xs
xsm
sm
md
lg

รักน้องหมา..ต้องช่วยหมอ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

หวัดดีฮับ ผมชื่อเคนตะสุดหล่อ
 
เพราะรู้ตัวตั้งแต่เด็กว่า มีความสุขเวลาอยู่กับหมา มากกว่าอยู่กับคน จึงตัดสินใจเลือกเรียนสัตวแพทย์ ทั้งที่คะแนนสอบ ก็พอจะถูไถเรียนหมอ (คน) ได้ แต่เมื่อเริ่มทำงาน ก็พบว่าลืมความจริงที่แสนสำคัญไปข้อหนึ่ง คือ สัตว์เลี้ยง ไม่สามารถบอกหมอได้ว่า เกิดอะไรขึ้น เจ็บตรงไหน มีอาการป่วยอะไรบ้าง ที่สุดแล้ว แม้จะเป็นหมอรักษาสัตว์ แต่ก็ต้องทำงานกับคน (เจ้าของ) หลากหลายรูปแบบ และเจ้าของเป็นกุญแจสำคัญ ที่จะทำให้งานรักษาของหมอ ประสบความสำเร็จ

สถานการณ์ที่ทำให้หมอปวดหัว เช่น รายหนึ่ง ให้หมอไปดูหมา ซึ่งนอนหายใจรวยริน อยู่ท้ายรถกระบะ พร้อมกับถามว่า "หมอ...หมาผมป่วยเป็นอะไร" โดยที่เจ้าของเอง ก็ไม่สามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมอะไรได้ บางครั้งก็ให้ข้อมูลที่ขัดแย้งกันเอง บางครั้งก็ไม่อนุญาต ให้หมอตรวจเพิ่มเติม ไม่ว่าจะตรวจเลือด X-Ray หรือ Ultrasound (ซึ่งก็มักจะมาจาก ความกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย) หรือที่แย่ที่สุดคือ แม้แต่ตรวจร่างกายเบื้องต้นก็ทำไม่ได้ เนื่องจากหมาดุมาก แทบจะเขมือบหมออยู่แล้ว แต่เจ้าของ ไม่อนุญาตให้ผูกปาก และตัวเจ้าของ ก็ไม่สามารถจับบังคับได้เช่นกัน โดยเจ้าของให้เหตุผลว่า "หมามันกลัว มันก็กัด จับไม่ได้หรอก" 

เจอแบบนี้ หมอก็ได้แค่ยืนมองอยู่ห่างๆอย่างห่วงๆ....ถอนหายใจ แล้วเริ่มต้นคาดเดา ความน่าจะเป็นของโรค เท่าที่ข้อมูลจะเอื้ออำนวย

หลายครั้งที่หมอได้แต่นึกในใจว่า หมาเป็นอะไร หมอจะรู้ได้ไง(วะ) เท่าที่เรียนมา ไม่ได้มีการฝึกทักษะประเภทญาณทิพย์ จิตสัมผัส หรือหมอแมะ บางครั้งก็ได้แต่ตอบเจ้าของไปอย่างขำๆว่า

แค่มองหน้า (หมา) หมอจะรู้ได้ไง ว่าป่วยเป็นอะไร

แม้เทคโนโลยีการแพทย์ในปัจจุบัน จะช่วยให้สามารถหาคำตอบ ของปัญหาได้ครอบคลุมมากขึ้น แต่ข้อมูลจากเจ้าของ และการตรวจร่างกาย ก็เป็นส่วนสำคัญมากๆ ที่จะช่วยในการวินิจฉัย แยกโรคในเบื้องต้น

เมื่อครั้งสอบสัมภาษณ์ เข้าเรียนคณะสัตวแพทย์ อาจารย์ถามว่า "เมื่อเจ้าของพาหมาตัวหนึ่ง มารักษากับคุณ คุณจะรู้ได้อย่างไรว่า หมาตัวนี้ป่วยเป็นอะไร" คำตอบของหมอในวันนั้นคือ อาศัยการตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น วัดไข้ ฟังปอด เป็นต้น อาจารย์บอกว่า ยังขาดสิ่งที่สำคัญที่สุด อีกอย่างหนึ่ง นั่นคือการซักประวัติอาการป่วยจากเจ้าของ
zorrow อยู่เมืองหนาว ..(ขอบคุณผู้อ่านจากเมืองไกล)
 
กรณีของ "ด่าง" ชัดเจนที่สุด
 
"ด่าง" หมาไทย วัย 13 ปี ถูกหามเข้ามาหาหมอ อย่างเร่งด่วน ด้วยภาวะช็อค เจ้าของแจ้งว่าด่างแพ้แป้งกำจัดเห็บ อาการที่เห็นคือ หนังตาบวม ปากบวม หมดสติ กล้ามเนื้อหูรูดที่ก้นคลายตัว ถ่ายมีเลือดปน แม้หมอจะไม่ปักใจว่า สิ่งที่แพ้ คือ แป้งกำจัดเห็บ แต่อาการที่เห็น มีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นภาวะช็อคจากอาการแพ้ ไม่ว่าจะแพ้อะไรก็ตาม (อาการช็อค เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ช็อคจากการแพ้ ช็อคจากภาวะเสียเลือด เป็นต้น ซึ่งจะให้การรักษาแตกต่างกัน)

