ASTVผู้จัดการรายวัน-นายกฯ ร่ายยาว 2 ชั่วโมงกว่า ดึงแม่น้ำ 5 สาย ประสานงานเป็นหนึ่งเดียว เปรียบ คสช. กรธ. เป็นสะพานให้ประชาชนก้าวข้ามความขัดแย้ง กวักมือเรียกคนที่หนีอยู่ต่างประเทศกลับมาสู้ตามกระบวนการยุติธรรม วอนอย่าดึงสถาบันมาเป็นเงื่อนไขสร้างความขัดแย้ง ขู่นักการเมืองไม่เลิกทะเลาะกัน ยอมปิดประเทศ "วิษณุ" เผยรัฐบาลเปิดทางด่วนให้ สปท. ชงแนวทางปฏิรูป แต่หากจำเป็นจริง จะใช้ ม.44 ดำเนินการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น.วานนี้ (28 ต.ค.) ที่รัฐสภา มีการประชุมเครือข่าย 5 องค์กร (แม่น้ำ 5 สาย) ได้แก่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) , คณะรัฐมนตรี (ครม.) , สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) , สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เป็นนัดแรก นับตั้งแต่การแต่งตั้งสมาชิก สปท. และ กรธ. โดยมีการถ่ายทอดสดผ่านทีวี และวิทยุรัฐสภาให้ประชาชนได้รับทราบด้วย
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวย้ำถึงความต้องการให้แม่น้ำ 5 สาย ร่วมมือทำงานอย่างเป็นหนึ่งเดียว และยึดหลักของการทำงานเพื่อชาติ และทำให้ประชาชนทั้งประเทศมีความสุข รวมถึงต้องให้ประเทศหลุดพ้นกับดักความขัดแย้ง ขอให้ทุกพรรคการเมืองร่วมมือ และร่วมมองถึงอนาคตประเทศที่ดี ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ มีที่ยืนในเวทีสหประชาชาติ รวมถึงเวทีโลก
** เปรียบ"คสช.-กรธ."สะพานข้ามขัดแย้ง
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ตนมองว่าความขัดแย้งในประเทศที่เกิดขึ้น เพราะมีคนทะเลาะกันเรื่องประชาธิปไตย ดังนั้น การแก้ไขต้องหาประเด็นที่เป็นจุดร่วมกันก่อน ส่วนจุดที่ยังร่วมกันไม่ได้ ให้หยุดไว้ โดยงานที่ คสช. ดำเนินการทั้งในระยะแรก คือ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งให้ประเทศสงบ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างระยะที่สอง คือ การมีสภาต่างๆ เพื่อวางกติกา ไปสู่การเลือกตั้ง ให้ได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งดำเนินการต่อ ดังนั้น ในช่วงที่คสช. ดำเนินการตามโรดแมป กลุ่มต่างๆ ต้องเลิกปลุกปั่น บิดเบือน หรือสร้างความเกลียดชัง
ส่วนคนที่หนีไปอยู่ต่างประเทศ ควรกลับเข้ามาพิสูจน์ทราบตามกระบวนการยุติธรรม อย่ากล่าวให้ร้ายหรือประจานประเทศตัวเองอยู่ที่ต่างประเทศ ซึ่งตนรู้สึกอับอาย
"ถ้าเปรียบประเทศเรา เหมือนมีแม่น้ำประชาธิปไตยของทุกท่านขวางอยู่สายหนึ่ง ส่วน คสช. และ กรธ. ที่เข้ามา คือ สะพานข้ามน้ำประชาธิปไตยที่ขัดแย้ง บางคนก็พร้อมขึ้นสะพาน บางคนก็อยากลุยน้ำ บางคนก็อยากว่ายข้ามน้ำ แต่ดันว่ายน้ำไม่เป็น เขาจะตายอยู่ข้างล่าง วันนี้ ผมอยากให้ทุกคนขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำให้ได้ เพื่อไม่ให้ความขัดแย้ง การแบ่งฝ่ายเกิดขึ้นอีก วันนี้ผมไม่รู้ว่าใครได้ หรือเสียอำนาจ แต่ผมไม่ได้อำนาจใดๆ มีแต่ประเทศชาติที่ได้ ผมยืนยันไม่อยากอยู่แบบนี้นานๆ เหมือนพวกกเฬวราก พูดอยู่นอกสภา ซึ่งคนพวกนี้ไม่เคยสัญญาว่าจะไม่ทำผิดกฎหมาย ผมเปรียบพวกเราได้ว่า เป็น อิฐ หิน ปูน ทราย ที่ต้องร่วมมือกับประชาชนเพื่อสร้างประชาธิปไตยให้กับประเทศนี้" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
นายกฯ กล่าวต่อว่า การแก้ไขความขัดแย้ง ต้องแยกแยะ โดยนำเหตุการณ์ในอดีต ตั้งแต่ประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ.2475 รวมถึงเหตุการณ์ขัดแย้งที่ผ่านมา มาพิจารณา และให้นำข้อมูลจากต่างประเทศมาพิจารณาด้วย ซึ่งตนไม่ต้องการแก้ปัญหาแบบเก่าๆ คือ ต้องมีปฏิวัติถึงจะแก้รัฐธรรมนูญได้ ดังนั้น ต้องหาวิธีเพื่อไม่ให้ทหารกลับเข้ามาแก้ปัญหาการเมืองอีก รวมถึงต้องหาวิธีเพื่อให้ได้คนดีๆ เข้ามายืนอยู่ในสภา ขณะที่การเข้าสู่อำนาจในตำแหน่งผู้บริหารราชการ ต้องสร้างคลื่นลูกใหม่ เหมือนกับที่ระบบทหารใช้ที่ต้องมีกระบวนการเตรียมคนที่เหมาะสมกับการเข้ามาทำหน้าที่ ไม่ใช่ให้คนเก่าเข้ามารักษาตำแหน่งจนตาย รวมไปถึงการเปลี่ยนความคิดของผู้บริหาร ที่ต้องเน้นการดูแลประชาชน ผู้ใต้บังคับบัญชาตามความเหมาะสม สร้างขีดความสามารถของการแข่งขัน ไม่ใช่ให้มีรัฐสวัสดิการจำนวนมากเพียงอย่างเดียว และที่สำคัญต้องสร้างความเท่าเทียมให้กับประชาชนภายใต้กฎหมาย และการปฏิบัติตามกฎหมายฉบับเดียวกัน ต้องทำให้ประชาชนรักรัฐบาล อาจไม่มาก แต่รัฐบาลต้องรักทุกคน ทั้งนี้ ตนเชื่อว่าหาทำได้ประเทศจะเดินหน้า โดยไม่ติดกับดัก ขณะที่การรับฟังความเห็นของประชาชนต่อเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ ก็ต้องเปิดรับฟังทุกฝ่าย
**ต้องเลิกดึงสถาบันฯมาร่วมความขัดแย้ง
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงแนวทางการขับเคลื่อนการปฏิรูปด้วยว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามแก้ไขความขัดแย้ง และแก้ปัญหาให้ประชาชนที่นักการเมืองก่อไว้ ทั้งเรื่องจำนำข้าว เรื่องชาวนา ซึ่งการขับเคลื่อนการปฏิรูปต้องไม่มองแต่ภาพซ้ายหรือภาพขวาเท่านั้น ต้องมองให้เป็นภาพรวมต้องทำใหม่ ต้องปฏิรูป ต้องคำนึงถึงการให้ประเทศเดินหน้า ขณะที่งานปฏิรูปที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เคยทำไว้ เช่น การปฏิรูปกฎหมายต้องพิจารณาและทำรายละเอียดทั้งกฎหมายที่ล้าสมัย กฎหมายที่ทำใหม่และแนวทางการปฏิรูป ส่วนการปฏิรูปที่สำคัญ เช่น การศึกษาที่ใช้งบประมาณสูงสุด 5.5 แสนล้านบาท ต้องปฏิรูปเพื่อให้ผู้ปกครอง ครู และนักเรียนมีความสุข การศึกษาระดับอาชีวศึกษาด้วย ด้านเศรษฐกิจ ต้องเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน คำนึงตั้งแต่ระดับอาเซียน และไต่ระดับไปสู่ประชาคมโลก อย่าฝากความหวังไว้เฉพาะที่ตลาดบน ต้องคำนึงถึงแนวนโยบายของต่างประเทศด้วย
ส่วนการกระจายอำนาจ ต้องทำให้ส่วนภูมิภาคเข้มแข็ง เพื่อให้กระจายอำนาจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การปฏิรูปตำรวจ ต้องปฏิรูปรายละเอียดให้เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนัก รวมถึงต้องดูแลให้เขาได้รับความภาคภูมิใจว่า ทำหน้าที่เพื่อประชาชน ขณะที่ระบบงบประมาณต้องเน้นการบูรณาการของหน่วยงานราชการที่มีภารกิจเดียวกันรวมถึงต้องประเมินความสำเร็จของงานในอนาคตด้วย โดยที่สำคัญการทำงานใดๆ ต้องฟังรัฐบาลปัจจุบันด้วย
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเสนอแนะให้มีการปฏิรูปเกี่ยวกับกรณีที่มีผู้ที่นำสถาบันพระมหากษัตริย์มากล่าวร้าย ต่อสู้ให้ร้าย หรือนำมาเป็นประเด็นสร้างความเกลียดชังด้วยว่า พระองค์ท่านไปได้ทั้ง 2 ฝ่าย แต่ยังมีคนกล่าวว่าพระองค์ท่าน ซึ่งตนไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องนำพระองค์ท่านมายุ่งเกี่ยว ทั้งฝ่ายคนดี และคนไม่ดี มีการนำสถาบันกษัตริย์มาต่อสู้ให้ร้ายกัน
อย่างไรก็ตาม พระองค์พระราชทานอำนาจมาให้ตรงนี้ และทรงอยู่เหนือความขัดแย้ง อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ และลงพระปรมาภิไธยตามกฎหมายกำหนด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นช่วงจากการชุมนุมที่ผ่านมา พระองค์ไม่ได้สั่ง แต่ทรงทราบทั้งหมด แต่ทำไมรอบนี้พระองค์ไม่ลงมาให้ยุติเรื่อง เพราะเหตุการณ์ช่วงปัจจุบัน ไม่เหมือนกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 14 ต.ค.2516 ที่เป็นการชุมนุมที่มีฝ่ายทหารเข้ามาเกี่ยวข้อง พระองค์ต้องบอกให้ทหารเลิก เมื่อเลิกแล้วก็จะหยุด
"วันนี้ยังไม่เลิก เอาท่านมาต่อสู้ ผมขอร้อง หากยังไม่เลิก พวกผมยอมไม่ได้ ที่ผ่านมามีคนทำผิด และได้รับพระราชอภัยโทษ แต่หลายคนพ้นโทษแล้วก็กลับมาทำอีก ผมเชื่อว่าคนพวกนี้จะไม่ตายดี ไม่ป่วยก็เจ็บ ไม่มีใครอยู่ดี ผมเคยถามพระองค์ท่าน ท่านทรงรับสั่งว่าที่ฉันไปเพราะเขาไม่ได้ด่าฉัน เพราะประชาชนของฉัน แต่เหตุที่ฉันไม่ไปเพราะประชาชนด่าฉันทุกวัน ฉันจะไปได้อย่างไร ผมมองว่าพระองค์ท่านทรงเป็นปุถุชนธรรมดา ก่อนหน้านี้ท่านมีความสุข แต่พอพระชนมายุมาก คนก็ด่า โดยเฉพาะในเว็ปไซต์ต่างๆ ดังนั้นเป็นเหตุผลสำคัญถึงต้องมีมาตรา 112 ในประเทศไทย เนื่องจากในต่างประเทศไม่นึกว่าจะมีอย่างนี้ เพราะต่างชาติเขามองด้วยมุมความเจริญ ประชาชนมีการศึกษาสูง เสียภาษี รายได้ใกล้เคียง แต่กรณีที่เกิดขึ้นผมเรียกมาปรับทัศนคติ ก็มีคนบอกว่าทำผิด ดังนั้น หากพบคนผิดก็ไม่ต้องเรียกตัวอีกจับติดคุกไปเลยดีหรือไม่ง่ายดี ส่วนกรณีที่เรียกคนมาปรับทัศนคติก็บอกว่าไปละเมิดสิทธิมนุษยชน จะปล่อยเป็นพ่อมันหรือไง ผมโมโหเรื่องนี้ ขอโทษนะที่พูดเพราะสภาฯเป็นของผู้ทรงเกียรติไม่ควรพูดเรื่องนี้ แบบนี้บ้านเมืองเสียหายกันหมด" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
** หากไม่เลิกขัดแย้งก็ไม่ต้องมีประชาธิปไตย
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า การเมืองไม่ต้องระแวงผม เขียนกันทุกวันว่าผมอยากอยู่ในอำนาจ หรืออยากอยู่ต่อ หากไม่สงบเรียบร้อย ผมก็ต้องอยู่ เอางี้ไหม พูดกันให้รู้เรื่องสักที อยู่ที่ท่านนั่นแหละ หากไม่เลิกกัน ก็อยู่กันอย่างนี้ ปิดประเทศก็ปิดกันไป ซึ่งผมไม่ได้ท้าทาย หากจะเอาประชาชนมา แกนนำจะโดนก่อน คนพูดมากๆ โดนก่อนหมด ผมมีอำนาจของผมอยู่
สำหรับการทำงานของ 5 องค์กร ขอให้ร่วมกันทำงานสร้างความเชื่อใจ ร่วมสร้างประวัติศาสตร์ให้ประชาชนเพื่อให้เกิดความชื่นชม ขอให้ไปด้วยกันจะตายตกไปตามกันก็เอา ทั้งนี้ อยากปฏิรูปเรื่องอะไร ของให้ ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธาน สปท. ประสานเข้ามาและพูดคุยร่วมกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ ใช้เวลาแจกแจงนโยบายในการประชุมเครือข่าย 5 องค์กร รวมทั้งสิ้น 2 ชั่วโมง 21 นาที โดยสมาชิกทั้งหมด ได้ตบมือแสดงความชื่นชม จากนั้น นายพรเพชร กล่าวต่อว่า สำหรับคำถามของสมาชิกเครือข่าย 4 คน ที่สอบถามนายกฯ ท่านได้ตอบชี้แจงหมดแล้ว และได้กล่าวปิดประชุม เมื่อเวลา 11.52 น.. จากนั้นได้มีการรับประทานอาคารร่วมกันของสมาชิกแม่น้ำ 5 สาย ที่ห้องรับรอง ชั้น 2 อาคารรัฐสภา
