ASTVผู้จัดการรายวัน- "มีชัย" ยืนยันคงกระจายอำนาจท้องถิ่น ต้องคุมเข้มปัญหาทุจริตเท่าระดับชาติ คนโกงต้องถูกตัดสิทธิ์ พร้อมหาทางป้องกันพรรคนอมินี โดยยึดบริบทสังคมไทย "อมร" เผย กรธ. เตรียมพิจารณาให้ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติ หลังองค์กรที่เกี่ยวข้องได้ยื่นหนังสือ ด้านเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชัน แนะให้ยึดมาตรการปราบโกง ตามร่าง รธน.ฉบับบวรศักดิ์ "สมบัติ" ชี้ระบบเลือกตั้งใหม่ บิดเบือนเจตนารมณ์ประชาชน ไม่ช่วยแก้ปัญหาซื้อสิทธิ ขายเสียง
วานนี้ (3พ.ย.) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึง การปรับโครงสร้างองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น ว่า จะคงเจตนารมณ์ต้องกระจายอำนาจท้องถิ่นอยู่ เพราะประเทศไทยมาไกลเกินกว่าจะไปรวมแล้ว ส่วนเมื่อกระจายอำนาจแล้วมีปัญหาเกิดขึ้น ต้องไปพิจารณา แต่ในรัฐธรรมนูญจะไปเขียนไว้ไม่ได้ เพราะสถานการณ์มีความเปลี่ยนแปลง จึงไม่ต้องการเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อให้ผูกมัดไว้ ดังนั้นรายละเอียดจะไปเขียนไว้ในกฎหมายลูก เช่น ปัญหาการกระจายอำนาจ ที่เมื่อกระจายเรื่องใดไป ก็ไปทีเดียวหมดทุกท้องถิ่น ทั้งที่มีท้องถิ่นที่พร้อม และไม่พร้อม หรือความพร้อมที่ไม่เท่ากัน ทำให้เรื่องคาราคาซัง ดังนั้นหากทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ทำในพื้นที่ที่พร้อม จะทำให้เดินหน้าไปเรื่อยไม่ติดขัด
ส่วนที่ก่อนหน้านี้ สปช. และ สนช. เสนอให้ควบรวมอบต. ที่ไม่มีความพร้อม นายมีชัย กล่าวว่า ตนไม่รู้เรื่องข้อเสนอนั้น แต่ในการเขียนรัฐธรรมนูญ จะไม่ระบุว่ามีอะไรไว้บ้าง แต่ต้องเป็นไปตามกฎหมาย ส่วนสปท. จะคิดไปแก้กฎหมายนั้น พ้นวิสัยที่จะรู้ โดยปัญหาทุจริตในท้องถิ่น จะมีกลไกป้องกันโดยต้องเข้มขึ้นเหมือนกับระดับชาติ ตอนนี้กฤษฎีกากำลังแก้กฎหมายของท้องถิ่นอยู่ ซึ่งต้องใช้มาตรฐานใกล้เคียงกับระดับชาติ ที่คนทุจริตต้องถูกตัดสิทธิ
เมื่อถามว่าความเห็นของบางพรรคการเมือง มีเนื้อหาที่แย้งต่อระบบเลือกตั้งที่ กรธ.กำลังพิจารณา นายมีชัย กล่าวว่า ต้องรับฟัง และพิจารณาว่ามีความเห็นอะไรที่มันเป็นจุดที่คิดต่อก็จะนำมาคิดต่อ หรือหากเขาไม่เข้าใจ ก็อธิบายให้เข้าใจ ส่วนครม. และ คสช. ยังไม่ได้ส่งความเห็นมา ทั้งนี้การรับฟังคามเห็นเปิดกว้างเท่ากันหมด จะไม่ถามเฉพาะประเด็น เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจไขว้เขวได้ว่าเรื่องอื่นเสนอไม่ได้
นายมีชัย กล่าวว่าในส่วนของประเด็นระบบบริหาร คาดว่าอีก 2 สัปดาห์จะเข้าที่ประชุม กรธ. โดยล่าสุดการพิจารณาเรื่องที่มา ส.ส. จบแล้ว โดยหลักการ ส.ส.ต้องมาจากการเลือกตั้ง จำนวน ส.ส. คงมีไม่เกิน 500 คน เหตุที่ใช้หลัก 500 คน เพราะเป็นหลักที่คุ้นกันมาแล้ว ส่วนจะแบ่ง ส.ส.เขตเท่าใด ส.ส.บัญชีรายชื่อเท่าใด กำลังพิจารณาอยู่ ส่วนเกณฑ์คุมพรรคการเมืองนอมินี ยังนึกไม่ออกว่าจะตั้งอย่างไร จะแตกต่างจากเดิมๆ ที่ตั้งไว้หรือไม่ ก็กำลังฟังๆอยู่ แม้ที่ผ่านมาบางพื้นที่พรรคใหญ่ก็เอาพรรคอื่น หรือใครก็ได้ มาลงเพื่อเอาคะแนน ส.ส.บัญชีรายชื่อ แต่จะแน่ใจได้อย่างไรว่าคนจะอยากให้เขาได้รับเลือกตั้ง เพราะเมื่อแบ่งไปแบ่งมา คนอื่นก็อาจเอาไปกินได้ เว้นแต่สามารถเอาประชาชนเข้าแถวแล้วตัดตอนเสียง เพราะพอแล้วเท่านั้น ประเด็นนี้ หากจับไม่ได้ ก็ต้องยกให้เขาไป
