"กลินน์ เดวี่ส์"เข้าพบนายกฯ เผยถกความมั่นคง-เศรษฐกิจสองฝ่าย ยันมุมมองของสหรัฐฯ ต่อไทยไม่เคยเปลี่ยน หวังเปิดพื้นที่สาธารณะมากขึ้น หวังสร้างประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน "วีนชน"เผยทูตสหรัฐฯรับคำสั่งจากวอชิงตัน ให้มาฟื้นฟูความสัมพันธ์กับไทย แนะรัฐบาลเปิดพื้นที่ให้"ไซเรนท์ ว๊อยซ์" ย้ำเชื่อมั่นในความจริงทางการเมืองที่เกิดขึ้น และความตั้งใจของนายกฯ
เมื่อเวลา 13.30 น. วานนี้ (29 ต.ค.) นายกลินน์ ทาว์นเซนต์ เดวี่ส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยใช้เวลาเข้าเยี่ยมนานถึง 1 ชั่วโมงครึ่ง
ภายหลังการเข้าพบนายกฯ นายกลินน์ เปิดเผยว่าการพบปะครั้งนี้ถือว่าใช้เวลาที่ค่อนข้างยาว ซึ่งส่วนใหญ่ตนเป็นผู้รับฟังมากกว่า และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหลายประเด็น อาทิ ความมั่นคง เศรษฐกิจ และเรื่องสาธารณสุข ซึ่งต้องขอบคุณนายกรัฐมนตรี ที่ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี หวังว่าจะได้พบปะพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีอีกในโอกาสต่างๆ
ด้านเรื่องสำคัญที่วางแผนว่าจะดำเนินการในปีนี้ นายกลินน์ กล่าวว่า มีจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ร่วมกันของสหรัฐอเมริกาและไทย ซึ่งเป็นเรื่องเศรษฐกิจการค้าระหว่างกัน และการลงทุนทั้ง 2 ทาง โดยปัจจุบันมีบริษัทเอกชนของทางสหรัฐฯ เข้ามาลงทุนในไทยจำนวนมาก
ส่วนความสัมพันธ์ในระดับภูมิภาคนั้น สหรัฐฯ อยากเห็นประเทศไทยมีบทนำในอาเซียน และมีขีดความสามารถเหมือนในอดีต นอกจากนี้ยังได้ถือโอกาสหารือถึงการสาธารณสุข โดยเฉพาะการต่อสู้กับโรคระบาดที่อุบัติขึ้น และอยากเห็นความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนไทย และสหรัฐฯมากขึ้นในทุกๆ ด้าน
**อยากให้ไทยมีปชต.ที่ยั่งยืน
นอกจากนี้ในการพูดคุย ยังมีโอกาสได้พูดถึงประชาธิปไตยของประเทศไทย รวมถึงเรื่องโรดแมป และการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นด้วย สำหรับคำถามถึงประชาธิปไตยของไทยนั้น เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ กล่าวว่า แนวคิดของสหรัฐฯ ที่มีต่อประเทศ ไม่เคยเปลี่ยนแปลง และยังไม่เปลี่ยนแปลงจนถึงวันนี้ ซึ่งในการพูดคุยนั้น พล.อ.ประยุทธ์ เองก็ยืนยันว่าอยากเห็นประเทศไทยกลับคืนสู่ประชาธิปไตย ซึ่งตนไม่สามารถที่จะลงรายละเอียดในคำพูดของพล.อ.ประยุทธ์ ที่หารือกันได้ เพราะจะเป็นการเสียมารยาท ต้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นผู้พูดเอง แต่ในฐานะมิตรประเทศของไทย ตนหวังว่าประเทศไทยจะเดินไปตามโรดแมป และเปิดพื้นที่ให้การมีส่วนร่วมของสาธารณะ และการถกเถียงมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในการสร้างประชาธิปไตยอย่างยั่งยืนของประเทศไทย และตนนั้นก็พึงพอใจในความต้องการของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้ไทยกลับสู่ประชาธิปไตยอีกด้วย เพราะในจุดยืนของสหรัฐฯ นั้น สิ่งนี้จะสร้างความยั่งยืนของมิติด้านความมั่นคง และเศรษฐกิจของไทยในอนาคต ในการที่จะมีรัฐบาลที่ได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากประชาชนทุกส่วนของประเทศไทย
