ASTVผู้จัดการรายวัน-ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค. ปรับตัวดีขึ้นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน หลังคนมั่นใจมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ ขณะที่ปัจจัยลบยังคงเป็นเรื่องเดิมๆ คาดกำลังซื้อจะเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 เป็นต้นไป ดันให้เศรษฐกิจไทยปีนี้โตได้ 2.7-2.8%
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนต.ค.2558 ว่า ดัชนีได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกรายการ โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ 73.4 เพิ่มจาก 72.1 เป็นการปรับตัวดีขึ้นในรอบ 10 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันอยู่ที่53.6 เพิ่มจาก 52.7 เป็นการเพิ่มขึ้นในรอบ 10 เดือนเช่นเดียวกัน และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคตอยู่ที่ 81.3 เพิ่มจาก 79.8 ปรับตัวดีขึ้นในรอบ 2 เดือน ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 62.2 เพิ่มจาก 61.2 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำอยู่ที่ 68.6 เพิ่มจาก 67.3และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 89.4 เพิ่มจาก 87.9
ปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น มาจากความชัดเจนของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของรัฐบาล ทั้งการให้เงินกู้แก่กองทุนหมู่บ้านไปปล่อยสินเชื่อต่อให้กับสมาชิก ให้เงินตำบลละ 5 ล้านเพื่อนำไปพัฒนาตำบล การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณโครงการขนาดเล็ก การเพิ่มมาตรการช่วยเหลือผู้ซื้อบ้าน โดยปรับลดค่าธรรมเนียมการโอนและการจดจำนอง ขณะที่ SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้น ราคาขายปลีกน้ำมันลดลง
ส่วนปัจจัยลบยังคงเป็นปัจจัยเดิมๆ ทั้ง การปรับลดการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเหลือ 2.8% จากเดิม 2.6-3.1% การส่งออกเดือนก.ย.ลดลง 5.51% และยอดรวม 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.) ยังลดลง 4.98%ราคาสินค้าเกษตรยังทรงตัวในระดับต่ำ ทั้งข้าว ยางพารา และปศุสัตว์ เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย และผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นไม่สอดคล้องกับรายได้
“ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นทุกรายการ เพราะผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย และมีความหวังที่จะฟื้นตัวดีขึ้นในอนาคตอันใกล้จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล แต่ผู้บริโภคก็ยังมีความกังวลต่อความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก และการส่งออกก็ยังไม่ฟื้นตัวขึ้น อีกทั้งยังมีปัญหาราคาสินค้าเกษตรที่ทรงตัวในระดับต่ำ ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร”นายธนวรรธน์กล่าว
ทั้งนี้ ผลจากดัชนีความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น ยังส่งผลให้ดัชนีความเหมาะสมในการใช้จ่ายของผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยดัชนีความเหมาะสมในการซื้อรถยนต์คันใหม่อยู่ที่ 84.6 เพิ่มจาก 81.9ดัชนีความเหมาะสมในการซื้อบ้านหลังใหม่อยู่ที่ 90.8 เพิ่มจาก 57.5 ดัชนีความเหมาะสมในการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวอยู่ที่ 57.3 เพิ่มจาก 53.8
เช่นเดียวกับดัชนีความเหมาะสมในการลงทุนทำธุรกิจอยู่ที่ 42.9 เพิ่มจาก 40
นายธนวรรธน์กล่าวว่า จากแนวโน้มดัชนีความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น คาดว่า จะส่งผลทำให้การบริโภคของประชาชนค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายปี หลังจากเม็ดเงินจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเข้าไปหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 นี้เป็นต้นไป โดยศูนย์ฯ
ประเมินว่าการบริโภคน่าจะเริ่มฟื้นดีขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาสที่ 4 นี้เช่นเดียวกัน