** เปิดทางด่วนให้สปท.ชงแนวทางปฏิรูป
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมแม่น้ำ 5 สาย ว่า ก่อนการประชุม มีการแจ้งคำถามให้ พล.อ.ประยุทธ์ ทราบแล้ว ซึ่งนายกฯ ได้กล่าวชี้แจงไปในที่ประชุมพร้อมกับเนื้อหาที่เตรียมไว้ แต่ในช่วงระหว่างรับประทานอาหาร ก็มีคนเดินไปพูดคุยกับนายกฯ หลายคน และเชื่อว่าจากนี้จะเกิดความเข้าใจในการดำเนินงานของรัฐบาล การจะทำงานต่อไปคงรู้ว่าแนวทางเป็นอย่างไร โดยสิ่งที่พูดคุยก่อนหน้านี้ และนายกฯ ได้มีการเน้นย้ำในที่ประชุม คือ การลงพื้นที่ของแม่น้ำสายต่างๆ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ขอให้ไปด้วยกัน และรัฐบาลพร้อมส่งข้าราชการร่วมทีมไปด้วย โดยเบื้องต้นจะให้ผู้ตรวจราชการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในแต่ละเขตเป็นตัวแทนรัฐบาล แต่ถ้าเป็นเรื่องเฉพาะด้านและมีความซับซ้อน ก็อาจจะส่งระดับรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเข้าไป
นอกจากนี้ ได้มีการตั้งวิปร่วมหรือวิปกลาง ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ประกอบด้วย รัฐบาลที่มีนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีตัวแทนจาก สนช. และ สปท. เพื่อช่วยกันผลักดันการทำงาน กรณีที่ สปท.จะเสนอกฎหมาย ให้ร่างมาให้เสร็จ หรือบอกมายังรัฐบาล เรายินดีจะให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเข้าไปช่วย หากไม่เร่งด่วน ก็จะดำเนินการตามกระบวนการหรือเสนอไปยัง สนช. เลยก็ได้ แต่หากเร่งด่วน รัฐบาลจะเสนอเข้า สนช.เป็นเร่งด่วน หรือออกเป็นพระราชกำหนด แต่หากด่วนที่สุดและมีความจำเป็นจริงๆ ก็จะใช้ มาตรา 44 สั่งการเลยก็ได้ เพื่อให้ข้อเสนอของ สปท. เป็นรูปธรรม
นายวิษณุ ยังกล่าวถึงเรื่องที่นายกฯ มอบหมายให้ฝ่ายกระบวนการยุติธรรม ไปดูว่าคดีใดที่เข้าสู่กระบวนการไปแล้ว อยากให้ดำเนินการให้ได้ข้อยุติโดยเร็วภายในปี 2559 และเข้าสู่กระบวนการปรองดองในปี 2560 ว่า นายกฯ มอบหมายฝ่ายกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมของ คสช. ที่มี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม เป็นหัวหน้า โดยให้ไปช่วยการทำบ้านเตรียมไว้หน่อย อย่างไรก็ตาม เรื่องการสร้างความปรองดองนายกฯ พูดมานานแล้ว แต่เพิ่งมาพูดชัดว่าให้ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของคสช. ไปเตรียมการ
** แม่น้ำ5สายต้องทำงานอย่างมีเอกภาพ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า สิ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ ให้นโยบายในการประชุมแม่น้ำ 5 สาย เพื่อให้ทั้งหมดรู้โจทย์ รู้ปัญหาในการดำเนินการของ คสช. และรัฐบาลในห่วงที่ผ่านมาว่าได้ทำอะไรไปบ้าง และปัญหาอยู่ที่ตรงไหน ซึ่งเวลาจะทำแผนปฏิรูป จะต้องมีข้อมูล เพื่อทราบแนวความคิดและเหตุผลว่าทำไม และอยากให้แม่น้ำทั้ง 5 สาย หารือกันอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ โดยที่ผ่านมา รัฐบาลและ คสช. เริ่มปฏิรูปในระยะที่ 1 ไว้แล้ว ในเรื่องเร่งด่วน และต้องทำให้จบภายใน 1 ปี ก่อนเดือนก.ค.2560 หากไม่จบก็จะไปรวมอยู่ในแผนปฏิรูปที่ส่งให้รัฐบาลหน้าดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ สปท. ต้องนำแนวทางดังกล่าวไปจัดทำแผนปฏิรูป พร้อมนำแนวทางของ สปช. มาจัดกลุ่มกิจกรรม วิธีการ ซึ่งต้องกำหนดด้วยว่า ใครจะทำหน้าที่เริ่มจัดลำดับงานย่อย ลำดับงานความเร่งด่วน 1 , 2 , 3 เพื่อเสนอให้ สนช. ออกกฎหมาย มีผลบังคับใช้ได้เดือนก.ค.2560 เรื่องไหนที่ไม่สำเร็จ หรือต้องดำเนินการต่อเนื่องในระยะ 2 , 3 หรือต้องใช้ระยะเวลาการดำเนินการนานกว่านั้น ทาง กรธ. จะต้องหาวิธีการบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ สนช. ออกกฎหมายลูกให้เกิดความยั่งยืน โดยต้องมีวิธีการที่กำหนดให้รัฐบาลหน้าต้องนำไปปฏิบัติอย่างไร ซึ่งบางเรื่องอาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการต่อเนื่องหลายรัฐบาล ทั้งหมดคือเจตนารมย์ของนายกฯ ที่ต้องการนำพาประเทศไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ แบบมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น.