โดย...ไพรัตน์ แย้มโกสุม
ประเพณียอดฮิตที่นิยมกันทั่วโลก คือ...ประเพณีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ แต่ละแห่งแหล่งที่ก็แตกต่างกันไป โดยเฉพาะสยามไทยแลนด์ ถือว่าวันนี้เป็นวัน “ปล่อยผี” กันทีเดียว คือปล่อยให้ทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ ขอให้มีความสุขสนุกสนานเต็มที่ฟรีสไตล์ เพื่อความสุขของประชาชนที่ไม่ต้องเปลืองงบประมาณแผ่นดิน
ปีเก่าปีใหม่
บางคนเอาปีเก่าเป็นบทเรียน แล้วเปลี่ยนชีวิตใหม่ในวันปีใหม่ บางคนไม่ว่าปีเก่าปีใหม่ ก็เหมือนเดิม อาจจะชั่วเหมือนเดิม หรือดีเหมือนเดิมก็ว่ากันไป ตามวิถีชีวิตของแต่ละคน
ประเพณีปีใหม่ นอกจากจะสนุกสนานรื่นเริงบันเทิงใจแล้ว ยังมีการอวยพรให้กันและกัน อาจจะมอบของขวัญ ส.ค.ส.หรือคำสวยในเฟซบุ๊กแอนด์ไลน์ ในยุคสังคมก้มหน้า ดูได้ดูดีจนลืมดูตัวเอง
คำอวยพรที่นิยมกันมีหลายชุด ชุดที่มีจำนวน 4 ข้อเรียกว่า จตุรพิธพร หรือพร 4 ประการคือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ
พรที่เป็นชุดจำนวน 5 ข้อบ้างคือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ
จำนวน 6 ข้อบ้างคือ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สุขะ พละ เป็นต้น
แต่ปัจจุบันก็เปลี่ยนไปตามสมัยนิยมต่างๆ นานาเกินกว่าจะบรรยาย
คำว่า “พร” คือสิ่งที่น่าปรารถนาที่บุคคลหนึ่งอำนวยให้ หรือแสดงความประสงค์ด้วยความปรารถนาดีให้เกิดมีขึ้นแก่บุคคลอื่น
พร คือสิ่งประเสริฐ หรือสิ่งดีเยี่ยม
สิ่งประเสริฐหรือสิ่งดีเยี่ยม ที่จะมอบให้กันและกันนั้น จะมีอะไรดีเลิศประเสริฐศรีไปกว่า “ธรรมะ” (Dhamma) โดยเฉพาะหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีมากมายมหาศาล ครอบคลุมจักรวาล แต่ก็ประมวลไว้สั้นๆ เพียง 3 ข้อใน “พุทธโอวาท 3”
พุทธโอวาท 3 คือ ประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักใหญ่ 3 ข้อได้แก่...
1. สพฺพปาปสฺส อกรณํ คือไม่ทำความชั่วทั้งปวง
2. กุสลสฺสูปสมฺปทา คือทำแต่ความดี
3. สจิตฺตปริโยทปนํ คือทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์
(หลัก 3 ข้อนี้ รวมอยู่ในโอวาทปาฏิโมกข์ ที่ทรงแสดงในวันเพ็ญเดือน 3 ที่บัดนี้เรียกว่า วันมาฆบูชา)
การอำนวยอวยพรใดๆ หากนำธรรม 3 ข้อนี้อวยพรให้กันและกัน และนำไปปฏิบัติจริง ก็จะเกิดแต่ความสุขความเจริญ ทั้งแก่ตนเองและสังคมส่วนรวม
ตามธรรมดา เวลาจะปลูกพืชต่างๆ จำเป็นต้องปรับพื้นที่ คือกำจัดวัชพืชที่ก่อให้เกิดความรกเรื้ออันไม่พึงปรารถนาออกไปเสียก่อน แล้วค่อยปลูกพืชต่างๆ ที่ปรารถนาลงไป พืชจึงจะเกิดและเจริญงอกงามได้
วัชพืช เปรียบเหมือนความชั่ว
พืชมีประโยชน์ เปรียบเหมือนความดี
การทำความดี ต้องขจัดความชั่วให้หมดสิ้นไปเสียก่อน
ไม่ใช่ชั่วก็ทำ ดีก็ทำ อย่างที่คนมักง่าย หรือคนมีเล่ห์เหลี่ยมทำกัน ซึ่งไม่ตรงหลักความจริง ไม่ตรงหลักพุทธโอวาท (ข้อ 1 และข้อ 2)
ดังนั้น ต้องทำตามธรรมชาติ หรือตามหลักพุทธโอวาทข้อ 1 (ละชั่ว) ข้อ 2 (ทำดี) แล้วจิตใจก็มีโอกาสขาวสะอาดได้ตามข้อ 3
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์ปัจจุบัน ทรงประกาศชัดเจนในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 5 พฤษภาคม 2493 ที่เรียกว่า ปฐมบรมราชโองการว่า...
