พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ กรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
กรรมการแพทยสภา
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ กรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
กรรมการแพทยสภา
กระบวนการสรรหากรรมการบอร์ด สปสช และกรรมการควบคุม มีลักษณะผิดปกติ เล่นพรรคเล่นพวกเพื่อให้เกิดการลงคะแนนเสียงด้วยกลุ่มคนที่เป็นพรรคพวก (block vote) ส่งผลให้ประเทศชาติเสียหาย แทนที่จะได้ตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริงและมีคุณภาพ กลับเกิดการคัดสรรบุคคลเวียนเทียนอยู่ในวงจำกัด ไม่ตรงความเชี่ยวชาญที่กำหนด และเอื้อต่อการทำงานที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนและผิดกฏหมาย
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือสปสช มีการคัดเลือกกรรมการมาแล้ว 4 วาระ คือวาระที่ 1 (6 พค 2546 – 2550) วาระที่ 2 (พ.ศ.2550 – 2554) วาระที่ 3 (22 พย 2554 – 2558) และวาระที่ 4 (พย 2558 – 2562) โดยมีการคัดเลือกกรรมการหลักประกันสุขภาพ (กรรมการบอร์ด สปสช) และกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข (กรรมการควบคุม) ซึ่งในส่วนของผู้แทนองค์กรเอกชนจะมีการกรรมการบอร์ด สปสช และกรรมการควบคุมอย่างละ 5 คน ผลการเลือกตั้งล่าสุดแสดงในตารางที่ 1 ด้านล่าง รวมเป็น 10 คน ในตารางที่ 1 ยังแสดงการดำรงตำแหน่งกรรมการสปสช หรือ กรรมการควบคุม สปสช ก่อนหน้านั้น และใต้ชื่อในตารางยังแสดงตำแหน่งหรือองค์การที่ทำให้ได้รับการคัดเลือกมาดำรงตำแหน่งในวาระที่ 4 ยกตัวอย่างเช่น
นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการ สปสช สองวาระ โดยเป็น กรรมการสปสช ตัวแทน NGO ด้านผู้สูงอายุ จากการคัดเลือกในนามมูลนิธิสร้างสรรค์สังคมและสุขภาวะ ก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่ง กรรมการ สปสช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประกันสุขภาพ นอกจากนี้ นพ. สุวิทย์ยังดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระและองค์กรเอกชนในกลุ่มตระกูล ส ดังนี้ 1. กรรมการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (ตั้งแต่ พ.ศ.2534 ถึงปัจจุบัน) 2. อดีตเลขามูลนิธิแพทย์ชนบท (ตั้งแต่ พ.ศ.2524) 3. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของบอร์ด สสส (ตั้งแต่ พ.ศ.2547 - 2552, 2554) 4. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของบอร์ด สปสช (ตั้งแต่ พ.ศ.2550 - 2554) 5. กรรมการมูลนิธิ HITAP (ตั้งแต่ พ.ศ.2550 - 2558) 6. รองประธานมูลนิธิ IHPP (ตั้งแต่ พ.ศ.2548 ถึงปัจจุบัน) 7. กรรมการ ของ องค์การเภสัชกรรม (ตั้งแต่ พ.ศ.2551 - 2554) 8. อดีตกรรมการชมรมแพทย์ชนบท (พ.ศ. 2550-2551) และ 9. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สวรส (พ.ศ.2558)
นางยุพดี ศิริสินสุข ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการสปสช หรือกรรมการควบคุม ต่อเนื่อง 4 วาระรวด นับตั้งแต่มีการจัดตั้งสปสช จนถึงปัจจุบัน โดยในวาระ 4 ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการสปสช ตัวแทน NGO ด้านผู้ติดเชื้อ HIV/ผู้ป่วยเรื้อรัง และก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งเดียวกันนี้ ในวาระที่ 3 ส่วนวาระ 1 และ 2 เคยดำรงตำแหน่ง กรรมการ สปสช ตัวแทน NGO ด้านเกษตร ทั้งนี้นางยุพดี ศิริสินสุข มีพื้นฐานมาทางด้านเภสัชกรรม และเป็นกรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
