ประเด็นร้อนในตอนนี้มีหลายอย่างรวมทั้งเทคโนโลยีที่ถูกประณามว่าจะนำมาซึ่งการสร้างผีดิบรุ่นใหม่ในแนวของเรื่องแฟรงเกนสไตน์อันโด่งดังเทคโนโลยีที่ถูกประณามนั้นเรียกกันสั้นๆ ว่า “จีเอ็มโอ” (GMO) ซึ่งย่อมาจาก Genetically Modified Organism
จีเอ็มโอหมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการตัดแต่งพันธุกรรม โดยตัดบางส่วนออกไป หรือนำของใหม่เข้ามาแทรกในรหัสพันธุกรรมทำให้มันมีลักษณะต่างไปจากพื้นฐานเดิม ความสามารถในการตัดแต่งพันธุกรรมได้สำเร็จเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ มันเป็นเทคโนโลยีที่นักประวัติศาสตร์การพัฒนามองว่าจะเป็นส่วนสำคัญของการสร้างความเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดโดยฝีมือของมนุษย์อีกครั้ง ความเปลี่ยนแปลงใหญ่หลวงครั้งนี้บางทีเรียกกันว่า “คลื่นลูกที่ 4” (“คลื่นลูกที่ 1” เริ่มเมื่อราว 1 หมื่นปีก่อนอันเป็นตอนที่มนุษย์เรารู้จักเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ในการทำเกษตรกรรม “คลื่นลูกที่ 2” เริ่มเมื่อราว 250 ปีอันเป็นตอนที่มนุษย์เราประดิษฐ์คิดค้นเครื่องจักรกลได้ซึ่งนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม “คลื่นลูกที่ 3” เริ่มเมื่อราว 70 ปีมานี้อันเป็นตอนที่เกิดเทคโนโลยีดิจิตอลซึ่งนำไปสู่การส่งข่าวสารข้อมูลได้ภายในพริบตา)
เทคโนโลยีที่สร้างคลื่นลูกที่ 4 อาจมีผลทำให้คนเราอายุยืนยาวขึ้นมาก หรืออาจถึงขนาดไม่ตาย แต่คนที่ไม่ตายมิใช่ผีดิบที่ผู้ประณามผลของการตัดแต่งพันธุกรรมหมายถึงซึ่งเป็นประเด็นร้อนอยู่ในตอนนี้ ตามที่พออนุมานได้ พวกเขาหมายถึงผลกระทบร้ายแรงที่การตัดแต่งพันธุกรรมจะทำให้เกิดขึ้น
ความสามารถในการตัดแต่งพันธุกรรมถูกนำมาประยุกต์ใช้ในหลายด้านรวมทั้งการป้องกันโรคร้าย การรักษาพยาบาลและการผลิตอาหารของวงการเกษตรกรรม การประณามจีเอ็มโอในขณะนี้มุ่งไปที่ด้านการผลิตอาหารสำหรับให้มนุษย์บริโภคต้นเหตุของการประณามได้แก่ผลพวงที่อาจตามมาจากการผลิตและการรับประทานอาหารที่มีการตัดแต่งพันธุกรรมรวมอยู่ ทั้งที่เรายังไม่รู้แน่นอนเต็มร้อยว่าผลพวงนั้นจะเลวร้ายหรือไม่ เพียงใด การประณามเช่นนั้นอาจมองว่าเป็นการตีตนไปก่อนไข้ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจมองได้ว่าเป็นการป้องกันผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ไว้ก่อนอันเป็นการตั้งอยู่บนความไม่ประมาท มุมมองทั้งสองนี้ต่างมีเหตุผลสนับสนุน สำหรับกรณีของเมืองไทย มุมมองที่สองน่าจะมีเหตุผลที่มีน้ำหนักมากกว่าด้วยปัจจัยหลายอย่าง
