ผู้จัดการรายวัน360-ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ ให้ริบทรัพย์สิน "สุพจน์ ทรัพย์ล้อม" อดีตปลัดคมนาคม เพิ่มเป็นเงินกว่า 64 ล้านบาท หลังศาลชั้นต้นสั่งให้ยึดทรัพย์แค่ 46 ล้าน จากกรณีที่ ป.ป.ช. ตรวจพบร่ำรวยผิดปกติ ด้านทนายจำเลยเตรียมฎีกาสู้คดี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (11 พ.ย.) ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีริบทรัพย์ หมายเลขดำ ปช.1/2555 ที่อัยการสูงสุด ได้ยื่นคำร้องเมื่อเดือน ก.พ.2555 ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อดีตปลัดกระทรวงคมนาคมสมัยรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ , นางนฤมล หรือเพ็ญพิมล ทรัพย์ล้อม ภรรยา , น.ส.สุทธิวรรณ ทรัพย์ล้อม บุตรสาว , น.ส.สุทธาวรรณ ทรัพย์ล้อม หรือปราบใหญ่ บุตรสาว , นายสืบพงษ์ ปราบใหญ่ บุตรเขย และผู้ใกล้ชิดรวม 7 ราย ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4 และมาตรา 80 (2)
โดยทรัพย์สินมีทั้งสิ้น 19 รายการ ประกอบเงินสด เงินฝากในธนาคารต่างๆ 9 บัญชี ทองคำรูปพรรณ โฉนดที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ห้องชุดคอนโดมิเนียม รถยนต์ รวมมูลค่ากว่า 46 ล้านบาท ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่นายสุพจน์ไม่สามารถชี้แจงที่มาได้ หลังจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เข้าไปตรวจสอบทรัพย์สิน หลังจากเกิดเหตุคนร้ายบุกปล้นบ้านนายสุพจน์ เมื่อวันที่ 12 พ.ย.2554 และผู้ต้องหาให้การว่าพบเงินสดในบ้านเป็นร้อยล้านบาท และต่อมาได้ชี้มูลความผิดว่านายสุพจน์ร่ำรวยผิดปกติ
คดนี้ นายสุพจน์ได้ยื่นคัดค้านคำร้องอ้างว่า ทรัพย์สินนั้น ผู้คัดค้านได้มีมาแต่เดิมและได้มากว่า 10 ปี การขอให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน เป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจ ทำให้ผู้คัดค้านได้รับความเสียหาย ซึ่งผู้คัดค้านเคยยื่นบัญชีแสดงต่อคณะอนุกรรมการ ป.ป.ช.ไปแล้ว และ ป.ป.ช.ไม่แสดงความเห็นคัดค้านแต่อย่างใด
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา วันที่ 31 ม.ค.2557 ว่า ข้ออ้างฟังไม่ขึ้น จึงพิพากษาให้ทรัพย์สิน 19 รายการ มูลค่ากว่า 46 ล้านบาท ตกเป็นของแผ่นดิน และให้ส่งมอบทรัพย์สินให้กระทรวงการคลัง
ต่อมานายสุพจน์และครอบครัวได้ยื่นอุทธรณ์ โดยการนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ฝ่ายของนายสุพจน์มีเพียงนายสมศักดิ์ โตรักษา ทนายความผู้รับมอบอำนาจเดินทางมาศาล
ศาลอุทธรณ์ได้ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้ว เห็นว่า ทรัพย์ตามคำร้องได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าและเกิดจากความร่ำรวยผิดปกติ จึงต้องสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ทรัพย์สินรวม 46,141,038 .83 บาท ตกเป็นของแผ่นดินโดยนำบัญชีเงินฝาก 3 บัญชี ที่ปิดแล้วจำนวน 15,857,548.69 บาท หักออกจากมูลค่าทรัพย์สิน ที่อัยการสูงสุดยื่นคำร้องนั้น ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นด้วย เมื่อฟังได้ว่านายสุพจน์ ผู้คัดค้านที่ 1 ร่ำรวยผิดปกติ แม้ภายหลังมีการปิดดังกล่าวแล้วก็ต้องนำเงิน 15,857,548.69 บาท มารวมอยู่ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติด้วย ส่วนรถยนต์ยี่ห้อ VOLK SWAGEN มูลค่า 3 ล้านบาท แม้ไม่มีชื่อของนายสุพจน์เป็นเจ้าของ แต่ฟังได้ว่ามีการมอบรถให้นายสุพจน์ใช้อย่างถาวร จึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเกิดจากการร่ำรวยผิดปกติ เมื่อนำทรัพย์สินดังกล่าวกับมูลค่าทรัพย์สินที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว จะรวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 64,998,587.52 บาท
ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษาแก้เป็นว่า ให้รถยนต์ยี่ห้อ VOLK SWAGEN มูลค่า 3 ล้านบาท รวมกับทรัพย์สินอื่นตามคำสั่งศาลชั้นต้น รวมมูลค่าทั้งสิ้น 64,998,587.52 บาท ให้ตกเป็นของแผ่นดิน
ภายหลัง นายสมศักดิ์ โตรักษา ทนายความของนายสุพจน์ กล่าวว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ได้มีการพิจารณาเพิ่มทรัพย์สินให้ตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งขณะนี้ได้ขอคัดคำพิพากษาฉบับเต็มเพื่อตรวจดูรายละเอียดที่จะพิจารณาประเด็นยื่นฎีกาต่อสู้ตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (11 พ.ย.) ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีริบทรัพย์ หมายเลขดำ ปช.1/2555 ที่อัยการสูงสุด ได้ยื่นคำร้องเมื่อเดือน ก.พ.2555 ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อดีตปลัดกระทรวงคมนาคมสมัยรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ , นางนฤมล หรือเพ็ญพิมล ทรัพย์ล้อม ภรรยา , น.ส.สุทธิวรรณ ทรัพย์ล้อม บุตรสาว , น.ส.สุทธาวรรณ ทรัพย์ล้อม หรือปราบใหญ่ บุตรสาว , นายสืบพงษ์ ปราบใหญ่ บุตรเขย และผู้ใกล้ชิดรวม 7 ราย ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4 และมาตรา 80 (2)
โดยทรัพย์สินมีทั้งสิ้น 19 รายการ ประกอบเงินสด เงินฝากในธนาคารต่างๆ 9 บัญชี ทองคำรูปพรรณ โฉนดที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ห้องชุดคอนโดมิเนียม รถยนต์ รวมมูลค่ากว่า 46 ล้านบาท ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่นายสุพจน์ไม่สามารถชี้แจงที่มาได้ หลังจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เข้าไปตรวจสอบทรัพย์สิน หลังจากเกิดเหตุคนร้ายบุกปล้นบ้านนายสุพจน์ เมื่อวันที่ 12 พ.ย.2554 และผู้ต้องหาให้การว่าพบเงินสดในบ้านเป็นร้อยล้านบาท และต่อมาได้ชี้มูลความผิดว่านายสุพจน์ร่ำรวยผิดปกติ
คดนี้ นายสุพจน์ได้ยื่นคัดค้านคำร้องอ้างว่า ทรัพย์สินนั้น ผู้คัดค้านได้มีมาแต่เดิมและได้มากว่า 10 ปี การขอให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน เป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจ ทำให้ผู้คัดค้านได้รับความเสียหาย ซึ่งผู้คัดค้านเคยยื่นบัญชีแสดงต่อคณะอนุกรรมการ ป.ป.ช.ไปแล้ว และ ป.ป.ช.ไม่แสดงความเห็นคัดค้านแต่อย่างใด
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา วันที่ 31 ม.ค.2557 ว่า ข้ออ้างฟังไม่ขึ้น จึงพิพากษาให้ทรัพย์สิน 19 รายการ มูลค่ากว่า 46 ล้านบาท ตกเป็นของแผ่นดิน และให้ส่งมอบทรัพย์สินให้กระทรวงการคลัง
ต่อมานายสุพจน์และครอบครัวได้ยื่นอุทธรณ์ โดยการนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ฝ่ายของนายสุพจน์มีเพียงนายสมศักดิ์ โตรักษา ทนายความผู้รับมอบอำนาจเดินทางมาศาล
ศาลอุทธรณ์ได้ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้ว เห็นว่า ทรัพย์ตามคำร้องได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าและเกิดจากความร่ำรวยผิดปกติ จึงต้องสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ทรัพย์สินรวม 46,141,038 .83 บาท ตกเป็นของแผ่นดินโดยนำบัญชีเงินฝาก 3 บัญชี ที่ปิดแล้วจำนวน 15,857,548.69 บาท หักออกจากมูลค่าทรัพย์สิน ที่อัยการสูงสุดยื่นคำร้องนั้น ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นด้วย เมื่อฟังได้ว่านายสุพจน์ ผู้คัดค้านที่ 1 ร่ำรวยผิดปกติ แม้ภายหลังมีการปิดดังกล่าวแล้วก็ต้องนำเงิน 15,857,548.69 บาท มารวมอยู่ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติด้วย ส่วนรถยนต์ยี่ห้อ VOLK SWAGEN มูลค่า 3 ล้านบาท แม้ไม่มีชื่อของนายสุพจน์เป็นเจ้าของ แต่ฟังได้ว่ามีการมอบรถให้นายสุพจน์ใช้อย่างถาวร จึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเกิดจากการร่ำรวยผิดปกติ เมื่อนำทรัพย์สินดังกล่าวกับมูลค่าทรัพย์สินที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว จะรวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 64,998,587.52 บาท
ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษาแก้เป็นว่า ให้รถยนต์ยี่ห้อ VOLK SWAGEN มูลค่า 3 ล้านบาท รวมกับทรัพย์สินอื่นตามคำสั่งศาลชั้นต้น รวมมูลค่าทั้งสิ้น 64,998,587.52 บาท ให้ตกเป็นของแผ่นดิน
ภายหลัง นายสมศักดิ์ โตรักษา ทนายความของนายสุพจน์ กล่าวว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ได้มีการพิจารณาเพิ่มทรัพย์สินให้ตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งขณะนี้ได้ขอคัดคำพิพากษาฉบับเต็มเพื่อตรวจดูรายละเอียดที่จะพิจารณาประเด็นยื่นฎีกาต่อสู้ตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป