“หยุดคอร์รัปชัน หยุดทำร้ายประเทศไทย New1 ร่วมรณรงค์”
นั่นคือ แคมเปญ (Campaign) ของ ASTV หรือ New1 ที่เข้าใจง่าย เห็นภาพชัด-ตรง และดำรงคงอยู่มานาน ซึ่งมีทั้งผู้เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย
ผู้เห็นด้วย คือผู้รักชาติบ้านเมือง ไม่อยากให้บ้านเมืองวอดวาย
ส่วนผู้ไม่เห็นด้วย ไม่อยากให้หยุดคอร์รัปชัน อยากให้คอร์รัปชันจงเจริญ เพราะคอร์รัปชันคือสวรรค์ของพวกเขา ทำให้พวกเขากลายเป็นเศรษฐีในชั่วพริบตาเดียว ขณะมีอำนาจครองบ้านครองเมือง
หยุดคอร์รัปชัน
คำว่า “หยุด” คำเดียว-เสียงเดียว ทำให้คนเรากลายเป็นอรหันต์ก็ได้ เช่น องคุลิมาล เป็นต้น
“คอร์รัปชัน-Corruption” คือการฉ้อราษฎร์บังหลวง กินสินบน รับผลประโยชน์ที่มิชอบจากเจ้าหน้าที่การงาน
“ทุจริต” คือการประพฤติชั่ว ไม่ซื่อตรง โกง ฉ้อโกง
“คอมมิสชัน-Commission” คือค่านายหน้า เปอร์เซ็นต์ในการซื้อขาย
“กินตามน้ำ” คือฉวยโอกาสผสมผเส การฉ้อราษฎร์บังหลวงไปกับการทำงานตามหน้าที่
“ใต้โต๊ะ” การให้สินบน เพื่อให้ใช้ตำแหน่งหน้าที่ช่วยเหลือ
“เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง” หาผลประโยชน์มิชอบจากงานที่ทำ
“ปากว่าตาขยิบ” พูดอย่างหนึ่ง แต่แสดงนัยให้ทำอีกอย่างหนึ่ง ปากกับใจไม่ตรงกัน
“ลูบหน้าปะจมูก” กระทำอะไรให้เด็ดขาดมิได้ เพราะเกรงใจผู้เกี่ยวข้อง
“ระบบอุปถัมภ์” ไม่ฆ่าน้อง ไม่ฟ้องนาย ไม่ขายเพื่อน...นกมีขน คนมีพวก...เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
“มือถือสาก ปากถือศีล” คนทำชั่ว ที่ปากพร่ำพูดแต่ความดี
“ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง” ว่ากล่าวสั่งสอนหรือติเตียนผู้อื่น แต่ตัวกลับทำเสียเอง
ฯลฯ
ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ รวมอยู่ในคำว่า “คอร์รัปชัน” คำเดียวที่เราต้องหยุดมันให้ได้ เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน “หยุดคอร์รัปชัน” ผู้ใดละเมิดโทษสูงสุดประหารชีวิต รองลงมาจำคุกตลอดชีวิต หมดสิทธิทางการเมือง และรับราชการตลอดชีวิต ยึดทรัพย์สินเข้ารัฐ คดีไม่มีอายุความ ประชาชนทุกคนมีสิทธิฟ้องร้องได้ด้วยตนเอง ฯลฯ
ทำไมต้องหยุดและโทษรุนแรงปานนั้น?
เพราะมันเป็นภัยทำร้ายทำลายชาติบ้านเมืองให้ฉิบหายวายวอด!
แล้วจะทำหรือแก้ปัญหาอย่างไร?
การแก้ปัญหามีร้อยแปดพันเก้าวิธี แก้ให้ตรงจุดที่สุดคือ... “เหตุเกิดที่ไหน-แก้ไขที่นั่น”... “ไฟไหม้ที่ไหน-ดับที่นั่น”... “ทุกข์เกิดที่ไหน-ดับทุกข์ที่นั่น”
เป็นการแก้แบบถอนรากถอนโคน (ปฏิวัติ!)
กล้าหรือเปล่า?
ถ้าใจไม่ถึง ไม่กล้าพอ ก็ค่อยๆ ปรับปรุงไป ซ่อมนิดซ่อมหน่อยพออยู่ได้ และจะได้มีงานแก้ไปเรื่อยๆ (ปฏิรูป)
นายธารินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ของไทย เสนอแนะการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน ด้วยจดหมายถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของไทย และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า... “สาเหตุที่ทำให้การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ไม่มีประสิทธิประภาพ เพราะได้ให้โอกาสกับนักการเมืองที่เคยกระทำความผิดในตำแหน่งกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งหลังพ้นกำหนด 5 ปี โดยไม่ควรให้โอกาสคนเหล่านี้กลับมากระทำผิดอีก ไม่ว่าจะเคยประกอบคุณงามความดีมากน้อยเพียงใดก็ตาม และหนุนให้มีการปฏิรูปเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน เรียกร้องทรัพย์สินคืนเพื่อไม่ให้คนทุจริตหนีไปใช้ชีวิตต่างประเทศ พร้อมทรัพย์สินที่กอบโกยไป”
นั่นเป็นผู้ใหญ่ที่กล้าคิดกล้าพูดอันเป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง
ปัญหาคอร์รัปชันเกิดจากนักการเมืองชั่ว และข้าราชการเลวสมคบกัน นักการเมืองเป็นหัว ข้าราชการเป็นหาง ถ้าหัวไม่ส่าย หางก็ไม่กระดิก คือ ถ้าหัวหน้าไม่กระทำชั่ว ลูกน้องก็ไม่กล้าทำชั่วเช่นกัน
ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ ท่านบอกว่า “การเมืองคือธรรมะ” เมื่อการเมืองไม่ยอมเป็นธรรมะ การเมืองจึงเป็นปัญหา นั่นคือปัญหาคอร์รัปชัน หรือปัญหาการเมืองไม่มีธรรมะ”