ประวัติศาสตร์บ่งว่าเรามักมารู้ผลร้าย หรือคำสาปของเทคโนโลยีเมื่อมีคนตาย หรือเมื่อสายเกินไปแล้ว ตัวอย่างอันโด่งดังเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาก่อนที่คนไทยส่วนใหญ่ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันจะถือกำเนิด ต้นตอของเรื่องได้แก่การใช้สารเคมีซึ่งมี “ดีดีที” (DDT) เป็นหลักปราบแมลงที่เป็นศัตรูของพืชอาหาร (DDT ย่อมาจากdichlorodiphenyltrichloroethane)
การใช้สารเคมีเหล่านั้นยังผลให้ผลิตอาหารได้มากขึ้นจริง แต่เมื่อเวลาผ่านไปเริ่มมีผู้สงสัยว่ามันเกิดผลเสียหายร้ายแรงขึ้นด้วย ผลเสียหายร้ายแรงเกิดจากสารเคมีทำให้สัตว์ต่างๆ ตายและทำให้เกิดมะเร็งในคน นอกจากนั้น มันยังทำให้เปลือกไข่ของนกเปราะบางมากจนไม่สามารถฟักเป็นตัวได้ส่งผลให้นกป่าเริ่มหายไปจากธรรมชาติ นักวิทยาศาสตร์ที่วิจัยเรื่องนี้ชื่อ ราเคลคาร์สัน (Rachel Carson) ซึ่งถูกต่อต้านและประณามอย่างหนักจากบริษัทผลิตสารเคมีที่ชาวนาชาวไร่ใช้กันอยู่ นอกจากนั้น บริษัทสามานย์เหล่านั้นยังพร้อมใจกันจ้างนักวิทยาศาสตร์จำพวกผีโม่แป้งให้ออกมารุมโจมตีการวิจัยของเธออีกด้วย
ในปี 2505 ราเคลคาร์สัน พิมพ์หนังสือชื่อ Silent Spring ออกมาซึ่งคงแปลตรงๆ ได้ว่า “ฤดูใบไม้ผลิอันเงียบกริบ” ส่วนความหมายที่ลึกลงไปได้แก่ฤดูใบไม้ผลิที่ไร้เสียงนก หนังสือเล่มนั้นปลุกชาวอเมริกันให้ตื่นและตระหนักถึงผลร้ายที่สารเคมีทำให้เกิดขึ้นแก่สิ่งแวดล้อม ความตระหนักนั้นนำไปสู่การเคลื่อนไหวจนทำให้เกิดการก่อตั้งองค์การปกป้องสิ่งแวดล้อมขึ้นเมื่อปี 2513 แม้จะประสบความสำเร็จใหญ่หลวง แต่ราเคลคาร์สัน ก็ไม่มีโอกาสได้เห็นองค์การสำคัญซึ่งเกิดจากแรงงานและมันสมองของเธอ ทั้งนี้เพราะเธอเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในปี 2507 เมื่ออายุเพียง 56 ปีเท่านั้น
ณ วันนี้ สหรัฐอเมริกาควบคุมการใช้ดีดีทีและสารเคมีร้ายแรงภายในประเทศของตนอย่างเข้มงวด แต่บริษัทที่ไปลงทุนทำเกษตรกรรมในต่างประเทศไม่จำเป็นต้องทำตามกฎเกณฑ์ของรัฐบาลอเมริกัน หากทำตามกฎข้อบังคับของประเทศที่ไปลงทุน ด้วยเหตุนี้ คนงานของบริษัทอเมริกันที่ไปลงทุนในละตินอเมริกาจึงมักประสบปัญหาสาหัสอันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีในไร่ในสวนเสมอ
การใช้สารเคมีอย่างเข้มข้นและแพร่หลายในการผลิตพืชอาหารเกิดขึ้นพร้อมกับสิ่งที่เรียกกันว่า “ปฏิวัติสีเขียว” (Green Revolution) แรงจูงใจที่นำไปสู่การปฏิวัตินี้ได้แก่การขาดแคลนอาหารของประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์พยายามค้นคว้าหาทางผลิตอาหารให้ทันกับการเพิ่มขึ้นของประชากร การค้นคว้านั้นนำไปสู่การคัดเลือกและผสมพันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตสูง รวมทั้งข้าว ข้าวโพด และข้าวสาลี เมืองไทยได้อานิสงส์ของการผลิตเมล็ดพันธุ์ใหม่ๆ ซึ่งให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ข้าวพื้นเมืองดั้งเดิม