วานนี้ (28 ต.ค.) ที่รัฐสภา มีการประชุมเครือข่าย 5 องค์กร (แม่น้ำ 5 สาย) ได้แก่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) , คณะรัฐมนตรี (ครม.) , สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) , สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เป็นนัดแรก นับตั้งแต่การแต่งตั้งสมาชิก สปท. และ กรธ. โดยมีการถ่ายทอดสดผ่านทีวี และวิทยุรัฐสภาให้ประชาชนได้รับทราบด้วย
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวย้ำถึงความต้องการให้แม่น้ำ 5 สาย ร่วมมือทำงานอย่างเป็นหนึ่งเดียว และยึดหลักของการทำงานเพื่อชาติ และทำให้ประชาชนทั้งประเทศมีความสุข รวมถึงต้องให้ประเทศหลุดพ้นกับดักความขัดแย้ง ขอให้ทุกพรรคการเมืองร่วมมือ และร่วมมองถึงอนาคตประเทศที่ดี ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ มีที่ยืนในเวทีสหประชาชาติ รวมถึงเวทีโลก
** เปรียบ"คสช.-กรธ."สะพานข้ามขัดแย้ง
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ตนมองว่าความขัดแย้งในประเทศที่เกิดขึ้น เพราะมีคนทะเลาะกันเรื่องประชาธิปไตย ดังนั้น การแก้ไขต้องหาประเด็นที่เป็นจุดร่วมกันก่อน ส่วนจุดที่ยังร่วมกันไม่ได้ ให้หยุดไว้ โดยงานที่ คสช. ดำเนินการทั้งในระยะแรก คือ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งให้ประเทศสงบ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างระยะที่สอง คือ การมีสภาต่างๆ เพื่อวางกติกา ไปสู่การเลือกตั้ง ให้ได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งดำเนินการต่อ ดังนั้น ในช่วงที่คสช. ดำเนินการตามโรดแมป กลุ่มต่างๆ ต้องเลิกปลุกปั่น บิดเบือน หรือสร้างความเกลียดชัง
ส่วนคนที่หนีไปอยู่ต่างประเทศ ควรกลับเข้ามาพิสูจน์ทราบตามกระบวนการยุติธรรม อย่ากล่าวให้ร้ายหรือประจานประเทศตัวเองอยู่ที่ต่างประเทศ ซึ่งตนรู้สึกอับอาย
"ถ้าเปรียบประเทศเรา เหมือนมีแม่น้ำประชาธิปไตยของทุกท่านขวางอยู่สายหนึ่ง ส่วน คสช. และ กรธ. ที่เข้ามา คือ สะพานข้ามน้ำประชาธิปไตยที่ขัดแย้ง บางคนก็พร้อมขึ้นสะพาน บางคนก็อยากลุยน้ำ บางคนก็อยากว่ายข้ามน้ำ แต่ดันว่ายน้ำไม่เป็น เขาจะตายอยู่ข้างล่าง วันนี้ ผมอยากให้ทุกคนขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำให้ได้ เพื่อไม่ให้ความขัดแย้ง การแบ่งฝ่ายเกิดขึ้นอีก วันนี้ผมไม่รู้ว่าใครได้ หรือเสียอำนาจ แต่ผมไม่ได้อำนาจใดๆ มีแต่ประเทศชาติที่ได้ ผมยืนยันไม่อยากอยู่แบบนี้นานๆ เหมือนพวกกเฬวราก พูดอยู่นอกสภา ซึ่งคนพวกนี้ไม่เคยสัญญาว่าจะไม่ทำผิดกฎหมาย ผมเปรียบพวกเราได้ว่า เป็น อิฐ หิน ปูน ทราย ที่ต้องร่วมมือกับประชาชนเพื่อสร้างประชาธิปไตยให้กับประเทศนี้" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
