วานนี้ (9 ธ.ค.) ที่เวทีแถลงข่าวเปิดแผนงานรองรับด้านที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองที่จะได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วม
ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งจัดโดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) นายพลากร วงค์กองแก้ว ผู้อ้านวยการพอช. กล่าวว่า ตามแผนงานปี 56-60 นั้น
พอช.ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้จัดทำแผนงานรองรับที่อยู่อาศัยของชาวบ้านที่จะได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนริมคลองของกรุงเทพฯ โดยทาง
องค์กรได้จัดทำ "แผนปฏิบัติการการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองเพื่อรองรับนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหารุกล้ำที่ดินคูคลอง พ.ศ. 2559-
2561”ขึ้นมา มีเป้าหมายทั้งหมด 66 ชุมชน จำนวน 11,004 ครัวเรือน ประชากร 58,838 คน ใช้งบประมาณราว 4,000 ล้านบาท แบ่งการใช้งบ
ประมาณเป็นปี โดยปี 2559 ใช้งบประมาณในวงเงิน 1,401.60 ล้านบาท ปี 2560 จำนวน 1,740.58 ล้านบาท และปี 2561 ใช้งบประมาณ 919.28
ล้านบาท แยกเป็นงบสนับสนุนการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค และที่อยู่อาศัย 880.32 บาท งบช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบและเสียโอกาส 880.32 บาท
งบสนับสนุนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยครัวเรือนละไม่เกิน 2,200.80 บาท และงบประมาณสำรวจจัดทำฐานข้อมูล พัฒนาองค์กรชาวบ้าน และติดตามประเมิน
ผลรวม 100 ล้านบาท
" พื้นที่ซึ่งจำเป็นต่อการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ มีพื้นที่สำหรับปฏิบัติงานหลายแห่ง ประกอบด้วย เขตจตุจักร, หลักสี่,
ดอนเมือง, สายไหม, บางเขน, วังทองหลาง, ลาดพร้าว และเขตห้วยขวาง เพื่อสร้างองค์ความรู้แก่ชุมชนที่มีปัญหาเรื่องรุกล้ำที่อยู่คลอง ชุมชนแออัดที่มี
ปัญหาเรื่องการจัดการที่ดินและแม่น้ำชุมชน เพื่อให้สามารถมีที่อยู่อาศัยอย่างมั่นคง และสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลทั้งการสร้างเขื่อนในคลองเพื่อแก้
ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งจะมีบางพื้นที่ที่ต้องถูกรื้อบ้านเพื่อสร้างใหม่แบบเฉลี่ยกันในชุมชน และไม่กีดขวางทางคมนาคมขนส่งทางน้ำ ซึ่งในส่วนของพื้นที่ที่ถูกรื้อ
ถอนนั้น จะมีพื้นที่อื่นรองรับเสมอ เพราะบ้านบางหลังนั้นมีขนาดใหญ่เกินไป และมีพื้นที่ส่วนของการรุกล้ำ เพื่อการจัดการที่ดินโดยส่วนรวม แต่บ้านที่ถูก
รื้อไม่ได้ถูกรื้อเปล่า มีทางเลือกอื่นในการสร้างใหม่ แต่โดยรวมแล้วการรื้อบ้านประชาชนริมคลอง เป็นไปเพื่อการสร้างบ้านแบบเฉลี่ยที่ดินให้ประชาชน
ในชุมชนดั้งเดิมสามารถดำรงชีวิตข้างคลองต่อไป ส่วนผู้ที่มีรายได้น้อยนั้นไม่ต้องห่วง เพราะคุณไม่ได้ถูกไล่ที่เหมือนเอกชนไล่ แต่พอช.ได้ร่วมมือกับ