หลังจากแก้ไขภาวะช็อคเรียบร้อย ด่างเริ่มรู้สึกตัว จนกระดิกหาง เมื่อเจ้าของเรียกชื่อได้แล้ว หมอจึงเริ่มซักประวัติอย่างละเอียดอีกครั้ง พบว่าด่างมีโรคประจำตัว คือ พยาธิหนอนหัวใจ และเคยป่วยเป็นพยาธิเม็ดเลือด เมื่อปีก่อน ช่วงนี้ด่างมีเห็บเยอะ เจ้าของจึงจับออก ร่วมกับการใช้แป้งกำจัดเห็บ โดยจะใส่แป้งเยอะเป็นพิเศษ บริเวณแผลที่ถูกเห็บกัด ซึ่งระหว่างกระบวนการ ด่างให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี หลังจากใช้แป้งไปประมาณ 15 นาที ด่างลุกขึ้นสะบัดตัว วิ่งไปกินน้ำ หลังจากนั้นก็ล้มลง โชคดีที่เจ้าของเดินตามไปดู จึงรีบพามาหาหมอ
 
ข้อมูลที่ละเอียด และชัดเจน มีส่วนช่วยให้หมอรักษา และช่วยชีวิตได้ทัน ผลเลือดพบภาวะเลือดจาง และการติดเชื้อพยาธิเม็ดเลือด แต่ค่าเคมีในเลือด เกี่ยวกับการทำงานของตับ และไตปกติ หมอจึงให้ยาเพื่อรักษาพยาธิเม็ดเลือด พร้อมทั้งแนะนำ ให้ด่างใช้ยากิน ป้องกันการติดพยาธิหนอนหัวใจเพิ่ม (ตัดวงจรด้วยการฆ่าตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจ ในกระแสเลือด ไม่ให้พัฒนาไปเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งจะอยู่ในหัวใจ) ร่วมกับการใช้ยาหยดหลัง แทนการฉีดยาเพื่อกำจัดเห็บ ซึ่งจะปลอดภัยกว่าการใช้ยาฉีด ในกรณีที่หมามีปัญหาพยาธิหนอนหัวใจอยู่แล้ว

นอกจากความช่างสังเกต และเอาใจใส่ในรายละเอียด ของเจ้าของจะมีส่วนช่วยหมอ ในการรักษาน้องหมาได้แล้ว เจ้าของยังต้องช่วยหมอ รักษาโดยการป้อนยาหมาด้วย เช่นกรณีของ CK ชิวาว่าขนยาว ซึ่งมาหาหมอด้วยปัญหาขนร่วงเป็นวง ผลการตรวจพบว่าเป็นเชื้อรา และมีปัญหาผิวหนังอักเสบร่วมด้วย เบื้องต้นหมอจ่ายยากิน และแชมพูยากลับไปอาบทุก 3 วัน พร้อมนัดตรวจในสัปดาห์ต่อมา ปรากฏว่าอาการแย่ลง ขนร่วงมากขึ้น ผิวหนังเป็นแผลมากขึ้น และลึกขึ้น (อาจเกิดจากคันจึง เกา และกัดแทะ) เมื่อสอบถามพบว่า เจ้าของไม่สามารถป้อนยาได้ และไม่สามารถอาบน้ำได้ ตามที่ตกลงกันเนื่องจากไม่มีเวลา

สุดท้ายเจ้าของตัดสินใจฝาก CK ไว้กับหมอเพื่อป้อนยา และอาบน้ำตามกำหนด รวมแล้ว CK ต้องอยู่กับหมอนานถึง 2 เดือน (โรคผิวหนัง เป็นอีกโรคหนึ่ง ที่ต้องใช้เวลาในการรักษา ค่อนข้างนาน โดยมากแล้วหมอจะเป็นเพียงผู้วินิจฉัยโรค แต่ผู้ที่จะช่วยให้การรักษา ประสบความสำเร็จ คือ เจ้าของ เพราะจะต้องให้ยากินต่อเนื่อง นานนับเดือน ร่วมกับการใช้แชมพูยา อาบน้ำอย่างสม่ำเสมอ)

เชื่อเถอะค่ะว่า เจ้าของเป็นคนสำคัญที่สุดของน้องหมา เพราะรู้เห็นความเป็นมา ของความเจ็บป่วยมาแต่ต้น ข้อมูลทั้งหมด ช่วยให้หมอวินิจฉัยโรคได้แม่นยำ และทันการ เช่น กรณีของ "ด่าง" ซึ่งรอดเพราะเจ้าของให้ข้อมูล ที่มีค่าต่อชีวิตในนาทีวิกฤติของน้องหมา
สพ.ญ. ณหทัย ศรีสุวรรณธัช
ปรึกษาปัญหาหมาแมวได้ที่
kaew.nahathai@gmail.com



กำลังโหลดความคิดเห็น