เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (11พ.ย.) ที่รัฐสภา สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ได้เชิญคณะทูตานุทูต 74 ประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ 6 องค์กร เข้ารับฟังการชี้แจงการทำงานของ สปท. โดยร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธาน สปท. ชี้แจงว่า การทำงานของ สปท.จะสอดคล้องกับ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) โดยระยะแรกของโรดแมป ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ย.57 ถึง 30 ก.ย.57 คสช.ได้บริหารงานเพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว และขณะนี้เข้าสู่ระยะที่ 2 จนถึงเดือนก.ค.60 ซึ่งเป็นการเดินหน้าตามยุทธศาสตร์แบบบูรณาการ จากนั้นจะเข้าสู่ ระยะที่ 3 ที่จะเริ่มตั้งแต่เดือนส.ค.60 เป็นต้นไป ซึ่งจะเป็นช่วงส่งต่อการบริหารประเทศให้รัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง โดยรัฐบาลชุดใหม่จะต้องรับช่วงภารกิจที่สำคัญให้ต่อเนื่อง
ทั้งนี้ สปท. จะจัดทำแนวทางการปฏิรูปที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้ทุกส่วนราชการได้นำไปใช้ ซึ่งจะครอบคลุมทั้งเรื่องการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ การตรวจสอบไม่ให้ผู้ที่กระทำกรทุจริตได้เข้ามาสู่กระบวนการเลือกตั้ง การป้องกันการแทรกแซงการทำหน้าที่ของข้าราชการ การเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร การปรับโครงสร้างด้านเศรษฐกิจและสังคมเพื่อป้องกันการสร้างค่านิยมทางการเมืองที่ผิดๆ ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจระยะยาว และสุดท้ายคือ การดูแลการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลให้เหมาะสม
ในวันที่ 14 พ.ย.นี้ สปท. จะบรรยายสรุปให้กับเอกอัครราชทูตไทยทั่วโลก ที่กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งรัฐบาลได้ให้สปท.ชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจถึงความตั้งใจในการขับเคลื่อนประเทศ และแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ความเหลื่อมล้ำ การทุจริต คอร์รัปชัน เพื่อนำไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในอีก 20 ปีข้างหน้า
ขณะที่ทีมโฆษกสปท. ประกอบด้วย นายสุวัจน์ จิราพันธุ์ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล และนายคำนูณ สิทธิสมาน ได้ร่วมกันแถลงภายหลัง การบรรยายสรุปการทำงานของสปท. ต่อคณะทูตและองค์กรระหว่างประเทศ ว่าได้มีการชี้แจงถึงเป้าหมายของสปท. และภาระกิจต่างๆ อาทิ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ การป้องกันและตรวจสอบผู้ที่ทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริต การทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะนักการเมืองเป็นอิสระ ปราศจากการครอบงำ ส่งเสรริมความเข้มแข็งของหลักนิติธรรม ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดความเป็นธรรม
นอกจากนี้ประธาน สปท. ยังได้ชี้แจงเรื่อง มาตรา 44 พร้อมทั้งทำความเข้าใจกับโรดแมป 6+4 6+4 และ 1+1+18 ซึ่งได้รับกรตอบรับเป็นอย่างดี มีบรรยายความเป็นกันเอง อีกทั้งผู้เข้าร่วมให้ความสนใจ และมีการสอบถามถึง ความต่อเนื่อของการทำงาน สทป.ต่อจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เช่น จะทำอย่างไรให้การขับเคลื่อนออกมาเป็นรูปธรรม และได้สอบถามด้วยว่า ทางแม่น้ำ 5 สาย จะมีแนวทางการการปรองดองอย่างไร รวมถึงจะให้ประชาชมีส่วนร่วมกับการปฏิรูปอย่างไร โดยนายคำนูณ กล่าวว่า เราได้จัดตั้งศูนย์รับฟังความเห็นจากประชาชนถึง 11 ช่องทาง พร้อมทั้งมีการจัดเวทีรับฟังความเห็นกว่า 700 เวที นอกจากนี้ในโครงการสนช. พบประชาชน เราก็จะมีการเข้าร่วมลงพื้น เพื่ออธิบายและสื่อสารกับประชาชนด้วย
ในส่วนของแนวทางการปรองดองนั้น นายคำนูณ กล่าวว่า การพูดถึงเรื่องปรองดองไม่ใช่เพียงแค่นำคู่ขัดแย้งมาพูดคุยกัน หากจะต้องมีการปฏิรูปประเทศ เพราะเรามีความเหลื่อมล้ำกัน โดยส่วนนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงวิกฤต ซึ่งการปรองดองและการปฏิรูปก็เหมือนเหรียญสองด้าน ต้องทำควบคู่ไปด้วยกันแยกจากกันไม่ได้
ทั้งนี้ ในกรณีปรองดองเฉพาะหน้าจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร หรือจะมีการนิรโทษกรรมหรือไม่ ส่วนนี้คณะกรรมการประสานงานระหว่างสปท. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.), และคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะหารือกันต่อไป อีกทั้งเรื่องดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของ คณะกรรมาธิขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมืองด้วย
เมื่อถามว่าเรื่องมาตรการปรองดองมีเค้าโครงอย่างไร นายคำนูณ กล่าวว่า วันนี้เป็นวันแรกที่กมธ.ปฏิรูปการเมืองประชุมกัน แต่เท่าที่คุยกับสมาชิกเมื่อวันประชุมเชิงปฏิบัติการ ในส่วนของกลุ่มปฏิรูปการเมือง ส่วนใหญ่เห็นว่า เรื่องนี้เป็นวาระสำคัญที่จะต้องทำให้เห็นผล และเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการตามโร้มแม็พ 18 เดือน ทั้งนี้จากนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญในการปฏิรูปประเทศ และตั้งคณะกรรมการประสานงาน 3 ฝ่ายขึ้น ซึ่ง สปท. จะมีการส่งนายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธาน สปท. คนที่ 1 เข้าร่วมด้วย
ทั้งนี้ สปท. จะจัดทำแนวทางการปฏิรูปที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้ทุกส่วนราชการได้นำไปใช้ ซึ่งจะครอบคลุมทั้งเรื่องการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ การตรวจสอบไม่ให้ผู้ที่กระทำกรทุจริตได้เข้ามาสู่กระบวนการเลือกตั้ง การป้องกันการแทรกแซงการทำหน้าที่ของข้าราชการ การเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร การปรับโครงสร้างด้านเศรษฐกิจและสังคมเพื่อป้องกันการสร้างค่านิยมทางการเมืองที่ผิดๆ ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจระยะยาว และสุดท้ายคือ การดูแลการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลให้เหมาะสม
ในวันที่ 14 พ.ย.นี้ สปท. จะบรรยายสรุปให้กับเอกอัครราชทูตไทยทั่วโลก ที่กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งรัฐบาลได้ให้สปท.ชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจถึงความตั้งใจในการขับเคลื่อนประเทศ และแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ความเหลื่อมล้ำ การทุจริต คอร์รัปชัน เพื่อนำไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในอีก 20 ปีข้างหน้า
ขณะที่ทีมโฆษกสปท. ประกอบด้วย นายสุวัจน์ จิราพันธุ์ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล และนายคำนูณ สิทธิสมาน ได้ร่วมกันแถลงภายหลัง การบรรยายสรุปการทำงานของสปท. ต่อคณะทูตและองค์กรระหว่างประเทศ ว่าได้มีการชี้แจงถึงเป้าหมายของสปท. และภาระกิจต่างๆ อาทิ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ การป้องกันและตรวจสอบผู้ที่ทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริต การทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะนักการเมืองเป็นอิสระ ปราศจากการครอบงำ ส่งเสรริมความเข้มแข็งของหลักนิติธรรม ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดความเป็นธรรม
นอกจากนี้ประธาน สปท. ยังได้ชี้แจงเรื่อง มาตรา 44 พร้อมทั้งทำความเข้าใจกับโรดแมป 6+4 6+4 และ 1+1+18 ซึ่งได้รับกรตอบรับเป็นอย่างดี มีบรรยายความเป็นกันเอง อีกทั้งผู้เข้าร่วมให้ความสนใจ และมีการสอบถามถึง ความต่อเนื่อของการทำงาน สทป.ต่อจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เช่น จะทำอย่างไรให้การขับเคลื่อนออกมาเป็นรูปธรรม และได้สอบถามด้วยว่า ทางแม่น้ำ 5 สาย จะมีแนวทางการการปรองดองอย่างไร รวมถึงจะให้ประชาชมีส่วนร่วมกับการปฏิรูปอย่างไร โดยนายคำนูณ กล่าวว่า เราได้จัดตั้งศูนย์รับฟังความเห็นจากประชาชนถึง 11 ช่องทาง พร้อมทั้งมีการจัดเวทีรับฟังความเห็นกว่า 700 เวที นอกจากนี้ในโครงการสนช. พบประชาชน เราก็จะมีการเข้าร่วมลงพื้น เพื่ออธิบายและสื่อสารกับประชาชนด้วย
ในส่วนของแนวทางการปรองดองนั้น นายคำนูณ กล่าวว่า การพูดถึงเรื่องปรองดองไม่ใช่เพียงแค่นำคู่ขัดแย้งมาพูดคุยกัน หากจะต้องมีการปฏิรูปประเทศ เพราะเรามีความเหลื่อมล้ำกัน โดยส่วนนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงวิกฤต ซึ่งการปรองดองและการปฏิรูปก็เหมือนเหรียญสองด้าน ต้องทำควบคู่ไปด้วยกันแยกจากกันไม่ได้
ทั้งนี้ ในกรณีปรองดองเฉพาะหน้าจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร หรือจะมีการนิรโทษกรรมหรือไม่ ส่วนนี้คณะกรรมการประสานงานระหว่างสปท. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.), และคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะหารือกันต่อไป อีกทั้งเรื่องดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของ คณะกรรมาธิขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมืองด้วย
เมื่อถามว่าเรื่องมาตรการปรองดองมีเค้าโครงอย่างไร นายคำนูณ กล่าวว่า วันนี้เป็นวันแรกที่กมธ.ปฏิรูปการเมืองประชุมกัน แต่เท่าที่คุยกับสมาชิกเมื่อวันประชุมเชิงปฏิบัติการ ในส่วนของกลุ่มปฏิรูปการเมือง ส่วนใหญ่เห็นว่า เรื่องนี้เป็นวาระสำคัญที่จะต้องทำให้เห็นผล และเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการตามโร้มแม็พ 18 เดือน ทั้งนี้จากนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญในการปฏิรูปประเทศ และตั้งคณะกรรมการประสานงาน 3 ฝ่ายขึ้น ซึ่ง สปท. จะมีการส่งนายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธาน สปท. คนที่ 1 เข้าร่วมด้วย