“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
นับตั้งแต่วันขึ้นครองราชย์ตราบเท่าปัจจุบัน พระองค์ยังทรงธรรม คือทรงทำแต่ความดี เพื่อปวงประชาชนในแผ่นดิน เราในฐานะพสกนิกร ก็ควรเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ด้วยการทำความดี หรือทำหน้าที่อย่างเป็นธรรม จึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระองค์อย่างแท้จริง
พระบรมราโชวาทที่โด่งดัง และอ้างอิงมากที่สุดคือ...
“ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดี และคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุข เรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”
พระบรมราโชวาท ดังกล่าว ตรงกับพุทธโอวาท 3 คือไม่ทำความชั่ว ให้ทำแต่ความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์
เมื่อคนชั่วไม่สามารถที่จะเปลี่ยนให้เป็นคนดีได้ ก็ต้องควบคุมได้ อย่าให้มีอำนาจ เพราะมีอำนาจเมื่อไหร่ ก็จะก่อความวุ่นวายเดือดร้อน ด้วยการคอร์รัปชันทุกรูปแบบ
ท่านพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ท่านกล่าวว่า...
“...คอร์รัปชันแปลว่า การฉ้อราษฎร์บังหลวง แต่ในทัศนะของตน ขอแปลว่า...การปล้นชาติ คนไทยทุกคนถูกปล้นอยู่ตลอดเวลา ทุกวัน คอร์รัปชันลุกลามใหญ่โตไปถึงขั้นมีการทุจริตเชิงนโยบาย กัดกร่อนโครงสร้างเศรษฐกิจ โครงสร้างสังคมไทยมาตลอด
พวกเราต้องไม่ยอมให้คนไม่ดี มานั่งปล้นชาติเราทุกวันๆ ฉะนั้นต้องหาทางกำจัดตัวเวรและตัวน่ารังเกียจให้หมดไปจากประเทศของเราให้ได้
เมื่อใดประเทศของเราประกอบด้วย ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ องค์กรทุกภาคส่วน มีการแสดงออกชัดเจน ตรงไปตรงมา มีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ มีการประพฤติปฏิบัติตั้งอยู่ในความสุจริต มีจิตสำนึกหน้าที่ สามารถตรวจสอบและชี้แจงได้ เมื่อนั้นเราจะประสบผลสำเร็จ...”
นั่นคือ บางส่วนที่ท่านพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ท่านพูดในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (8 ธันวาคม 2558) อย่างองอาจกล้าหาญ ท่านเป็นคนจริง กล้าประกาศว่าเกลียดคอร์รัปชันที่สุด และจะต่อสู้ให้ถึงที่สุดสมกับเป็นประธานองคมนตรี สมกับเป็นรัฐบุรุษ สมกับเป็นอดีตนายกฯ สมกับเป็นชายชาติทหาร สมกับเป็นคนไทยที่มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
วีรภาพของพล.อ.เปรม ก็ตรงกับพุทธโอวาท 3 จะต้องขจัดความชั่วเสียก่อน จึงจะทำความดีได้อย่างเป็นจริง มิใช่ทำแบบเพ้อฝัน มีนัยแอบแฝง จิตใจไม่บริสุทธิ์ ชั่วก็ทำ ดีก็ทำ แล้วมันจะไปแก้ปัญหาอะไรได้ มีแต่แก้เพื่อจะได้แก้ต่อไปเรื่อยๆ เพราะแก้แต่ละครั้งมีงบประมาณเป็นแสนล้าน กระทั่งล้านล้าน
พรที่จะมอบให้กันแบบสร้างสรรค์ เอาสัจจะให้กัน มิใช่มุสาให้กัน มิใช่เพ้อละเมอไปวันๆ นั่นคือ...
