แบงก์กรุงเทพ เดินหน้าธุรกิจในพม่าหลังได้ไลเซนส์สาขา มั่นใจศักยภาพยังเติบโตได้ดี คาดเลือกตั้งไม่ส่งผลกระทบมากนัก หวังมีสินทรัพย์ขึ้นแท่น 1 ใน 3 ของสาขาต่างประเทศรวมในปี 5 ปี ส่วนสินเชื่อรวมปีหน้าตั้งเป้าโต 4-5% หากจีดีพีโตได้ 3-4%
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL)กล่าวว่า หลังจากที่ธนาคารได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจในรูปแบบธนาคารพาณิชย์ในรูปแบบสาขา และเปิดดำเนินการสาขานครย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ได้เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยในระยะแรกส่วนใหญ่จะเป็นบริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ อัตราแลกเปลี่ยน เปิดบัญชีชำระค่าสินค้าระหว่างประเทศ (แอลซี) ให้แก่นักลงทุนไทย และลูกค้าที่ส่งมาจากสาขาในภูมิภาค เช่น ธุรกิจการค้าประเภทสินค้าอุปโภคบริโภค การตั้งโรงงานผลิตสินค้า ก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน และพลังงาน แต่มีอุปสรรคในการขยายสินเชื่อ คือ ชาวพม่านิยมใช้จ่ายเงินสดซื้อสินค้าทุกชนิด
ส่วนทางด้านการตั้งเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจนั้น ในขณะนี้คงต้องให้เวลาในการปรับตัวหลังจากการยกระดับขึ้นมาเป็นสาขาก่อน แม้ธนาคารจะเปิดเป็นสำนักงานตัวแทนในย่างกุ้งมา 20 ปีแล้วก็ตาม แต่ในระยะยาวได้ตั้งเป้าหมายสินทรัพย์ และยอดคงค้างสินเชื่อในพม่าให้ขึ้นเป็นอันดับ 3 ภายใน 5 ปี หรือในปี 2563 จากปัจจุบันที่สินทรัพย์ และสินเชื่อในต่างประเทศของธนาคารอันดับ 1 อยู่ที่ฮ่องกง รองลงมา ได้แก่ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และจีน เนื่องจากธนาคารมองเห็นโอกาส และศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้อีกมากของพม่า
สำหรับประเด็นอุปสรรค ความท้าทายนั้นคงเป็นเรื่องการพัฒนาระบบการเงิน และกฎหมายต่างๆ ที่จะต้องทำต่อไปในอนาคตหลังจากปิดประเทศมากว่า 40 ปี รวมถึงความเสี่ยงในระยะใกล้ๆ นี้ คือ การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 8 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้ แต่เท่าที่หลายฝ่ายประเมินก็ไม่น่าจะที่จะเกิดความวุ่นวายมาก หรือจนกระทั่งต้องกลับไปสู่ระบบเดิม
นายไชยฤทธิ์ อนุชิตวรวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ BBL กล่าวว่า จากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของพม่าที่ค่อนข้างสูงในแต่ละปี จะส่งผลให้สัดส่วนสินเชื่อ และสินทรัพย์ของสาขาย่างกุ้งขยับขึ้นมาติดอันดับติดอันดับ 1 ใน 5 ของสาขา และสำนักงานตัวแทนในต่างประเทศทั้ง 30 แห่ง หรือคิดเป็น 18-20% ภายในปี 2563 ส่วนการเลือกตั้งทั่วไปในพม่าน่าจะผ่านไปได้ด้วยดี
ทั้งนี้ การมีสาขาในพม่าทำให้ธนาคารได้เติมเต็มกลยุทธ์ด้านต่างประเทศของธนาคาร ทำให้เกิดความเชื่อมโยงในการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นระหว่างประเทศไทยกับภูมิภาค หรือระหว่างประเทศอื่นในภูมิภาค เพื่อรองรับการเปิด AEC ซึ่งปัจจุบัน ธนาคารมีสาขาครบในทุกประเทศของ AEC แล้ว ยกเว้นบรูไน
ด้าน นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ BBL กล่าวว่า ขณะนี้นักลงทุนกำลังจับตาการเลือกตั้งของพม่า ซึ่งหากไม่มีอะไรเกิดขึ้นนักลงทุนก็พร้อมจะลงทุน และมั่นใจว่าอีกไม่นานพม่าจะเข้าสู่ยุคทองอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน โดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวขึ้นจากปัจจุบันที่ 8% เป็น 10% และในปีนี้ประเมินว่าจะมีเงินลงทุนโดยตรงไหลเข้าลงทุนในพม่าราว 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบปีที่แล้วอยู่ที่ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ตั้งเป้าสินเชื่อปีหน้าโต 4-5%
นายเดชา ตุลานันท์ รองประธานกรรมการบริหาร BBL กล่าวว่า ธนาคารตั้งเป้าหมายสินเชื่อปีหน้าเติบโตที่ 4-5% บนสมมติฐานที่จีดีพีเติบโตได้ 3-4% โดยส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) รวมไปถึงสินเชื่อรายใหญ่ที่น่าจะได้ผลดีจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ส่วนในปีนี้คาดว่าสินเชื่อของธนาคารน่าจะเติบโตต่ำกว่าเป้าหมายที่ 3% ตามจีดีพีที่เติบโตได้ต่ำกว่าเป้าหมายเช่นกัน