นางสุนทรี เซ่งกิ่ง ได้รับการคัดเลือกเป็น กรรมการ สปสช ตัวแทน NGO ด้านแรงงาน ติดต่อกันสองวาระ (วาระ 3 และ 4) โดยได้รับการคัดเลือกในนามของรองประธานมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ)
น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ได้รับการคัดเลือกเป็น กรรมการ สปสช ตัวแทน NGO ด้านชุมชนแออัด เป็นวาระแรก ในนามของกรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำ คศน. รุ่น1
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการ สปสช ตัวแทน NGO ด้านเกษตร จำนวนทั้งสิ้นสองวาระ (วาระ 3 และ 4) ในนามของเลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเป็นกรรมการ ควบคุม ตัวแทน NGO ด้านเกษตรอีกหนึ่งวาระ (วาระ 1) ดังนั้นจึงได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการทั้งสิ้น สามวาระ นส. สารี จบการศึกษาด้านพยาบาลศาสตร์มา และทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เคยเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในตำแหน่งประธานกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค และเป็นกรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (พ.ศ. 2549) เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (พ.ศ. 2551) และ เลขาธิการสหพันธ์คุ้มครองผู้บริโภค (พ.ศ. 2555)
นพ.วิชัย โชควิวัฒน ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการควบคุม ตัวแทน NGO ด้านผู้สูงอายุ (วาระ 4) จากการคัดเลือกในนามประธานกรรมการ สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย และ รองประธานคนที่ 2 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ก่อนหน้านี้ นพ.วิชัย เคยดำรงตำแหน่ง กรรมการ สปสช ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการแพทย์ทางเลือก (วาระ 2) และ กรรมการ สปสช ตัวแทน NGO ด้านผู้สูงอายุ (วาระ 3) สำหรับใน สปสช นพ. วิชัย ยังเคยดำเรงตำแหน่งประธานอนุกรรมการ พัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในระยะพึ่งพิง สปสช, กรรมการในอนุกรรมการบริหารยุทธศาสตร์ สปสช, กรรมการในอนุกรรมการพัฒนาสิทธิ ประโยชน์ฯ สปสช ส่วนตำแหน่งอื่นๆ ในองค์กรอิสระและองค์กรเอกชนตระกูล ส. ได้แก่ อดีตกรรมการชมรมแพทย์ชนบท กรรมการมูลนิธิ ตั้งแต่ พ.ศ.2527 ปัจจุบันเป็นประธานมูลนิธิแพทย์ชนบท กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส ตั้งแต่ พ.ศ.2547 - 2552 รองประธาน สสส คนที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ.2553 ถึงปัจจุบัน กรรมการบอร์ด สภาสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ.2550 ถึงปัจจุบัน ประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรม ตั้งแต่ พ.ศ.2549 – 2555 อดีตอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และ รองประธานมูลนิธิเด็ก
นางสุภาพร ถิ่นวัฒนากูล กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ได้รับการคัดเลือกเป็น กรรมการควบคุม ตัวแทน NGO ด้านเด็กและเยาวชน ติดต่อกันสองวาระ (วาระ 3 และ 4)
น.ส.สุภัทรา นาคะผิว ประธานคกก.องค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.) ประเทศไทย ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการควบคุม NGO ด้านผู้ติดเชื้อ HIV/ผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน 3 วาระ (วาระ 1, 3, และ 4) จากกรรมการสปสช. และ กรรมการควบคุม ทั้งหมด 10 คน มาจากองค์การเอกชนด้านเพื่อผู้บริโภคจำนวน 4 คน หรือ 40% คือ นางยุพดี ศิริสินสุข กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นตัวแทน NGO ด้านโรค AIDS