“คิดดี พูดดี ทำดี
เป็นศรี เป็นพร สูงสุด
ไม่มี พรเทพ พรมนุษย์
เปรียบประดุจ ความดี ที่ทำเอง”
นั่นคือ...พระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน)
ตนแลเป็นที่พึ่งของตน สาธุๆๆ
ผ่องใสหมองเศร้า
น้ำใสเหมือนจิตผ่อง น้ำขุ่นเหมือนจิตหมอง จิตผ่อง จิตหมอง ขึ้นอยู่กับการรักษาจิต ถ้ารู้จักรักษาจิต จิตก็ผ่อง หากไม่รู้ จิตก็หมอง
“จิตหรือใจ-ใจหรือจิต” นี้ชอบนึกคิด หรือปรุงแต่งไปต่างๆ นานา
การรักษาจิต มีร้อยแปดพันเก้ามากมายหลายชนิด ขึ้นอยู่กับจริต หรืออุปนิสัยของแต่ละคน
“ดูกายเคลื่อนไหว-ดูใจนึกคิด” นี่ก็เป็นอีกแบบหนึ่งที่นิยมกัน
การเคลื่อนไหว-ให้รู้สึก ใจนึกคิด-ให้รู้สึก เป็นอย่างไร จิตนิ่งหรือไม่ จิตรวมหรือไม่ (นี่คือรู้ทันตน-รู้ทันกายใจ) สิ่งนี้ต้องทำเอง แล้วก็จะเห็นเอง
หรือดูลมหายใจ-เข้าออก เข้า-พุท ออก-โธ จนกระทั่งพุทโธหาย ความสงบ หรือความเป็นหนึ่งเดียวก็เกิดขึ้น นั่นคือจิตผ่องใสซึ่งเป็นข้อ 3 ของพุทธโอวาท
จิตผ่อง-จิตหมอง หากจะเปรียบต่อไป จิตหมองเหมือนหลับยืน จิตผ่องเหมือนตื่นรู้
หลับยืนตื่นรู้ คือสองด้านของชีวิต เหมือนสองด้านของเหรียญอันเดียวกัน
การรักษาจิต ก็คือการทำให้จิตผ่องใสที่สุด เพราะจิตผ่องใสคือปัญญา ย่อมมีคุณค่ามากกว่าจิตหมองอวิชชา
อยู่ที่ตัวเรา
แน่นอน...ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่ตัวเรา ดีหรือชั่ว เหนือดีเหนือชั่ว อยู่ที่ตัวเรา การมัวแต่ไปโทษคนอื่น สิ่งอื่น แสดงว่าเราไม่เป็นตัวของตัวเอง
ทรงเจ้าเข้าผี หรือหมอดูหมอเดา คนพวกนี้ดูคนออก ว่าคนอย่างไร จึงจะตกมาเป็นเหยื่อของเขา กิจการขุดบ่อหล่อปลาของคนพวกนี้ จึงเจริญรุ่งเรือง มีเงินมีทองไหลมาไม่ขาดสาย จากคนไม่เป็นตัวของตัวเอง คอยพึ่งแต่คนอื่น การรู้จักตัวเอง จึงเป็นที่พึ่งอันสุดยอดของยอดคน
จะเอาอย่างไร
ปีใหม่ทั้งที ถ้ามันไม่ดี ก็ควรจะเปลี่ยนชีวิตใหม่ ชีวิตใคร ชีวิตมัน ไม่มีใครหรือสิ่งใดทำแทนกันได้ ของฟรีไม่มี ไม่ว่าโลกนี้หรือโลกไหน
โลกคือหลาย ธรรมคือหนึ่ง...โลกกับธรรมอยู่ด้วยกัน คนเราเข้าใจโลก ยิ่งกว่าธรรม (จำเป็นต้องตอกย้ำธรรมบ่อยๆ เบื่อบ้างก็ทนหน่อย)
ความหมายของธรรม คืออะไรกันแน่?