เมื่อถามถึงความร่วมมือยุทธศาสตร์เอเชียแปซิฟิก (ทีพีพี) และความร่วมมือคอบร้า โกลด์ ของไทยและสหรัฐฯ นายกลินน์ กล่าวว่า ไม่ได้คุยกันในรายละเอียด แต่คุยกันในภาพรวมในเรื่องความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ว่ามีอะไรบ้างที่สหรัฐฯ จะสามารถแบ่งปันร่วมกันกับไทยได้
เมื่อถามถึงแผนการทำงานของเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ นายกลินน์กล่าวว่า มีแผนที่จะไปพบปะกับประชาชนกลุ่มต่างๆ โดยจะออกไปในพื้นที่ต่างจังหวัดด้วย ในหลายๆที่ เพื่อพบปะกับประชาชนทุกกลุ่ม
** "บิ๊กตู่" แจง10ปชต.จอมปลอม
ขณะที่ พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การมาเข้าพบนายกฯ ของ นายกลินน์ เดวีส์ เอกอัครราชทูตของสหรัฐฯที่เพิ่งเข้ามาดำรงตำแหน่ง โดยมายืนยันถึงความสำคัญที่ประเทศไทยมีต่อสหรัฐฯ และมิตรภาพที่มีร่วมกันกว่า 2 ศตวรรษ แม้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นประเทศไทยก็ยังเป็นมหามิตรกับสหรัฐฯ โดยก่อนที่ นายกลินน์ ที เดวีส์ จะมาประเทศไทยนั้น ได้มีการศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ซึ่งการมาครั้งนี้ก็ไม่ได้มากดดันไทยว่าไทยจะต้องมีนู้น มีนี่ เมื่อไหร่ โดยมองว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของคนไทย และประเทศไทย ซึ่งทูตสหรัฐฯได้เชื่อในความตั้งใจและความจริงใจของรัฐบาล โดยเฉพาะนายกฯว่ากำลังทำเพื่อประเทศไปสู่จุดหมายอย่างไร
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้อธิบายให้ฟังถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ว่ามีเรื่องราวต่างๆ มาจากอะไร มีความแตกแยกในสังคมอย่างไร และมีการอธิบายอย่างที่เราทราบกันดี ถึงปัญหาการเมืองต่างๆ แต่สิ่งสำคัญคือ พล.อ.ประยุทธ์ได้บอกว่า ไม่ต้องเชื่อเรา และเน้นย้ำว่า ทูตสหรัฐฯ ไม่จำเป็นต้องฟัง และเชื่อ แต่ขอให้ฟังและนำข้อมูลเหล่านี้ไปศึกษา ไปสอบถามจากหลายๆ กลุ่ม เพื่อที่จะมายืนยันข้อมูลว่า สิ่งที่พูดนั้นเป็นความเท็จ หรือความจริง และเมื่อถึงขั้นตอนนั้นจะเป็นประเด็นที่สหรัฐฯ มีความเข้าใจในสิ่งที่เกิดปัจจุบันของไทยมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังยืนยันในความเป็นมิตรกับไทยที่ยังหนักแน่น มีความสำคัญเหมือนเดิม ถึงแม้ว่าตามกฎหมายต่างๆ ของเขา อาจจะมีปัญหาในด้านการปกครอง แต่ในด้านความร่วมมือต่างๆ ทางทูตสหรัฐฯ ยืนยันว่า จะสานต่อความสัมพันธ์ และจะดำเนินการให้ประเทศไทย มีความร่วมมือกับสหรัฐฯ อย่างแน่นแฟ้นในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การทหาร การศึกษา เรียกได้ว่าทุกด้านที่เคยมีมาต่อกัน ไม่มีด้านใดลดลง
ผู้สื่อข่าวถามว่าได้มีการชี้แจงโรดแมป อย่างไร พล.ต.วีรชน กล่าวว่า วันนี้ไม่มีกาพูดถึง เพียงแต่ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ระบุว่าขั้นตอนที่ผ่านมาเรามีการดำเนินการในลักษณะใช้กติกาอย่างไร เช่น มีการใช้กฎอัยการศึกในช่วงต้น รวมถึงการใช้ มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ซึ่งที่ผ่านมาใช้อย่างสร้างสรรค์ และไม่มีการทำร้าย หรือทำให้ใครเดือดร้อน ยกเว้นแต่บุคคลที่เกี่ยวข้องที่มีคดีความ ก็ต้องว่าไปตามระบบ และนายกฯ ได้ยืนยันถึงระบบยุติธรรมของไทย ที่มีบางฝ่ายพูดดิสเครดิตว่าไม่น่าเชื่อถือ โดยนายกฯ อยากให้มองว่าที่ผ่านมาเป็น 10 ปี ระบบยุติธรรมเราทำงานมาตลอด ไม่มีการเลือกปฏิบัติ อย่างที่ถูกกล่าวหาทุกอย่างเป็นไปตามหลักฐาน พยานข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้
** มะกันเร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์ไทย
พล.ต.วีรชน กล่าวว่านายกรัฐมนตรี ได้เล่าเกือบ 2 ชั่วโมง ถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาถึงประวัติศาสตร์ทางการเมืองกว่า 10 ปีที่ผ่านมาของเรา และอยากให้มองย้อนกลับไปว่า เป็นอย่างที่ว่าหรือไม่ โดยนายกลินน์ ที เดวีส์ ได้ตอบมาว่า “เชื่อในสิ่งที่นายกฯพูด เชื่อในความจริงใจ และตั้งใจ ซึ่งนายกลินน์ ที เดวีส์ เป็นคนพูดเอง" และมีคำแนะนำว่า อยากให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ ให้คนที่ไม่ได้ออกเสียง(silence voice)มีพื้นที่มากขึ้น โดย พล.อ.ประยุทธ์ เห็นด้วย และให้ศึกษาว่าจะมีวิธีการอย่างไร ซึ่งวันนี้เป็นการพบปะที่สร้างสรรค์ และเป็นการยืนยันจากสหรัฐฯ ที่บอกว่า ได้รับคำนโยบายมาจากวอชิงตัน ว่า การมาครั้งนี้ ให้มาฟื้นฟูความสัมพันธ์กับไทย
"นายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงว่า การพบกันครั้งนี้ ถือว่ามีความพิเศษ เพราะถุกจับตาดูจากหลายฝ่าย และได้ถือโอกาสชี้แจงถึงความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอด 10 ปี ที่ผ่านมา เกิดความขัดแย้งของคน 2 กลุ่ม ทำให้รัฐบาลนี้ต้องเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งรัฐบาลก็จะเข้ามาเพียงชั่วคราว ตามโรดแมปที่วางไว้ เพื่อเร่งสร้างประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น ซึ่งในเรื่องของโรดแมปนั้น สิ่งที่เราทำในปัจจุบันเป็นการสร้างอนาคตของประเทศไทย แต่ละขั้นตอนที่ทำนั้นก็เพื่อประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า สิ่งที่พูดวันนี้ไม่จำเป็นต้องเชื่อทั้งหมด แต่อยากให้เปิดใจให้กว้าง รวมทั้งรับฟังในส่วนรัฐบาลไทย และข้อมูลรอบๆ ด้าน แล้วจะรู้ว่าความจริงคืออะไร ซึ่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ให้เกียรติกับนายกรัฐมนตรีเป็นอย่างมาก เข้าใจถึงสถานการณ์ประเทศและเข้าใจในตัวนายกรัฐมนตรีเป็นอย่างดี ซึ่งทั้งหมดถือว่า ท่าทีของสหรัฐฯ ต่อประเทศไทยดีขึ้น และเข้าใจประเทศไทยมากขึ้น เขาเชื่อมั่นเรา 99% ติดแค่เปอร์เซ็นต์เดียว คือเรื่องกฎหมายและการพูดคุยครั้งนี้ เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ในฐานะที่เป็นเพื่อน และมีความสัมพันธ์กันมานานกว่า 2 ศควรรษ และการแนะนำต่างๆ ก็เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่ต้องการแทรกแซง" พล.ต.วีรชน กล่าว
เมื่อเวลา 13.30 น. วานนี้ (29 ต.ค.) นายกลินน์ ทาว์นเซนต์ เดวี่ส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยใช้เวลาเข้าเยี่ยมนานถึง 1 ชั่วโมงครึ่ง
ภายหลังการเข้าพบนายกฯ นายกลินน์ เปิดเผยว่าการพบปะครั้งนี้ถือว่าใช้เวลาที่ค่อนข้างยาว ซึ่งส่วนใหญ่ตนเป็นผู้รับฟังมากกว่า และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหลายประเด็น อาทิ ความมั่นคง เศรษฐกิจ และเรื่องสาธารณสุข ซึ่งต้องขอบคุณนายกรัฐมนตรี ที่ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี หวังว่าจะได้พบปะพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีอีกในโอกาสต่างๆ
ด้านเรื่องสำคัญที่วางแผนว่าจะดำเนินการในปีนี้ นายกลินน์ กล่าวว่า มีจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ร่วมกันของสหรัฐอเมริกาและไทย ซึ่งเป็นเรื่องเศรษฐกิจการค้าระหว่างกัน และการลงทุนทั้ง 2 ทาง โดยปัจจุบันมีบริษัทเอกชนของทางสหรัฐฯ เข้ามาลงทุนในไทยจำนวนมาก
ส่วนความสัมพันธ์ในระดับภูมิภาคนั้น สหรัฐฯ อยากเห็นประเทศไทยมีบทนำในอาเซียน และมีขีดความสามารถเหมือนในอดีต นอกจากนี้ยังได้ถือโอกาสหารือถึงการสาธารณสุข โดยเฉพาะการต่อสู้กับโรคระบาดที่อุบัติขึ้น และอยากเห็นความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนไทย และสหรัฐฯมากขึ้นในทุกๆ ด้าน
**อยากให้ไทยมีปชต.ที่ยั่งยืน
นอกจากนี้ในการพูดคุย ยังมีโอกาสได้พูดถึงประชาธิปไตยของประเทศไทย รวมถึงเรื่องโรดแมป และการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นด้วย สำหรับคำถามถึงประชาธิปไตยของไทยนั้น เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ กล่าวว่า แนวคิดของสหรัฐฯ ที่มีต่อประเทศ ไม่เคยเปลี่ยนแปลง และยังไม่เปลี่ยนแปลงจนถึงวันนี้ ซึ่งในการพูดคุยนั้น พล.อ.ประยุทธ์ เองก็ยืนยันว่าอยากเห็นประเทศไทยกลับคืนสู่ประชาธิปไตย ซึ่งตนไม่สามารถที่จะลงรายละเอียดในคำพูดของพล.อ.ประยุทธ์ ที่หารือกันได้ เพราะจะเป็นการเสียมารยาท ต้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นผู้พูดเอง แต่ในฐานะมิตรประเทศของไทย ตนหวังว่าประเทศไทยจะเดินไปตามโรดแมป และเปิดพื้นที่ให้การมีส่วนร่วมของสาธารณะ และการถกเถียงมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในการสร้างประชาธิปไตยอย่างยั่งยืนของประเทศไทย และตนนั้นก็พึงพอใจในความต้องการของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้ไทยกลับสู่ประชาธิปไตยอีกด้วย เพราะในจุดยืนของสหรัฐฯ นั้น สิ่งนี้จะสร้างความยั่งยืนของมิติด้านความมั่นคง และเศรษฐกิจของไทยในอนาคต ในการที่จะมีรัฐบาลที่ได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากประชาชนทุกส่วนของประเทศไทย
เมื่อถามถึงความร่วมมือยุทธศาสตร์เอเชียแปซิฟิก (ทีพีพี) และความร่วมมือคอบร้า โกลด์ ของไทยและสหรัฐฯ นายกลินน์ กล่าวว่า ไม่ได้คุยกันในรายละเอียด แต่คุยกันในภาพรวมในเรื่องความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ว่ามีอะไรบ้างที่สหรัฐฯ จะสามารถแบ่งปันร่วมกันกับไทยได้
เมื่อถามถึงแผนการทำงานของเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ นายกลินน์กล่าวว่า มีแผนที่จะไปพบปะกับประชาชนกลุ่มต่างๆ โดยจะออกไปในพื้นที่ต่างจังหวัดด้วย ในหลายๆที่ เพื่อพบปะกับประชาชนทุกกลุ่ม
** "บิ๊กตู่" แจง10ปชต.จอมปลอม
ขณะที่ พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การมาเข้าพบนายกฯ ของ นายกลินน์ เดวีส์ เอกอัครราชทูตของสหรัฐฯที่เพิ่งเข้ามาดำรงตำแหน่ง โดยมายืนยันถึงความสำคัญที่ประเทศไทยมีต่อสหรัฐฯ และมิตรภาพที่มีร่วมกันกว่า 2 ศตวรรษ แม้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นประเทศไทยก็ยังเป็นมหามิตรกับสหรัฐฯ โดยก่อนที่ นายกลินน์ ที เดวีส์ จะมาประเทศไทยนั้น ได้มีการศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ซึ่งการมาครั้งนี้ก็ไม่ได้มากดดันไทยว่าไทยจะต้องมีนู้น มีนี่ เมื่อไหร่ โดยมองว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของคนไทย และประเทศไทย ซึ่งทูตสหรัฐฯได้เชื่อในความตั้งใจและความจริงใจของรัฐบาล โดยเฉพาะนายกฯว่ากำลังทำเพื่อประเทศไปสู่จุดหมายอย่างไร
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้อธิบายให้ฟังถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ว่ามีเรื่องราวต่างๆ มาจากอะไร มีความแตกแยกในสังคมอย่างไร และมีการอธิบายอย่างที่เราทราบกันดี ถึงปัญหาการเมืองต่างๆ แต่สิ่งสำคัญคือ พล.อ.ประยุทธ์ได้บอกว่า ไม่ต้องเชื่อเรา และเน้นย้ำว่า ทูตสหรัฐฯ ไม่จำเป็นต้องฟัง และเชื่อ แต่ขอให้ฟังและนำข้อมูลเหล่านี้ไปศึกษา ไปสอบถามจากหลายๆ กลุ่ม เพื่อที่จะมายืนยันข้อมูลว่า สิ่งที่พูดนั้นเป็นความเท็จ หรือความจริง และเมื่อถึงขั้นตอนนั้นจะเป็นประเด็นที่สหรัฐฯ มีความเข้าใจในสิ่งที่เกิดปัจจุบันของไทยมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังยืนยันในความเป็นมิตรกับไทยที่ยังหนักแน่น มีความสำคัญเหมือนเดิม ถึงแม้ว่าตามกฎหมายต่างๆ ของเขา อาจจะมีปัญหาในด้านการปกครอง แต่ในด้านความร่วมมือต่างๆ ทางทูตสหรัฐฯ ยืนยันว่า จะสานต่อความสัมพันธ์ และจะดำเนินการให้ประเทศไทย มีความร่วมมือกับสหรัฐฯ อย่างแน่นแฟ้นในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การทหาร การศึกษา เรียกได้ว่าทุกด้านที่เคยมีมาต่อกัน ไม่มีด้านใดลดลง
ผู้สื่อข่าวถามว่าได้มีการชี้แจงโรดแมป อย่างไร พล.ต.วีรชน กล่าวว่า วันนี้ไม่มีกาพูดถึง เพียงแต่ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ระบุว่าขั้นตอนที่ผ่านมาเรามีการดำเนินการในลักษณะใช้กติกาอย่างไร เช่น มีการใช้กฎอัยการศึกในช่วงต้น รวมถึงการใช้ มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ซึ่งที่ผ่านมาใช้อย่างสร้างสรรค์ และไม่มีการทำร้าย หรือทำให้ใครเดือดร้อน ยกเว้นแต่บุคคลที่เกี่ยวข้องที่มีคดีความ ก็ต้องว่าไปตามระบบ และนายกฯ ได้ยืนยันถึงระบบยุติธรรมของไทย ที่มีบางฝ่ายพูดดิสเครดิตว่าไม่น่าเชื่อถือ โดยนายกฯ อยากให้มองว่าที่ผ่านมาเป็น 10 ปี ระบบยุติธรรมเราทำงานมาตลอด ไม่มีการเลือกปฏิบัติ อย่างที่ถูกกล่าวหาทุกอย่างเป็นไปตามหลักฐาน พยานข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้
** มะกันเร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์ไทย
พล.ต.วีรชน กล่าวว่านายกรัฐมนตรี ได้เล่าเกือบ 2 ชั่วโมง ถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาถึงประวัติศาสตร์ทางการเมืองกว่า 10 ปีที่ผ่านมาของเรา และอยากให้มองย้อนกลับไปว่า เป็นอย่างที่ว่าหรือไม่ โดยนายกลินน์ ที เดวีส์ ได้ตอบมาว่า “เชื่อในสิ่งที่นายกฯพูด เชื่อในความจริงใจ และตั้งใจ ซึ่งนายกลินน์ ที เดวีส์ เป็นคนพูดเอง" และมีคำแนะนำว่า อยากให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ ให้คนที่ไม่ได้ออกเสียง(silence voice)มีพื้นที่มากขึ้น โดย พล.อ.ประยุทธ์ เห็นด้วย และให้ศึกษาว่าจะมีวิธีการอย่างไร ซึ่งวันนี้เป็นการพบปะที่สร้างสรรค์ และเป็นการยืนยันจากสหรัฐฯ ที่บอกว่า ได้รับคำนโยบายมาจากวอชิงตัน ว่า การมาครั้งนี้ ให้มาฟื้นฟูความสัมพันธ์กับไทย
"นายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงว่า การพบกันครั้งนี้ ถือว่ามีความพิเศษ เพราะถุกจับตาดูจากหลายฝ่าย และได้ถือโอกาสชี้แจงถึงความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอด 10 ปี ที่ผ่านมา เกิดความขัดแย้งของคน 2 กลุ่ม ทำให้รัฐบาลนี้ต้องเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งรัฐบาลก็จะเข้ามาเพียงชั่วคราว ตามโรดแมปที่วางไว้ เพื่อเร่งสร้างประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น ซึ่งในเรื่องของโรดแมปนั้น สิ่งที่เราทำในปัจจุบันเป็นการสร้างอนาคตของประเทศไทย แต่ละขั้นตอนที่ทำนั้นก็เพื่อประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า สิ่งที่พูดวันนี้ไม่จำเป็นต้องเชื่อทั้งหมด แต่อยากให้เปิดใจให้กว้าง รวมทั้งรับฟังในส่วนรัฐบาลไทย และข้อมูลรอบๆ ด้าน แล้วจะรู้ว่าความจริงคืออะไร ซึ่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ให้เกียรติกับนายกรัฐมนตรีเป็นอย่างมาก เข้าใจถึงสถานการณ์ประเทศและเข้าใจในตัวนายกรัฐมนตรีเป็นอย่างดี ซึ่งทั้งหมดถือว่า ท่าทีของสหรัฐฯ ต่อประเทศไทยดีขึ้น และเข้าใจประเทศไทยมากขึ้น เขาเชื่อมั่นเรา 99% ติดแค่เปอร์เซ็นต์เดียว คือเรื่องกฎหมายและการพูดคุยครั้งนี้ เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ในฐานะที่เป็นเพื่อน และมีความสัมพันธ์กันมานานกว่า 2 ศควรรษ และการแนะนำต่างๆ ก็เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่ต้องการแทรกแซง" พล.ต.วีรชน กล่าว