ดีใจกับคนพม่าที่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้นำของตัวเอง หลังอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการทหารมานาน แต่สำหรับประเทศไทยนั้นผ่านการบอบช้ำจากเผด็จการทุนนิยมสามานย์ที่มาจากการเลือกตั้ง กำลังรอวันเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงแข็งแรงขึ้น
“เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน แล้วแผ่นดินที่งดงามจะคืนกลับมา...”
ตอนนี้คนเสื้อแดงเริ่มมาโหนเลือกตั้งพม่ากันใหญ่ ด้านหนึ่งเพื่อเหน็บแหนมประเทศตัวเองที่ช่วงนี้ปกครองโดยเผด็จการ อีกด้านเพื่อจะโหนอองซาน ซูจี ว่าเป็นพวกเดียวกับทักษิณ ยิ่งลักษณ์ มีอุดมการณ์ประชาธิปไตยเหมือนกันว่างั้นเถอะ
แต่ฟังแล้วก็งงนะครับว่าเหมือนกันตรงไหน นอกจากมาจากการเลือกตั้งและใส่เสื้อแดงเหมือนกัน
พม่านั้นเพิ่งมีเลือกตั้งหลังเป็นเผด็จการมาหลายสิบปี คนพม่าเลยแห่มาเลือกตั้งถึง 80% แน่นอนส่วนใหญ่เบื่อเผด็จการทหาร เลยหันไปเลือกพรรคของซูจี แต่แม้ว่าพรรคของซูจีจะชนะท่วมท้น แต่ซูจีก็เป็นประธานาธิบดีไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญพม่ากำหนดคุณสมบัติของประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี ว่า ตัวประธานาธิบดี รองประธาธิบดี พ่อหรือแม่ หรือคู่สมรส หรือหนึ่งในบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือคู่สมรสของบุตร จะต้องไม่เป็นผู้สวามิภักดิ์ต่ออำนาจของต่างชาติ หรือเป็นคนในบังคับหรือพลเมืองของต่างชาติ
เลยมีการคาดการณ์กันว่า ซูจีจะไปเป็นประธานรัฐสภา ส่วนตำแหน่งประธานาธิบดีนั้นเธอบอกแล้วจะตั้งนอมินีขึ้นมาแล้วเธอจะมีอำนาจเหนือประธานาธิบดี
ตรงนี้แหละครับที่อาจพูดได้ว่า ซูจีกับทักษิณมีสถานภาพที่เหมือนกัน นั่นคือเป็นผู้บงการอยู่เบื้องหลังผู้บริหารประเทศ ส่วนจะมีพฤติกรรมเหมือนกันหรือไม่นั้นเรายังไม่รู้ เพราะมีคำกล่าวไว้แล้วว่า อยากรู้ว่าใครเป็นคนอย่างไรก็ต้องให้เขามีอำนาจ เราจึงต้องรอดูซูจีใช้อำนาจก่อน ผมเลยไม่รู้ว่าจะเปรียบเปรยกับทักษิณและยิ่งลักษณ์อย่างไร
แต่เรารู้อยู่แล้วว่า ทักษิณและยิ่งลักษณ์ใช้อำนาจอย่างไร แม้ว่าทั้งสองจะมาจากการเลือกตั้งเหมือนซูจี ทักษิณสร้างอำนาจด้วยการซื้อพรรค ซื้อ ส.ส.และซื้อองค์กรอิสระ มีการใช้เงินอย่างมหาศาลในการเลือกตั้งครั้งแรก ต่อมาก็ผูกใจประชาชนด้วยนโยบายประชานิยมซึ่งคือการเอาเงินของรัฐไปซื้อเสียง จนนักเศรษฐศาสตร์พากันเตือนว่า นโยบายประชานิยมจะทำความฉิบหายให้กับประเทศในอนาคตเหมือนกับประเทศในละตินอเมริกา เมื่อมีอำนาจแล้วก็ใช้อำนาจเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของตัวเองที่เรียกกันว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน ในระบบราชการมีการแต่งตั้งคนของตัวเองเข้าไปมีตำแหน่งโดยไม่คำนึงถึงระบบคุณธรรมและความรู้ความสามารถ
ส่วนยิ่งลักษณ์ไม่ต้องพูดถึงรู้กันว่า เธอเป็นเพียงหุ่นเชิดของทักษิณที่ไม่มีสติปัญญาอะไร เทียบไม่ได้กับซูจีแม้เธอจะยังไม่มีโอกาสบริหารประเทศ แต่ดูจากความคิดความอ่านที่ผ่านมาของเธอ
แต่ถ้าจะเทียบกันจริงๆ เราต้องดูว่าเมื่อซูจีมีอำนาจแล้วจะเหมือนกับทักษิณหรือไม่ก็ต้องดูว่าเธอใช้อำนาจอย่างฉ้อฉลแบบเดียวกันหรือไม่ แล้วเมื่อเธอเป็นผู้บงการเหนือประธานาธิบดี เธอจะใช้อำนาจอย่างเป็นธรรมหรือไม่ หรือปล่อยให้วงศ์วานว่านเครือทำมาหากินหาผลประโยชน์แบบตอนที่ทักษิณบงการยิ่งลักษณ์ในเก้าอี้นายกรัฐมนตรี
หรือไม่ถ้าจะให้เปรียบเทียบกับทักษิณตรงๆ ก็ต้องรอให้ซูจีได้เป็นประธานาธิบดีด้วยตัวเอง แล้วดูว่าเธอจะใช้อำนาจฉ้อฉลแบบทักษิณหรือไม่นั่นแหละ ทางออกของเรื่องนี้ก็คือ เธอต้องรวบรวมเสียงข้างมากให้ได้ 75% เพื่อแก้รัฐธรรมนูญเพราะกฎหมายของพม่าบัญญัติไว้อย่างนั้น
ถามว่า การแก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้ซูจีเป็นประธานาธิบดีได้นั้น มีโอกาสเป็นไปได้ไหม คำตอบก็คือ เป็นได้แต่ในทางทฤษฎี แต่เป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริงเลย เพราะรัฐธรรมนูญพม่าบัญญัติให้รัฐสภามีสมาชิกจากการแต่งตั้งของทหารถึง 25% ดังนั้นต้องให้พรรคของซูจีกวาดชัยชนะในการเลือกตั้งให้ได้ทุกตำแหน่งจึงจะได้ถึง 75% ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้แน่ๆ
การเปรียบเทียบทักษิณกับซูจีในฐานะผู้นำรัฐบาลตัวจริง จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมาก
ดังนั้นการโหนเลือกตั้งพม่าและซูจีของฝ่ายเสื้อแดงเพื่อเชิดชูทักษิณและยิ่งลักษณ์นั้น จึงเหมือนกันแค่ความเป็น “คน” เหมือนกันแค่มาจาก “การเลือกตั้ง” เหมือนกัน แต่ “คน” ต้องเปรียบเทียบกันที่พฤติกรรม และ “การเลือกตั้ง” ไม่ใช่ทั้งหมดของประชาธิปไตย
ผมคิดว่า คนพม่าต้องผ่านการเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตยอีกพักหนึ่ง จึงจะรู้ว่าการปกครองแบบไหนที่เหมาะสมกับตน และคงได้เรียนรู้ถึงบทบาทของนักการเมืองแบบที่คนในบ้านเราซึ่งมีประชาธิปไตยมา 83 ปีแล้ว ได้เห็นธาตุแท้ของนักการเมืองที่ล้วนแล้วแต่แสวงหาผลประโยชน์ทั้งสิ้น ไม่แน่ว่าซูจีในวันที่มีอำนาจอาจจะแตกต่างกับซูจีในวันที่ไม่มีอำนาจก็ได้
แต่ซูจีก็น่าจะรู้นะว่า เธอไม่ได้เพียงแต่แบกความหวังของคนพม่าที่เลือกพรรคของเธอ แต่เธอยังเป็นความหวังของโลกที่จะนำพาชาวพม่าไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า และเธอนั้นน่าจะเรียนรู้บทเรียนจากประเทศเพื่อนบ้านของเธอว่า ประชาธิปไตยไม่ได้มีความหมายแค่การเลือกตั้ง แต่เมื่อได้อำนาจมาแล้วต้องใช้อำนาจอย่างเป็นธรรมด้วย