ธรรมนิยาม 3 คือกำหนดแห่งธรรมดา หรือความเป็นไปอันแน่นอนโดยธรรมดา หรือกฎธรรมชาติ
1. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา-สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวง ไม่เที่ยง
2. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา-สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวง เป็นทุกข์
3. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา-ธรรมคือสังขตธรรม และอสังขตธรรม หรือสังขาร และวิสังขารทั้งปวง ไม่ใช่ตน
หลักความจริงนี้ แสดงให้เห็นลักษณะ 3 อย่างที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ของสภาวธรรมทั้งหลาย พระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม หลักทั้ง 3 นี้ก็คงมีอยู่เป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าเป็นแต่ทรงค้นพบ และนำมาเปิดเผยแสดงแก่เวไนยสัตว์
จะเอาอย่างไร ก็ว่ามา ผ่องใสหรือหมองเศร้า บาปหรือบุญ ชั่วหรือดี ขี้โกงหรือโปร่งใส หลับยืนหรือตื่นรู้ ฯลฯ
ปีใหม่ทั้งที ให้มันมีคุณค่าบ้าง ในฐานะที่โชคดีได้เกิดมาเป็นคน พบกับพุทธธรรม
“ปีเก่าปีใหม่
ผ่องใสหมองเศร้า
อยู่ที่ตัวเรา
จะเอาอย่างไร”
ในฐานเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ขออวยพรให้มีความสุขความเจริญกับการ...
“ดูตน เห็นตน เห็นธรรม”
ด้วยกันทุกคนทุกท่าน-เทอญ
ประเพณียอดฮิตที่นิยมกันทั่วโลก คือ...ประเพณีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ แต่ละแห่งแหล่งที่ก็แตกต่างกันไป โดยเฉพาะสยามไทยแลนด์ ถือว่าวันนี้เป็นวัน “ปล่อยผี” กันทีเดียว คือปล่อยให้ทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ ขอให้มีความสุขสนุกสนานเต็มที่ฟรีสไตล์ เพื่อความสุขของประชาชนที่ไม่ต้องเปลืองงบประมาณแผ่นดิน
ปีเก่าปีใหม่
บางคนเอาปีเก่าเป็นบทเรียน แล้วเปลี่ยนชีวิตใหม่ในวันปีใหม่ บางคนไม่ว่าปีเก่าปีใหม่ ก็เหมือนเดิม อาจจะชั่วเหมือนเดิม หรือดีเหมือนเดิมก็ว่ากันไป ตามวิถีชีวิตของแต่ละคน
ประเพณีปีใหม่ นอกจากจะสนุกสนานรื่นเริงบันเทิงใจแล้ว ยังมีการอวยพรให้กันและกัน อาจจะมอบของขวัญ ส.ค.ส.หรือคำสวยในเฟซบุ๊กแอนด์ไลน์ ในยุคสังคมก้มหน้า ดูได้ดูดีจนลืมดูตัวเอง
คำอวยพรที่นิยมกันมีหลายชุด ชุดที่มีจำนวน 4 ข้อเรียกว่า จตุรพิธพร หรือพร 4 ประการคือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ
พรที่เป็นชุดจำนวน 5 ข้อบ้างคือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ
จำนวน 6 ข้อบ้างคือ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สุขะ พละ เป็นต้น
แต่ปัจจุบันก็เปลี่ยนไปตามสมัยนิยมต่างๆ นานาเกินกว่าจะบรรยาย
คำว่า “พร” คือสิ่งที่น่าปรารถนาที่บุคคลหนึ่งอำนวยให้ หรือแสดงความประสงค์ด้วยความปรารถนาดีให้เกิดมีขึ้นแก่บุคคลอื่น
พร คือสิ่งประเสริฐ หรือสิ่งดีเยี่ยม
สิ่งประเสริฐหรือสิ่งดีเยี่ยม ที่จะมอบให้กันและกันนั้น จะมีอะไรดีเลิศประเสริฐศรีไปกว่า “ธรรมะ” (Dhamma) โดยเฉพาะหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีมากมายมหาศาล ครอบคลุมจักรวาล แต่ก็ประมวลไว้สั้นๆ เพียง 3 ข้อใน “พุทธโอวาท 3”
พุทธโอวาท 3 คือ ประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักใหญ่ 3 ข้อได้แก่...