"การตรวจสอบนอมินี ต้องคิดล่วงหน้าว่าจะทำกันอย่างไร เพราะเราไม่สามารถเอารูปแบบสากลที่ไหนมาได้ เพราะสากลไม่มี ดังนั้นเวลาคิด ต้องคิดถึงบริบทไทยเสมอว่าเกิดอะไร ต้องแก้ปัญหาได้อย่างไร ไม่เช่นนั้นก็ไม่ได้ปฏิรูปอะไร ส่วนการกำหนดให้แข่งขันการเลือกตั้งที่เป็นธรรมระหว่างพรรคการเมืองจะไปเขียนไว้ในกฎหมายลูก เพราะรัฐธรรมนูญจะไปเขียนไม่ได้ เนื่องจากสามารถพลิกแพลงไปเรื่อย" ประธาน กรธ.ระบุ
** ดันศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ
นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษก กรธ. แถลงความคืบหน้าการร่างรัฐธรรมนูญ ว่า สำหรับหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐ บทบัญญัติที่ว่าด้วย รัฐพึงเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทำ และดำเนินการตามนโยบายสาธารณะ ข้อมูลข่าวสาธารณะโดยให้ประชาชนเข้าถึงได้สะดวก ซึ่งเรื่องนี่เรามีการหยิบยกประเด็นเกี่ยวกับความลับแห่งชาติ หรือข้อมูลเรื่องความมั่นคงมาอภิปราย และมีความจำเป็นต้องสงวนเรื่องนี้ไว้ อย่างไรก็ดีรายละเอียดในส่วนนี้จะมีการบัญญัติไว้ในกฎหมายลูก
นอกจากนี้ในประเด็นเรื่องการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น มีองค์กรที่เกี่ยวข้องได้ยื่นหนังสือ ต้องการให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เราได้รับไว้พิจารณา แต่ยังไม่การลงรายละเอียดว่าจะบัญญัติอย่างไร
เมื่อถามว่า ในหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐ สำหรับการจัดสรรบำรุงรักษา บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ มีการหยิบยกเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่หรือไม่ นายอมร กล่าวว่า ที่ประชุมมีการถกเถียงประเด็นดังกล่าวว่า คลื่นความถี่ คือทรัพยากรธรรมชาติหรือไม่ โดยที่ผ่านมาเรื่องนี้มีความก้าวหน้าเชิงความคิดมากเกินไป และปัญหาในอดีต การจัดสรรไม่เป็นธรรม มีราคาแพงไม่เหมาะสม ซึ่งตรงนี้เราก็มีการอภิปรายว่า อาจจะมีองค์กรใดขึ้นมาทำหน้าที่ดูแลเรื่องนี้เพื่อให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์สูงสุด และมีการบริหารทรัพยากรให้ทุกคนได้รับโอกาสมากที่สุด แต่อย่างไรก็ดีเรายังไม่ได้มีข้อยุติในเรื่องนี้
** ให้ยึดร่าง"บวรศักดิ์"สู้คอร์รัปชัน
นายประมณ สุธีวงศ์ สมาชิกสภาขับเคลื่อนประเทศ (สปท.) และ ประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชัน พร้อมด้วย นายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) เข้ายื่นหนังสือถึง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. เสนอให้ร่างรัฐธรรมนูญคงประเด็นหลัก ในการให้ประชาชนตรวจสอบ ติดตามพฤติกรรมการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบอย่างซับซ้อน แอบแฝง เพื่อป้องกันปัญหาคอร์รัปชัน อย่างจริงจัง โดยมี นายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย กรธ. มารับแทน
นายมานะ กล่าวว่าในการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานได้บรรจุสาระเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชันไว้ไม่น้อยกว่า 35 มาตรา โดยเขียนรวมไว้เป็นสัดส่วนอยู่ 2 เรื่อง ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบของชนชาวไทย และการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ โดยจำแนกสาระสำคัญ ดังนี้