“ขณะนี้เศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว หากรัฐบาลมีเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเข้าไปอีก จะทำให้เศรษฐกิจปีนี้ขยายตัวได้ 2.7-2.8% ส่วนปีหน้าคาดว่าจะขยายตัว 3.5-4%จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การส่งเสริมการลงทุนและการผลักดันการส่งออก”นายธนวรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนต.ค.2558 ว่า ดัชนีได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกรายการ โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ 73.4 เพิ่มจาก 72.1 เป็นการปรับตัวดีขึ้นในรอบ 10 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันอยู่ที่53.6 เพิ่มจาก 52.7 เป็นการเพิ่มขึ้นในรอบ 10 เดือนเช่นเดียวกัน และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคตอยู่ที่ 81.3 เพิ่มจาก 79.8 ปรับตัวดีขึ้นในรอบ 2 เดือน ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 62.2 เพิ่มจาก 61.2 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำอยู่ที่ 68.6 เพิ่มจาก 67.3และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 89.4 เพิ่มจาก 87.9
ปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น มาจากความชัดเจนของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของรัฐบาล ทั้งการให้เงินกู้แก่กองทุนหมู่บ้านไปปล่อยสินเชื่อต่อให้กับสมาชิก ให้เงินตำบลละ 5 ล้านเพื่อนำไปพัฒนาตำบล การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณโครงการขนาดเล็ก การเพิ่มมาตรการช่วยเหลือผู้ซื้อบ้าน โดยปรับลดค่าธรรมเนียมการโอนและการจดจำนอง ขณะที่ SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้น ราคาขายปลีกน้ำมันลดลง
ส่วนปัจจัยลบยังคงเป็นปัจจัยเดิมๆ ทั้ง การปรับลดการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเหลือ 2.8% จากเดิม 2.6-3.1% การส่งออกเดือนก.ย.ลดลง 5.51% และยอดรวม 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.) ยังลดลง 4.98%ราคาสินค้าเกษตรยังทรงตัวในระดับต่ำ ทั้งข้าว ยางพารา และปศุสัตว์ เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย และผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นไม่สอดคล้องกับรายได้
“ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นทุกรายการ เพราะผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย และมีความหวังที่จะฟื้นตัวดีขึ้นในอนาคตอันใกล้จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล แต่ผู้บริโภคก็ยังมีความกังวลต่อความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก และการส่งออกก็ยังไม่ฟื้นตัวขึ้น อีกทั้งยังมีปัญหาราคาสินค้าเกษตรที่ทรงตัวในระดับต่ำ ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร”นายธนวรรธน์กล่าว
ทั้งนี้ ผลจากดัชนีความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น ยังส่งผลให้ดัชนีความเหมาะสมในการใช้จ่ายของผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยดัชนีความเหมาะสมในการซื้อรถยนต์คันใหม่อยู่ที่ 84.6 เพิ่มจาก 81.9ดัชนีความเหมาะสมในการซื้อบ้านหลังใหม่อยู่ที่ 90.8 เพิ่มจาก 57.5 ดัชนีความเหมาะสมในการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวอยู่ที่ 57.3 เพิ่มจาก 53.8
เช่นเดียวกับดัชนีความเหมาะสมในการลงทุนทำธุรกิจอยู่ที่ 42.9 เพิ่มจาก 40
นายธนวรรธน์กล่าวว่า จากแนวโน้มดัชนีความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น คาดว่า จะส่งผลทำให้การบริโภคของประชาชนค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายปี หลังจากเม็ดเงินจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเข้าไปหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 นี้เป็นต้นไป โดยศูนย์ฯ
ประเมินว่าการบริโภคน่าจะเริ่มฟื้นดีขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาสที่ 4 นี้เช่นเดียวกัน
“ขณะนี้เศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว หากรัฐบาลมีเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเข้าไปอีก จะทำให้เศรษฐกิจปีนี้ขยายตัวได้ 2.7-2.8% ส่วนปีหน้าคาดว่าจะขยายตัว 3.5-4%จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การส่งเสริมการลงทุนและการผลักดันการส่งออก”นายธนวรรธน์กล่าว