1. สพฺพปาปสฺส อกรณํ คือไม่ทำความชั่วทั้งปวง
2. กุสลสฺสูปสมฺปทา คือทำแต่ความดี
3. สจิตฺตปริโยทปนํ คือทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์
(หลัก 3 ข้อนี้ รวมอยู่ในโอวาทปาฏิโมกข์ ที่ทรงแสดงในวันเพ็ญเดือน 3 ที่บัดนี้เรียกว่า วันมาฆบูชา)
การอำนวยอวยพรใดๆ หากนำธรรม 3 ข้อนี้อวยพรให้กันและกัน และนำไปปฏิบัติจริง ก็จะเกิดแต่ความสุขความเจริญ ทั้งแก่ตนเองและสังคมส่วนรวม
ตามธรรมดา เวลาจะปลูกพืชต่างๆ จำเป็นต้องปรับพื้นที่ คือกำจัดวัชพืชที่ก่อให้เกิดความรกเรื้ออันไม่พึงปรารถนาออกไปเสียก่อน แล้วค่อยปลูกพืชต่างๆ ที่ปรารถนาลงไป พืชจึงจะเกิดและเจริญงอกงามได้
วัชพืช เปรียบเหมือนความชั่ว
พืชมีประโยชน์ เปรียบเหมือนความดี
การทำความดี ต้องขจัดความชั่วให้หมดสิ้นไปเสียก่อน
ไม่ใช่ชั่วก็ทำ ดีก็ทำ อย่างที่คนมักง่าย หรือคนมีเล่ห์เหลี่ยมทำกัน ซึ่งไม่ตรงหลักความจริง ไม่ตรงหลักพุทธโอวาท (ข้อ 1 และข้อ 2)
ดังนั้น ต้องทำตามธรรมชาติ หรือตามหลักพุทธโอวาทข้อ 1 (ละชั่ว) ข้อ 2 (ทำดี) แล้วจิตใจก็มีโอกาสขาวสะอาดได้ตามข้อ 3
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์ปัจจุบัน ทรงประกาศชัดเจนในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 5 พฤษภาคม 2493 ที่เรียกว่า ปฐมบรมราชโองการว่า...
“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
นับตั้งแต่วันขึ้นครองราชย์ตราบเท่าปัจจุบัน พระองค์ยังทรงธรรม คือทรงทำแต่ความดี เพื่อปวงประชาชนในแผ่นดิน เราในฐานะพสกนิกร ก็ควรเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ด้วยการทำความดี หรือทำหน้าที่อย่างเป็นธรรม จึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระองค์อย่างแท้จริง
พระบรมราโชวาทที่โด่งดัง และอ้างอิงมากที่สุดคือ...
“ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดี และคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุข เรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”
พระบรมราโชวาท ดังกล่าว ตรงกับพุทธโอวาท 3 คือไม่ทำความชั่ว ให้ทำแต่ความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์
เมื่อคนชั่วไม่สามารถที่จะเปลี่ยนให้เป็นคนดีได้ ก็ต้องควบคุมได้ อย่าให้มีอำนาจ เพราะมีอำนาจเมื่อไหร่ ก็จะก่อความวุ่นวายเดือดร้อน ด้วยการคอร์รัปชันทุกรูปแบบ
ท่านพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ท่านกล่าวว่า...