1. คนไม่เข้าใจว่า การเมืองคือธรรมะ
2. คนทั่วไปเห็นว่า การเมืองกับธรรมะเข้ากันไม่ได้
3. คนต้องการประโยชน์ตนก่อนสันติภาพ หรือสันติสุข
4. คนต้องการแต่ความสุขทางวัตถุ ทางรูปธรรม
5. มีความรู้สึกตรงกันหมดว่า สันติภาพคือโลกอยู่ใต้อำนาจ
6. นักการเมืองถือหลักประโยชน์ตนหรือประเทศเป็นอันเดียวกัน
7. นักการเมืองไม่ประกอบด้วยธรรม แต่เป็นการเมืองที่กำลังมีอยู่ในโลกเต็มไปทั้งโลกครอบงำโลกอยู่
8. เกิดคนประเภทนายทุน เพราะเป็นทาสเงิน
9. โรคบูชาเงินเกิดขึ้น จึงเกิดโรคคอร์รัปชัน
10. มีการคุมพวกเพื่อครองเมืองเป็นสมัยนิยม (แฟชั่น)
11. ถือกันว่า สามารถใช้อำนาจได้ นั่นคือธรรม
12. การศึกษาตกเป็นทาสของการแสวงหาประโยชน์ทางเนื้อหนัง
13. ไม่มีใครยอมรับว่า เกิดมาเพื่อรับใช้พระเจ้า
14. ถือดังข้อ 13 จิตจึงเปลี่ยนมุ่งแต่ กาม กิน เกียรติ
15. เมื่อแยกตนจากธรรม ก็เหยียดศาสนา
16. ความต้องการทางการเมือง อยู่เหนือเหตุผลใดๆ
17. การเมืองยุคนี้ อยู่ใต้ฝ่าเท้าของกิเลส
18. การเมืองของประเทศเล็ก เป็นสุนัขรับใช้ประเทศใหญ่
19. ระบบประชาธิปไตยก็เกิดปัญหา
20. โลกนี้มีแต่ประชาธิปไตยกอบโกย ไม่มีเมตตากรุณา
หลักการแก้ปัญหาที่จะให้การเมืองมีธรรม ที่จะให้นักการเมืองหยุดคอร์รัปชัน ต้องทำอย่างตรงข้ามกับ 20 ข้อข้างต้น
1. ให้ทุกคนยอมรับว่า การเมืองคือศีลธรรม-ศีลธรรมคือการเมือง
2. ธรรมกับการเมือง ต้องอยู่ด้วยกัน
3. ต้องถืออุดมคติของพระโพธิสัตว์-ผู้อื่นก่อนตน
4. ต้องพัฒนาจิตใจคน ไม่ให้หลงความสุขทางวัตถุ
5. สันติภาพ ต้องเป็นไปตามหลักศาสนา
6. ธรรมะคือประโยชน์แท้จริง ที่ควรจะได้
7. ไม่ให้การเมืองเป็นไปตามอำนาจกิเลสของตน
8. อำนาจสูงสุดต้องเป็นความถูกต้อง
9. ไม่มีคอร์รัปชัน
10. ไม่มีการคุมพวกเข้าครองเมือง
11. ไม่ใช้อำนาจเป็นธรรม แต่ใช้ธรรมะ
12. การศึกษาต้องทำให้คนเข้าถึงธรรม
13. คนต้องยอมรับว่า เกิดมาเพื่อรับใช้พระเจ้า หรือศาสนา
14. ไม่เป็นทาสทางวัตถุ ไม่บูชากาม กิน เกียรติ
15. ศาสนาไม่ถูกใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมืองสกปรก
16. ไม่ให้นักการเมืองมีกิเลสอยู่เหนือกฎหมาย
17. คนต้องยอมรับว่า พระเจ้าเป็นยอดสุดของนักการเมือง
18. ประเทศเล็ก ไม่เป็นสุนัขรับใช้ประเทศมหาอำนาจ
19. ต้องมีวิญญาณประชาธิปไตยแท้จริง
20. มีประชาธิปไตยตามธรรมชาติกำหนด
...(พุทธทาสภิกขุ, ธรรมะกับนักการเมือง, ธรรมทานมูลนิธิ-จัดพิมพ์)
ฟังปรมาจารย์ทางธรรมะแล้ว มาฟังปรมาจารย์ทางกวีอย่าง...อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กันบ้าง...
“การเมืองไม่ใช่เรื่องธุรกิจ
การเมืองไม่ใช่คิดแต่จะได้
การเมืองไม่ใช่การค้ากำไร
การเมืองไม่ใช่ใช้แต่เกมกล
การเมืองไม่ใช่บ้าแต่อำนาจ
การเมืองไม่ใช่ศาสตร์แห่งเหตุผล
การเมืองไม่ใช่การกดขี่คน
การเมืองไม่ใช่ตนใหญ่คนเดียว
การเมืองไม่ใช่เรื่องของการเล่น
การเมืองไม่ใช่เข่นกันด้วยเขี้ยว
การเมืองไม่ใช่ตามกันกรูเกรียว
การเมืองไม่ใช่เลี้ยวไปลงคู
การเมืองเป็นเรื่องการเสียสละ
การเมืองคือภาระของทุกผู้
การเมืองเรื่องส่วนรวมร่วมรับรู้
การเมืองต้องต่อสู้เพื่อส่วนรวม
การเมืองต้องมีธรรมเป็นเข็มทิศ
การเมืองต้องมีจิตสำนึกร่วม
การเมืองต้องโปร่งใสไม่กำกวม
การเมืองต้องท้นท่วมศรัทธาอุทิศ
การเมืองต้องเคารพความเห็นต่าง
การเมืองต้องสวรรค์สร้างเสรีสิทธิ์
การเมืองคืออำนาจขจัดพิษ
การเมืองคือชีวิตประชาชน!”
นี่คือสัจจะที่นักการเมือง ข้าราชการ ประชาชน ต้องรู้ต้องเข้าใจว่า...การเมืองดำเป็นอย่างไร การเมืองขาวเป็นอย่างไร การเมืองชั่วต้องขจัด การเมืองดีต้องส่งเสริม อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ แจกแจงไว้รอบด้านเป็นกระจกวิเศษส่องนักการเมืองได้เด่นชัด หน้าดำ หน้าขาว มุมมืด มุมแจ้งได้อย่างแทงทะลุ
ฟังผู้รู้มา 3 ท่านแล้ว ลองมาฟังตาสีตาสาตามบ้านนอกคอกนาอย่าง... “ปู่ชรา ตาชะแรแห่งโคกหนองนาไตร” กันบ้าง...
“การแก้ปัญหาคอร์รัปชัน มันก็เหมือนกับการแก้ปัญหาอื่นๆ นั่นแหละ (เพียงแต่มันหนักกว่า) คือแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา อาศัยหลักอิทัปปัจจยตา...
เมื่อมีเหตุ ก็ย่อมมีผล
เมื่อไร้เหตุ ก็ย่อมไร้ผล
เหตุอย่างใด ผลอย่างนั้น
เหตุเกิด ผลเกิด
เหตุดับ ผลดับ
เหตุดี ผลดี
เหตุชั่ว ผลชั่ว
ฯลฯ
(เหตุโกง ผลคุก ก็สมเหตุสมผลดีแล้ว จะร้องแรกแหกกระเชอไปไย หัดอายลูกอายหลานมันบ้าง...55555)
มหันตภัยร้าย
คอร์รัปชัน หากเปรียบเป็นโรคก็ระดับมะเร็งตายลูกเดียว
คนขี้โกง หรือคนคอร์รัปชันเป็นคนประเภทไม่เชื่อธรรมะ ไม่เชื่อศรัทธา 4 แต่เชื่อศรัทธางมงาย จึงมีวิถีชีวิตแบบ “หายใจเข้าโกง-หายใจออกโกง” เป็นคนไม่รู้อิ่มรู้พอ มีโลภะทุกขณะจิต ไม่รู้จักส่วนรวม รู้จักแต่ส่วนตน
ศรัทธา 4 คือความเชื่อแบบปัญญา ประกอบด้วยเหตุผล ได้แก่...
1. กัมมสัทธา คือเชื่อกรรม เชื่อการกระทำ เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือเชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือจงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือเป็นความดีความชั่วมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และเชื่อว่าผลที่ต้องการจะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอน หรือนอนคอยโชค เป็นต้น
2. วิปากสัทธา คือเชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือเชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วต้องมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว
3. กัมมัสสกตาสัทธา คือเชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบากเป็นไปตามกรรมของตน
4. ตถาคตโพธิสัทธา คือเชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์คือเราทุกคนนี้ หากฝึกฝนด้วยดี ก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญไว้เป็นแบบอย่าง
...(พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พระพรหมคุณาภรณ์-ป.อ.ปยุตฺโต)
ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล 4 ประการนี้ เป็นความเชื่อแบบมีปัญญา เกิดขึ้นแก่บุคคลใด สังคมใด ก็จะมีแต่ความสุขความเจริญ รักธรรม ชอบธรรมอายชั่ยว กลัวบาป ในทางตรงข้าม หากบุคคลใด สังคมใด ไม่เชื่อศรัทธา 4 นี้ ไปเชื่อศรัทธาอย่างอื่น ก็จะตกเป็นเหยื่อเป็นทาสเข้าสู่อบายภูมิ เอาแต่หลับยืนยากที่จะตื่นรู้ ดังที่ผู้คอร์รัปชันทั้งหลายลุ่มหลงทนงตนอยู่
ผู้คอร์รัปชัน ยิ่งมีอำนาจมากเท่าไร มหันตภัยร้าย ก็ยิ่งมากแก่ชาติบ้านเมืองเท่านั้น
บ้านเมืองวอดวาย
ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จะไม่กล้าพูดเสียงดังว่า คอร์รัปชันเป็นเรื่องธรรมดา ใครๆ ก็โกงทั้งนั้น
ถ้ามีโอกาส แต่ปัจจุบันคอร์รัปชันกำลังจะกลายเป็นเรื่องธรรมดา ผู้คนพูดดัง เขียนชัดมากขึ้นๆ ชนิดไม่อายฟ้าดิน ตั้งแต่ระดับสูงสุดลงมาถึงระดับต่ำสุดชาวบ้านธรรมดา อย่างกรณีเงินกู้หมู่บ้านละล้านบาท เขาถือว่าเป็นเงินให้เปล่า ใครไม่เอาก็โง่ เป็นหนี้แล้ว ไม่ใช้คืน แล้วไง เดี๋ยวก็กลายเป็นหนี้สูญ เงินตกมาใหม่ก็กู้ใหม่ เป็นหนี้ไปเรื่อยๆ หนีไป ตายไป ก็จบ มันก็เหมือนได้เงินฟรีๆ อยู่นั่นเอง
จะโทษใคร...ใครเป็นตัวอย่างไม่ดี ใครสามารถโกงได้เป็นหมื่นล้านแสนล้านกระทั่งล้านล้าน ฉันโกงบ้างทีละพันทีละหมื่น ตื่นเต้นอะไร ก็เงินภาษีของฉันเหมือนกัน...(ชาวบ้านพูดดังๆ)
ไม่ว่าจะเป็นสูง-กลาง-ต่ำ ก็เอาเงินภาษีจากประชาชนทุกคนของคนทั้งชาติ ไปโกงกินกันทั้งนั้น ถ้าปล่อยให้เป็นไปเช่นนี้ บ้านเมืองประเทศชาติ อาจถึงวาระวอดวายสูญสิ้นแผ่นดินไทยแน่นอน
ก็รู้อยู่ว่า “คอร์รัปชัน” มันสุดอันตราย แต่ไม่กล้าแก้กล้าหยุดอย่างจริงจัง หรือมันมีอะไรที่ลึกลับซับซ้อนอยู่ จึงได้ทำแบบขอไปทีให้มันเสร็จๆ พ้นๆ ไป พอเอาตัวรอดได้เช่นนั้นหรือ?
คนเราสมาทานศีลแทบทุกวัน คือรับเอาศีลมาเป็นข้อปฏิบัติ แต่ก็โกหกทุกวันเช่นกัน เพราะปฏิบัติสักข้อก็ไม่ได้ อย่างเช่นศีล 5 เป็นต้น
ศีล 5 หรือเบญจศีล คือข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว เป็นการควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียน ได้แก่...
1. เว้นจากการปลงชีวิต
2. เว้นจากการลัก หรือการโกง
3. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4. เว้นจากการพูดเท็จ โกหก หลอกลวง
5. เว้นจากการดื่มน้ำเมา หรือสิ่งเสพติดให้โทษ
การที่จะเว้นจากความชั่ว 5 อย่างนี้ได้ จะต้องมีธรรมอันดี 5 อย่างที่เรียกว่า เบญจะธรรม ได้แก่...
1. เมตตาและกรุณา คือความรักใคร่ปรารถนาให้มีความสุขความเจริญ และความสงสาร คิดช่วยเหลือให้พ้นทุกข์คู่กับศีลข้อ 1
2. สัมมาอาชีวะ คือการหาเลี้ยงชีพในทางสุจริตคู่กับศีลข้อ 2
3. กามสังวร คือความสังวรในกาม สำรวมระวัง รู้จักยับยั้งควบคุมตนในทางกามารมณ์ ไม่ให้หลงใหลในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส คู่กับศีลข้อ 3
4. สัจจะ คือความสัตย์ ความซื่อตรง คู่กับศีลข้อ 4
5. สติสัมปชัญญะ คือความระลึกได้ และรู้ตัวอยู่เสมอ คือฝึกตนให้เป็นคนรู้จักยั้งคิด รู้สึกตัวเสมอว่า สิ่งใดควรทำ และไม่ควรทำ ระวังมิให้เป็นคนมัวเมาประมาท คู่กับศีลข้อ 5
ถ้าเป็นคนดีมีศีล (5) มีธรรม (5) จริงแท้ ก็จะเชื่อมั่นในศรัทธา 4 รู้จักอายชั่วกลัวบาป เรื่องคอร์รัปชันนอกจากจะไม่ชอบแล้ว ยังต่อต้านอีกด้วย เพราะมันทำลายสังคม รวมทั้งตัวเองด้วย
การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ชาติหนึ่ง ถือเป็นบุญวาสนา เป็นบารมีเก่าส่งมาเกิด เป็นผลจากที่เคยมีศีล 5 และกุศลกรรมบถสิบ
เมื่อเป็นมนุษย์แล้ว กลับจะมารักษาทุนเดิม (ศีล 5) ไม่ได้ เป็นเพราะอะไร ไม่กลัวกันบ้างหรือ?