แม้ว่าการที่เธอบอกว่าจะเป็นผู้ควบคุมตำแหน่งประธานาธิบดีจะดูขัดแย้งกับความเป็นประชาธิปไตย แต่เธอน่าจะดูบทเรียนของประเทศเพื่อนบ้านที่ประชาชนใช้สิทธิเลือกคนที่ไร้สติปัญญาคนหนึ่งมาบริหารประเทศเพื่อใช้อำนาจที่เหนือกว่ามากำกับแบบที่เธอบอกว่าจะเป็นนั้นมันไม่เพียงพอ ดังนั้นแม้เธอจะกำหนดชะตากรรมของประเทศอยู่เหนือประธานาธิบดี เธอก็ควรกำหนดตัวประธานาธิบดีที่มีสติปัญญาเพียงพอเพื่อเข้ามาทำงานด้วย
ถ้าซูจีไม่อยากให้ทหารกลับมามีอำนาจอีก ก็ต้องดูแบบอย่างประเทศไทยนี่แหละว่า นักการเมืองต้องไม่โกงกิน มีธรรมาภิบาลโปร่งใส ไม่เอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องและวงศ์ตระกูล รับฟังเสียงส่วนน้อย ไม่ใช้เสียงข้างมากเพื่อแก้ผิดให้เป็นถูก ไม่ใช่เมื่อได้อำนาจมาแล้วจะใช้อำนาจบิดเบือนอย่างไรก็ได้ แล้วอ้างว่ามาจากการเลือกตั้ง ถึงโกงถึงทุจริตก็ต้องอยู่ให้ครบเทอมแล้วไปตัดสินกันตอนเลือกตั้ง ถ้าประชาชนออกมาขับไล่ก็ใช้อาวุธสงครามมายิงถล่ม
เรียกนักการเมืองโกงแต่มาจากการเลือกตั้งว่าฝ่ายประชาธิปไตย และเรียกประชาชนที่ออกมาไล่นักการเมืองโกงว่าฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตย
อองซาน ซูจี ช่วยทำให้พวกที่เรียกตัวเองว่าฝ่ายประชาธิปไตยในเมืองไทยเรียนรู้ว่า ประชาธิปไตยไม่ได้มีความหมายแค่การเลือกตั้งอย่างเดียว
“เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน แล้วแผ่นดินที่งดงามจะคืนกลับมา...”
ตอนนี้คนเสื้อแดงเริ่มมาโหนเลือกตั้งพม่ากันใหญ่ ด้านหนึ่งเพื่อเหน็บแหนมประเทศตัวเองที่ช่วงนี้ปกครองโดยเผด็จการ อีกด้านเพื่อจะโหนอองซาน ซูจี ว่าเป็นพวกเดียวกับทักษิณ ยิ่งลักษณ์ มีอุดมการณ์ประชาธิปไตยเหมือนกันว่างั้นเถอะ
แต่ฟังแล้วก็งงนะครับว่าเหมือนกันตรงไหน นอกจากมาจากการเลือกตั้งและใส่เสื้อแดงเหมือนกัน
พม่านั้นเพิ่งมีเลือกตั้งหลังเป็นเผด็จการมาหลายสิบปี คนพม่าเลยแห่มาเลือกตั้งถึง 80% แน่นอนส่วนใหญ่เบื่อเผด็จการทหาร เลยหันไปเลือกพรรคของซูจี แต่แม้ว่าพรรคของซูจีจะชนะท่วมท้น แต่ซูจีก็เป็นประธานาธิบดีไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญพม่ากำหนดคุณสมบัติของประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี ว่า ตัวประธานาธิบดี รองประธาธิบดี พ่อหรือแม่ หรือคู่สมรส หรือหนึ่งในบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือคู่สมรสของบุตร จะต้องไม่เป็นผู้สวามิภักดิ์ต่ออำนาจของต่างชาติ หรือเป็นคนในบังคับหรือพลเมืองของต่างชาติ