“...คอร์รัปชันแปลว่า การฉ้อราษฎร์บังหลวง แต่ในทัศนะของตน ขอแปลว่า...การปล้นชาติ คนไทยทุกคนถูกปล้นอยู่ตลอดเวลา ทุกวัน คอร์รัปชันลุกลามใหญ่โตไปถึงขั้นมีการทุจริตเชิงนโยบาย กัดกร่อนโครงสร้างเศรษฐกิจ โครงสร้างสังคมไทยมาตลอด
พวกเราต้องไม่ยอมให้คนไม่ดี มานั่งปล้นชาติเราทุกวันๆ ฉะนั้นต้องหาทางกำจัดตัวเวรและตัวน่ารังเกียจให้หมดไปจากประเทศของเราให้ได้
เมื่อใดประเทศของเราประกอบด้วย ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ องค์กรทุกภาคส่วน มีการแสดงออกชัดเจน ตรงไปตรงมา มีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ มีการประพฤติปฏิบัติตั้งอยู่ในความสุจริต มีจิตสำนึกหน้าที่ สามารถตรวจสอบและชี้แจงได้ เมื่อนั้นเราจะประสบผลสำเร็จ...”
นั่นคือ บางส่วนที่ท่านพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ท่านพูดในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (8 ธันวาคม 2558) อย่างองอาจกล้าหาญ ท่านเป็นคนจริง กล้าประกาศว่าเกลียดคอร์รัปชันที่สุด และจะต่อสู้ให้ถึงที่สุดสมกับเป็นประธานองคมนตรี สมกับเป็นรัฐบุรุษ สมกับเป็นอดีตนายกฯ สมกับเป็นชายชาติทหาร สมกับเป็นคนไทยที่มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
วีรภาพของพล.อ.เปรม ก็ตรงกับพุทธโอวาท 3 จะต้องขจัดความชั่วเสียก่อน จึงจะทำความดีได้อย่างเป็นจริง มิใช่ทำแบบเพ้อฝัน มีนัยแอบแฝง จิตใจไม่บริสุทธิ์ ชั่วก็ทำ ดีก็ทำ แล้วมันจะไปแก้ปัญหาอะไรได้ มีแต่แก้เพื่อจะได้แก้ต่อไปเรื่อยๆ เพราะแก้แต่ละครั้งมีงบประมาณเป็นแสนล้าน กระทั่งล้านล้าน
พรที่จะมอบให้กันแบบสร้างสรรค์ เอาสัจจะให้กัน มิใช่มุสาให้กัน มิใช่เพ้อละเมอไปวันๆ นั่นคือ...
“คิดดี พูดดี ทำดี
เป็นศรี เป็นพร สูงสุด
ไม่มี พรเทพ พรมนุษย์
เปรียบประดุจ ความดี ที่ทำเอง”
นั่นคือ...พระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน)
ตนแลเป็นที่พึ่งของตน สาธุๆๆ
ผ่องใสหมองเศร้า
น้ำใสเหมือนจิตผ่อง น้ำขุ่นเหมือนจิตหมอง จิตผ่อง จิตหมอง ขึ้นอยู่กับการรักษาจิต ถ้ารู้จักรักษาจิต จิตก็ผ่อง หากไม่รู้ จิตก็หมอง
“จิตหรือใจ-ใจหรือจิต” นี้ชอบนึกคิด หรือปรุงแต่งไปต่างๆ นานา
การรักษาจิต มีร้อยแปดพันเก้ามากมายหลายชนิด ขึ้นอยู่กับจริต หรืออุปนิสัยของแต่ละคน
“ดูกายเคลื่อนไหว-ดูใจนึกคิด” นี่ก็เป็นอีกแบบหนึ่งที่นิยมกัน
การเคลื่อนไหว-ให้รู้สึก ใจนึกคิด-ให้รู้สึก เป็นอย่างไร จิตนิ่งหรือไม่ จิตรวมหรือไม่ (นี่คือรู้ทันตน-รู้ทันกายใจ) สิ่งนี้ต้องทำเอง แล้วก็จะเห็นเอง
หรือดูลมหายใจ-เข้าออก เข้า-พุท ออก-โธ จนกระทั่งพุทโธหาย ความสงบ หรือความเป็นหนึ่งเดียวก็เกิดขึ้น นั่นคือจิตผ่องใสซึ่งเป็นข้อ 3 ของพุทธโอวาท