ทาง 7 สายของมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ขอย้ำบ่อยๆ อาจจะทำให้บางคนหายจากหลับยืนได้บ้าง
1. ทางไปนรก ได้แก่ โทสะ
2. ทางไปเปรตและอสุรกาย ได้แก่ โลภะ
3. ทางไปเดรัจฉาย ได้แก่ โมหะ
4. ทางไปมนุษย์ ได้แก่ ศีล 5 และกุศลกรรมบถ 10
5. ทางไปสวรรค์ ได้แก่ มหากุศล 8
6. ทางไปพรหมโลก ได้แก่ สมถกรรมฐาน
7. ทางไปนิพพาน ได้แก่ วิปัสสนากรรมฐาน
ถ้ารักษาศีล 5 และกุศลกรรมบถ 10 ไม่ได้ ทางที่จะต้องไป (ก่อนตายและหลังตาย) คือ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาย ต่อให้ทำบุญ เมาบุญ ศรัทธางมงายอย่างไร ก็ไม่มีทางที่จะไปมนุษย์ สวรรค์ พรหมโลก นิพพาน อย่างแน่นอน
ถ้าไม่เชื่อ...ก็ดูตัวอย่างสิ ดูตัวเอง หรือดูคนอื่นก็ได้ แต่คนดูได้ต้องอยู่ในระดับสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น
ผู้คอร์รัปชันทั้งหลาย แม้ความเป็นมนุษย์ ท่านก็ไม่มีเลย ศีล 5 ท่านก็รักษาไม่ได้ กุศลกรรมบถ 10 (กายกรรม 3, วจีกรรม 4, มโนกรรม 3) ท่านก็รักษาไม่ได้ ท่านไม่ต่างอะไรกับนรก เปรต อสุรกาย และเดรัจฉาน เพราะท่านมีโทสะ โลภะ โมหะ เป็นเจ้าเรือน หรือนิสัยที่ตัดไม่ขาด บ้านเมืองจะวอดวาย ก็เพราะตัวท่านแท้ๆ
ชั่วร้ายครองเมือง
พจนานุกรมให้คำนิยายคำ “ชั่ว” ว่า...เลว, ทราม, ร้าย ส่วนคำ “ร้าย” ว่า...ชั่ว, ไม่ดี, อำมหิต
“ชั่วร้าย” จึงหมายถึง “คอร์รัปชัน” นั่นเอง
เมื่อคนระดับชั่วร้าย หรือ “คอร์รัปชัน” มีอำนาจวาสนา ได้ปกบ้านครองเมือง จึงเป็นยุคสมัยที่น่ากลัวมาก เพราะ “ผู้ดีเดินตรอก ขี้ครอกเดินถนน” ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ มีแต่จะทำให้บ้านเมืองวอดวาย
บ้านเมืองประเทศชาติมีปัญหามากมายที่ต้องรีบแก้ไข เราพยายามจะแก้ทุกปัญหาไปพร้อมๆ กัน ซึ่งในความเป็นจริง ยากที่จะเป็นไปได้
แต่ถ้าเรารู้ว่า ปัญหาสุดยอดของชาติบ้านเมืองคืออะไร แล้วเราทุ่มกำลังไปแก้ที่จุดนั้นก่อนเป็นเบื้องต้น จนสำเร็จแล้วปัญหาต่างๆ ก็จะทุเลาเบาบางลง หรือแก้ง่ายๆ ขึ้น เมื่อเห็นว่ารัฐเอาจริง
สุดยอดแห่งปัญหาที่ทำร้ายทำลายประเทศไทยมานมนาน กระทั่งปัจจุบันคือ...ปัญหาคอร์รัปชันที่แผ่กระจายไปทั่วแผ่นดินไทย แทรกซึมไปทุกหน่วยงาน มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหลวง มีเครือข่ายอยู่ทุกจังหวัดกระทั่งอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน โกงกินกันอย่างมันปาก เหมือนบ้านเมืองไม่มีขื่อมีแป ถ้าจัดการระดับบิ๊กๆ ใหญ่ๆ ได้ ระดับรองลงมา กลาง-เล็ก ก็จะขยาดหลาบจำไปเอง
การแก้ปัญหาคอร์รัปชันที่น่าเป็นห่วง คือเอาผู้คอร์รัปชันไปแก้คอร์รัปชันเสียเอง ถ้าเป็นเช่นนั้นมันก็เหมือนการส่งเสริมการคอร์รัปชันให้แข็งแกร่งเติบใหญ่ไพศาล กลายเป็นไฟลามทุ่ง บ้านเมืองวอดวายเร็วขึ้นเท่านั้นเอง เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือผู้ไปแก้ปัญหาคอร์รัปชัน จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
“แล้วคุณมีความเห็นอย่างไรกับปัญหาคอร์รัปชัน” หนึ่งเสียงดังขึ้นจากสภาประชาชน ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง
“หยุดคอร์รัปชัน
มหันตภัยร้าย
บ้านเมืองวอดวาย
ชั่วร้ายครองเมือง”
นั่นคือเสียงตอบ เป็น “กวีสี่แถว” จากผู้เฒ่าคนหนึ่ง แล้วสมาชิกสภาประชาชนแต่ละคน ก็ร่วมกันถกปัญหา ถกประเด็น แต่ละแถวอย่างเผ็ดร้อนจนครบทั้งสี่แถว
เป็นความเห็นต่างที่เป็นหนึ่งเดียวกัน นั่นคือ “การเมืองคือชีวิตประชาชน” ที่ต้องรู้เท่าทันทั้งนักการเมืองดี และนักการเมืองชั่ว นักการเมืองดีเราต้องส่งเสริม นักการเมืองชั่วเราต้องขจัดให้หมดสิ้นจึงจะเหลือแผ่นดินอันเป็นอู่ข้าวอู่น้ำหรือที่พึ่งไว้ให้ลูกหลานในการดำรงความเป็นคน
การเมืองคือชีวิตประชาชน ที่มีความเป็นคน! ไม่ใช่ทาส!!