ดังที่นักเศรษฐศาสตร์มักอ้างถึงโลกนี้ไม่มีของเปล่า พืชพันธุ์ใหม่มักต้องใช้ทั้งน้ำและสารเคมีสารพัดอย่างรวมทั้งปุ๋ยและยาฆ่าวัชพืชและแมลง การใช้น้ำนำไปสู่การลงทุนสร้างเขื่อนขนาดใหญ่และระบบชลประทานที่นำมาซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งดินเค็มจนใช้เพาะปลูกอีกไม่ได้ในกรณีที่ไม่มีการระบายน้ำอย่างเพียงพอ การใช้สารเคมีจำนวนมากนอกจากจะมีผลกระทบทางลบดังที่กล่าวถึงแล้วยังทำให้พื้นดินเสียหายจนแม้ไส้เดือนก็อยู่ไม่ได้และในที่สุดต้องลงทุนฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ หรือไม่ก็ต้องละทิ้งไปเลยอีกด้วย
สิ่งเหล่านั้นมีการพูดถึงกันบ้างเป็นครั้งคราว สิ่งที่แทบไม่มีการพูดถึงได้แก่การลงทุนใหม่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ในระดับประเทศ รัฐบาลมักกู้มาจากธนาคารเพื่อการพัฒนา หรือธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศ ส่วนในระดับบุคคล ชาวนาชาวไร่มักใช้การกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรบ้าง จากสหกรณ์บ้างและจากนายทุนบ้าง ผลสุดท้ายทั้งรัฐบาลและเกษตรกรมักเป็นหนี้สินพะรุงพะรังจนชำระไม่ไหว บางประเทศเดินเข้าสู่ภาวะล้มละลายซึ่งนำไปสู่การขายสมบัติของชาติ เกษตรกรจำนวนมากสูญเสียที่ดินและเมื่อหมดที่ทำกินก็ไปบุกรุกป่า หรือไม่ก็อพยพเข้าไปหากินในเมืองซึ่งสร้างปัญหาตามมาอีกสารพัด
ณ วันนี้เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ปฏิวัติสีเขียวแก้ปัญหาได้เพียงส่วนเดียวเท่านั้น ความอดอยากสาหัสยังมีอยู่ในหลายส่วนของโลก ความอดอยากนั้นเป็นส่วนหนึ่งของแรงจูงใจในการค้นหาหนทางผลิตอาหารให้ได้มากขึ้นแบบก้าวกระโดดอีกครั้ง ดังที่เคยทำได้มาก่อนแล้วบางส่วนของนักวิทยาศาสตร์และนักพัฒนาเชื่อกันว่าการตัดแต่งพันธุกรรมคือคำตอบ
เทียบกับปฏิวัติสีเขียวที่ผ่านมา การผลิตอาหารจากการตัดแต่งพันธุกรรมยังอยู่ในระยะเริ่มต้น นักวิทยาศาสตร์ยังค้นคว้ากันอย่างเข้มข้นต่อไปทั้งในด้านการหาทางผลิตสิ่งใหม่ๆ และด้านผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ในขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่ทำให้เชื่อมั่นได้เต็มร้อยว่าการผลิตและการบริโภคอาหารอันเกิดจากกระบวนการตัดแต่งพันธุกรรมจะปลอดภัย ด้วยเหตุนี้ประเทศในยุโรปส่วนใหญ่จึงห้ามใช้เทคโนโลยีจีเอ็มโอกันอย่างกว้างขวางและอนุญาตให้นำเข้าอาหารที่ผลิตจากการตัดแต่งพันธุกรรมเพียงบางอย่างเท่านั้น นโยบายเหล่านั้นนับว่าเป็นการตั้งอยู่บนฐานของความไม่ประมาท