กรมธนารักษ์ จะให้ชาวบ้านรวมกลุ่มกันเช่าที่ดินในระยะยาวและราคาถูกเป็นเวลา 30 ปี ชาวบ้านก็จะได้ ร่วมกันพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
โดยกู้เงินรูปแบบสหกรณ์ มีดอกเบี้ยถูก และสร้างวินัยในการจัดการกองทุนกลางของชุมชนเพื่อการมีที่อยู่แบบยังยืน" นายพลากร กล่าว
นายสยาม นนท์คำจันทร์ ผู้จัดการสำนักงานปฏิบัติการภาคกรุงเทพฯ กล่าวว่า ในแผนปฏิบัติงานดังกล่าวนั้น หากมีการจัดการคูคลองที่มี
สภาพความเป็นอยู่แน่นมาก ทางเครือข่ายได้มีการเจรจาร่วมกับหน่วยงานของรัฐบาล เพื่อหาที่ดินของรัฐซึ่งใกล้เคียงชุมชนเดิมรัศมี 5-10 กิโลเมตร จาก
ชุมชนเดิม และหาจากเอกชนเพิ่มเติม เช่น ที่ดินจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ของกระทรวงการคลัง หรือจัดหาที่อยู่อาศัยของการเคหะฯ เพื่อรองรับชาว
บ้านต่อไป โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนจะสนับสนุนชาวบ้านในเรื่องของสินเชื่อเพื่อก่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่และเงินอุดหนุนเพื่อสร้างสาธารณูปโภคกับ
บรรษัทต่างๆเพื่อซื้อที่ดินรองรับการ้ายถิ่นที่อยู่ของประชาชนริมคลอง โดยขอซื้อในราคาถูกกว่าราคาประกาศขาย 30 แล้วให้ประชาชนเช่าอยู่ในอัตรา
ดอกเบี้ยของสหกรณ์สินเชื่อไม่เกินร้อยละ4บาทส่วนการจัดการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เข้าสู่ชุมชน เช่น น้ำ ไฟ ทางเครือข่ายก็จะช่วยเหลือเป็นเงินยูนิตละ
ประมาณ50,000 บาท โดยหากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการก็สามารถดำเนินการได้เลย
นายสยาม กล่าวต่อว่า สำหรับความคืบหน้าในการดำเนินงานรองรับด้านที่อยู่อาศัย ปัจจุบันมีชาวบ้านหลายชุมชนได้จัดตั้งกลุ่มออม
ทรัพย์เพื่อเป็นทุนในการสร้างบ้านและเป็นหลักทรัพย์ในการยื่นขอสินเชื่อจาก พอช. รวมทั้งได้มีการออกแบบบ้าน ออกแบบผังชุมชนเพื่อเตรียมการก่อ
สร้างบ้านแล้ว ส่วนความคืบหน้าในการก่อสร้างเขื่อนนั้น ขณะนี้สำนักการระบายน้า กทม.ได้บริษัทที่รับเหมาแล้ว คือ บริษัทริเวอร์ เอ็นจิเนียริ่ง วงเงิน
ประมาณ 1,600 ล้านบาท อยู่ในระหว่างการอนุมัติงบประมาณจากกระทรวงมหาดไทยและท้าสัญญาจ้างต่อไปโดยคาดว่าการลงนามจะมีขึ้นภายในเดือน
ธันวาคมนี้ จากนั้นจึงจะเริ่มก่อสร้างเขื่อน โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 1,200 วัน
นายประภาส แสงประดับ ประธานชุมชนวัดบางบัว กล่าวว่า ในฐานะที่ชุมชนบางบัวเป็นโมเดลหลักที่เคยจัดการริมคลอง ยืนยันว่า การ
จัดการความเป็นอยู่ริมคลองเพื่อสอดรับกับนโยบายรัฐบาลนั้นไม่ได้เป็นเรื่องยาก แต่ พอช.ต้องทำความเข้าใจกับชุมชนให้มาก ว่า ถ้าจัดการแล้วจะต้อง
รักษากฎระเบียบใดเพื่อความมั่นคงอย่างยั่งยืน และไม่ถูกเอกชนหรือรัฐบาลไล่รื้อเพื่อการพัฒนาในอนาคต เช่น เสนอแผนพัฒนาน้ำให้สวยใส ร่มรื่น
เสนอแปลนออมทรัพย์ป้องกันปัญหาด้านการเงิน รวมทั้งเสนอนโยบายต่อรัฐบาลกลางให้ยอมรับการตัดสินใจของประชาชน กรณีชุมชนต้องการมีส่วนร่วม
เกี่ยวกับโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ เช่น กรณีชุมชนบางบัวนั้นมีการรักษาสภาพแวดล้อมคูคลองอย่างดี สลายความแออัดได้ และมีความเป็นอยู่ที่ดีไม่