นั่นคือ แคมเปญ (Campaign) ของ ASTV หรือ New1 ที่เข้าใจง่าย เห็นภาพชัด-ตรง และดำรงคงอยู่มานาน ซึ่งมีทั้งผู้เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย
ผู้เห็นด้วย คือผู้รักชาติบ้านเมือง ไม่อยากให้บ้านเมืองวอดวาย
ส่วนผู้ไม่เห็นด้วย ไม่อยากให้หยุดคอร์รัปชัน อยากให้คอร์รัปชันจงเจริญ เพราะคอร์รัปชันคือสวรรค์ของพวกเขา ทำให้พวกเขากลายเป็นเศรษฐีในชั่วพริบตาเดียว ขณะมีอำนาจครองบ้านครองเมือง
หยุดคอร์รัปชัน
คำว่า “หยุด” คำเดียว-เสียงเดียว ทำให้คนเรากลายเป็นอรหันต์ก็ได้ เช่น องคุลิมาล เป็นต้น
“คอร์รัปชัน-Corruption” คือการฉ้อราษฎร์บังหลวง กินสินบน รับผลประโยชน์ที่มิชอบจากเจ้าหน้าที่การงาน
“ทุจริต” คือการประพฤติชั่ว ไม่ซื่อตรง โกง ฉ้อโกง
“คอมมิสชัน-Commission” คือค่านายหน้า เปอร์เซ็นต์ในการซื้อขาย
“กินตามน้ำ” คือฉวยโอกาสผสมผเส การฉ้อราษฎร์บังหลวงไปกับการทำงานตามหน้าที่
“ใต้โต๊ะ” การให้สินบน เพื่อให้ใช้ตำแหน่งหน้าที่ช่วยเหลือ
“เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง” หาผลประโยชน์มิชอบจากงานที่ทำ
“ปากว่าตาขยิบ” พูดอย่างหนึ่ง แต่แสดงนัยให้ทำอีกอย่างหนึ่ง ปากกับใจไม่ตรงกัน
“ลูบหน้าปะจมูก” กระทำอะไรให้เด็ดขาดมิได้ เพราะเกรงใจผู้เกี่ยวข้อง
“ระบบอุปถัมภ์” ไม่ฆ่าน้อง ไม่ฟ้องนาย ไม่ขายเพื่อน...นกมีขน คนมีพวก...เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
“มือถือสาก ปากถือศีล” คนทำชั่ว ที่ปากพร่ำพูดแต่ความดี
“ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง” ว่ากล่าวสั่งสอนหรือติเตียนผู้อื่น แต่ตัวกลับทำเสียเอง
ฯลฯ
ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ รวมอยู่ในคำว่า “คอร์รัปชัน” คำเดียวที่เราต้องหยุดมันให้ได้ เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน “หยุดคอร์รัปชัน” ผู้ใดละเมิดโทษสูงสุดประหารชีวิต รองลงมาจำคุกตลอดชีวิต หมดสิทธิทางการเมือง และรับราชการตลอดชีวิต ยึดทรัพย์สินเข้ารัฐ คดีไม่มีอายุความ ประชาชนทุกคนมีสิทธิฟ้องร้องได้ด้วยตนเอง ฯลฯ
ทำไมต้องหยุดและโทษรุนแรงปานนั้น?
เพราะมันเป็นภัยทำร้ายทำลายชาติบ้านเมืองให้ฉิบหายวายวอด!
แล้วจะทำหรือแก้ปัญหาอย่างไร?
การแก้ปัญหามีร้อยแปดพันเก้าวิธี แก้ให้ตรงจุดที่สุดคือ... “เหตุเกิดที่ไหน-แก้ไขที่นั่น”... “ไฟไหม้ที่ไหน-ดับที่นั่น”... “ทุกข์เกิดที่ไหน-ดับทุกข์ที่นั่น”
เป็นการแก้แบบถอนรากถอนโคน (ปฏิวัติ!)
กล้าหรือเปล่า?
ถ้าใจไม่ถึง ไม่กล้าพอ ก็ค่อยๆ ปรับปรุงไป ซ่อมนิดซ่อมหน่อยพออยู่ได้ และจะได้มีงานแก้ไปเรื่อยๆ (ปฏิรูป)
นายธารินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ของไทย เสนอแนะการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน ด้วยจดหมายถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของไทย และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า... “สาเหตุที่ทำให้การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ไม่มีประสิทธิประภาพ เพราะได้ให้โอกาสกับนักการเมืองที่เคยกระทำความผิดในตำแหน่งกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งหลังพ้นกำหนด 5 ปี โดยไม่ควรให้โอกาสคนเหล่านี้กลับมากระทำผิดอีก ไม่ว่าจะเคยประกอบคุณงามความดีมากน้อยเพียงใดก็ตาม และหนุนให้มีการปฏิรูปเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน เรียกร้องทรัพย์สินคืนเพื่อไม่ให้คนทุจริตหนีไปใช้ชีวิตต่างประเทศ พร้อมทรัพย์สินที่กอบโกยไป”
นั่นเป็นผู้ใหญ่ที่กล้าคิดกล้าพูดอันเป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง
ปัญหาคอร์รัปชันเกิดจากนักการเมืองชั่ว และข้าราชการเลวสมคบกัน นักการเมืองเป็นหัว ข้าราชการเป็นหาง ถ้าหัวไม่ส่าย หางก็ไม่กระดิก คือ ถ้าหัวหน้าไม่กระทำชั่ว ลูกน้องก็ไม่กล้าทำชั่วเช่นกัน
ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ ท่านบอกว่า “การเมืองคือธรรมะ” เมื่อการเมืองไม่ยอมเป็นธรรมะ การเมืองจึงเป็นปัญหา นั่นคือปัญหาคอร์รัปชัน หรือปัญหาการเมืองไม่มีธรรมะ”
1. คนไม่เข้าใจว่า การเมืองคือธรรมะ
2. คนทั่วไปเห็นว่า การเมืองกับธรรมะเข้ากันไม่ได้
3. คนต้องการประโยชน์ตนก่อนสันติภาพ หรือสันติสุข
4. คนต้องการแต่ความสุขทางวัตถุ ทางรูปธรรม
5. มีความรู้สึกตรงกันหมดว่า สันติภาพคือโลกอยู่ใต้อำนาจ
6. นักการเมืองถือหลักประโยชน์ตนหรือประเทศเป็นอันเดียวกัน
7. นักการเมืองไม่ประกอบด้วยธรรม แต่เป็นการเมืองที่กำลังมีอยู่ในโลกเต็มไปทั้งโลกครอบงำโลกอยู่
8. เกิดคนประเภทนายทุน เพราะเป็นทาสเงิน
9. โรคบูชาเงินเกิดขึ้น จึงเกิดโรคคอร์รัปชัน
10. มีการคุมพวกเพื่อครองเมืองเป็นสมัยนิยม (แฟชั่น)
11. ถือกันว่า สามารถใช้อำนาจได้ นั่นคือธรรม
12. การศึกษาตกเป็นทาสของการแสวงหาประโยชน์ทางเนื้อหนัง
13. ไม่มีใครยอมรับว่า เกิดมาเพื่อรับใช้พระเจ้า
14. ถือดังข้อ 13 จิตจึงเปลี่ยนมุ่งแต่ กาม กิน เกียรติ
15. เมื่อแยกตนจากธรรม ก็เหยียดศาสนา
16. ความต้องการทางการเมือง อยู่เหนือเหตุผลใดๆ
17. การเมืองยุคนี้ อยู่ใต้ฝ่าเท้าของกิเลส
18. การเมืองของประเทศเล็ก เป็นสุนัขรับใช้ประเทศใหญ่
19. ระบบประชาธิปไตยก็เกิดปัญหา
20. โลกนี้มีแต่ประชาธิปไตยกอบโกย ไม่มีเมตตากรุณา
หลักการแก้ปัญหาที่จะให้การเมืองมีธรรม ที่จะให้นักการเมืองหยุดคอร์รัปชัน ต้องทำอย่างตรงข้ามกับ 20 ข้อข้างต้น
1. ให้ทุกคนยอมรับว่า การเมืองคือศีลธรรม-ศีลธรรมคือการเมือง
2. ธรรมกับการเมือง ต้องอยู่ด้วยกัน
3. ต้องถืออุดมคติของพระโพธิสัตว์-ผู้อื่นก่อนตน
4. ต้องพัฒนาจิตใจคน ไม่ให้หลงความสุขทางวัตถุ
5. สันติภาพ ต้องเป็นไปตามหลักศาสนา
6. ธรรมะคือประโยชน์แท้จริง ที่ควรจะได้
7. ไม่ให้การเมืองเป็นไปตามอำนาจกิเลสของตน
8. อำนาจสูงสุดต้องเป็นความถูกต้อง
9. ไม่มีคอร์รัปชัน
10. ไม่มีการคุมพวกเข้าครองเมือง
11. ไม่ใช้อำนาจเป็นธรรม แต่ใช้ธรรมะ
12. การศึกษาต้องทำให้คนเข้าถึงธรรม
13. คนต้องยอมรับว่า เกิดมาเพื่อรับใช้พระเจ้า หรือศาสนา
14. ไม่เป็นทาสทางวัตถุ ไม่บูชากาม กิน เกียรติ
15. ศาสนาไม่ถูกใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมืองสกปรก
16. ไม่ให้นักการเมืองมีกิเลสอยู่เหนือกฎหมาย
17. คนต้องยอมรับว่า พระเจ้าเป็นยอดสุดของนักการเมือง
18. ประเทศเล็ก ไม่เป็นสุนัขรับใช้ประเทศมหาอำนาจ
19. ต้องมีวิญญาณประชาธิปไตยแท้จริง
20. มีประชาธิปไตยตามธรรมชาติกำหนด
...(พุทธทาสภิกขุ, ธรรมะกับนักการเมือง, ธรรมทานมูลนิธิ-จัดพิมพ์)
ฟังปรมาจารย์ทางธรรมะแล้ว มาฟังปรมาจารย์ทางกวีอย่าง...อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กันบ้าง...
“การเมืองไม่ใช่เรื่องธุรกิจ
การเมืองไม่ใช่คิดแต่จะได้
การเมืองไม่ใช่การค้ากำไร
การเมืองไม่ใช่ใช้แต่เกมกล
การเมืองไม่ใช่บ้าแต่อำนาจ
การเมืองไม่ใช่ศาสตร์แห่งเหตุผล
การเมืองไม่ใช่การกดขี่คน
การเมืองไม่ใช่ตนใหญ่คนเดียว
การเมืองไม่ใช่เรื่องของการเล่น
การเมืองไม่ใช่เข่นกันด้วยเขี้ยว
การเมืองไม่ใช่ตามกันกรูเกรียว
การเมืองไม่ใช่เลี้ยวไปลงคู
การเมืองเป็นเรื่องการเสียสละ
การเมืองคือภาระของทุกผู้
การเมืองเรื่องส่วนรวมร่วมรับรู้
การเมืองต้องต่อสู้เพื่อส่วนรวม
การเมืองต้องมีธรรมเป็นเข็มทิศ
การเมืองต้องมีจิตสำนึกร่วม
การเมืองต้องโปร่งใสไม่กำกวม
การเมืองต้องท้นท่วมศรัทธาอุทิศ
การเมืองต้องเคารพความเห็นต่าง
การเมืองต้องสวรรค์สร้างเสรีสิทธิ์
การเมืองคืออำนาจขจัดพิษ
การเมืองคือชีวิตประชาชน!”
นี่คือสัจจะที่นักการเมือง ข้าราชการ ประชาชน ต้องรู้ต้องเข้าใจว่า...การเมืองดำเป็นอย่างไร การเมืองขาวเป็นอย่างไร การเมืองชั่วต้องขจัด การเมืองดีต้องส่งเสริม อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ แจกแจงไว้รอบด้านเป็นกระจกวิเศษส่องนักการเมืองได้เด่นชัด หน้าดำ หน้าขาว มุมมืด มุมแจ้งได้อย่างแทงทะลุ
ฟังผู้รู้มา 3 ท่านแล้ว ลองมาฟังตาสีตาสาตามบ้านนอกคอกนาอย่าง... “ปู่ชรา ตาชะแรแห่งโคกหนองนาไตร” กันบ้าง...
“การแก้ปัญหาคอร์รัปชัน มันก็เหมือนกับการแก้ปัญหาอื่นๆ นั่นแหละ (เพียงแต่มันหนักกว่า) คือแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา อาศัยหลักอิทัปปัจจยตา...
เมื่อมีเหตุ ก็ย่อมมีผล
เมื่อไร้เหตุ ก็ย่อมไร้ผล
เหตุอย่างใด ผลอย่างนั้น
เหตุเกิด ผลเกิด
เหตุดับ ผลดับ
เหตุดี ผลดี
เหตุชั่ว ผลชั่ว
ฯลฯ
(เหตุโกง ผลคุก ก็สมเหตุสมผลดีแล้ว จะร้องแรกแหกกระเชอไปไย หัดอายลูกอายหลานมันบ้าง...55555)
มหันตภัยร้าย
คอร์รัปชัน หากเปรียบเป็นโรคก็ระดับมะเร็งตายลูกเดียว
คนขี้โกง หรือคนคอร์รัปชันเป็นคนประเภทไม่เชื่อธรรมะ ไม่เชื่อศรัทธา 4 แต่เชื่อศรัทธางมงาย จึงมีวิถีชีวิตแบบ “หายใจเข้าโกง-หายใจออกโกง” เป็นคนไม่รู้อิ่มรู้พอ มีโลภะทุกขณะจิต ไม่รู้จักส่วนรวม รู้จักแต่ส่วนตน
ศรัทธา 4 คือความเชื่อแบบปัญญา ประกอบด้วยเหตุผล ได้แก่...
1. กัมมสัทธา คือเชื่อกรรม เชื่อการกระทำ เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือเชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือจงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือเป็นความดีความชั่วมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และเชื่อว่าผลที่ต้องการจะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอน หรือนอนคอยโชค เป็นต้น
2. วิปากสัทธา คือเชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือเชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วต้องมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว
3. กัมมัสสกตาสัทธา คือเชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบากเป็นไปตามกรรมของตน
4. ตถาคตโพธิสัทธา คือเชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์คือเราทุกคนนี้ หากฝึกฝนด้วยดี ก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญไว้เป็นแบบอย่าง
...(พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พระพรหมคุณาภรณ์-ป.อ.ปยุตฺโต)
ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล 4 ประการนี้ เป็นความเชื่อแบบมีปัญญา เกิดขึ้นแก่บุคคลใด สังคมใด ก็จะมีแต่ความสุขความเจริญ รักธรรม ชอบธรรมอายชั่ยว กลัวบาป ในทางตรงข้าม หากบุคคลใด สังคมใด ไม่เชื่อศรัทธา 4 นี้ ไปเชื่อศรัทธาอย่างอื่น ก็จะตกเป็นเหยื่อเป็นทาสเข้าสู่อบายภูมิ เอาแต่หลับยืนยากที่จะตื่นรู้ ดังที่ผู้คอร์รัปชันทั้งหลายลุ่มหลงทนงตนอยู่
ผู้คอร์รัปชัน ยิ่งมีอำนาจมากเท่าไร มหันตภัยร้าย ก็ยิ่งมากแก่ชาติบ้านเมืองเท่านั้น
บ้านเมืองวอดวาย
ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จะไม่กล้าพูดเสียงดังว่า คอร์รัปชันเป็นเรื่องธรรมดา ใครๆ ก็โกงทั้งนั้น
ถ้ามีโอกาส แต่ปัจจุบันคอร์รัปชันกำลังจะกลายเป็นเรื่องธรรมดา ผู้คนพูดดัง เขียนชัดมากขึ้นๆ ชนิดไม่อายฟ้าดิน ตั้งแต่ระดับสูงสุดลงมาถึงระดับต่ำสุดชาวบ้านธรรมดา อย่างกรณีเงินกู้หมู่บ้านละล้านบาท เขาถือว่าเป็นเงินให้เปล่า ใครไม่เอาก็โง่ เป็นหนี้แล้ว ไม่ใช้คืน แล้วไง เดี๋ยวก็กลายเป็นหนี้สูญ เงินตกมาใหม่ก็กู้ใหม่ เป็นหนี้ไปเรื่อยๆ หนีไป ตายไป ก็จบ มันก็เหมือนได้เงินฟรีๆ อยู่นั่นเอง
จะโทษใคร...ใครเป็นตัวอย่างไม่ดี ใครสามารถโกงได้เป็นหมื่นล้านแสนล้านกระทั่งล้านล้าน ฉันโกงบ้างทีละพันทีละหมื่น ตื่นเต้นอะไร ก็เงินภาษีของฉันเหมือนกัน...(ชาวบ้านพูดดังๆ)
ไม่ว่าจะเป็นสูง-กลาง-ต่ำ ก็เอาเงินภาษีจากประชาชนทุกคนของคนทั้งชาติ ไปโกงกินกันทั้งนั้น ถ้าปล่อยให้เป็นไปเช่นนี้ บ้านเมืองประเทศชาติ อาจถึงวาระวอดวายสูญสิ้นแผ่นดินไทยแน่นอน
ก็รู้อยู่ว่า “คอร์รัปชัน” มันสุดอันตราย แต่ไม่กล้าแก้กล้าหยุดอย่างจริงจัง หรือมันมีอะไรที่ลึกลับซับซ้อนอยู่ จึงได้ทำแบบขอไปทีให้มันเสร็จๆ พ้นๆ ไป พอเอาตัวรอดได้เช่นนั้นหรือ?
คนเราสมาทานศีลแทบทุกวัน คือรับเอาศีลมาเป็นข้อปฏิบัติ แต่ก็โกหกทุกวันเช่นกัน เพราะปฏิบัติสักข้อก็ไม่ได้ อย่างเช่นศีล 5 เป็นต้น
ศีล 5 หรือเบญจศีล คือข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว เป็นการควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียน ได้แก่...
1. เว้นจากการปลงชีวิต
2. เว้นจากการลัก หรือการโกง
3. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4. เว้นจากการพูดเท็จ โกหก หลอกลวง
5. เว้นจากการดื่มน้ำเมา หรือสิ่งเสพติดให้โทษ
การที่จะเว้นจากความชั่ว 5 อย่างนี้ได้ จะต้องมีธรรมอันดี 5 อย่างที่เรียกว่า เบญจะธรรม ได้แก่...
1. เมตตาและกรุณา คือความรักใคร่ปรารถนาให้มีความสุขความเจริญ และความสงสาร คิดช่วยเหลือให้พ้นทุกข์คู่กับศีลข้อ 1
2. สัมมาอาชีวะ คือการหาเลี้ยงชีพในทางสุจริตคู่กับศีลข้อ 2
3. กามสังวร คือความสังวรในกาม สำรวมระวัง รู้จักยับยั้งควบคุมตนในทางกามารมณ์ ไม่ให้หลงใหลในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส คู่กับศีลข้อ 3
4. สัจจะ คือความสัตย์ ความซื่อตรง คู่กับศีลข้อ 4
5. สติสัมปชัญญะ คือความระลึกได้ และรู้ตัวอยู่เสมอ คือฝึกตนให้เป็นคนรู้จักยั้งคิด รู้สึกตัวเสมอว่า สิ่งใดควรทำ และไม่ควรทำ ระวังมิให้เป็นคนมัวเมาประมาท คู่กับศีลข้อ 5
ถ้าเป็นคนดีมีศีล (5) มีธรรม (5) จริงแท้ ก็จะเชื่อมั่นในศรัทธา 4 รู้จักอายชั่วกลัวบาป เรื่องคอร์รัปชันนอกจากจะไม่ชอบแล้ว ยังต่อต้านอีกด้วย เพราะมันทำลายสังคม รวมทั้งตัวเองด้วย
การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ชาติหนึ่ง ถือเป็นบุญวาสนา เป็นบารมีเก่าส่งมาเกิด เป็นผลจากที่เคยมีศีล 5 และกุศลกรรมบถสิบ
เมื่อเป็นมนุษย์แล้ว กลับจะมารักษาทุนเดิม (ศีล 5) ไม่ได้ เป็นเพราะอะไร ไม่กลัวกันบ้างหรือ?
ทาง 7 สายของมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ขอย้ำบ่อยๆ อาจจะทำให้บางคนหายจากหลับยืนได้บ้าง
1. ทางไปนรก ได้แก่ โทสะ
2. ทางไปเปรตและอสุรกาย ได้แก่ โลภะ
3. ทางไปเดรัจฉาย ได้แก่ โมหะ
4. ทางไปมนุษย์ ได้แก่ ศีล 5 และกุศลกรรมบถ 10
5. ทางไปสวรรค์ ได้แก่ มหากุศล 8
6. ทางไปพรหมโลก ได้แก่ สมถกรรมฐาน
7. ทางไปนิพพาน ได้แก่ วิปัสสนากรรมฐาน
ถ้ารักษาศีล 5 และกุศลกรรมบถ 10 ไม่ได้ ทางที่จะต้องไป (ก่อนตายและหลังตาย) คือ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาย ต่อให้ทำบุญ เมาบุญ ศรัทธางมงายอย่างไร ก็ไม่มีทางที่จะไปมนุษย์ สวรรค์ พรหมโลก นิพพาน อย่างแน่นอน
ถ้าไม่เชื่อ...ก็ดูตัวอย่างสิ ดูตัวเอง หรือดูคนอื่นก็ได้ แต่คนดูได้ต้องอยู่ในระดับสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น
ผู้คอร์รัปชันทั้งหลาย แม้ความเป็นมนุษย์ ท่านก็ไม่มีเลย ศีล 5 ท่านก็รักษาไม่ได้ กุศลกรรมบถ 10 (กายกรรม 3, วจีกรรม 4, มโนกรรม 3) ท่านก็รักษาไม่ได้ ท่านไม่ต่างอะไรกับนรก เปรต อสุรกาย และเดรัจฉาน เพราะท่านมีโทสะ โลภะ โมหะ เป็นเจ้าเรือน หรือนิสัยที่ตัดไม่ขาด บ้านเมืองจะวอดวาย ก็เพราะตัวท่านแท้ๆ
ชั่วร้ายครองเมือง
พจนานุกรมให้คำนิยายคำ “ชั่ว” ว่า...เลว, ทราม, ร้าย ส่วนคำ “ร้าย” ว่า...ชั่ว, ไม่ดี, อำมหิต
“ชั่วร้าย” จึงหมายถึง “คอร์รัปชัน” นั่นเอง
เมื่อคนระดับชั่วร้าย หรือ “คอร์รัปชัน” มีอำนาจวาสนา ได้ปกบ้านครองเมือง จึงเป็นยุคสมัยที่น่ากลัวมาก เพราะ “ผู้ดีเดินตรอก ขี้ครอกเดินถนน” ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ มีแต่จะทำให้บ้านเมืองวอดวาย
บ้านเมืองประเทศชาติมีปัญหามากมายที่ต้องรีบแก้ไข เราพยายามจะแก้ทุกปัญหาไปพร้อมๆ กัน ซึ่งในความเป็นจริง ยากที่จะเป็นไปได้
แต่ถ้าเรารู้ว่า ปัญหาสุดยอดของชาติบ้านเมืองคืออะไร แล้วเราทุ่มกำลังไปแก้ที่จุดนั้นก่อนเป็นเบื้องต้น จนสำเร็จแล้วปัญหาต่างๆ ก็จะทุเลาเบาบางลง หรือแก้ง่ายๆ ขึ้น เมื่อเห็นว่ารัฐเอาจริง
สุดยอดแห่งปัญหาที่ทำร้ายทำลายประเทศไทยมานมนาน กระทั่งปัจจุบันคือ...ปัญหาคอร์รัปชันที่แผ่กระจายไปทั่วแผ่นดินไทย แทรกซึมไปทุกหน่วยงาน มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหลวง มีเครือข่ายอยู่ทุกจังหวัดกระทั่งอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน โกงกินกันอย่างมันปาก เหมือนบ้านเมืองไม่มีขื่อมีแป ถ้าจัดการระดับบิ๊กๆ ใหญ่ๆ ได้ ระดับรองลงมา กลาง-เล็ก ก็จะขยาดหลาบจำไปเอง
การแก้ปัญหาคอร์รัปชันที่น่าเป็นห่วง คือเอาผู้คอร์รัปชันไปแก้คอร์รัปชันเสียเอง ถ้าเป็นเช่นนั้นมันก็เหมือนการส่งเสริมการคอร์รัปชันให้แข็งแกร่งเติบใหญ่ไพศาล กลายเป็นไฟลามทุ่ง บ้านเมืองวอดวายเร็วขึ้นเท่านั้นเอง เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือผู้ไปแก้ปัญหาคอร์รัปชัน จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
“แล้วคุณมีความเห็นอย่างไรกับปัญหาคอร์รัปชัน” หนึ่งเสียงดังขึ้นจากสภาประชาชน ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง
“หยุดคอร์รัปชัน
มหันตภัยร้าย
บ้านเมืองวอดวาย
ชั่วร้ายครองเมือง”
นั่นคือเสียงตอบ เป็น “กวีสี่แถว” จากผู้เฒ่าคนหนึ่ง แล้วสมาชิกสภาประชาชนแต่ละคน ก็ร่วมกันถกปัญหา ถกประเด็น แต่ละแถวอย่างเผ็ดร้อนจนครบทั้งสี่แถว
เป็นความเห็นต่างที่เป็นหนึ่งเดียวกัน นั่นคือ “การเมืองคือชีวิตประชาชน” ที่ต้องรู้เท่าทันทั้งนักการเมืองดี และนักการเมืองชั่ว นักการเมืองดีเราต้องส่งเสริม นักการเมืองชั่วเราต้องขจัดให้หมดสิ้นจึงจะเหลือแผ่นดินอันเป็นอู่ข้าวอู่น้ำหรือที่พึ่งไว้ให้ลูกหลานในการดำรงความเป็นคน
การเมืองคือชีวิตประชาชน ที่มีความเป็นคน! ไม่ใช่ทาส!!