นส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นตัวแทน NGO ด้านชุมชนแออัด นางสุภาพร ถิ่นวัฒนากูล กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นตัวแทน NGO ด้านเด็ก น.ส.สารี อ๋องสมหวัง
เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นตัวแทน NGO ด้านเกษตร
นอกจากนี้ ในวาระ 2 นางสาวบุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค และอดีต สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสมุทรสงครามก็เคยดำรงตำแหน่ง กรรมการ สปสช. ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสตรีในวาระ 2 มาแล้วด้วย
นับว่าองค์กร NGO ด้านผู้บริโภคมีอิทธิพลสูงและได้รับการคัดเลือกมาเป็นกรรมการและกรรมการควบคุม สปสช. มากเป็นพิเศษ กรรมการจากองค์กรอิสระด้านผู้บริโภค สามารถเป็นตัวแทน NGO ได้ทุกด้านครอบจักรวาลยิ่งกว่ายาสเตียรอยด์
เรามาลองพิจารณาดูกันว่า ในรอบ 4 วาระที่ผ่านมากรรมการ สปสช และกรรมการควบคุมมีการดำรงตำแหน่งต่อเนื่องยาวนานอย่างไรกันบ้างในตารางที่ 2
ตาราง 1 ผลการคัดเลือกองค์การเอกชนเป็นกรรมการสปสช และกรรมการควบคุมวาระที่ 4 และการดารงตาแหน่งในอดีตใน สปสช. ของกรรมการที่ได้รับการคัดเลือก
จากตาราง 2 เราพบว่า
นางยุพดี ศิริสินสุข ดำรงตำแหน่ง 4 วาระรวด
นส.สารี อ๋องสมหวัง นพ.วิชัย โชควิวัฒน นส.สุภัทรา นาคะผิว ดำรงตำแหน่ง 3 วาระ
นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ นางสุนทรี เซ่งกิ่ง นางสุภาพร ถิ่นวัฒนากูล นายนิมิตร์ เทียนอุดม นายกิตติพันธ์ กันจินะ นายบารมี ชัยรัตน์ นายวสันต์ หรี่สมวงค์ ดำรงตำแหน่ง 2 วาระ
ซึ่งเป็นการจุดเทียนเวียนวนกันมากเกินไปและเป็นการสืบทอดอำนาจ เนื่องจากไม่มีการจำกัดวาระในการดำรงตำแหน่งว่าดำรงตำแหน่งได้กี่ครั้ง
เรามาลองพิจารณาสาเหตุกันว่าทำไมจึงเกิดปัญหาดังกล่าว การคัดเลือกกรรมการสปสช และกรรมการควบคุม ใช้กฏเกณฑ์ตาม ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ข้อ 5 (2) ว่าด้วยการคัดเลือกกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ บัญญัติไว้ว่า
ผู้แทนองค์กรเอกชนที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับงานด้านเด็กหรือเยาวชน งานด้านสตรี งานด้านผู้สูงอายุ งานด้านคนพิการหรือผู้ป่วยจิตเวช งานด้านผู้ป่วยติดเชื้อ เอชไอวี หรือผู้ป่วยเรื้อรังอื่น งานด้านผู้ใช้แรงงาน งานด้านชุมชนแออัด งานด้านเกษตร และงานด้านชนกลุ่มน้อย โดยการคัดเลือกกันเองในแต่ละด้านให้เหลือด้านละหนึ่งคน และให้ผู้แทนดังกล่าวคัดเลือกกันเองให้เหลือจำนวนห้าคน
เช่นเดียวกับ ข้อ 6 (2) ว่าด้วยการคัดเลือกกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับการคัดเลือกกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในข้อ 5(2)
ทั้งนี้การคัดเลือกตัวแทน NGO ให้เลือกกันเองมา 10 ด้าน และให้ตัวแทน NGO 10 ด้านนั้นเลือกกันเองให้เหลือแค่ 5 คน เท่านั้น
ทั้งนี้ที่มาของการคัดเลือก ให้ NGO มาขึ้นทะเบียนทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งตัวแทน NGO ดัง ข้อ 11 และข้อ 12 ว่าด้วยการขึ้นทะเบียน บัญญัติไว้ว่า
ข้อ 11 องค์กรเอกชนใด ที่จะใช้สิทธิคัดเลือกกรรมการ ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนตามประกาศที่สำนักงานกำหนด ถ้าองค์กรใดดำเนินกิจการหลายด้าน ให้ขึ้นทะเบียนเพื่อใช้สิทธิ์คัดเลือกกรรมการด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น และให้แจ้งชื่อกรรมการขององค์การนั้นๆ ไม่เกินสามคนไว้ในคำขอทะเบียน