นอกจากผลกระทบทางลบที่อาจเกิดกับสิ่งแวดล้อมและร่างกายของมนุษย์แล้ว การผลิตอาหารจากกระบวนการตัดแต่งพันธุกรรมอาจเกิดผลกระทบทางลบในทางเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วย เช่น การตัดแต่งพันธุกรรมนำไปสู่การผูกขาดเมล็ดพันธุ์พืช การผูกขาดทำให้เจ้าของเมล็ดพันธุ์สามารถโก่งราคาได้ ส่งผลให้พวกเขาร่ำรวยแต่เกษตรกรยากจน ผลสุดท้าย ความเหลื่อมล้ำจะนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงในสังคม
ในกรณีของเมืองไทย เราผลิตอาหารได้เกินความจำเป็นจนส่งออกไปขายได้ปีละมากๆ คนไทยจึงไม่อดอยากอย่างแพร่หลายเช่นในบางส่วนของโลก ฉะนั้น เราไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสี่ยงต่อผลร้ายที่อาจเกิดขึ้นเพื่อผลิตอาหารเพิ่มขึ้นสำหรับแก้ปัญหาความอดอยาก นอกจากนั้น การใช้กระบวนการตัดแต่งพันธุกรรมอาจทำให้เราเสียตลาดสำคัญๆ ในยุโรปได้ ในขณะนี้เราเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับการผูกขาดเมล็ดพันธุ์พร้อมกับกระบวนการผลิตและจำหน่ายอาหารแล้ว การอนุญาตให้บริษัทขนาดยักษ์สามารถผูกขาดได้อย่างเข้มข้นยิ่งขึ้นจะไม่มีผลดีต่อคนไทยส่วนใหญ่แน่นอน ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะปล่อยให้เกิดการใช้เทคโนโลยีจีเอ็มโอซึ่งอาจมีคำสาปร้ายแรงจนเสมือนเป็นการอนุญาตให้สร้างผีดิบขึ้นมาเพื่อฆ่าคนไทย
จีเอ็มโอหมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการตัดแต่งพันธุกรรม โดยตัดบางส่วนออกไป หรือนำของใหม่เข้ามาแทรกในรหัสพันธุกรรมทำให้มันมีลักษณะต่างไปจากพื้นฐานเดิม ความสามารถในการตัดแต่งพันธุกรรมได้สำเร็จเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ มันเป็นเทคโนโลยีที่นักประวัติศาสตร์การพัฒนามองว่าจะเป็นส่วนสำคัญของการสร้างความเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดโดยฝีมือของมนุษย์อีกครั้ง ความเปลี่ยนแปลงใหญ่หลวงครั้งนี้บางทีเรียกกันว่า “คลื่นลูกที่ 4” (“คลื่นลูกที่ 1” เริ่มเมื่อราว 1 หมื่นปีก่อนอันเป็นตอนที่มนุษย์เรารู้จักเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ในการทำเกษตรกรรม “คลื่นลูกที่ 2” เริ่มเมื่อราว 250 ปีอันเป็นตอนที่มนุษย์เราประดิษฐ์คิดค้นเครื่องจักรกลได้ซึ่งนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม “คลื่นลูกที่ 3” เริ่มเมื่อราว 70 ปีมานี้อันเป็นตอนที่เกิดเทคโนโลยีดิจิตอลซึ่งนำไปสู่การส่งข่าวสารข้อมูลได้ภายในพริบตา)