เบียดเบียนที่ดินหลวงจนเกินไป มีเว้นระยะห่างระหว่างบ้านแต่ละหลัง แล้วยังมีการออกกฎ ห้ามสร้างบ้านล้ำที่คลองสาธารณะด้วย แต่ประสบการณ์ของ
บางบัว คือ ในการก่อสร้างบ้านมั่นคงในชุมชนนั้น ยังติดระเบียบเรื่อง พ.ร.บ. ควบคุมอาคารอยู่ เช่น ในเนื้อหา พ.ร.บ. ดังกล่าวระบุว่า ให้สร้างบ้านระยะ
ห่างจากกันอย่างน้อย 4 เมตร ห่างริมคลอง 6 เมตร แต่ในทางปฏิบัตินั้นทำไม่ได้เพราะชุมชนบางบัวที่แคบก็มีการลดหลั่นระยะเข้ามา ซึ่งหากจะปฏิบัติ
กับชุมชนอื่นในปี 2559 คิดว่ารัฐบาลต้องมีการอนุโลมนโยบายในการสร้างบ้านมั่นคงโดยไม่ผูกติด พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร เนื่องจากชุมชนแออัดบางแห่ง
มีวิถีชีวิตริมคลองที่ยาวนาน และมีเนื้อที่จำกัดซึ่งกรณีนี้ชุมชนสามารถเจรจากับผู้อาศัยรายที่มีบ้านหลังใหญ่และรุกล้ำที่คลองมากเกินไปเพื่อลดขนาดบ้าน
ลงได้ เพื่อให้เพียงพอกับการอาศัยอยู่ของสมาชิกทุกคน
" คือการจัดการที่ดินลักษณะนี้ ดีกว่าการรื้อชุมชนแล้วไล่ไปอยู่ที่อื่น แล้วรัฐมาเปิดช่องให้เอกชนเจ้าของคอนโดสร้างคอนโดหรู เพราะ
การจัดการที่อยู่อาศัยแบบนี้เป็นแบบเอื้อเฟื้อคนอยู่กับคลองได้ รัฐสร้างเขื่อนกั้นน้ำท่วมได้ เปิดทางระบายน้ำได้ และคนก็มีที่อยู่ไม่กลายเป็นคนไร้บ้าน แม้
ว่าค่าเช่าและมูลค่าที่ดินริมคลองน้อยกว่าเอกชนที่มาลงทุน แต่ประชาชนไม่อดตาย ไม่ไร้ที่อยู่อาศัย และหากทำได้ดีเชื่อว่าคลอง กรุงเทพจะกลับมาดีอีกครั้ง
ด้วยฝีมือชุมชนที่ร่วมกันฟิ้นฟู" นายประภาส กล่าว
ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งจัดโดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) นายพลากร วงค์กองแก้ว ผู้อ้านวยการพอช. กล่าวว่า ตามแผนงานปี 56-60 นั้น
พอช.ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้จัดทำแผนงานรองรับที่อยู่อาศัยของชาวบ้านที่จะได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนริมคลองของกรุงเทพฯ โดยทาง
องค์กรได้จัดทำ "แผนปฏิบัติการการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองเพื่อรองรับนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหารุกล้ำที่ดินคูคลอง พ.ศ. 2559-
2561”ขึ้นมา มีเป้าหมายทั้งหมด 66 ชุมชน จำนวน 11,004 ครัวเรือน ประชากร 58,838 คน ใช้งบประมาณราว 4,000 ล้านบาท แบ่งการใช้งบ
ประมาณเป็นปี โดยปี 2559 ใช้งบประมาณในวงเงิน 1,401.60 ล้านบาท ปี 2560 จำนวน 1,740.58 ล้านบาท และปี 2561 ใช้งบประมาณ 919.28
ล้านบาท แยกเป็นงบสนับสนุนการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค และที่อยู่อาศัย 880.32 บาท งบช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบและเสียโอกาส 880.32 บาท
งบสนับสนุนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยครัวเรือนละไม่เกิน 2,200.80 บาท และงบประมาณสำรวจจัดทำฐานข้อมูล พัฒนาองค์กรชาวบ้าน และติดตามประเมิน
