ผู้จัดการายวัน360 - สสส.จับมือ PARC จัดประชุมวิชาการ ปลุกกระแสกิจกรรมทางกาย หวังคนไทยเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) “หมอจุฬา” แนะหลัก “ลดเวลานั่ง-เพิ่มเวลายืน-ยืดเวลาเดิน-เพลินเวลาออกกำลัง”
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ (PARC) จัดการประชุมวิชาการกิจกรรมทางกายระดับชาติ ครั้งที่ 1 ภายใต้หัวข้อ “Active Living for all” หรือ กิจกรรมทางกายเพื่อทุกคน โดยได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน อาทิ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนและสร้างโอกาสในการเรียนรู้กระบวนการจัดการพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ
รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า เรื่องของกิจกรรมทางกายไม่ใช่ปัญหาส่วนบุคคล แต่เป็นปัญหาของทั้งสังคมที่ต้องช่วยกันแก้ไข สสส.จึงต้องทำงานผ่านภาคีเครือข่าย ท้องถิ่น สถานศึกษา ในการสร้างพื้นที่สุขภาวะ หรือปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย ควบคู่ไปกับการสื่อสารรณรงค์ โดยทุกภาคส่วนล้วนแต่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนให้กิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันเป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติได้ง่าย ลดพฤติกรรมแน่นิ่ง ให้เป็นส่วนหนึ่งของค่านิยม และวิถีชีวิตของคนในประเทศ
ผศ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ และหลอดเลือด คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า คนไทยประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมดมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ จากรายงานผลการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) และการบาดเจ็บ เมื่อปี 2553 พบว่าคนไทยช่วงอายุ 15-74 ร้อยละ 65.7 หรือประมาณ 31.3 ล้านคน ออกกำลังกายไม่เพียงพอ และคนไทยจำนวนมากเป็นโรคไม่ติดต่อ ซึ่งเป็นสาเหตุถึงร้อยละ 71 ที่ทำให้คนไทยเสียชีวิต
“เทคนิคที่แนะนำคือ ลดเวลานั่ง-เพิ่มเวลายืน-ยืดเวลาเดิน-เพลินเวลาออกกำลัง เป็นแนวทางที่ทำได้ไม่ยาก เช่น ลุกขึ้นเดินให้ได้ระหว่างอยู่ในที่ทำงานสัก 2 ชั่วโมง เพิ่มเวลายืนให้มากขึ้น 4 ชั่วโมง และทำงานบ้าน 1 ชั่วโมง เป็นต้น ที่สำคัญควรมีวินัยในตนเอง” ผศ.นพ.สมเกียรติ กล่าว.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ (PARC) จัดการประชุมวิชาการกิจกรรมทางกายระดับชาติ ครั้งที่ 1 ภายใต้หัวข้อ “Active Living for all” หรือ กิจกรรมทางกายเพื่อทุกคน โดยได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน อาทิ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนและสร้างโอกาสในการเรียนรู้กระบวนการจัดการพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ
รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า เรื่องของกิจกรรมทางกายไม่ใช่ปัญหาส่วนบุคคล แต่เป็นปัญหาของทั้งสังคมที่ต้องช่วยกันแก้ไข สสส.จึงต้องทำงานผ่านภาคีเครือข่าย ท้องถิ่น สถานศึกษา ในการสร้างพื้นที่สุขภาวะ หรือปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย ควบคู่ไปกับการสื่อสารรณรงค์ โดยทุกภาคส่วนล้วนแต่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนให้กิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันเป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติได้ง่าย ลดพฤติกรรมแน่นิ่ง ให้เป็นส่วนหนึ่งของค่านิยม และวิถีชีวิตของคนในประเทศ
ผศ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ และหลอดเลือด คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า คนไทยประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมดมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ จากรายงานผลการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) และการบาดเจ็บ เมื่อปี 2553 พบว่าคนไทยช่วงอายุ 15-74 ร้อยละ 65.7 หรือประมาณ 31.3 ล้านคน ออกกำลังกายไม่เพียงพอ และคนไทยจำนวนมากเป็นโรคไม่ติดต่อ ซึ่งเป็นสาเหตุถึงร้อยละ 71 ที่ทำให้คนไทยเสียชีวิต
“เทคนิคที่แนะนำคือ ลดเวลานั่ง-เพิ่มเวลายืน-ยืดเวลาเดิน-เพลินเวลาออกกำลัง เป็นแนวทางที่ทำได้ไม่ยาก เช่น ลุกขึ้นเดินให้ได้ระหว่างอยู่ในที่ทำงานสัก 2 ชั่วโมง เพิ่มเวลายืนให้มากขึ้น 4 ชั่วโมง และทำงานบ้าน 1 ชั่วโมง เป็นต้น ที่สำคัญควรมีวินัยในตนเอง” ผศ.นพ.สมเกียรติ กล่าว.