“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ถูกแล้ว แม้เราก็ไม่เคยเห็นไม่เคยได้ยินข้อที่ว่า บุรุษละเว้นเหตุอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทคือ (การดื่ม) น้ำเมาคือสุรา และเมรัยแล้วถูกพระราชาจับฆ่าจองจำ เนรเทศหรือลงโทษอย่างอื่นตามควรแก่เหตุ เพราะเหตุที่มีเจตนาเว้นจากที่ตั้งแห่งความประมาทคือ (การดื่ม) น้ำเมาคือสุราและเมรัย โดยที่แท้กรรมชั่วของบุรุษนั้นต่างหากที่ประกาศว่า บุรุษนี้ประกอบเนืองๆ ซึ่งที่ตั้งแห่งความประมาทคือ (การดื่ม) น้ำเมาคือสุราและเมรัย จึงฆ่าหญิงบ้าง ชายบ้าง จึงถือเอาสิ่งที่เขาไม่ให้จากบ้านบ้าง จากป่าบ้าง โดยอาการแห่งขโมย จึงก้าวล่วงในภรรยาของผู้อื่น ในบุตรีของผู้อื่น จึงหักรานประโยชน์ของคฤหบดีบ้าง บุตรของคฤหบดีบ้าง ด้วยการพูดปด เขาย่อมถูกพระราชาจับฆ่าหรือจองจำ หรือว่าลงโทษอย่างอื่นตามสมควรแก่เหตุ
เพราะเหตุที่ตั้งแห่งความประมาทคือ (การดื่ม) น้ำเมาหรือสุราและเมรัย ท่านทั้งหลายเคยได้เห็นเคยได้ฟังอย่างนี้บ้างหรือเปล่า? ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟังและจัดได้ฟัง พระเจ้าข้า” นี่คือพุทธพจน์ซึ่งมีที่มาปรากฏในปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกายแห่งพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 หน้า 235
โดยนัยแห่งพุทธพจน์ดังกล่าวข้างต้น มีเนื้อหาสาระชัดเจนว่า การดื่มสุราและเมรัยทำให้ผู้อื่นประมาทขาดสติ อันเป็นเหตุนำไปสู่การทำผิดศีลธรรม และกฎหมายบ้านเมืองนานัปการ เช่น ฆ่าคน ลักทรัพย์ เป็นต้น แล้วถูกจับกุมลงโทษด้วยการประหารชีวิต จำคุก หรืออื่นใดตามเหตุอันควรแก่การลงโทษ หรือถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ โดยการนำศีล 5 มาด้วยเหตุนี้ การห้ามดื่มสุราและเมรัยจึงเป็นการป้องกันมิให้กระทำผิดศีลข้ออื่นอีก 4 ข้อที่เหลือโดยปริยาย
อนึ่ง คำว่าสุราและเมรัยมีความหมายตามโดยความหรืออรรถดังนี้
1. สุราหมายถึง น้ำเมา อันเกิดจากกระบวนการต้มกลั่น
2. เมรัยหมายถึง น้ำเมาอันเกิดจากกระบวนการหมักดอง
ทั้งสองคำนี้เป็นต้นแบบของสิ่งเสพติดให้โทษทุกชนิดที่เสพแล้วทำให้ผู้เสพตั้งอยู่ในความประมาทขาดสติ ควบคุมตนเองไม่ได้
ดังนั้น สิ่งเสพติดให้โทษทุกชนิดที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน เช่น ยาบ้า เฮโรอีน ฝิ่น และกัญชา เป็นต้น รวมอยู่ในสองคำนี้โดยอาศัยกฎเกณฑ์ในการตีความทางพระวินัยที่เรียกว่า มหาปเทส 4 คือ
1. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
2. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร
3. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
4. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร
สำหรับสิ่งเสพติดให้โทษซึ่งไม่ปรากฏว่าห้ามไว้ในพระวินัย เช่น ไวน์ ยาบ้า เป็นต้น ก็จัดเข้าในประเภทต้องห้ามตามข้อที่ 1 เนื่องจากว่าทำให้ผู้เสพประมาทขาดสติ และก่อกรรมทำชั่ว ผิดศีลข้ออื่น และผิดกฎหมายบ้านเมือง
แม้ว่าคำสอนในพุทธศาสนาจะห้ามเสพสิ่งเสพติดให้โทษ เช่น สุรา และเมรัย เป็นต้น และประชากรของประเทศไทยประมาณ 90% นับถือพุทธศาสนา แต่ประเทศไทยก็มีผู้เสพติดสิ่งเหล่านี้อย่างดาษดื่น ทั้งที่ถูกกฎหมาย และผิดกฎหมาย จึงเป็นการยากที่จะป้องกันเหตุชั่วร้ายอันเกิดจากสิ่งเสพติดที่ว่านี้ จะเห็นได้จากข่าวที่ปรากฏทางสื่อ ซึ่งมีทั้งการฆ่ากันตาย และอุบัติเหตุตาย อันเนื่องมาจากผู้ก่อเหตุเสพสิ่งเสพติดจนมึนเมา ประมาทขาดสติจนถึงขั้นก่อกรรมทำชั่ว ก่อความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น
ถึงแม้ว่าประเทศไทยในขณะนี้ได้ตระหนักถึงโทษของสิ่งเสพติดประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถึงขั้นออกกฎหมายห้ามโฆษณาเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผลิตและนำเข้ามาจำหน่ายได้ รวมไปถึงการเร่งรัดปราบปรามและจับกุมสิ่งเสพติดผิดกฎหมายอย่างจริงจัง
แต่ถึงกระนั้น สิ่งเหล่านี้ก็ยังมีขายให้แก่ผู้เสพและก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้คนในสังคมอยู่บ่อยๆ
ยิ่งกว่านี้ ผู้ผลิตและนำเข้าสิ่งเสพติดซึ่งได้รับอนุญาตตามกฎหมายประเภทเหล้า และเบียร์ก็หาช่องทางที่จะเพิ่มจำนวนผู้เสพหน้าใหม่ ด้วยวิธีการจูงใจในรูปแบบต่างๆ ในลักษณะของการโฆษณาแฝง อันเป็นการเลี่ยงกฎหมายเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ โดยการใช้บุคคลหรือสิ่งอื่นใดที่คนรุ่นใหม่สนใจมาเป็นสิ่งดึงดูดความสนใจ โดยที่ผู้ถูกใช้เป็นสื่อรู้หรือไม่รู้ก็ได้ ดังที่ได้เกิดขึ้นในกรณีของดารากลุ่มหนึ่งโพสท่าคู่กับเบียร์ยี่ห้อหนึ่ง และลงสื่อเผยแพร่จนกลายเป็นข่าว และกำลังกลายเป็นจำเลยสังคมในข้อหาทำตัวไม่เหมาะสม และอาจเป็นจำเลยทางกฎหมาย ในข้อหาโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในขณะนี้
ส่วนว่าจะถูกดำเนินคดีฟ้องร้อง และถูกลงโทษทางกฎหมายหรือไม่ จะต้องคอยกันต่อไป แต่ที่ไม่ต้องรอก็คือ การเป็นจำเลยทางสังคมในข้อหาเป็นบุคคลสาธารณะ และทำตัวไม่เหมาะสมได้เกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้จะเห็นได้จากการที่ดาราบางคนได้ออกมาขอโทษในความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ส่วนการจะถูกดำเนินคดีทางกฎหมายหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับผู้รักษากฎหมายเป็นสำคัญ
ไม่ว่าจะมีความผิดทางกฎหมายหรือไม่ การกระทำในลักษณะนี้เป็นที่แน่นอนว่าผลในทางสังคมได้เกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้อนุมานได้ในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. โดยปกติดาราโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นที่นิยมของประชาชน จะทำอะไรก็เป็นที่สนใจ และจับตาดูของประชาชนอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อการถือขวดยี่ห้อใด ก็เป็นอันว่าเบียร์ยี่ห้อนั้นเป็นเครื่องดื่มโฆษณาของดาราคนนั้น จึงเท่ากับบอกผู้ที่นิยมชมชอบในตัวดาราผู้นั้นนิยมเบียร์ยี่ห้อรวมไปด้วยไม่มากก็น้อย
2. ในบรรดาผู้ที่นิยมดารามีทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และวัยรุ่น ดังนั้นโอกาสที่ผู้นิยมดาราโดยเฉพาะวัยรุ่นซึ่งอยู่ในวัยอยากรู้ อยากเห็น และอยากลองจะทดลองดื่มเป็นการเลียนแบบดาราเกิดขึ้นได้ค่อนข้างแน่นอน และนี่เองคือการเพิ่มจำนวนคนดื่มหน้าใหม่ให้เกิดขึ้นจากการใช้ดาราเป็นสื่อจูงใจให้คนดื่มจากการเลียนแบบ
เพราะเหตุที่ตั้งแห่งความประมาทคือ (การดื่ม) น้ำเมาหรือสุราและเมรัย ท่านทั้งหลายเคยได้เห็นเคยได้ฟังอย่างนี้บ้างหรือเปล่า? ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟังและจัดได้ฟัง พระเจ้าข้า” นี่คือพุทธพจน์ซึ่งมีที่มาปรากฏในปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกายแห่งพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 หน้า 235
โดยนัยแห่งพุทธพจน์ดังกล่าวข้างต้น มีเนื้อหาสาระชัดเจนว่า การดื่มสุราและเมรัยทำให้ผู้อื่นประมาทขาดสติ อันเป็นเหตุนำไปสู่การทำผิดศีลธรรม และกฎหมายบ้านเมืองนานัปการ เช่น ฆ่าคน ลักทรัพย์ เป็นต้น แล้วถูกจับกุมลงโทษด้วยการประหารชีวิต จำคุก หรืออื่นใดตามเหตุอันควรแก่การลงโทษ หรือถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ โดยการนำศีล 5 มาด้วยเหตุนี้ การห้ามดื่มสุราและเมรัยจึงเป็นการป้องกันมิให้กระทำผิดศีลข้ออื่นอีก 4 ข้อที่เหลือโดยปริยาย
อนึ่ง คำว่าสุราและเมรัยมีความหมายตามโดยความหรืออรรถดังนี้
1. สุราหมายถึง น้ำเมา อันเกิดจากกระบวนการต้มกลั่น
2. เมรัยหมายถึง น้ำเมาอันเกิดจากกระบวนการหมักดอง
ทั้งสองคำนี้เป็นต้นแบบของสิ่งเสพติดให้โทษทุกชนิดที่เสพแล้วทำให้ผู้เสพตั้งอยู่ในความประมาทขาดสติ ควบคุมตนเองไม่ได้
ดังนั้น สิ่งเสพติดให้โทษทุกชนิดที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน เช่น ยาบ้า เฮโรอีน ฝิ่น และกัญชา เป็นต้น รวมอยู่ในสองคำนี้โดยอาศัยกฎเกณฑ์ในการตีความทางพระวินัยที่เรียกว่า มหาปเทส 4 คือ
1. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
2. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร
3. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
4. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร
สำหรับสิ่งเสพติดให้โทษซึ่งไม่ปรากฏว่าห้ามไว้ในพระวินัย เช่น ไวน์ ยาบ้า เป็นต้น ก็จัดเข้าในประเภทต้องห้ามตามข้อที่ 1 เนื่องจากว่าทำให้ผู้เสพประมาทขาดสติ และก่อกรรมทำชั่ว ผิดศีลข้ออื่น และผิดกฎหมายบ้านเมือง
แม้ว่าคำสอนในพุทธศาสนาจะห้ามเสพสิ่งเสพติดให้โทษ เช่น สุรา และเมรัย เป็นต้น และประชากรของประเทศไทยประมาณ 90% นับถือพุทธศาสนา แต่ประเทศไทยก็มีผู้เสพติดสิ่งเหล่านี้อย่างดาษดื่น ทั้งที่ถูกกฎหมาย และผิดกฎหมาย จึงเป็นการยากที่จะป้องกันเหตุชั่วร้ายอันเกิดจากสิ่งเสพติดที่ว่านี้ จะเห็นได้จากข่าวที่ปรากฏทางสื่อ ซึ่งมีทั้งการฆ่ากันตาย และอุบัติเหตุตาย อันเนื่องมาจากผู้ก่อเหตุเสพสิ่งเสพติดจนมึนเมา ประมาทขาดสติจนถึงขั้นก่อกรรมทำชั่ว ก่อความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น
ถึงแม้ว่าประเทศไทยในขณะนี้ได้ตระหนักถึงโทษของสิ่งเสพติดประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถึงขั้นออกกฎหมายห้ามโฆษณาเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผลิตและนำเข้ามาจำหน่ายได้ รวมไปถึงการเร่งรัดปราบปรามและจับกุมสิ่งเสพติดผิดกฎหมายอย่างจริงจัง
แต่ถึงกระนั้น สิ่งเหล่านี้ก็ยังมีขายให้แก่ผู้เสพและก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้คนในสังคมอยู่บ่อยๆ
ยิ่งกว่านี้ ผู้ผลิตและนำเข้าสิ่งเสพติดซึ่งได้รับอนุญาตตามกฎหมายประเภทเหล้า และเบียร์ก็หาช่องทางที่จะเพิ่มจำนวนผู้เสพหน้าใหม่ ด้วยวิธีการจูงใจในรูปแบบต่างๆ ในลักษณะของการโฆษณาแฝง อันเป็นการเลี่ยงกฎหมายเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ โดยการใช้บุคคลหรือสิ่งอื่นใดที่คนรุ่นใหม่สนใจมาเป็นสิ่งดึงดูดความสนใจ โดยที่ผู้ถูกใช้เป็นสื่อรู้หรือไม่รู้ก็ได้ ดังที่ได้เกิดขึ้นในกรณีของดารากลุ่มหนึ่งโพสท่าคู่กับเบียร์ยี่ห้อหนึ่ง และลงสื่อเผยแพร่จนกลายเป็นข่าว และกำลังกลายเป็นจำเลยสังคมในข้อหาทำตัวไม่เหมาะสม และอาจเป็นจำเลยทางกฎหมาย ในข้อหาโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในขณะนี้
ส่วนว่าจะถูกดำเนินคดีฟ้องร้อง และถูกลงโทษทางกฎหมายหรือไม่ จะต้องคอยกันต่อไป แต่ที่ไม่ต้องรอก็คือ การเป็นจำเลยทางสังคมในข้อหาเป็นบุคคลสาธารณะ และทำตัวไม่เหมาะสมได้เกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้จะเห็นได้จากการที่ดาราบางคนได้ออกมาขอโทษในความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ส่วนการจะถูกดำเนินคดีทางกฎหมายหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับผู้รักษากฎหมายเป็นสำคัญ
ไม่ว่าจะมีความผิดทางกฎหมายหรือไม่ การกระทำในลักษณะนี้เป็นที่แน่นอนว่าผลในทางสังคมได้เกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้อนุมานได้ในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. โดยปกติดาราโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นที่นิยมของประชาชน จะทำอะไรก็เป็นที่สนใจ และจับตาดูของประชาชนอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อการถือขวดยี่ห้อใด ก็เป็นอันว่าเบียร์ยี่ห้อนั้นเป็นเครื่องดื่มโฆษณาของดาราคนนั้น จึงเท่ากับบอกผู้ที่นิยมชมชอบในตัวดาราผู้นั้นนิยมเบียร์ยี่ห้อรวมไปด้วยไม่มากก็น้อย
2. ในบรรดาผู้ที่นิยมดารามีทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และวัยรุ่น ดังนั้นโอกาสที่ผู้นิยมดาราโดยเฉพาะวัยรุ่นซึ่งอยู่ในวัยอยากรู้ อยากเห็น และอยากลองจะทดลองดื่มเป็นการเลียนแบบดาราเกิดขึ้นได้ค่อนข้างแน่นอน และนี่เองคือการเพิ่มจำนวนคนดื่มหน้าใหม่ให้เกิดขึ้นจากการใช้ดาราเป็นสื่อจูงใจให้คนดื่มจากการเลียนแบบ