นายกฯ กล่าวต่อว่า การแก้ไขความขัดแย้ง ต้องแยกแยะ โดยนำเหตุการณ์ในอดีต ตั้งแต่ประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ.2475 รวมถึงเหตุการณ์ขัดแย้งที่ผ่านมา มาพิจารณา และให้นำข้อมูลจากต่างประเทศมาพิจารณาด้วย ซึ่งตนไม่ต้องการแก้ปัญหาแบบเก่าๆ คือ ต้องมีปฏิวัติถึงจะแก้รัฐธรรมนูญได้ ดังนั้น ต้องหาวิธีเพื่อไม่ให้ทหารกลับเข้ามาแก้ปัญหาการเมืองอีก รวมถึงต้องหาวิธีเพื่อให้ได้คนดีๆ เข้ามายืนอยู่ในสภา ขณะที่การเข้าสู่อำนาจในตำแหน่งผู้บริหารราชการ ต้องสร้างคลื่นลูกใหม่ เหมือนกับที่ระบบทหารใช้ที่ต้องมีกระบวนการเตรียมคนที่เหมาะสมกับการเข้ามาทำหน้าที่ ไม่ใช่ให้คนเก่าเข้ามารักษาตำแหน่งจนตาย รวมไปถึงการเปลี่ยนความคิดของผู้บริหาร ที่ต้องเน้นการดูแลประชาชน ผู้ใต้บังคับบัญชาตามความเหมาะสม สร้างขีดความสามารถของการแข่งขัน ไม่ใช่ให้มีรัฐสวัสดิการจำนวนมากเพียงอย่างเดียว และที่สำคัญต้องสร้างความเท่าเทียมให้กับประชาชนภายใต้กฎหมาย และการปฏิบัติตามกฎหมายฉบับเดียวกัน ต้องทำให้ประชาชนรักรัฐบาล อาจไม่มาก แต่รัฐบาลต้องรักทุกคน ทั้งนี้ ตนเชื่อว่าหาทำได้ประเทศจะเดินหน้า โดยไม่ติดกับดัก ขณะที่การรับฟังความเห็นของประชาชนต่อเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ ก็ต้องเปิดรับฟังทุกฝ่าย
**ต้องเลิกดึงสถาบันฯมาร่วมความขัดแย้ง
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงแนวทางการขับเคลื่อนการปฏิรูปด้วยว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามแก้ไขความขัดแย้ง และแก้ปัญหาให้ประชาชนที่นักการเมืองก่อไว้ ทั้งเรื่องจำนำข้าว เรื่องชาวนา ซึ่งการขับเคลื่อนการปฏิรูปต้องไม่มองแต่ภาพซ้ายหรือภาพขวาเท่านั้น ต้องมองให้เป็นภาพรวมต้องทำใหม่ ต้องปฏิรูป ต้องคำนึงถึงการให้ประเทศเดินหน้า ขณะที่งานปฏิรูปที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เคยทำไว้ เช่น การปฏิรูปกฎหมายต้องพิจารณาและทำรายละเอียดทั้งกฎหมายที่ล้าสมัย กฎหมายที่ทำใหม่และแนวทางการปฏิรูป ส่วนการปฏิรูปที่สำคัญ เช่น การศึกษาที่ใช้งบประมาณสูงสุด 5.5 แสนล้านบาท ต้องปฏิรูปเพื่อให้ผู้ปกครอง ครู และนักเรียนมีความสุข การศึกษาระดับอาชีวศึกษาด้วย ด้านเศรษฐกิจ ต้องเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน คำนึงตั้งแต่ระดับอาเซียน และไต่ระดับไปสู่ประชาคมโลก อย่าฝากความหวังไว้เฉพาะที่ตลาดบน ต้องคำนึงถึงแนวนโยบายของต่างประเทศด้วย
ส่วนการกระจายอำนาจ ต้องทำให้ส่วนภูมิภาคเข้มแข็ง เพื่อให้กระจายอำนาจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การปฏิรูปตำรวจ ต้องปฏิรูปรายละเอียดให้เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนัก รวมถึงต้องดูแลให้เขาได้รับความภาคภูมิใจว่า ทำหน้าที่เพื่อประชาชน ขณะที่ระบบงบประมาณต้องเน้นการบูรณาการของหน่วยงานราชการที่มีภารกิจเดียวกันรวมถึงต้องประเมินความสำเร็จของงานในอนาคตด้วย โดยที่สำคัญการทำงานใดๆ ต้องฟังรัฐบาลปัจจุบันด้วย
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเสนอแนะให้มีการปฏิรูปเกี่ยวกับกรณีที่มีผู้ที่นำสถาบันพระมหากษัตริย์มากล่าวร้าย ต่อสู้ให้ร้าย หรือนำมาเป็นประเด็นสร้างความเกลียดชังด้วยว่า พระองค์ท่านไปได้ทั้ง 2 ฝ่าย แต่ยังมีคนกล่าวว่าพระองค์ท่าน ซึ่งตนไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องนำพระองค์ท่านมายุ่งเกี่ยว ทั้งฝ่ายคนดี และคนไม่ดี มีการนำสถาบันกษัตริย์มาต่อสู้ให้ร้ายกัน
อย่างไรก็ตาม พระองค์พระราชทานอำนาจมาให้ตรงนี้ และทรงอยู่เหนือความขัดแย้ง อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ และลงพระปรมาภิไธยตามกฎหมายกำหนด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นช่วงจากการชุมนุมที่ผ่านมา พระองค์ไม่ได้สั่ง แต่ทรงทราบทั้งหมด แต่ทำไมรอบนี้พระองค์ไม่ลงมาให้ยุติเรื่อง เพราะเหตุการณ์ช่วงปัจจุบัน ไม่เหมือนกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 14 ต.ค.2516 ที่เป็นการชุมนุมที่มีฝ่ายทหารเข้ามาเกี่ยวข้อง พระองค์ต้องบอกให้ทหารเลิก เมื่อเลิกแล้วก็จะหยุด