จิตผ่อง-จิตหมอง หากจะเปรียบต่อไป จิตหมองเหมือนหลับยืน จิตผ่องเหมือนตื่นรู้
หลับยืนตื่นรู้ คือสองด้านของชีวิต เหมือนสองด้านของเหรียญอันเดียวกัน
การรักษาจิต ก็คือการทำให้จิตผ่องใสที่สุด เพราะจิตผ่องใสคือปัญญา ย่อมมีคุณค่ามากกว่าจิตหมองอวิชชา
อยู่ที่ตัวเรา
แน่นอน...ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่ตัวเรา ดีหรือชั่ว เหนือดีเหนือชั่ว อยู่ที่ตัวเรา การมัวแต่ไปโทษคนอื่น สิ่งอื่น แสดงว่าเราไม่เป็นตัวของตัวเอง
ทรงเจ้าเข้าผี หรือหมอดูหมอเดา คนพวกนี้ดูคนออก ว่าคนอย่างไร จึงจะตกมาเป็นเหยื่อของเขา กิจการขุดบ่อหล่อปลาของคนพวกนี้ จึงเจริญรุ่งเรือง มีเงินมีทองไหลมาไม่ขาดสาย จากคนไม่เป็นตัวของตัวเอง คอยพึ่งแต่คนอื่น การรู้จักตัวเอง จึงเป็นที่พึ่งอันสุดยอดของยอดคน
จะเอาอย่างไร
ปีใหม่ทั้งที ถ้ามันไม่ดี ก็ควรจะเปลี่ยนชีวิตใหม่ ชีวิตใคร ชีวิตมัน ไม่มีใครหรือสิ่งใดทำแทนกันได้ ของฟรีไม่มี ไม่ว่าโลกนี้หรือโลกไหน
โลกคือหลาย ธรรมคือหนึ่ง...โลกกับธรรมอยู่ด้วยกัน คนเราเข้าใจโลก ยิ่งกว่าธรรม (จำเป็นต้องตอกย้ำธรรมบ่อยๆ เบื่อบ้างก็ทนหน่อย)
ความหมายของธรรม คืออะไรกันแน่?
ธรรมนิยาม 3 คือกำหนดแห่งธรรมดา หรือความเป็นไปอันแน่นอนโดยธรรมดา หรือกฎธรรมชาติ
1. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา-สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวง ไม่เที่ยง
2. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา-สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวง เป็นทุกข์
3. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา-ธรรมคือสังขตธรรม และอสังขตธรรม หรือสังขาร และวิสังขารทั้งปวง ไม่ใช่ตน
หลักความจริงนี้ แสดงให้เห็นลักษณะ 3 อย่างที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ของสภาวธรรมทั้งหลาย พระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม หลักทั้ง 3 นี้ก็คงมีอยู่เป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าเป็นแต่ทรงค้นพบ และนำมาเปิดเผยแสดงแก่เวไนยสัตว์
จะเอาอย่างไร ก็ว่ามา ผ่องใสหรือหมองเศร้า บาปหรือบุญ ชั่วหรือดี ขี้โกงหรือโปร่งใส หลับยืนหรือตื่นรู้ ฯลฯ
ปีใหม่ทั้งที ให้มันมีคุณค่าบ้าง ในฐานะที่โชคดีได้เกิดมาเป็นคน พบกับพุทธธรรม
“ปีเก่าปีใหม่
ผ่องใสหมองเศร้า
อยู่ที่ตัวเรา
จะเอาอย่างไร”
ในฐานเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ขออวยพรให้มีความสุขความเจริญกับการ...
“ดูตน เห็นตน เห็นธรรม”
ด้วยกันทุกคนทุกท่าน-เทอญ