เลยมีการคาดการณ์กันว่า ซูจีจะไปเป็นประธานรัฐสภา ส่วนตำแหน่งประธานาธิบดีนั้นเธอบอกแล้วจะตั้งนอมินีขึ้นมาแล้วเธอจะมีอำนาจเหนือประธานาธิบดี
ตรงนี้แหละครับที่อาจพูดได้ว่า ซูจีกับทักษิณมีสถานภาพที่เหมือนกัน นั่นคือเป็นผู้บงการอยู่เบื้องหลังผู้บริหารประเทศ ส่วนจะมีพฤติกรรมเหมือนกันหรือไม่นั้นเรายังไม่รู้ เพราะมีคำกล่าวไว้แล้วว่า อยากรู้ว่าใครเป็นคนอย่างไรก็ต้องให้เขามีอำนาจ เราจึงต้องรอดูซูจีใช้อำนาจก่อน ผมเลยไม่รู้ว่าจะเปรียบเปรยกับทักษิณและยิ่งลักษณ์อย่างไร
แต่เรารู้อยู่แล้วว่า ทักษิณและยิ่งลักษณ์ใช้อำนาจอย่างไร แม้ว่าทั้งสองจะมาจากการเลือกตั้งเหมือนซูจี ทักษิณสร้างอำนาจด้วยการซื้อพรรค ซื้อ ส.ส.และซื้อองค์กรอิสระ มีการใช้เงินอย่างมหาศาลในการเลือกตั้งครั้งแรก ต่อมาก็ผูกใจประชาชนด้วยนโยบายประชานิยมซึ่งคือการเอาเงินของรัฐไปซื้อเสียง จนนักเศรษฐศาสตร์พากันเตือนว่า นโยบายประชานิยมจะทำความฉิบหายให้กับประเทศในอนาคตเหมือนกับประเทศในละตินอเมริกา เมื่อมีอำนาจแล้วก็ใช้อำนาจเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของตัวเองที่เรียกกันว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน ในระบบราชการมีการแต่งตั้งคนของตัวเองเข้าไปมีตำแหน่งโดยไม่คำนึงถึงระบบคุณธรรมและความรู้ความสามารถ
ส่วนยิ่งลักษณ์ไม่ต้องพูดถึงรู้กันว่า เธอเป็นเพียงหุ่นเชิดของทักษิณที่ไม่มีสติปัญญาอะไร เทียบไม่ได้กับซูจีแม้เธอจะยังไม่มีโอกาสบริหารประเทศ แต่ดูจากความคิดความอ่านที่ผ่านมาของเธอ
แต่ถ้าจะเทียบกันจริงๆ เราต้องดูว่าเมื่อซูจีมีอำนาจแล้วจะเหมือนกับทักษิณหรือไม่ก็ต้องดูว่าเธอใช้อำนาจอย่างฉ้อฉลแบบเดียวกันหรือไม่ แล้วเมื่อเธอเป็นผู้บงการเหนือประธานาธิบดี เธอจะใช้อำนาจอย่างเป็นธรรมหรือไม่ หรือปล่อยให้วงศ์วานว่านเครือทำมาหากินหาผลประโยชน์แบบตอนที่ทักษิณบงการยิ่งลักษณ์ในเก้าอี้นายกรัฐมนตรี
หรือไม่ถ้าจะให้เปรียบเทียบกับทักษิณตรงๆ ก็ต้องรอให้ซูจีได้เป็นประธานาธิบดีด้วยตัวเอง แล้วดูว่าเธอจะใช้อำนาจฉ้อฉลแบบทักษิณหรือไม่นั่นแหละ ทางออกของเรื่องนี้ก็คือ เธอต้องรวบรวมเสียงข้างมากให้ได้ 75% เพื่อแก้รัฐธรรมนูญเพราะกฎหมายของพม่าบัญญัติไว้อย่างนั้น
ถามว่า การแก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้ซูจีเป็นประธานาธิบดีได้นั้น มีโอกาสเป็นไปได้ไหม คำตอบก็คือ เป็นได้แต่ในทางทฤษฎี แต่เป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริงเลย เพราะรัฐธรรมนูญพม่าบัญญัติให้รัฐสภามีสมาชิกจากการแต่งตั้งของทหารถึง 25% ดังนั้นต้องให้พรรคของซูจีกวาดชัยชนะในการเลือกตั้งให้ได้ทุกตำแหน่งจึงจะได้ถึง 75% ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้แน่ๆ