1. ประชาชนได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญในการต่อสู้กับคอร์รัปชัน 2. ประชาชนมีเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะ 3. สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนว่า คนโกงต้องถูกจับ และลงโทษอย่างรุนแรง 4. ปิดช่องว่างในการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ จากเงินของแผ่นดิน 5. สร้างการเมืองที่ใสสะอาด 6. การบริหารราชการ และการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ต้องทำด้วยคุณธรรมจริยธรรม 7. การสั่งงานราชการและ การกำหนดนโยบายสาธารณะใดๆ ต้องยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ และ 8. ป้องกันคอร์รัปชัน ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
"การบัญญัติหลักการเพื่อการต่อสู้กับคอร์รัปชันอย่างรอบด้านไว้ในรัฐธรรมนูญเช่นนี้ ถือเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อวางเป้าหมายร่วมกันของคนไทย และสร้างหลักประกันว่า ทิศทางการต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันของประเทศ จะไม่ถูกละเลย ที่สำคัญการต่อต้านคอร์รัปชันเป็นเรื่องของประเทศชาติ ไม่ใช่ประเด็นทางการเมือง หรือผลประโยชน์ของคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด ดังนั้น ขอได้โปรดช่วยพิจารณาและสนับสนุนให้มีบรรจุสาระสำคัญเหล่านี้ไว้ในรัฐธรรมนูญใหม่ที่กำลังจัดทำอยู่" นายมานะ กล่าว
** ระบบเลือกตั้งใหม่บิดเบือนเจตนารมณ์ปชช.
นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สปช. โพสต์เฟชบุ๊กส่วนตัว ถึงการเลือกตั้งระบบจัดสรรปันส่วนผสมว่า กรธ. แถลงว่าต้องการจะใช้ระบบนี้ โดยจุดเด่นของระบบนี้คือ จะทำให้ไม่มีเสียงตกน้ำ แต่เป็นการแถลงที่ยังไม่เห็นภาพทั้งระบบ เพราะยังไม่บอกว่าจะให้มี ส.ส.เขต และส.ส.บัญชีรายชื่อ อย่างละเท่าไร ทำให้ยังไม่สามารถวิเคราะห์ภาพรวมได้ว่าจะมีความเหมาะสมอย่างไรกับสภาพสังคมไทย แต่ก็เห็นปัญหาเบื้องต้นหลายประการ คือ การนำเฉพาะคะแนนของผู้สมัครส.ส.เขต ที่แพ้มาเป็นคะแนนวัดความนิยมของพรรค ว่าพรรคใดจะได้ส.ส.มาก หรือน้อย เป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์ของประชาชนอย่างชัดเจน เพราะคะแนนของประชาชนที่เลือกผู้ชนะจาก ส.ส.เขต จะถูกตัดทิ้งไป ไม่นำมาคำนวณเป็นคะแนนนิยมของพรรค ที่ ส.ส.เขตได้รับการเลือกตั้ง กรณีนี้ก็เท่ากับว่า ส.ส.บัญชีรายชื่อ เป็นตัวแทนของผู้แพ้ในเขตเลือกตั้งเท่านั้น ไม่ใช่ตัวแทนจากเจตนารมณ์ของประชาชน ที่นิยมพรรคการเมือง
ทั้งนี้ การเลือกตั้งส.ส.เขตนั้นประชาชนอาจมีเหตุผลแตกต่างกัน บางส่วนอาจจะเลือกเพราะนิยมตัวบุคคล ไม่ได้นิยมพรรค แต่บางส่วนอาจจะนิยมพรรค ไม่ว่าพรรคจะส่งใครมาก็จะเลือก ดังนั้นวิธีการที่ กรธ.เรียกว่าระบบการจัดสรรปันส่วนผสม จึงไม่สะท้อนเจตนารมณ์ในการเลือกตั้งของประชาชน และที่สำคัญคือ ไม่สะท้อนหลักความเที่ยงธรรมในระบอบประชาธิปไตย พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เรื่องสองเรื่องนี้นำมาผสมกันไม่ได้เหมือนน้ำกับน้ำมัน
** ไม่ช่วยแก้ปัญหาซื้อสิทธิ ขายเสียง
นายสมบัติ กล่าวด้วยว่า เรื่องการซื้อสิทธิ ขายเสียง ในการเลือกตั้งมีลักษณะเฉพาะหลายประการ ใครที่บอกว่า วันนี้การเลือกตั้งในประเทศไทยไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียงอีกแล้ว ก็ต้องถือว่าบริสุทธิ์ใสซื่อจริงๆ ไม่เชื่อลองไปถาม กกต.ดู ถ้าจะมีบ้างก็คงเป็นพื้นที่ยกเว้นจริงๆ ลองบอกมาก็ได้จะได้ตามไปดู จะได้นำมาเผยแพร่เป็นตัวอย่าง การซื้อสิทธิ ขายเสียง ในการเลือกตั้งทั่วไปนั้นมีหลักฐานประจักษ์ยืนยันชัดเจนว่า การจัดการเลือกตั้งแบบเขตเดียวคนเดียว ทำให้การซื้อเสียงรุนแรง และได้ผลที่สุด การซื้อเสียงไม่ได้ซื้อเฉพาะคนชนะ คนแพ้ก็ซื้อด้วยเหมือนกัน แต่ซื้อสู้ไม่ได้เท่านั้นเอง บางครั้งคนแพ้อาจจะจ่ายเงินมากกว่าคนชนะด้วยซ้ำ