"วันนี้ยังไม่เลิก เอาท่านมาต่อสู้ ผมขอร้อง หากยังไม่เลิก พวกผมยอมไม่ได้ ที่ผ่านมามีคนทำผิด และได้รับพระราชอภัยโทษ แต่หลายคนพ้นโทษแล้วก็กลับมาทำอีก ผมเชื่อว่าคนพวกนี้จะไม่ตายดี ไม่ป่วยก็เจ็บ ไม่มีใครอยู่ดี ผมเคยถามพระองค์ท่าน ท่านทรงรับสั่งว่าที่ฉันไปเพราะเขาไม่ได้ด่าฉัน เพราะประชาชนของฉัน แต่เหตุที่ฉันไม่ไปเพราะประชาชนด่าฉันทุกวัน ฉันจะไปได้อย่างไร ผมมองว่าพระองค์ท่านทรงเป็นปุถุชนธรรมดา ก่อนหน้านี้ท่านมีความสุข แต่พอพระชนมายุมาก คนก็ด่า โดยเฉพาะในเว็ปไซต์ต่างๆ ดังนั้นเป็นเหตุผลสำคัญถึงต้องมีมาตรา 112 ในประเทศไทย เนื่องจากในต่างประเทศไม่นึกว่าจะมีอย่างนี้ เพราะต่างชาติเขามองด้วยมุมความเจริญ ประชาชนมีการศึกษาสูง เสียภาษี รายได้ใกล้เคียง แต่กรณีที่เกิดขึ้นผมเรียกมาปรับทัศนคติ ก็มีคนบอกว่าทำผิด ดังนั้น หากพบคนผิดก็ไม่ต้องเรียกตัวอีกจับติดคุกไปเลยดีหรือไม่ง่ายดี ส่วนกรณีที่เรียกคนมาปรับทัศนคติก็บอกว่าไปละเมิดสิทธิมนุษยชน จะปล่อยเป็นพ่อมันหรือไง ผมโมโหเรื่องนี้ ขอโทษนะที่พูดเพราะสภาฯเป็นของผู้ทรงเกียรติไม่ควรพูดเรื่องนี้ แบบนี้บ้านเมืองเสียหายกันหมด" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
** หากไม่เลิกขัดแย้งก็ไม่ต้องมีประชาธิปไตย
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า การเมืองไม่ต้องระแวงผม เขียนกันทุกวันว่าผมอยากอยู่ในอำนาจ หรืออยากอยู่ต่อ หากไม่สงบเรียบร้อย ผมก็ต้องอยู่ เอางี้ไหม พูดกันให้รู้เรื่องสักที อยู่ที่ท่านนั่นแหละ หากไม่เลิกกัน ก็อยู่กันอย่างนี้ ปิดประเทศก็ปิดกันไป ซึ่งผมไม่ได้ท้าทาย หากจะเอาประชาชนมา แกนนำจะโดนก่อน คนพูดมากๆ โดนก่อนหมด ผมมีอำนาจของผมอยู่
สำหรับการทำงานของ 5 องค์กร ขอให้ร่วมกันทำงานสร้างความเชื่อใจ ร่วมสร้างประวัติศาสตร์ให้ประชาชนเพื่อให้เกิดความชื่นชม ขอให้ไปด้วยกันจะตายตกไปตามกันก็เอา ทั้งนี้ อยากปฏิรูปเรื่องอะไร ของให้ ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธาน สปท. ประสานเข้ามาและพูดคุยร่วมกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ ใช้เวลาแจกแจงนโยบายในการประชุมเครือข่าย 5 องค์กร รวมทั้งสิ้น 2 ชั่วโมง 21 นาที โดยสมาชิกทั้งหมด ได้ตบมือแสดงความชื่นชม จากนั้น นายพรเพชร กล่าวต่อว่า สำหรับคำถามของสมาชิกเครือข่าย 4 คน ที่สอบถามนายกฯ ท่านได้ตอบชี้แจงหมดแล้ว และได้กล่าวปิดประชุม เมื่อเวลา 11.52 น.. จากนั้นได้มีการรับประทานอาคารร่วมกันของสมาชิกแม่น้ำ 5 สาย ที่ห้องรับรอง ชั้น 2 อาคารรัฐสภา
** เปิดทางด่วนให้สปท.ชงแนวทางปฏิรูป
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมแม่น้ำ 5 สาย ว่า ก่อนการประชุม มีการแจ้งคำถามให้ พล.อ.ประยุทธ์ ทราบแล้ว ซึ่งนายกฯ ได้กล่าวชี้แจงไปในที่ประชุมพร้อมกับเนื้อหาที่เตรียมไว้ แต่ในช่วงระหว่างรับประทานอาหาร ก็มีคนเดินไปพูดคุยกับนายกฯ หลายคน และเชื่อว่าจากนี้จะเกิดความเข้าใจในการดำเนินงานของรัฐบาล การจะทำงานต่อไปคงรู้ว่าแนวทางเป็นอย่างไร โดยสิ่งที่พูดคุยก่อนหน้านี้ และนายกฯ ได้มีการเน้นย้ำในที่ประชุม คือ การลงพื้นที่ของแม่น้ำสายต่างๆ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ขอให้ไปด้วยกัน และรัฐบาลพร้อมส่งข้าราชการร่วมทีมไปด้วย โดยเบื้องต้นจะให้ผู้ตรวจราชการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในแต่ละเขตเป็นตัวแทนรัฐบาล แต่ถ้าเป็นเรื่องเฉพาะด้านและมีความซับซ้อน ก็อาจจะส่งระดับรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเข้าไป