เทคโนโลยีที่สร้างคลื่นลูกที่ 4 อาจมีผลทำให้คนเราอายุยืนยาวขึ้นมาก หรืออาจถึงขนาดไม่ตาย แต่คนที่ไม่ตายมิใช่ผีดิบที่ผู้ประณามผลของการตัดแต่งพันธุกรรมหมายถึงซึ่งเป็นประเด็นร้อนอยู่ในตอนนี้ ตามที่พออนุมานได้ พวกเขาหมายถึงผลกระทบร้ายแรงที่การตัดแต่งพันธุกรรมจะทำให้เกิดขึ้น
ความสามารถในการตัดแต่งพันธุกรรมถูกนำมาประยุกต์ใช้ในหลายด้านรวมทั้งการป้องกันโรคร้าย การรักษาพยาบาลและการผลิตอาหารของวงการเกษตรกรรม การประณามจีเอ็มโอในขณะนี้มุ่งไปที่ด้านการผลิตอาหารสำหรับให้มนุษย์บริโภคต้นเหตุของการประณามได้แก่ผลพวงที่อาจตามมาจากการผลิตและการรับประทานอาหารที่มีการตัดแต่งพันธุกรรมรวมอยู่ ทั้งที่เรายังไม่รู้แน่นอนเต็มร้อยว่าผลพวงนั้นจะเลวร้ายหรือไม่ เพียงใด การประณามเช่นนั้นอาจมองว่าเป็นการตีตนไปก่อนไข้ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจมองได้ว่าเป็นการป้องกันผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ไว้ก่อนอันเป็นการตั้งอยู่บนความไม่ประมาท มุมมองทั้งสองนี้ต่างมีเหตุผลสนับสนุน สำหรับกรณีของเมืองไทย มุมมองที่สองน่าจะมีเหตุผลที่มีน้ำหนักมากกว่าด้วยปัจจัยหลายอย่าง
ประวัติศาสตร์บ่งว่าเรามักมารู้ผลร้าย หรือคำสาปของเทคโนโลยีเมื่อมีคนตาย หรือเมื่อสายเกินไปแล้ว ตัวอย่างอันโด่งดังเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาก่อนที่คนไทยส่วนใหญ่ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันจะถือกำเนิด ต้นตอของเรื่องได้แก่การใช้สารเคมีซึ่งมี “ดีดีที” (DDT) เป็นหลักปราบแมลงที่เป็นศัตรูของพืชอาหาร (DDT ย่อมาจากdichlorodiphenyltrichloroethane)
การใช้สารเคมีเหล่านั้นยังผลให้ผลิตอาหารได้มากขึ้นจริง แต่เมื่อเวลาผ่านไปเริ่มมีผู้สงสัยว่ามันเกิดผลเสียหายร้ายแรงขึ้นด้วย ผลเสียหายร้ายแรงเกิดจากสารเคมีทำให้สัตว์ต่างๆ ตายและทำให้เกิดมะเร็งในคน นอกจากนั้น มันยังทำให้เปลือกไข่ของนกเปราะบางมากจนไม่สามารถฟักเป็นตัวได้ส่งผลให้นกป่าเริ่มหายไปจากธรรมชาติ นักวิทยาศาสตร์ที่วิจัยเรื่องนี้ชื่อ ราเคลคาร์สัน (Rachel Carson) ซึ่งถูกต่อต้านและประณามอย่างหนักจากบริษัทผลิตสารเคมีที่ชาวนาชาวไร่ใช้กันอยู่ นอกจากนั้น บริษัทสามานย์เหล่านั้นยังพร้อมใจกันจ้างนักวิทยาศาสตร์จำพวกผีโม่แป้งให้ออกมารุมโจมตีการวิจัยของเธออีกด้วย
ในปี 2505 ราเคลคาร์สัน พิมพ์หนังสือชื่อ Silent Spring ออกมาซึ่งคงแปลตรงๆ ได้ว่า “ฤดูใบไม้ผลิอันเงียบกริบ” ส่วนความหมายที่ลึกลงไปได้แก่ฤดูใบไม้ผลิที่ไร้เสียงนก หนังสือเล่มนั้นปลุกชาวอเมริกันให้ตื่นและตระหนักถึงผลร้ายที่สารเคมีทำให้เกิดขึ้นแก่สิ่งแวดล้อม ความตระหนักนั้นนำไปสู่การเคลื่อนไหวจนทำให้เกิดการก่อตั้งองค์การปกป้องสิ่งแวดล้อมขึ้นเมื่อปี 2513 แม้จะประสบความสำเร็จใหญ่หลวง แต่ราเคลคาร์สัน ก็ไม่มีโอกาสได้เห็นองค์การสำคัญซึ่งเกิดจากแรงงานและมันสมองของเธอ ทั้งนี้เพราะเธอเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในปี 2507 เมื่ออายุเพียง 56 ปีเท่านั้น