ดังนั้น การเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนจึงไม่ช่วยในการลดการซื้อสิทธิ์ขายเสียงแต่อย่างใด ปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในอนาคต จะลดลงเมื่อประชาชนผู้เลือกตั้งเป็นผู้บริจาคเงินหาเสียงให้กับผู้สมัครเหมือนกับที่ปรากฏอยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ระบบนี้จะยังคงมีปัญหาในทางปฏิบัติเพราะมีโอกาสที่ผู้สมัครส.ส.เขต จะถูกใบเหลือง หรือใบแดง ทำให้ยังไม่มีผู้ชนะผู้แพ้ที่แน่นอนทำให้ไม่สามารถประกาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อได้ และถ้า ส.ส.บัญชีรายชื่อ เป็นเขตประเทศ ก็จะทำให้ประกาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อไม่ได้เลย
** ต้องแก้ร่างรธน.มากกว่าระบบเลือกตั้ง
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย แกนนำ กปปส. กล่าวถึงระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ว่า ไม่ติดใจเรื่องระบบการเลือกตั้ง แต่หลักใหญ่ของ กปปส. คือ ต้องไม่ทำให้เกิดเผด็จการรัฐสภาขึ้นมาอีกต้องไม่ทำให้พรรคการเมือง เป็นพรรคที่ถูกกลุ่มทุนเข้ามายึดกุม ชี้นำ ส.ส.ได้ และที่สำคัญที่สุดก็คือ การจัดการกับปัญหาการทุจริตการซื้อสิทธิ ขายเสียง ซึ่งเรื่องนี้ใหญ่กว่าระบบการเลือกตั้งมาก เพราะระบบไม่ว่าจะออกแบบอย่างไร แต่คนที่จะโกงมันก็จะโกงอยู่ดี จึงควรออกแบบระบบที่ป้องกันกลโกงและสามารถสนับสนุนให้จัดการคนโกงได้ด้วย อาทิ การออกแบบอำนาจ กกต. หรือการยกร่างกฎหมายพรรคการเมืองเป็นต้น ซึ่งตนมองที่ทั้งระบบ ไม่ได้มองแค่การเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ที่ผ่านมา กปปส. ได้เคยเสนอไปบ้างแล้ว อาทิ เรื่องการให้ใบแดง ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาล แทนอำนาจของ กกต. เป็นต้น
นายสาทิตย์กยังกล่าวถึงการที่ กรธ.ได้บัญญัติหมวดใหม่ ที่ชื่อว่าหน้าที่ของรัฐขึ้นมา ว่า การบัญญัติหมวดนี้เป็นเหมือนกับยาที่ใช้เฉพาะในสังคมไทย ซึ่งคงจะไปแก้ไขปัญหาในอดีต ที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งบางรัฐบาลกลับทำสิ่งที่ไม่ควรทำ อาทิ จัดงบประมาณโดยไม่เป็นธรรม แล้วก็บอกว่าจังหวัดไหนเลือกเรา ก็จะให้งบก่อน เป็นต้น ซึ่งตรงนี้คงจะผิดหน้าที่รัฐ ดังนั้นการบัญญัติหมวดนี้ลงไป ตนคิดว่าไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะรัฐธรรมนูญต้องเป็นการสะท้อนเจตจำนงของประชาชน ที่ต้องการให้รัฐเข้ามาเพื่อทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์
ทั้งนี้ในสัปดาห์หน้า ทาง กปปส. จะเข้ามาเสนอความเห็นต่อ กรธ. ซึ่งนายสาทิตย์ เปิดเผยว่า ในขณะนี้ยังไม่ได้พูดคุยกันในหมู่แกนนำว่าจะมีใครเดินทางไปบ้าง แต่ขณะนี้ กปปส. ได้เตรียมประเด็นที่จะนำเสนอกับ กรธ. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ในส่วนพรรคประชาธิปัตย์ มีรายงานว่าในวันนี้ (4พ.ย.) เวลา 13.00 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และตัวแทนพรรค จะยื่นข้อเสนอแนะต่อ กรธ. เช่นกัน
วานนี้ (3พ.ย.) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึง การปรับโครงสร้างองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น ว่า จะคงเจตนารมณ์ต้องกระจายอำนาจท้องถิ่นอยู่ เพราะประเทศไทยมาไกลเกินกว่าจะไปรวมแล้ว ส่วนเมื่อกระจายอำนาจแล้วมีปัญหาเกิดขึ้น ต้องไปพิจารณา แต่ในรัฐธรรมนูญจะไปเขียนไว้ไม่ได้ เพราะสถานการณ์มีความเปลี่ยนแปลง จึงไม่ต้องการเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อให้ผูกมัดไว้ ดังนั้นรายละเอียดจะไปเขียนไว้ในกฎหมายลูก เช่น ปัญหาการกระจายอำนาจ ที่เมื่อกระจายเรื่องใดไป ก็ไปทีเดียวหมดทุกท้องถิ่น ทั้งที่มีท้องถิ่นที่พร้อม และไม่พร้อม หรือความพร้อมที่ไม่เท่ากัน ทำให้เรื่องคาราคาซัง ดังนั้นหากทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ทำในพื้นที่ที่พร้อม จะทำให้เดินหน้าไปเรื่อยไม่ติดขัด
ส่วนที่ก่อนหน้านี้ สปช. และ สนช. เสนอให้ควบรวมอบต. ที่ไม่มีความพร้อม นายมีชัย กล่าวว่า ตนไม่รู้เรื่องข้อเสนอนั้น แต่ในการเขียนรัฐธรรมนูญ จะไม่ระบุว่ามีอะไรไว้บ้าง แต่ต้องเป็นไปตามกฎหมาย ส่วนสปท. จะคิดไปแก้กฎหมายนั้น พ้นวิสัยที่จะรู้ โดยปัญหาทุจริตในท้องถิ่น จะมีกลไกป้องกันโดยต้องเข้มขึ้นเหมือนกับระดับชาติ ตอนนี้กฤษฎีกากำลังแก้กฎหมายของท้องถิ่นอยู่ ซึ่งต้องใช้มาตรฐานใกล้เคียงกับระดับชาติ ที่คนทุจริตต้องถูกตัดสิทธิ
เมื่อถามว่าความเห็นของบางพรรคการเมือง มีเนื้อหาที่แย้งต่อระบบเลือกตั้งที่ กรธ.กำลังพิจารณา นายมีชัย กล่าวว่า ต้องรับฟัง และพิจารณาว่ามีความเห็นอะไรที่มันเป็นจุดที่คิดต่อก็จะนำมาคิดต่อ หรือหากเขาไม่เข้าใจ ก็อธิบายให้เข้าใจ ส่วนครม. และ คสช. ยังไม่ได้ส่งความเห็นมา ทั้งนี้การรับฟังคามเห็นเปิดกว้างเท่ากันหมด จะไม่ถามเฉพาะประเด็น เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจไขว้เขวได้ว่าเรื่องอื่นเสนอไม่ได้
นายมีชัย กล่าวว่าในส่วนของประเด็นระบบบริหาร คาดว่าอีก 2 สัปดาห์จะเข้าที่ประชุม กรธ. โดยล่าสุดการพิจารณาเรื่องที่มา ส.ส. จบแล้ว โดยหลักการ ส.ส.ต้องมาจากการเลือกตั้ง จำนวน ส.ส. คงมีไม่เกิน 500 คน เหตุที่ใช้หลัก 500 คน เพราะเป็นหลักที่คุ้นกันมาแล้ว ส่วนจะแบ่ง ส.ส.เขตเท่าใด ส.ส.บัญชีรายชื่อเท่าใด กำลังพิจารณาอยู่ ส่วนเกณฑ์คุมพรรคการเมืองนอมินี ยังนึกไม่ออกว่าจะตั้งอย่างไร จะแตกต่างจากเดิมๆ ที่ตั้งไว้หรือไม่ ก็กำลังฟังๆอยู่ แม้ที่ผ่านมาบางพื้นที่พรรคใหญ่ก็เอาพรรคอื่น หรือใครก็ได้ มาลงเพื่อเอาคะแนน ส.ส.บัญชีรายชื่อ แต่จะแน่ใจได้อย่างไรว่าคนจะอยากให้เขาได้รับเลือกตั้ง เพราะเมื่อแบ่งไปแบ่งมา คนอื่นก็อาจเอาไปกินได้ เว้นแต่สามารถเอาประชาชนเข้าแถวแล้วตัดตอนเสียง เพราะพอแล้วเท่านั้น ประเด็นนี้ หากจับไม่ได้ ก็ต้องยกให้เขาไป
"การตรวจสอบนอมินี ต้องคิดล่วงหน้าว่าจะทำกันอย่างไร เพราะเราไม่สามารถเอารูปแบบสากลที่ไหนมาได้ เพราะสากลไม่มี ดังนั้นเวลาคิด ต้องคิดถึงบริบทไทยเสมอว่าเกิดอะไร ต้องแก้ปัญหาได้อย่างไร ไม่เช่นนั้นก็ไม่ได้ปฏิรูปอะไร ส่วนการกำหนดให้แข่งขันการเลือกตั้งที่เป็นธรรมระหว่างพรรคการเมืองจะไปเขียนไว้ในกฎหมายลูก เพราะรัฐธรรมนูญจะไปเขียนไม่ได้ เนื่องจากสามารถพลิกแพลงไปเรื่อย" ประธาน กรธ.ระบุ
** ดันศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ
นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษก กรธ. แถลงความคืบหน้าการร่างรัฐธรรมนูญ ว่า สำหรับหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐ บทบัญญัติที่ว่าด้วย รัฐพึงเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทำ และดำเนินการตามนโยบายสาธารณะ ข้อมูลข่าวสาธารณะโดยให้ประชาชนเข้าถึงได้สะดวก ซึ่งเรื่องนี่เรามีการหยิบยกประเด็นเกี่ยวกับความลับแห่งชาติ หรือข้อมูลเรื่องความมั่นคงมาอภิปราย และมีความจำเป็นต้องสงวนเรื่องนี้ไว้ อย่างไรก็ดีรายละเอียดในส่วนนี้จะมีการบัญญัติไว้ในกฎหมายลูก