การยื่นคำขอขึ้นทะเบียนให้ยื่นก่อนครบกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่มีเหตุให้มีการคัดเลือกกรรมการ พร้อมหลักฐานตามข้อ 12 ส่งต่อสำนักงานสาขาจังหวัด สำนักงานสาขาเขตพื้นที่ หรือสำนักงาน
ข้อ 12 องค์กรเอกชนที่จะขึ้นทะเบียนกับสำนักงานต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1) มีที่ตั้งองค์กรและมีรายชื่อกรรมการองค์กร
2) เป็นองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมในด้านที่ขอขึ้นทะเบียนมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี จนถึงวันขอขึ้นทะเบียน
3) มีรายงานผลการดำเนินงาน หรือเอกสารหรือภาพถ่ายที่แสดงถึงกิจกรรมในงานด้านที่ขอขึ้นทะเบียน
4) มีสมุดบัญชีเงินฝากของธนาคาร หรือสมุดบัญชีเงินฝากของสหกรณ์ หรือหลักฐานการเงินอื่นในทำนองเดียวกัน
มีหลักฐานการเป็นนิติบุคคล หรือกรณีที่ไม่ได้เป็นนิติบุคคล จะต้องมีหนังสือรับรองของโรงพยาบาลของรัฐที่เป็นหน่วยให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสำนักงานสาขาจังหวัด หรือสำนักงานสาขาเขตพื้นที่ หรือสำนักงาน เพื่อรับรองการมีอยู่ขององค์กรเอกชน
ด้วยข้อ 12 บัญญัติไว้ว่า ถ้าองค์กรใดดำเนินกิจการหลายด้าน ให้ขึ้นทะเบียนเพื่อใช้สิทธิ์คัดเลือกกรรมการด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ทำให้ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เข้ามาเป็นตัวแทน NGO ด้านเกษตร เข้าใจว่า น.ส.สารี อ่องสมหวัง ซึ่งเป็นพยาบาลและเป็น NGO ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคมาโดยตลอด อาจจะมีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านการทำไร่ไถนาข้าวสาลี
กฎข้อ 12 นี้ทำให้เกิด Block vote โดยการระดมพลพรรค NGO พรรคพวกกันมาโหวตให้ตัวเอง เป็นประชาธิปไตยน้ำเน่าแบบ NGO ซึ่งออกมาเรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปประเทศไทย ทั้งยังเข้าไปดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ แต่มีพฤติกรรมประชาธิปไตยน้ำเน่า
และจากรายชื่อ NGO ด้านเกษตร ที่มีสิทธิคัดเลือกกรรมการสปสช. และกรรมการควบคุมจำนวน 34 องค์กรเป็นองค์กรเอกชนด้านผู้บริโภคถึง 6 องค์การคือ 1. สมาคมผู้บริโภคร้อยเอ็ด 2. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 3.เครือข่ายเพื่อผู้บริโภคอำเภอเสริมงาม 4. เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดลำปาง 5. เครือข่ายผู้บริโภคตำบลเสริมซ้าย 6.เครือข่ายเยาวชนเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร จังหวัดสมุทรสงคราม
นอกจากนี้ยังพบว่า 15 องค์กรจาก 34 องค์กร มาจากกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม) ในจังหวัดสมุทรสงครามพื้นที่ฐานเสียงของนางสาวบุญยืน ศิริธรรม ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค และอดีต สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสมุทรสงคราม โดยแทบทั้งหมดใช้ที่อยู่เดียวกัน ในการลงทะเบียน
นี่คือประชาธิปไตยน้ำเน่า Block vote แบบ NGO ที่ขาดความชอบธรรม
สมควรอย่างยิ่งที่ ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปิยสกล สกลสัตยาธร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสาธารณสุข ควรดำเนินการให้เด็ดขาด เพราะกรรมการตัวแทน NGO เหล่านี้ขาดธรรมาภิบาล