ผลรวม 100 ล้านบาท
" พื้นที่ซึ่งจำเป็นต่อการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ มีพื้นที่สำหรับปฏิบัติงานหลายแห่ง ประกอบด้วย เขตจตุจักร, หลักสี่,
ดอนเมือง, สายไหม, บางเขน, วังทองหลาง, ลาดพร้าว และเขตห้วยขวาง เพื่อสร้างองค์ความรู้แก่ชุมชนที่มีปัญหาเรื่องรุกล้ำที่อยู่คลอง ชุมชนแออัดที่มี
ปัญหาเรื่องการจัดการที่ดินและแม่น้ำชุมชน เพื่อให้สามารถมีที่อยู่อาศัยอย่างมั่นคง และสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลทั้งการสร้างเขื่อนในคลองเพื่อแก้
ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งจะมีบางพื้นที่ที่ต้องถูกรื้อบ้านเพื่อสร้างใหม่แบบเฉลี่ยกันในชุมชน และไม่กีดขวางทางคมนาคมขนส่งทางน้ำ ซึ่งในส่วนของพื้นที่ที่ถูกรื้อ
ถอนนั้น จะมีพื้นที่อื่นรองรับเสมอ เพราะบ้านบางหลังนั้นมีขนาดใหญ่เกินไป และมีพื้นที่ส่วนของการรุกล้ำ เพื่อการจัดการที่ดินโดยส่วนรวม แต่บ้านที่ถูก
รื้อไม่ได้ถูกรื้อเปล่า มีทางเลือกอื่นในการสร้างใหม่ แต่โดยรวมแล้วการรื้อบ้านประชาชนริมคลอง เป็นไปเพื่อการสร้างบ้านแบบเฉลี่ยที่ดินให้ประชาชน
ในชุมชนดั้งเดิมสามารถดำรงชีวิตข้างคลองต่อไป ส่วนผู้ที่มีรายได้น้อยนั้นไม่ต้องห่วง เพราะคุณไม่ได้ถูกไล่ที่เหมือนเอกชนไล่ แต่พอช.ได้ร่วมมือกับ
กรมธนารักษ์ จะให้ชาวบ้านรวมกลุ่มกันเช่าที่ดินในระยะยาวและราคาถูกเป็นเวลา 30 ปี ชาวบ้านก็จะได้ ร่วมกันพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
โดยกู้เงินรูปแบบสหกรณ์ มีดอกเบี้ยถูก และสร้างวินัยในการจัดการกองทุนกลางของชุมชนเพื่อการมีที่อยู่แบบยังยืน" นายพลากร กล่าว
นายสยาม นนท์คำจันทร์ ผู้จัดการสำนักงานปฏิบัติการภาคกรุงเทพฯ กล่าวว่า ในแผนปฏิบัติงานดังกล่าวนั้น หากมีการจัดการคูคลองที่มี
สภาพความเป็นอยู่แน่นมาก ทางเครือข่ายได้มีการเจรจาร่วมกับหน่วยงานของรัฐบาล เพื่อหาที่ดินของรัฐซึ่งใกล้เคียงชุมชนเดิมรัศมี 5-10 กิโลเมตร จาก
ชุมชนเดิม และหาจากเอกชนเพิ่มเติม เช่น ที่ดินจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ของกระทรวงการคลัง หรือจัดหาที่อยู่อาศัยของการเคหะฯ เพื่อรองรับชาว
บ้านต่อไป โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนจะสนับสนุนชาวบ้านในเรื่องของสินเชื่อเพื่อก่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่และเงินอุดหนุนเพื่อสร้างสาธารณูปโภคกับ
บรรษัทต่างๆเพื่อซื้อที่ดินรองรับการ้ายถิ่นที่อยู่ของประชาชนริมคลอง โดยขอซื้อในราคาถูกกว่าราคาประกาศขาย 30 แล้วให้ประชาชนเช่าอยู่ในอัตรา
ดอกเบี้ยของสหกรณ์สินเชื่อไม่เกินร้อยละ4บาทส่วนการจัดการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เข้าสู่ชุมชน เช่น น้ำ ไฟ ทางเครือข่ายก็จะช่วยเหลือเป็นเงินยูนิตละ
ประมาณ50,000 บาท โดยหากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการก็สามารถดำเนินการได้เลย
นายสยาม กล่าวต่อว่า สำหรับความคืบหน้าในการดำเนินงานรองรับด้านที่อยู่อาศัย ปัจจุบันมีชาวบ้านหลายชุมชนได้จัดตั้งกลุ่มออม
ทรัพย์เพื่อเป็นทุนในการสร้างบ้านและเป็นหลักทรัพย์ในการยื่นขอสินเชื่อจาก พอช. รวมทั้งได้มีการออกแบบบ้าน ออกแบบผังชุมชนเพื่อเตรียมการก่อ
สร้างบ้านแล้ว ส่วนความคืบหน้าในการก่อสร้างเขื่อนนั้น ขณะนี้สำนักการระบายน้า กทม.ได้บริษัทที่รับเหมาแล้ว คือ บริษัทริเวอร์ เอ็นจิเนียริ่ง วงเงิน
ประมาณ 1,600 ล้านบาท อยู่ในระหว่างการอนุมัติงบประมาณจากกระทรวงมหาดไทยและท้าสัญญาจ้างต่อไปโดยคาดว่าการลงนามจะมีขึ้นภายในเดือน
ธันวาคมนี้ จากนั้นจึงจะเริ่มก่อสร้างเขื่อน โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 1,200 วัน
นายประภาส แสงประดับ ประธานชุมชนวัดบางบัว กล่าวว่า ในฐานะที่ชุมชนบางบัวเป็นโมเดลหลักที่เคยจัดการริมคลอง ยืนยันว่า การ
จัดการความเป็นอยู่ริมคลองเพื่อสอดรับกับนโยบายรัฐบาลนั้นไม่ได้เป็นเรื่องยาก แต่ พอช.ต้องทำความเข้าใจกับชุมชนให้มาก ว่า ถ้าจัดการแล้วจะต้อง
รักษากฎระเบียบใดเพื่อความมั่นคงอย่างยั่งยืน และไม่ถูกเอกชนหรือรัฐบาลไล่รื้อเพื่อการพัฒนาในอนาคต เช่น เสนอแผนพัฒนาน้ำให้สวยใส ร่มรื่น
เสนอแปลนออมทรัพย์ป้องกันปัญหาด้านการเงิน รวมทั้งเสนอนโยบายต่อรัฐบาลกลางให้ยอมรับการตัดสินใจของประชาชน กรณีชุมชนต้องการมีส่วนร่วม
เกี่ยวกับโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ เช่น กรณีชุมชนบางบัวนั้นมีการรักษาสภาพแวดล้อมคูคลองอย่างดี สลายความแออัดได้ และมีความเป็นอยู่ที่ดีไม่
เบียดเบียนที่ดินหลวงจนเกินไป มีเว้นระยะห่างระหว่างบ้านแต่ละหลัง แล้วยังมีการออกกฎ ห้ามสร้างบ้านล้ำที่คลองสาธารณะด้วย แต่ประสบการณ์ของ
บางบัว คือ ในการก่อสร้างบ้านมั่นคงในชุมชนนั้น ยังติดระเบียบเรื่อง พ.ร.บ. ควบคุมอาคารอยู่ เช่น ในเนื้อหา พ.ร.บ. ดังกล่าวระบุว่า ให้สร้างบ้านระยะ
ห่างจากกันอย่างน้อย 4 เมตร ห่างริมคลอง 6 เมตร แต่ในทางปฏิบัตินั้นทำไม่ได้เพราะชุมชนบางบัวที่แคบก็มีการลดหลั่นระยะเข้ามา ซึ่งหากจะปฏิบัติ
กับชุมชนอื่นในปี 2559 คิดว่ารัฐบาลต้องมีการอนุโลมนโยบายในการสร้างบ้านมั่นคงโดยไม่ผูกติด พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร เนื่องจากชุมชนแออัดบางแห่ง
มีวิถีชีวิตริมคลองที่ยาวนาน และมีเนื้อที่จำกัดซึ่งกรณีนี้ชุมชนสามารถเจรจากับผู้อาศัยรายที่มีบ้านหลังใหญ่และรุกล้ำที่คลองมากเกินไปเพื่อลดขนาดบ้าน
ลงได้ เพื่อให้เพียงพอกับการอาศัยอยู่ของสมาชิกทุกคน
" คือการจัดการที่ดินลักษณะนี้ ดีกว่าการรื้อชุมชนแล้วไล่ไปอยู่ที่อื่น แล้วรัฐมาเปิดช่องให้เอกชนเจ้าของคอนโดสร้างคอนโดหรู เพราะ
การจัดการที่อยู่อาศัยแบบนี้เป็นแบบเอื้อเฟื้อคนอยู่กับคลองได้ รัฐสร้างเขื่อนกั้นน้ำท่วมได้ เปิดทางระบายน้ำได้ และคนก็มีที่อยู่ไม่กลายเป็นคนไร้บ้าน แม้
ว่าค่าเช่าและมูลค่าที่ดินริมคลองน้อยกว่าเอกชนที่มาลงทุน แต่ประชาชนไม่อดตาย ไม่ไร้ที่อยู่อาศัย และหากทำได้ดีเชื่อว่าคลอง กรุงเทพจะกลับมาดีอีกครั้ง
ด้วยฝีมือชุมชนที่ร่วมกันฟิ้นฟู" นายประภาส กล่าว