐมนตรี อธิบดีกรมสรรพากรและผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ส่วนกรณีการระงับงบประมาณโครงการฯควรระงับเฉพาะที่มีการทุจริตไม่ใช่เหมารวมทั้งหมด
นายธนากร คมกฤส ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์หยุดพนัน กล่าวว่า การระงับการเบิกจ่ายงบประมาณส่งผลให้เครือข่ายฯ ซึ่งมีคนทำงานประมาณ 14-15 คนนั้น สิ้นเดือน ม.ค.นี้จะต้องเลิกจ้างไปกว่า 10 คน คงเหลือไว้ประมาณ 5 คนเพื่อรักษาสถานภาพขององค์กร ซึ่งถือว่ากระทบต่อคนทำงานมาก รวมถึงครอบครัวผู้ยากลำบากที่เครือข่ายลงไปดูแลด้วย
นายวิวัฒน์ ตามี่ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง กล่าวว่า การที่กรมสรรพากรออกประกาศให้องค์กรที่รับทุนจาก สสส.ต้องเสียภาษีย้อนหลัง 5 ปี รวมแล้วเป็นเงินกว่า 800 ล้านบาท คงไม่มีองค์กรใดมีเงินมากมายมาเสีย เพราะเงินที่ได้รับดำเนินการไปกับกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์หมดแล้ว แต่ท้ายที่สุดหากมีการระบุว่าต้องจ่ายภาษี สสส.ควรมีการตั้งกองทุนเยียวยาขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ผู้ทำงานภาคประชาสังคมมีความสามารถจำนวนมาก สามารถเข้ามาเป็นบอร์ด สสส.แทน 7 คนที่ถูกต้องปลดได้ น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA watch) กล่าวว่า ยืนยันว่าการเคลื่อนไหวของ ขสช.ไม่ได้ยึดติดกับบอร์ดสสส. 7 คนที่ถูกปลด แต่เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้อง เพราะไม่ได้มีการระบุว่ามีการทุจริตหรือผลประโยชน์ทับซ้อน จึงขอให้มีการตรวจสอบโดยเร็ว หากไม่พบว่ามีการกระทำความผิดต้องคืนตำแหน่งให้ แต่ถ้าทั้ง 7 คนประสงค์ไม่อยู่ต่อก็เป็นสิทธิ ทั้งนี้ ยืนยันว่า ขสช.ไม่มีพี่ใหญ่ที่จะมาคุมได้ เพราะฉะนั้น ใครที่ไปอ้างกับนายกรัฐมนตรีว่าจะสามารถเคลียร์ได้ขอบอกว่าไม่เป็นความจริง
เมื่อถามถึงการฟ้อง สสส.ต่อศาลปกครองกรณีแช่แข็งโครงการจะดำเนินการเมื่อไร นายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ ผู้ประสานงาน ขสช.กล่าวว่า หวังว่าการประชุมบอร์ด สสส.ในวันที่ 15 ม.ค. 2559 จะมีการคลี่คลายเรื่องการแช่แข็งงบด้วย เพราะแม้จะมีการระบุว่าปลดล็อกให้เบิกจ่ายงบโครงการที่เกิน 5 ล้านบาทแล้ว แต่ก็เป็นเพียงการพูดลอยๆ ต้องทำเป็นหนังสือทางการยืนยันออกมาก่อน และหากไม่มีความชัดเจนตามข้อเรียกร้อง ขสช.จะมีการหารือเพื่อกำหนดท่าทีการเคลื่อนไหวอีกครั้ง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (11 ม.ค.) เมื่อเวลา 11.00 น. ที่อาคารคริสตจักรแห่งประเทศไทย ขบวนการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชน (ขสช.) ซึ่งเป็นการรวมตัวของเครือข่ายภาคประชาสังคม เครือข่ายวิชาการ และเครือข่ายองค์กรประชาชน รวม 20 เครือข่าย เช่น ชมรมแพทย์ชนบท เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายเด็กเยาวชนและครอบครัว เครือข่ายงดเหล้าและบุหรี่ เครือข่ายแรงงานนอกระบบ เป็นต้น ได้แถลงจุดยืนภายหลังร่วมหารือกรณีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ปลดคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพจำนวน 7 คน การระงับการจ่ายเงินสนับสนุนโครงการ รวมถึงกรณีกรมสรรพากรตรวจสอบและเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง 5 ปีขององค์กรภาคประชาสังคม
นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า จุดยืนของ ขสช.มี 5 ประเด็นดังนี้ 1. ปัญหาการปลดบอร์ด สสส. ถือว่าไม่ชอบธรรม เพราะไม่พบการทุจริต ขอให้มีการตรวจสอบ หากไม่พบความผิดต้องคืนความเป็นธรรม และยกเลิกคำสั่งปลดเพื่อให้คณะกรรมการกลับเข้ามาปฏิบัติงานได้หลังตรวจสอบ ส่วนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ ต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต และมีผลงาน คุณสมบัติไม่ด้อยไปกว่าคณะกรรมการที่ถูกปลด และไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจด้านแอลกอฮอล์ บุหรี่ อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ไม่มีความสัมพันธ์หรือทัศนคติที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิรูประบบสุขภาพ โดย ขสช.จะติดตามความคืบหน้าการประชุมของบอร์ด สสส.ในวันที่ 15 ม.ค. 2559 หากไม่มีการดำเนินการตามข้อเรียกร้องจะเคลื่อนไหวใหญ่ทั่วประเทศ
นายธีระกล่าวว่า 2. การระงับการจ่ายงบประมาณดำเนินการและไม่อนุมัติโครงการที่มีงบประมาณเกิน 5 ล้านบาท รวมกว่า 1,953 ล้านบาท เป็นโครงการที่งบประมาณเกิน 5 ล้านบาท จำนวน 515 โครงการ รวมงบประมาณ 1,643 ล้าน ส่งผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานในองค์กรต่างๆ ประมาณ 5,200 คน รวมผู้ปฏิบัติงานในโครงการย่อยคาดว่าเกิน 10,000 คน นอกจากนี้ ประชาชนยังขาดโอกาสได้รับประโยชน์จากโครงการลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ หากโครงการยังถูกแช่แข็งจะยื่นฟ้อง สสส.ต่อศาลปกครอง 3. กรณีกรมสรรพากรเก็บภาษีมูลนิธิและองค์กรต่างๆ ที่ร่วมปฏิบัติงานกับ สสส.ย้อนหลัง 5 ปี รวมค่าปรับกว่า 800 ล้านบาทนั้น ขสช.จะร่วมมือกันฟ้องร้องเพื่อยกเลิกประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับเรื่องนี้ และขอให้บอร์ด สสส.ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ ข้อตกลงการปฏิบัติงานระหว่างภาคีและ สสส. ไม่ใช่การรับจ้างทำของ แต่เป็นการดำเนินการเพื่อสาธารณะประโยชน์ และขอให้กรมสรรพากรยุติการคุกคามองค์กรต่างๆ
“สสส.เคยให้สำนักงานอัยการสูงสุดตีความแล้วเมื่อปี 2547 ซึ่งวินิจฉัยว่าเป็นการดำเนินการแทน ทั้งนี้ งบประมาณที่ได้รับนั้นแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. งบค่าตอบแทนบุคลากร ซึ่งจะมีการหักภาษี ณ ที่ จ่าย โดย สสส.จะหักค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก่อนโอนงบประมาณ และผู้ปฏิบัติงานที่รับค่าตอบแทนก็มีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และ 2. งบประมาณการดำเนินกิจกรรม ไม่ได้เป็นรายได้เพื่อเอามาแบ่งปันกัน แต่เพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งผลงานที่เกิดขึ้นก็ถือว่าเป็นผลงานของ สสส. อุปกรณ์หรือครุภัณฑ์ที่จัดซื้อก็ถือว่าเป็นทรัพย์สินของ สสส. เมื่อเงินเหลือก็ต้องส่งคืน” นายธีระกล่าว
น.ส.จิตติมา ภาณุเดชะ ผู้ประสานงานเครือข่ายสุขภาวะทางเพศ กล่าวว่า 4. ข้อเสนอการปฏิรูป สสส. เสนอให้เพิ่มการสนับสนุนโครงการแก่องค์กรและประชาชน เพิ่มสัดส่วนคณะกรรมการและกรรมการระดับต่างๆ ให้ผู้ที่มีผลงานและประสบการณ์การพัฒนาด้านต่างๆ เข้ามามีบทบาทใน สสส.มากขึ้น ไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มเดิม ทำงานใกล้ชิดภาคประชาสังคมมากขึ้น สนับสนุนให้ออกระเบียบใหม่ที่ป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนของคณะกรรมการและผู้ได้รับประโยชน์จากการรับทุน กระจายระบบการสนับสนุนทุนระดับภูมิภาค และมีการประเมินผลการดำเนินงานของ สสส.และผู้บริหาร สสส.โดยโปร่งใสและมีส่วนร่วมโดยภาคีให้มากขึ้น และ 5. กรณีโครงการประชารัฐ ขสช.จะติดตามการดำเนินโครงการประชารัฐที่รับทุนจาก สสส. โดยเฉพาะโครงการที่มีคณะกรรมการมาจากกลุ่มธุรกิจด้านเกษตร/อาหาร และแอลกอฮอล์ร่วมด้วยว่าดำเนินเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนหรือเพื่อกลุ่มทุน
นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากไม่มีการทบทวนมาตรา 44 ก่อนวันที่ 15 มกราคม 2559 ซึ่งจะมีการประชุมบอร์ดสสส. เครือข่ายฯจะเข้าไปพบนายกรัฐมนตรี อธิบดีกรมสรรพากรและผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ส่วนกรณีการระงับงบประมาณโครงการฯควรระงับเฉพาะที่มีการทุจริตไม่ใช่เหมารวมทั้งหมด
นายธนากร คมกฤส ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์หยุดพนัน กล่าวว่า การระงับการเบิกจ่ายงบประมาณส่งผลให้เครือข่ายฯ ซึ่งมีคนทำงานประมาณ 14-15 คนนั้น สิ้นเดือน ม.ค.นี้จะต้องเลิกจ้างไปกว่า 10 คน คงเหลือไว้ประมาณ 5 คนเพื่อรักษาสถานภาพขององค์กร ซึ่งถือว่ากระทบต่อคนทำงานมาก รวมถึงครอบครัวผู้ยากลำบากที่เครือข่ายลงไปดูแลด้วย
นายวิวัฒน์ ตามี่ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง กล่าวว่า การที่กรมสรรพากรออกประกาศให้องค์กรที่รับทุนจาก สสส.ต้องเสียภาษีย้อนหลัง 5 ปี รวมแล้วเป็นเงินกว่า 800 ล้านบาท คงไม่มีองค์กรใดมีเงินมากมายมาเสีย เพราะเงินที่ได้รับดำเนินการไปกับกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์หมดแล้ว แต่ท้ายที่สุดหากมีการระบุว่าต้องจ่ายภาษี สสส.ควรมีการตั้งกองทุนเยียวยาขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ผู้ทำงานภาคประชาสังคมมีความสามารถจำนวนมาก สามารถเข้ามาเป็นบอร์ด สสส.แทน 7 คนที่ถูกต้องปลดได้ น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA watch) กล่าวว่า ยืนยันว่าการเคลื่อนไหวของ ขสช.ไม่ได้ยึดติดกับบอร์ดสสส. 7 คนที่ถูกปลด แต่เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้อง เพราะไม่ได้มีการระบุว่ามีการทุจริตหรือผลประโยชน์ทับซ้อน จึงขอให้มีการตรวจสอบโดยเร็ว หากไม่พบว่ามีการกระทำความผิดต้องคืนตำแหน่งให้ แต่ถ้าทั้ง 7 คนประสงค์ไม่อยู่ต่อก็เป็นสิทธิ ทั้งนี้ ยืนยันว่า ขสช.ไม่มีพี่ใหญ่ที่จะมาคุมได้ เพราะฉะนั้น ใครที่ไปอ้างกับนายกรัฐมนตรีว่าจะสามารถเคลียร์ได้ขอบอกว่าไม่เป็นความจริง
เมื่อถามถึงการฟ้อง สสส.ต่อศาลปกครองกรณีแช่แข็งโครงการจะดำเนินการเมื่อไร นายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ ผู้ประสานงาน ขสช.กล่าวว่า หวังว่าการประชุมบอร์ด สสส.ในวันที่ 15 ม.ค. 2559 จะมีการคลี่คลายเรื่องการแช่แข็งงบด้วย เพราะแม้จะมีการระบุว่าปลดล็อกให้เบิกจ่ายงบโครงการที่เกิน 5 ล้านบาทแล้ว แต่ก็เป็นเพียงการพูดลอยๆ ต้องทำเป็นหนังสือทางการยืนยันออกมาก่อน และหากไม่มีความชัดเจนตามข้อเรียกร้อง ขสช.จะมีการหารือเพื่อกำหนดท่าทีการเคลื่อนไหวอีกครั้ง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่