นอกจากนี้ในประเด็นเรื่องการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น มีองค์กรที่เกี่ยวข้องได้ยื่นหนังสือ ต้องการให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เราได้รับไว้พิจารณา แต่ยังไม่การลงรายละเอียดว่าจะบัญญัติอย่างไร
เมื่อถามว่า ในหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐ สำหรับการจัดสรรบำรุงรักษา บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ มีการหยิบยกเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่หรือไม่ นายอมร กล่าวว่า ที่ประชุมมีการถกเถียงประเด็นดังกล่าวว่า คลื่นความถี่ คือทรัพยากรธรรมชาติหรือไม่ โดยที่ผ่านมาเรื่องนี้มีความก้าวหน้าเชิงความคิดมากเกินไป และปัญหาในอดีต การจัดสรรไม่เป็นธรรม มีราคาแพงไม่เหมาะสม ซึ่งตรงนี้เราก็มีการอภิปรายว่า อาจจะมีองค์กรใดขึ้นมาทำหน้าที่ดูแลเรื่องนี้เพื่อให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์สูงสุด และมีการบริหารทรัพยากรให้ทุกคนได้รับโอกาสมากที่สุด แต่อย่างไรก็ดีเรายังไม่ได้มีข้อยุติในเรื่องนี้
** ให้ยึดร่าง"บวรศักดิ์"สู้คอร์รัปชัน
นายประมณ สุธีวงศ์ สมาชิกสภาขับเคลื่อนประเทศ (สปท.) และ ประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชัน พร้อมด้วย นายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) เข้ายื่นหนังสือถึง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. เสนอให้ร่างรัฐธรรมนูญคงประเด็นหลัก ในการให้ประชาชนตรวจสอบ ติดตามพฤติกรรมการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบอย่างซับซ้อน แอบแฝง เพื่อป้องกันปัญหาคอร์รัปชัน อย่างจริงจัง โดยมี นายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย กรธ. มารับแทน
นายมานะ กล่าวว่าในการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานได้บรรจุสาระเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชันไว้ไม่น้อยกว่า 35 มาตรา โดยเขียนรวมไว้เป็นสัดส่วนอยู่ 2 เรื่อง ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบของชนชาวไทย และการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ โดยจำแนกสาระสำคัญ ดังนี้
1. ประชาชนได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญในการต่อสู้กับคอร์รัปชัน 2. ประชาชนมีเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะ 3. สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนว่า คนโกงต้องถูกจับ และลงโทษอย่างรุนแรง 4. ปิดช่องว่างในการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ จากเงินของแผ่นดิน 5. สร้างการเมืองที่ใสสะอาด 6. การบริหารราชการ และการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ต้องทำด้วยคุณธรรมจริยธรรม 7. การสั่งงานราชการและ การกำหนดนโยบายสาธารณะใดๆ ต้องยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ และ 8. ป้องกันคอร์รัปชัน ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
"การบัญญัติหลักการเพื่อการต่อสู้กับคอร์รัปชันอย่างรอบด้านไว้ในรัฐธรรมนูญเช่นนี้ ถือเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อวางเป้าหมายร่วมกันของคนไทย และสร้างหลักประกันว่า ทิศทางการต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันของประเทศ จะไม่ถูกละเลย ที่สำคัญการต่อต้านคอร์รัปชันเป็นเรื่องของประเทศชาติ ไม่ใช่ประเด็นทางการเมือง หรือผลประโยชน์ของคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด ดังนั้น ขอได้โปรดช่วยพิจารณาและสนับสนุนให้มีบรรจุสาระสำคัญเหล่านี้ไว้ในรัฐธรรมนูญใหม่ที่กำลังจัดทำอยู่" นายมานะ กล่าว