การเปรียบเทียบทักษิณกับซูจีในฐานะผู้นำรัฐบาลตัวจริง จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมาก
ดังนั้นการโหนเลือกตั้งพม่าและซูจีของฝ่ายเสื้อแดงเพื่อเชิดชูทักษิณและยิ่งลักษณ์นั้น จึงเหมือนกันแค่ความเป็น “คน” เหมือนกันแค่มาจาก “การเลือกตั้ง” เหมือนกัน แต่ “คน” ต้องเปรียบเทียบกันที่พฤติกรรม และ “การเลือกตั้ง” ไม่ใช่ทั้งหมดของประชาธิปไตย
ผมคิดว่า คนพม่าต้องผ่านการเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตยอีกพักหนึ่ง จึงจะรู้ว่าการปกครองแบบไหนที่เหมาะสมกับตน และคงได้เรียนรู้ถึงบทบาทของนักการเมืองแบบที่คนในบ้านเราซึ่งมีประชาธิปไตยมา 83 ปีแล้ว ได้เห็นธาตุแท้ของนักการเมืองที่ล้วนแล้วแต่แสวงหาผลประโยชน์ทั้งสิ้น ไม่แน่ว่าซูจีในวันที่มีอำนาจอาจจะแตกต่างกับซูจีในวันที่ไม่มีอำนาจก็ได้
แต่ซูจีก็น่าจะรู้นะว่า เธอไม่ได้เพียงแต่แบกความหวังของคนพม่าที่เลือกพรรคของเธอ แต่เธอยังเป็นความหวังของโลกที่จะนำพาชาวพม่าไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า และเธอนั้นน่าจะเรียนรู้บทเรียนจากประเทศเพื่อนบ้านของเธอว่า ประชาธิปไตยไม่ได้มีความหมายแค่การเลือกตั้ง แต่เมื่อได้อำนาจมาแล้วต้องใช้อำนาจอย่างเป็นธรรมด้วย
แม้ว่าการที่เธอบอกว่าจะเป็นผู้ควบคุมตำแหน่งประธานาธิบดีจะดูขัดแย้งกับความเป็นประชาธิปไตย แต่เธอน่าจะดูบทเรียนของประเทศเพื่อนบ้านที่ประชาชนใช้สิทธิเลือกคนที่ไร้สติปัญญาคนหนึ่งมาบริหารประเทศเพื่อใช้อำนาจที่เหนือกว่ามากำกับแบบที่เธอบอกว่าจะเป็นนั้นมันไม่เพียงพอ ดังนั้นแม้เธอจะกำหนดชะตากรรมของประเทศอยู่เหนือประธานาธิบดี เธอก็ควรกำหนดตัวประธานาธิบดีที่มีสติปัญญาเพียงพอเพื่อเข้ามาทำงานด้วย
ถ้าซูจีไม่อยากให้ทหารกลับมามีอำนาจอีก ก็ต้องดูแบบอย่างประเทศไทยนี่แหละว่า นักการเมืองต้องไม่โกงกิน มีธรรมาภิบาลโปร่งใส ไม่เอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องและวงศ์ตระกูล รับฟังเสียงส่วนน้อย ไม่ใช้เสียงข้างมากเพื่อแก้ผิดให้เป็นถูก ไม่ใช่เมื่อได้อำนาจมาแล้วจะใช้อำนาจบิดเบือนอย่างไรก็ได้ แล้วอ้างว่ามาจากการเลือกตั้ง ถึงโกงถึงทุจริตก็ต้องอยู่ให้ครบเทอมแล้วไปตัดสินกันตอนเลือกตั้ง ถ้าประชาชนออกมาขับไล่ก็ใช้อาวุธสงครามมายิงถล่ม
เรียกนักการเมืองโกงแต่มาจากการเลือกตั้งว่าฝ่ายประชาธิปไตย และเรียกประชาชนที่ออกมาไล่นักการเมืองโกงว่าฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตย
อองซาน ซูจี ช่วยทำให้พวกที่เรียกตัวเองว่าฝ่ายประชาธิปไตยในเมืองไทยเรียนรู้ว่า ประชาธิปไตยไม่ได้มีความหมายแค่การเลือกตั้งอย่างเดียว