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL)กล่าวว่า หลังจากที่ธนาคารได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจในรูปแบบธนาคารพาณิชย์ในรูปแบบสาขา และเปิดดำเนินการสาขานครย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ได้เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยในระยะแรกส่วนใหญ่จะเป็นบริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ อัตราแลกเปลี่ยน เปิดบัญชีชำระค่าสินค้าระหว่างประเทศ (แอลซี) ให้แก่นักลงทุนไทย และลูกค้าที่ส่งมาจากสาขาในภูมิภาค เช่น ธุรกิจการค้าประเภทสินค้าอุปโภคบริโภค การตั้งโรงงานผลิตสินค้า ก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน และพลังงาน แต่มีอุปสรรคในการขยายสินเชื่อ คือ ชาวพม่านิยมใช้จ่ายเงินสดซื้อสินค้าทุกชนิด
ส่วนทางด้านการตั้งเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจนั้น ในขณะนี้คงต้องให้เวลาในการปรับตัวหลังจากการยกระดับขึ้นมาเป็นสาขาก่อน แม้ธนาคารจะเปิดเป็นสำนักงานตัวแทนในย่างกุ้งมา 20 ปีแล้วก็ตาม แต่ในระยะยาวได้ตั้งเป้าหมายสินทรัพย์ และยอดคงค้างสินเชื่อในพม่าให้ขึ้นเป็นอันดับ 3 ภายใน 5 ปี หรือในปี 2563 จากปัจจุบันที่สินทรัพย์ และสินเชื่อในต่างประเทศของธนาคารอันดับ 1 อยู่ที่ฮ่องกง รองลงมา ได้แก่ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และจีน เนื่องจากธนาคารมองเห็นโอกาส และศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้อีกมากของพม่า
สำหรับประเด็นอุปสรรค ความท้าทายนั้นคงเป็นเรื่องการพัฒนาระบบการเงิน และกฎหมายต่างๆ ที่จะต้องทำต่อไปในอนาคตหลังจากปิดประเทศมากว่า 40 ปี รวมถึงความเสี่ยงในระยะใกล้ๆ นี้ คือ การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 8 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้ แต่เท่าที่หลายฝ่ายประเมินก็ไม่น่าจะที่จะเกิดความวุ่นวายมาก หรือจนกระทั่งต้องกลับไปสู่ระบบเดิม
นายไชยฤทธิ์ อนุชิตวรวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ BBL กล่าวว่า จากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของพม่าที่ค่อนข้างสูงในแต่ละปี จะส่งผลให้สัดส่วนสินเชื่อ และสินทรัพย์ของสาขาย่างกุ้งขยับขึ้นมาติดอันดับติดอันดับ 1 ใน 5 ของสาขา และสำนักงานตัวแทนในต่างประเทศทั้ง 30 แห่ง หรือคิดเป็น 18-20% ภายในปี 2563 ส่วนการเลือกตั้งทั่วไปในพม่าน่าจะผ่านไปได้ด้วยดี
ทั้งนี้ การมีสาขาในพม่าทำให้ธนาคารได้เติมเต็มกลยุทธ์ด้านต่างประเทศของธนาคาร ทำให้เกิดความเชื่อมโยงในการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นระหว่างประเทศไทยกับภูมิภาค หรือระหว่างประเทศอื่นในภูมิภาค เพื่อรองรับการเปิด AEC ซึ่งปัจจุบัน ธนาคารมีสาขาครบในทุกประเทศของ AEC แล้ว ยกเว้นบรูไน
ด้าน นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ BBL กล่าวว่า ขณะนี้นักลงทุนกำลังจับตาการเลือกตั้งของพม่า ซึ่งหากไม่มีอะไรเกิดขึ้นนักลงทุนก็พร้อมจะลงทุน และมั่นใจว่าอีกไม่นานพม่าจะเข้าสู่ยุคทองอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน โดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวขึ้นจากปัจจุบันที่ 8% เป็น 10% และในปีนี้ประเมินว่าจะมีเงินลงทุนโดยตรงไหลเข้าลงทุนในพม่าราว 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบปีที่แล้วอยู่ที่ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ตั้งเป้าสินเชื่อปีหน้าโต 4-5%
นายเดชา ตุลานันท์ รองประธานกรรมการบริหาร BBL กล่าวว่า ธนาคารตั้งเป้าหมายสินเชื่อปีหน้าเติบโตที่ 4-5% บนสมมติฐานที่จีดีพีเติบโตได้ 3-4% โดยส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) รวมไปถึงสินเชื่อรายใหญ่ที่น่าจะได้ผลดีจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ส่วนในปีนี้คาดว่าสินเชื่อของธนาคารน่าจะเติบโตต่ำกว่าเป้าหมายที่ 3% ตามจีดีพีที่เติบโตได้ต่ำกว่าเป้าหมายเช่นกัน