ผู้จัดการรายวัน360-ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเอทานอล ชีวมวล พลังงาน และปุ๋ย ยื่นประมูลซื้อข้าวเสียเหมาหมด 3.74 หมื่นตัน มูลค่ากว่า 197 ล้านบาท “ชุติมา”ยันประมูลข้าวเสียโปร่งใส คาดรัฐเจ๊งเกือบ 700 ล้านจากราคาที่รับจำนำมา
นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงผลการประมูลข้าวสารในสต๊อกของรัฐเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1/2558 ว่า มีผู้ยื่นซองเอกสารเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติรวม 15 ราย ซึ่งมีผู้ผ่านคุณสมบัติ 14 ราย และมายื่นซองเสนอราคา 13 ราย ใน 10 คลัง ปริมาณ 37,412 ตัน คิดเป็น 100% ของข้าวที่นำมาเปิดประมูล โดยมีมูลค่าประมาณ 197.804 ล้านบาท และส่วนใหญ่ประกอบอุตสาหกรรมเอทานอล ชีวมวล พลังงาน และปุ๋ย
กรมฯจะรวบรวมผลการเสนอซื้อที่มีมูลค่าสูงสุดในแต่ละคลังเข้าสู่การพิจารณาของคณะทำงานดำเนินการระบายข้าวในสต๊อกของรัฐ เพื่อนำเสนอประธานคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) เพื่อพิจารณาตัดสินการเสนอซื้อ และแจ้งผลให้ผู้เสนอราคาซื้อสูงสุดทราบต่อไป
น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงฯ ขอยืนยันว่าการนำข้าวเสียมาเปิดประมูลให้กับภาคอุตสาหกรรมครั้งนี้ เป็นการดำเนินการอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ รวมถึงบริษัทตรวจสอบสินค้าเกษตร (เซอร์เวเยอร์) และเจ้าของโกดัง โดยข้าวที่ไม่ได้คุณภาพ ก็มีการส่งตำรวจดำเนินคดี
สำหรับการเปิดประมูลข้าวเสียล็อตต่อไป ขอดูผลการประมูลรอบนี้ก่อนว่าเป็นอย่างไร เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับรัฐบาลในการที่ต้องเสียค่าฝากเก็บเดือนละกว่า 30 ล้านบาท ส่วนข้าวคุณภาพดี จะมีการเปิดประมูลเป็นการทั่วไปอีกครั้งในเดือนมี.ค.2559
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า หากอนุมัติขายข้าวให้ตามที่ภาคอุตสาหกรรมเสนอซื้อที่ราคาสูงสุดตันละ 5,419 บาท รัฐบาลจะขาดทุนจากต้นทุนที่รับจำนำมาที่ตันละ 1.5 หมื่นบาท หรือแปลงเป็นข้าวสารที่ตันละ 2.4 หมื่นบาท หรือขาดทุนตันละ 1.86 หมื่นบาท ซึ่งหากขายทั้งหมดที่ประมูล รัฐจะขาดทุน 695 ล้านบาท แต่ถ้าคิดที่ราคาตลาดปัจจุบันตันละ 1.1-1.2 หมื่นบาท จะขาดทุนตันละ 5,000-6,000 บาท หากขายหมด ก็จะขาดทุนประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งส่วนต่างตรงนี้ จะเป็นมูลค่าความเสียหายที่จะต้องไปฟ้องร้องกับเซอร์เวเยอร์และเจ้าของโกดังที่เก็บข้าว
นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงผลการประมูลข้าวสารในสต๊อกของรัฐเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1/2558 ว่า มีผู้ยื่นซองเอกสารเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติรวม 15 ราย ซึ่งมีผู้ผ่านคุณสมบัติ 14 ราย และมายื่นซองเสนอราคา 13 ราย ใน 10 คลัง ปริมาณ 37,412 ตัน คิดเป็น 100% ของข้าวที่นำมาเปิดประมูล โดยมีมูลค่าประมาณ 197.804 ล้านบาท และส่วนใหญ่ประกอบอุตสาหกรรมเอทานอล ชีวมวล พลังงาน และปุ๋ย
กรมฯจะรวบรวมผลการเสนอซื้อที่มีมูลค่าสูงสุดในแต่ละคลังเข้าสู่การพิจารณาของคณะทำงานดำเนินการระบายข้าวในสต๊อกของรัฐ เพื่อนำเสนอประธานคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) เพื่อพิจารณาตัดสินการเสนอซื้อ และแจ้งผลให้ผู้เสนอราคาซื้อสูงสุดทราบต่อไป
น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงฯ ขอยืนยันว่าการนำข้าวเสียมาเปิดประมูลให้กับภาคอุตสาหกรรมครั้งนี้ เป็นการดำเนินการอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ รวมถึงบริษัทตรวจสอบสินค้าเกษตร (เซอร์เวเยอร์) และเจ้าของโกดัง โดยข้าวที่ไม่ได้คุณภาพ ก็มีการส่งตำรวจดำเนินคดี
สำหรับการเปิดประมูลข้าวเสียล็อตต่อไป ขอดูผลการประมูลรอบนี้ก่อนว่าเป็นอย่างไร เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับรัฐบาลในการที่ต้องเสียค่าฝากเก็บเดือนละกว่า 30 ล้านบาท ส่วนข้าวคุณภาพดี จะมีการเปิดประมูลเป็นการทั่วไปอีกครั้งในเดือนมี.ค.2559
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า หากอนุมัติขายข้าวให้ตามที่ภาคอุตสาหกรรมเสนอซื้อที่ราคาสูงสุดตันละ 5,419 บาท รัฐบาลจะขาดทุนจากต้นทุนที่รับจำนำมาที่ตันละ 1.5 หมื่นบาท หรือแปลงเป็นข้าวสารที่ตันละ 2.4 หมื่นบาท หรือขาดทุนตันละ 1.86 หมื่นบาท ซึ่งหากขายทั้งหมดที่ประมูล รัฐจะขาดทุน 695 ล้านบาท แต่ถ้าคิดที่ราคาตลาดปัจจุบันตันละ 1.1-1.2 หมื่นบาท จะขาดทุนตันละ 5,000-6,000 บาท หากขายหมด ก็จะขาดทุนประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งส่วนต่างตรงนี้ จะเป็นมูลค่าความเสียหายที่จะต้องไปฟ้องร้องกับเซอร์เวเยอร์และเจ้าของโกดังที่เก็บข้าว