ณ วันนี้ สหรัฐอเมริกาควบคุมการใช้ดีดีทีและสารเคมีร้ายแรงภายในประเทศของตนอย่างเข้มงวด แต่บริษัทที่ไปลงทุนทำเกษตรกรรมในต่างประเทศไม่จำเป็นต้องทำตามกฎเกณฑ์ของรัฐบาลอเมริกัน หากทำตามกฎข้อบังคับของประเทศที่ไปลงทุน ด้วยเหตุนี้ คนงานของบริษัทอเมริกันที่ไปลงทุนในละตินอเมริกาจึงมักประสบปัญหาสาหัสอันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีในไร่ในสวนเสมอ
การใช้สารเคมีอย่างเข้มข้นและแพร่หลายในการผลิตพืชอาหารเกิดขึ้นพร้อมกับสิ่งที่เรียกกันว่า “ปฏิวัติสีเขียว” (Green Revolution) แรงจูงใจที่นำไปสู่การปฏิวัตินี้ได้แก่การขาดแคลนอาหารของประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์พยายามค้นคว้าหาทางผลิตอาหารให้ทันกับการเพิ่มขึ้นของประชากร การค้นคว้านั้นนำไปสู่การคัดเลือกและผสมพันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตสูง รวมทั้งข้าว ข้าวโพด และข้าวสาลี เมืองไทยได้อานิสงส์ของการผลิตเมล็ดพันธุ์ใหม่ๆ ซึ่งให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ข้าวพื้นเมืองดั้งเดิม
ดังที่นักเศรษฐศาสตร์มักอ้างถึงโลกนี้ไม่มีของเปล่า พืชพันธุ์ใหม่มักต้องใช้ทั้งน้ำและสารเคมีสารพัดอย่างรวมทั้งปุ๋ยและยาฆ่าวัชพืชและแมลง การใช้น้ำนำไปสู่การลงทุนสร้างเขื่อนขนาดใหญ่และระบบชลประทานที่นำมาซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งดินเค็มจนใช้เพาะปลูกอีกไม่ได้ในกรณีที่ไม่มีการระบายน้ำอย่างเพียงพอ การใช้สารเคมีจำนวนมากนอกจากจะมีผลกระทบทางลบดังที่กล่าวถึงแล้วยังทำให้พื้นดินเสียหายจนแม้ไส้เดือนก็อยู่ไม่ได้และในที่สุดต้องลงทุนฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ หรือไม่ก็ต้องละทิ้งไปเลยอีกด้วย
สิ่งเหล่านั้นมีการพูดถึงกันบ้างเป็นครั้งคราว สิ่งที่แทบไม่มีการพูดถึงได้แก่การลงทุนใหม่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ในระดับประเทศ รัฐบาลมักกู้มาจากธนาคารเพื่อการพัฒนา หรือธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศ ส่วนในระดับบุคคล ชาวนาชาวไร่มักใช้การกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรบ้าง จากสหกรณ์บ้างและจากนายทุนบ้าง ผลสุดท้ายทั้งรัฐบาลและเกษตรกรมักเป็นหนี้สินพะรุงพะรังจนชำระไม่ไหว บางประเทศเดินเข้าสู่ภาวะล้มละลายซึ่งนำไปสู่การขายสมบัติของชาติ เกษตรกรจำนวนมากสูญเสียที่ดินและเมื่อหมดที่ทำกินก็ไปบุกรุกป่า หรือไม่ก็อพยพเข้าไปหากินในเมืองซึ่งสร้างปัญหาตามมาอีกสารพัด