นอกจากนี้ ได้มีการตั้งวิปร่วมหรือวิปกลาง ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ประกอบด้วย รัฐบาลที่มีนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีตัวแทนจาก สนช. และ สปท. เพื่อช่วยกันผลักดันการทำงาน กรณีที่ สปท.จะเสนอกฎหมาย ให้ร่างมาให้เสร็จ หรือบอกมายังรัฐบาล เรายินดีจะให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเข้าไปช่วย หากไม่เร่งด่วน ก็จะดำเนินการตามกระบวนการหรือเสนอไปยัง สนช. เลยก็ได้ แต่หากเร่งด่วน รัฐบาลจะเสนอเข้า สนช.เป็นเร่งด่วน หรือออกเป็นพระราชกำหนด แต่หากด่วนที่สุดและมีความจำเป็นจริงๆ ก็จะใช้ มาตรา 44 สั่งการเลยก็ได้ เพื่อให้ข้อเสนอของ สปท. เป็นรูปธรรม
นายวิษณุ ยังกล่าวถึงเรื่องที่นายกฯ มอบหมายให้ฝ่ายกระบวนการยุติธรรม ไปดูว่าคดีใดที่เข้าสู่กระบวนการไปแล้ว อยากให้ดำเนินการให้ได้ข้อยุติโดยเร็วภายในปี 2559 และเข้าสู่กระบวนการปรองดองในปี 2560 ว่า นายกฯ มอบหมายฝ่ายกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมของ คสช. ที่มี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม เป็นหัวหน้า โดยให้ไปช่วยการทำบ้านเตรียมไว้หน่อย อย่างไรก็ตาม เรื่องการสร้างความปรองดองนายกฯ พูดมานานแล้ว แต่เพิ่งมาพูดชัดว่าให้ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของคสช. ไปเตรียมการ
** แม่น้ำ5สายต้องทำงานอย่างมีเอกภาพ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า สิ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ ให้นโยบายในการประชุมแม่น้ำ 5 สาย เพื่อให้ทั้งหมดรู้โจทย์ รู้ปัญหาในการดำเนินการของ คสช. และรัฐบาลในห่วงที่ผ่านมาว่าได้ทำอะไรไปบ้าง และปัญหาอยู่ที่ตรงไหน ซึ่งเวลาจะทำแผนปฏิรูป จะต้องมีข้อมูล เพื่อทราบแนวความคิดและเหตุผลว่าทำไม และอยากให้แม่น้ำทั้ง 5 สาย หารือกันอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ โดยที่ผ่านมา รัฐบาลและ คสช. เริ่มปฏิรูปในระยะที่ 1 ไว้แล้ว ในเรื่องเร่งด่วน และต้องทำให้จบภายใน 1 ปี ก่อนเดือนก.ค.2560 หากไม่จบก็จะไปรวมอยู่ในแผนปฏิรูปที่ส่งให้รัฐบาลหน้าดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ สปท. ต้องนำแนวทางดังกล่าวไปจัดทำแผนปฏิรูป พร้อมนำแนวทางของ สปช. มาจัดกลุ่มกิจกรรม วิธีการ ซึ่งต้องกำหนดด้วยว่า ใครจะทำหน้าที่เริ่มจัดลำดับงานย่อย ลำดับงานความเร่งด่วน 1 , 2 , 3 เพื่อเสนอให้ สนช. ออกกฎหมาย มีผลบังคับใช้ได้เดือนก.ค.2560 เรื่องไหนที่ไม่สำเร็จ หรือต้องดำเนินการต่อเนื่องในระยะ 2 , 3 หรือต้องใช้ระยะเวลาการดำเนินการนานกว่านั้น ทาง กรธ. จะต้องหาวิธีการบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ สนช. ออกกฎหมายลูกให้เกิดความยั่งยืน โดยต้องมีวิธีการที่กำหนดให้รัฐบาลหน้าต้องนำไปปฏิบัติอย่างไร ซึ่งบางเรื่องอาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการต่อเนื่องหลายรัฐบาล ทั้งหมดคือเจตนารมย์ของนายกฯ ที่ต้องการนำพาประเทศไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ แบบมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน