ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การทดลองที่ประเทศฝรั่งเศสพบว่าหนูทดลองที่ถูกป้อนด้วยข้าวโพดตัดแต่งพันธุกรรมทำให้เป็นเนื้องอกและตายเร็วขึ้น หลายประเทศในยุโรปจึงห้ามปลูกพืชตัดแต่งพันธุกรรม ประเทศไทยจึงไม่ควรอนุญาตให้ปลูกเช่นกัน เพื่อป้องกันผลเสียในระยะยาว ต่อคนไทยและลูกหลาน
กระแสความเคลื่อนไหวคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.เกี่ยวกับพืชตัดแต่งพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ทุกคนควรสนใจติดตาม เพราะจะมีผลต่อสุขภาพของเราและลูกหลานอย่างมาก
การทดลองผลกระทบของพืชตัดแต่งพันธุกรรมต่อสุขภาพที่โด่งดังมาก คือ การวิจัยของศาสตราจารย์เซอราลินี แห่งมหาวิทยาลัยแคน ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.2555 เพราะเป็นงานวิจัยแรกที่ชี้ให้เห็นผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวของพืชตัดแต่งพันธุกรรม และพบว่า หนูที่เลี้ยงโดยข้าวโพดตัดแต่งพันธุกรรมทำให้เป็นเนื้องอก โดยเฉพาะที่เต้านมและต่อมใต้สมอง ทำให้ไตวาย ตับเสื่อมและตายเร็วขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (http://goo.gl/iajo7F)
การวิจัยนี้เริ่มขึ้นจากเพราะนักวิจัยเห็นข้อบกพร่องของงานวิจัยที่ดำเนินการก่อนหน้านี้ ที่สรุปว่าพืชตัดแต่งพันธุกรรม ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (http://goo.gl/e1FT0A) ซึ่งเป็นเพราะทดลองเพียง 90 วันเท่านั้น แต่การวิจัยครั้งใหม่ทดลองนานขึ้นถึง 24 เดือน
งานวิจัยของศาสตราจารย์เซอราลินี สร้างความตื่นตัวอย่างมากในยุโรป ปัจจุบันมีถึง 19 ประเทศแล้วในยุโรปที่ห้ามปลูกพืชตัดแต่งพันธุกรรม (http://goo.gl/1Jm8if)
มีความพยายามที่จะทำลายความน่าเชื่อถือของงานวิจัยนี้โดยเฉพาะจากบริษัทข้ามชาติด้านการเกษตร ที่จำหน่ายสินค้าพืชตัดแต่งพันธุกรรม แต่นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากออกมาสนับสนุนคณะนักวิจัย และล่าสุดสมาพันธ์นักวิทยาศาสตร์แห่งประเทศเยอรมนีก็ได้มอบรางวัลผู้มีผลงานดีเด่นให้แก่ศาสตราจารย์เซอราลินี เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา (http://goo.gl/pR2ucV)
ผลเสียของพืชตัดแต่งพันธุกรรม มีมากมาย ข้ออ้างต่างๆ ว่า พืชตัดแต่งพันธุกรรมมีประโยชน์ถูกหักล้างด้วยข้อมูลงานวิจัยจำนวนมากที่ชี้ให้เห็นผลเสียในวงกว้าง เช่น ข้ออ้างที่ว่าการปลูกพืชตัดแต่งพันธุกรรมจะช่วยทำให้ใช้สารเคมีลดลง แต่กลับพบว่าต้องใช้สารเคมีกำจัดแมลงและวัชพืชเพิ่มมากขึ้น
ดังเช่น ที่ประเทศอาร์เจนติน่า หลังจากเกษตรกรหันมาปลูกถั่วเหลืองจีเอ็มโอ กลับมีการใช้สารเคมีฆ่าหญ้าเพิ่มขึ้นถึง 56 เท่า นับจากปี ค.ศ.1996 ถึงปี 2004 (http://goo.gl/UmBIhH) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้สารเคมีฆ่าหญ้าเพิ่มขึ้นถึง 183 ล้านกิโลกรัม นับจากปี ค.ศ.1996 ถึงปี 2011 (http://goo.gl/LOFuf)
สารเคมีฆ่าหญ้าที่ขายดีอันดับหนึ่งในไทย คือ ไกลโฟเสท เพิ่งถูกจัดให้เป็นสารที่มีโอกาสก่อมะเร็ง โดยองค์การอนามัยโลกเมื่อเร็วๆนี้ (http://goo.gl/7mG8KI)
ปัญหาสุขภาพของคนไทยมีมากมายอยู่แล้ว มะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทยมานานกว่า 10 ปีแล้ว คนที่ป่วยและญาติๆ ต้องทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส ผู้ที่เกี่ยวข้องโปรดอย่าซ้ำเติมอีกเลย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การทดลองที่ประเทศฝรั่งเศสพบว่าหนูทดลองที่ถูกป้อนด้วยข้าวโพดตัดแต่งพันธุกรรมทำให้เป็นเนื้องอกและตายเร็วขึ้น หลายประเทศในยุโรปจึงห้ามปลูกพืชตัดแต่งพันธุกรรม ประเทศไทยจึงไม่ควรอนุญาตให้ปลูกเช่นกัน เพื่อป้องกันผลเสียในระยะยาว ต่อคนไทยและลูกหลาน
กระแสความเคลื่อนไหวคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.เกี่ยวกับพืชตัดแต่งพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ทุกคนควรสนใจติดตาม เพราะจะมีผลต่อสุขภาพของเราและลูกหลานอย่างมาก
การทดลองผลกระทบของพืชตัดแต่งพันธุกรรมต่อสุขภาพที่โด่งดังมาก คือ การวิจัยของศาสตราจารย์เซอราลินี แห่งมหาวิทยาลัยแคน ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.2555 เพราะเป็นงานวิจัยแรกที่ชี้ให้เห็นผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวของพืชตัดแต่งพันธุกรรม และพบว่า หนูที่เลี้ยงโดยข้าวโพดตัดแต่งพันธุกรรมทำให้เป็นเนื้องอก โดยเฉพาะที่เต้านมและต่อมใต้สมอง ทำให้ไตวาย ตับเสื่อมและตายเร็วขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (http://goo.gl/iajo7F)
การวิจัยนี้เริ่มขึ้นจากเพราะนักวิจัยเห็นข้อบกพร่องของงานวิจัยที่ดำเนินการก่อนหน้านี้ ที่สรุปว่าพืชตัดแต่งพันธุกรรม ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (http://goo.gl/e1FT0A) ซึ่งเป็นเพราะทดลองเพียง 90 วันเท่านั้น แต่การวิจัยครั้งใหม่ทดลองนานขึ้นถึง 24 เดือน
งานวิจัยของศาสตราจารย์เซอราลินี สร้างความตื่นตัวอย่างมากในยุโรป ปัจจุบันมีถึง 19 ประเทศแล้วในยุโรปที่ห้ามปลูกพืชตัดแต่งพันธุกรรม (http://goo.gl/1Jm8if)
มีความพยายามที่จะทำลายความน่าเชื่อถือของงานวิจัยนี้โดยเฉพาะจากบริษัทข้ามชาติด้านการเกษตร ที่จำหน่ายสินค้าพืชตัดแต่งพันธุกรรม แต่นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากออกมาสนับสนุนคณะนักวิจัย และล่าสุดสมาพันธ์นักวิทยาศาสตร์แห่งประเทศเยอรมนีก็ได้มอบรางวัลผู้มีผลงานดีเด่นให้แก่ศาสตราจารย์เซอราลินี เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา (http://goo.gl/pR2ucV)
ผลเสียของพืชตัดแต่งพันธุกรรม มีมากมาย ข้ออ้างต่างๆ ว่า พืชตัดแต่งพันธุกรรมมีประโยชน์ถูกหักล้างด้วยข้อมูลงานวิจัยจำนวนมากที่ชี้ให้เห็นผลเสียในวงกว้าง เช่น ข้ออ้างที่ว่าการปลูกพืชตัดแต่งพันธุกรรมจะช่วยทำให้ใช้สารเคมีลดลง แต่กลับพบว่าต้องใช้สารเคมีกำจัดแมลงและวัชพืชเพิ่มมากขึ้น
ดังเช่น ที่ประเทศอาร์เจนติน่า หลังจากเกษตรกรหันมาปลูกถั่วเหลืองจีเอ็มโอ กลับมีการใช้สารเคมีฆ่าหญ้าเพิ่มขึ้นถึง 56 เท่า นับจากปี ค.ศ.1996 ถึงปี 2004 (http://goo.gl/UmBIhH) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้สารเคมีฆ่าหญ้าเพิ่มขึ้นถึง 183 ล้านกิโลกรัม นับจากปี ค.ศ.1996 ถึงปี 2011 (http://goo.gl/LOFuf)
สารเคมีฆ่าหญ้าที่ขายดีอันดับหนึ่งในไทย คือ ไกลโฟเสท เพิ่งถูกจัดให้เป็นสารที่มีโอกาสก่อมะเร็ง โดยองค์การอนามัยโลกเมื่อเร็วๆนี้ (http://goo.gl/7mG8KI)
ปัญหาสุขภาพของคนไทยมีมากมายอยู่แล้ว มะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทยมานานกว่า 10 ปีแล้ว คนที่ป่วยและญาติๆ ต้องทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส ผู้ที่เกี่ยวข้องโปรดอย่าซ้ำเติมอีกเลย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่