ณ วันนี้เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ปฏิวัติสีเขียวแก้ปัญหาได้เพียงส่วนเดียวเท่านั้น ความอดอยากสาหัสยังมีอยู่ในหลายส่วนของโลก ความอดอยากนั้นเป็นส่วนหนึ่งของแรงจูงใจในการค้นหาหนทางผลิตอาหารให้ได้มากขึ้นแบบก้าวกระโดดอีกครั้ง ดังที่เคยทำได้มาก่อนแล้วบางส่วนของนักวิทยาศาสตร์และนักพัฒนาเชื่อกันว่าการตัดแต่งพันธุกรรมคือคำตอบ
เทียบกับปฏิวัติสีเขียวที่ผ่านมา การผลิตอาหารจากการตัดแต่งพันธุกรรมยังอยู่ในระยะเริ่มต้น นักวิทยาศาสตร์ยังค้นคว้ากันอย่างเข้มข้นต่อไปทั้งในด้านการหาทางผลิตสิ่งใหม่ๆ และด้านผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ในขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่ทำให้เชื่อมั่นได้เต็มร้อยว่าการผลิตและการบริโภคอาหารอันเกิดจากกระบวนการตัดแต่งพันธุกรรมจะปลอดภัย ด้วยเหตุนี้ประเทศในยุโรปส่วนใหญ่จึงห้ามใช้เทคโนโลยีจีเอ็มโอกันอย่างกว้างขวางและอนุญาตให้นำเข้าอาหารที่ผลิตจากการตัดแต่งพันธุกรรมเพียงบางอย่างเท่านั้น นโยบายเหล่านั้นนับว่าเป็นการตั้งอยู่บนฐานของความไม่ประมาท
นอกจากผลกระทบทางลบที่อาจเกิดกับสิ่งแวดล้อมและร่างกายของมนุษย์แล้ว การผลิตอาหารจากกระบวนการตัดแต่งพันธุกรรมอาจเกิดผลกระทบทางลบในทางเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วย เช่น การตัดแต่งพันธุกรรมนำไปสู่การผูกขาดเมล็ดพันธุ์พืช การผูกขาดทำให้เจ้าของเมล็ดพันธุ์สามารถโก่งราคาได้ ส่งผลให้พวกเขาร่ำรวยแต่เกษตรกรยากจน ผลสุดท้าย ความเหลื่อมล้ำจะนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงในสังคม
ในกรณีของเมืองไทย เราผลิตอาหารได้เกินความจำเป็นจนส่งออกไปขายได้ปีละมากๆ คนไทยจึงไม่อดอยากอย่างแพร่หลายเช่นในบางส่วนของโลก ฉะนั้น เราไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสี่ยงต่อผลร้ายที่อาจเกิดขึ้นเพื่อผลิตอาหารเพิ่มขึ้นสำหรับแก้ปัญหาความอดอยาก นอกจากนั้น การใช้กระบวนการตัดแต่งพันธุกรรมอาจทำให้เราเสียตลาดสำคัญๆ ในยุโรปได้ ในขณะนี้เราเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับการผูกขาดเมล็ดพันธุ์พร้อมกับกระบวนการผลิตและจำหน่ายอาหารแล้ว การอนุญาตให้บริษัทขนาดยักษ์สามารถผูกขาดได้อย่างเข้มข้นยิ่งขึ้นจะไม่มีผลดีต่อคนไทยส่วนใหญ่แน่นอน ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะปล่อยให้เกิดการใช้เทคโนโลยีจีเอ็มโอซึ่งอาจมีคำสาปร้ายแรงจนเสมือนเป็นการอนุญาตให้สร้างผีดิบขึ้นมาเพื่อฆ่าคนไทย