** ระบบเลือกตั้งใหม่บิดเบือนเจตนารมณ์ปชช.
นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สปช. โพสต์เฟชบุ๊กส่วนตัว ถึงการเลือกตั้งระบบจัดสรรปันส่วนผสมว่า กรธ. แถลงว่าต้องการจะใช้ระบบนี้ โดยจุดเด่นของระบบนี้คือ จะทำให้ไม่มีเสียงตกน้ำ แต่เป็นการแถลงที่ยังไม่เห็นภาพทั้งระบบ เพราะยังไม่บอกว่าจะให้มี ส.ส.เขต และส.ส.บัญชีรายชื่อ อย่างละเท่าไร ทำให้ยังไม่สามารถวิเคราะห์ภาพรวมได้ว่าจะมีความเหมาะสมอย่างไรกับสภาพสังคมไทย แต่ก็เห็นปัญหาเบื้องต้นหลายประการ คือ การนำเฉพาะคะแนนของผู้สมัครส.ส.เขต ที่แพ้มาเป็นคะแนนวัดความนิยมของพรรค ว่าพรรคใดจะได้ส.ส.มาก หรือน้อย เป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์ของประชาชนอย่างชัดเจน เพราะคะแนนของประชาชนที่เลือกผู้ชนะจาก ส.ส.เขต จะถูกตัดทิ้งไป ไม่นำมาคำนวณเป็นคะแนนนิยมของพรรค ที่ ส.ส.เขตได้รับการเลือกตั้ง กรณีนี้ก็เท่ากับว่า ส.ส.บัญชีรายชื่อ เป็นตัวแทนของผู้แพ้ในเขตเลือกตั้งเท่านั้น ไม่ใช่ตัวแทนจากเจตนารมณ์ของประชาชน ที่นิยมพรรคการเมือง
ทั้งนี้ การเลือกตั้งส.ส.เขตนั้นประชาชนอาจมีเหตุผลแตกต่างกัน บางส่วนอาจจะเลือกเพราะนิยมตัวบุคคล ไม่ได้นิยมพรรค แต่บางส่วนอาจจะนิยมพรรค ไม่ว่าพรรคจะส่งใครมาก็จะเลือก ดังนั้นวิธีการที่ กรธ.เรียกว่าระบบการจัดสรรปันส่วนผสม จึงไม่สะท้อนเจตนารมณ์ในการเลือกตั้งของประชาชน และที่สำคัญคือ ไม่สะท้อนหลักความเที่ยงธรรมในระบอบประชาธิปไตย พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เรื่องสองเรื่องนี้นำมาผสมกันไม่ได้เหมือนน้ำกับน้ำมัน
** ไม่ช่วยแก้ปัญหาซื้อสิทธิ ขายเสียง
นายสมบัติ กล่าวด้วยว่า เรื่องการซื้อสิทธิ ขายเสียง ในการเลือกตั้งมีลักษณะเฉพาะหลายประการ ใครที่บอกว่า วันนี้การเลือกตั้งในประเทศไทยไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียงอีกแล้ว ก็ต้องถือว่าบริสุทธิ์ใสซื่อจริงๆ ไม่เชื่อลองไปถาม กกต.ดู ถ้าจะมีบ้างก็คงเป็นพื้นที่ยกเว้นจริงๆ ลองบอกมาก็ได้จะได้ตามไปดู จะได้นำมาเผยแพร่เป็นตัวอย่าง การซื้อสิทธิ ขายเสียง ในการเลือกตั้งทั่วไปนั้นมีหลักฐานประจักษ์ยืนยันชัดเจนว่า การจัดการเลือกตั้งแบบเขตเดียวคนเดียว ทำให้การซื้อเสียงรุนแรง และได้ผลที่สุด การซื้อเสียงไม่ได้ซื้อเฉพาะคนชนะ คนแพ้ก็ซื้อด้วยเหมือนกัน แต่ซื้อสู้ไม่ได้เท่านั้นเอง บางครั้งคนแพ้อาจจะจ่ายเงินมากกว่าคนชนะด้วยซ้ำ
ดังนั้น การเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนจึงไม่ช่วยในการลดการซื้อสิทธิ์ขายเสียงแต่อย่างใด ปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในอนาคต จะลดลงเมื่อประชาชนผู้เลือกตั้งเป็นผู้บริจาคเงินหาเสียงให้กับผู้สมัครเหมือนกับที่ปรากฏอยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ระบบนี้จะยังคงมีปัญหาในทางปฏิบัติเพราะมีโอกาสที่ผู้สมัครส.ส.เขต จะถูกใบเหลือง หรือใบแดง ทำให้ยังไม่มีผู้ชนะผู้แพ้ที่แน่นอนทำให้ไม่สามารถประกาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อได้ และถ้า ส.ส.บัญชีรายชื่อ เป็นเขตประเทศ ก็จะทำให้ประกาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อไม่ได้เลย
** ต้องแก้ร่างรธน.มากกว่าระบบเลือกตั้ง
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย แกนนำ กปปส. กล่าวถึงระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ว่า ไม่ติดใจเรื่องระบบการเลือกตั้ง แต่หลักใหญ่ของ กปปส. คือ ต้องไม่ทำให้เกิดเผด็จการรัฐสภาขึ้นมาอีกต้องไม่ทำให้พรรคการเมือง เป็นพรรคที่ถูกกลุ่มทุนเข้ามายึดกุม ชี้นำ ส.ส.ได้ และที่สำคัญที่สุดก็คือ การจัดการกับปัญหาการทุจริตการซื้อสิทธิ ขายเสียง ซึ่งเรื่องนี้ใหญ่กว่าระบบการเลือกตั้งมาก เพราะระบบไม่ว่าจะออกแบบอย่างไร แต่คนที่จะโกงมันก็จะโกงอยู่ดี จึงควรออกแบบระบบที่ป้องกันกลโกงและสามารถสนับสนุนให้จัดการคนโกงได้ด้วย อาทิ การออกแบบอำนาจ กกต. หรือการยกร่างกฎหมายพรรคการเมืองเป็นต้น ซึ่งตนมองที่ทั้งระบบ ไม่ได้มองแค่การเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ที่ผ่านมา กปปส. ได้เคยเสนอไปบ้างแล้ว อาทิ เรื่องการให้ใบแดง ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาล แทนอำนาจของ กกต. เป็นต้น
นายสาทิตย์กยังกล่าวถึงการที่ กรธ.ได้บัญญัติหมวดใหม่ ที่ชื่อว่าหน้าที่ของรัฐขึ้นมา ว่า การบัญญัติหมวดนี้เป็นเหมือนกับยาที่ใช้เฉพาะในสังคมไทย ซึ่งคงจะไปแก้ไขปัญหาในอดีต ที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งบางรัฐบาลกลับทำสิ่งที่ไม่ควรทำ อาทิ จัดงบประมาณโดยไม่เป็นธรรม แล้วก็บอกว่าจังหวัดไหนเลือกเรา ก็จะให้งบก่อน เป็นต้น ซึ่งตรงนี้คงจะผิดหน้าที่รัฐ ดังนั้นการบัญญัติหมวดนี้ลงไป ตนคิดว่าไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะรัฐธรรมนูญต้องเป็นการสะท้อนเจตจำนงของประชาชน ที่ต้องการให้รัฐเข้ามาเพื่อทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์
ทั้งนี้ในสัปดาห์หน้า ทาง กปปส. จะเข้ามาเสนอความเห็นต่อ กรธ. ซึ่งนายสาทิตย์ เปิดเผยว่า ในขณะนี้ยังไม่ได้พูดคุยกันในหมู่แกนนำว่าจะมีใครเดินทางไปบ้าง แต่ขณะนี้ กปปส. ได้เตรียมประเด็นที่จะนำเสนอกับ กรธ. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ในส่วนพรรคประชาธิปัตย์ มีรายงานว่าในวันนี้ (4พ.ย.) เวลา 13.00 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และตัวแทนพรรค จะยื่นข้อเสนอแนะต่อ กรธ. เช่นกัน