ASTVผู้จัดการรายวัน-เปิดแผนพัฒนาที่ดินทำเลทอง 4 แปลงใหญ่ของร.ฟ.ท. ซึ่งจะเปิดเอกชนร่วมลงทุน มูลค่ากว่าแสนล. ตั้งเป้าผุดแลนด์มาร์ค ศูนย์กลางคมนาคมขนส่งและเศรษฐกิจ หวังล้างหนี้ 8 หมื่นล. ฟื้นฟูกิจการ พลิกโฉมเป็นร.ฟ.ท.ยุคใหม่
นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ร.ฟ.ท.กำลังเร่งรัดแผนพัฒนาที่ดิน 4 แปลงใหญ่ โดย 1. ที่ดินย่านมักกะสัน ได้ข้อสรุปกับกรมธนารักษ์กระทรวงการคลังที่จะได้รับสิทธิในการเช่าที่ดินในระยะยาวจำนวน 99 ปี เพื่อชำระหนี้คงค้างมูลค่าประมาณ 61,846 ล้านบาท โดยอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดการย้ายโรงงานมักกะสัน ,โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร(โรงพยาบาลรถไฟ)และบ้านพักพนักงาน 2.ที่ดินบริเวณบางซื่อ อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมด้านธุรกิจและการลงทุนโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเดินรถไฟ 3. ที่ดินย่านสถานีแม่น้ำ 4. ที่ดินบริเวณ กม.11 ซึ่งจะมีการสำรวจและทบทวนผลการศึกษาเดิมให้เรียบร้อยภายในปีนี้
แหล่งข่าวจากร.ฟ.ท.กล่าวว่า ตามข้อตกลงกรมธนารักษ์ ต้องการให้ส่งมอบพื้นที่มักกะสัน 497 ไร่ ภายใน 2 ปี ซึ่งในทางปฎิบัติไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดได้เนื่องจาก ตามผลศึกษาในการย้ายโรงงานมักกะสัน จะใช้เวลาประมาณ 4 ปี โดยในช่วง 2 ปีแรก ร.ฟ.ท.จะส่งมอบพื้นที่แปลงA ซึ่งอยู่หน้าสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์จำนวน 140 ไร่ ให้ก่อน เนื่องจากปัจจุบัน พื้นที่ว่าง จากนั้นจะทยอยส่งมอบพื้นที่โรงพยาบาลรถไฟและบ้านพัก และในสัปดาห์นี้ จะมีการหารือกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อพิจารณาและศึกษาแนวทางในการย้ายโรงงาน,โรงพยาบาลและบ้านพัก ออกจากพื้นที่ให้เร็วขึ้นอีกด้วย
ส่วนพื้นที่บริเวณสถานีบางซืิ่อ 305 ไร่ มีโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ 218 ไร่ กำหนดพื้นที่ดำเนินการออกเป็น 3 โซนประกอบด้วย โซน A จำนวน 35 ไร่ โซน B จำนวน 78 ไร่ โซน C จำนวน 105 ไร่ โดยได้นำแนวคิด TOD (Transit Oriented Development) ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาจะส่งมอบผลการศึกษาภายในเดือนธ.ค.นี้ ส่วนโซน D จำนวน 87.5 ไร่ ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)เป็นผู้ศึกษาออกแบบรายละเอียดศูนย์คมนาคมขนส่งพหลโยธินและต้นแบบการพัฒนาโดยรอบศูนย์กลางคมนาคม ซึ่งหลังตรวจรับผลการศึกษาทั้งหมดแล้ว จะพิจารณารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมเพื่อออกประกาศเชิญชวนเอกชน เข้ามาร่วมลงทุนตามขั้นตอน การร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือ Public Private Partnerships (PPP) โดยประเมินว่าแนวทางที่เหมาะสมคือรวมประมูลพื้นที่ทั้ง 3 โซน และแบ่งเฟสในการพัฒนา
สำหรับโครงการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีแม่น้ำ จำนวน 260 ไร่ และโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณ กม.11 จำนวน 359 ไร่นั้น จะสรุปข้อมูลและผลศึกษาเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ในเดือนพ.ย.นี้เพื่อขอความเห็นชอบในหลักการดำเนินโครงการแบบ PPP พร้อมกันนี้ ร.ฟ.ท.จะดำเนินการว่าจ้างที่ปรึกษาดำเนินการศึกษารายละเอียดตามข้อกำหนดของการลงทุนแบบ
PPP ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ 56) โดยตั้งวงเงินงบประมาณไว้ โครงการละ 15 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม มูลค่าในการพัฒนาที่ดิน 4 แปลงใหญ่ คิดเป็นเงินกว่าแสนล้านบาท ซึ่งจะทยอยแบ่งเฟสในการลงทุน เพื่อให้โครงการมีความเป็นไปได้และมีผลตอบแทนในการลงทุนที่จูงใจ เช่น พื้นที่บางซื่อ เบื้องต้นกำหนดให้พัฒนาพื้นที่โซน A ก่อน และในอีก 5 ปีต่อไป หรือ ในปี 2564-2565 จึงจะพัฒนาพื้นที่โซน B เป็นต้น ซึ่งในส่วนของร.ฟ.ท.
จะเริ่มมีรายได้จากการพัฒนาพื้นที่ชัดเจนเมื่อเริ่มพัฒนาไปแล้ว 4-5 ปี
ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีหนี้สินประมาณ 113,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นหนี้ของแอร์พอร์ตลิงก์ประมาณ 33,000 ล้านบาท ซึ่งหากเจรจาแยกบัญชีกันได้ ร.ฟ.ท.จะเหลือหนี้ประมาณ 80,000 ล้านบาท และหากพัฒนาที่มักกะสันเพื่อชำระหนี้กับคลังกว่า 60,000 ล้านบาท จะเหลือหนี้ประมาณ 20,000 ล้านบาท ซึ่งร.ฟ.ท.สามารถนำรายได้จากการพัฒนา ย่านบางซื่อ กม.11
และสถานีแม่น้ำมาชำระหนี้ได้อย่างแน่นอน
สำหรับที่ดินของร.ฟ.ท.ทั่วประเทศ มีจำนวน 234,976 ไร่ เป็นที่ดินใช้เพื่อการเดินรถท198,674 ไร่ (84%) ประกอบด้วย พื้นที่เขตทาง 189,586 ไร่ ย่านสถานี 5,333 ไร่ และบ้านพัก 3,755 ไร่ เป็นที่ดินไม่ใช้เพื่อการเดินรถ 36,302 ไร่ (15.4%) ประกอบด้วย ที่ดินจัดประโยชน์ได้ 34,487 ไร่ ย่านพหลโยธิน 1,070 ไร่ และบ้านพัก 745 ไร่
นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ร.ฟ.ท.กำลังเร่งรัดแผนพัฒนาที่ดิน 4 แปลงใหญ่ โดย 1. ที่ดินย่านมักกะสัน ได้ข้อสรุปกับกรมธนารักษ์กระทรวงการคลังที่จะได้รับสิทธิในการเช่าที่ดินในระยะยาวจำนวน 99 ปี เพื่อชำระหนี้คงค้างมูลค่าประมาณ 61,846 ล้านบาท โดยอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดการย้ายโรงงานมักกะสัน ,โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร(โรงพยาบาลรถไฟ)และบ้านพักพนักงาน 2.ที่ดินบริเวณบางซื่อ อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมด้านธุรกิจและการลงทุนโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเดินรถไฟ 3. ที่ดินย่านสถานีแม่น้ำ 4. ที่ดินบริเวณ กม.11 ซึ่งจะมีการสำรวจและทบทวนผลการศึกษาเดิมให้เรียบร้อยภายในปีนี้
แหล่งข่าวจากร.ฟ.ท.กล่าวว่า ตามข้อตกลงกรมธนารักษ์ ต้องการให้ส่งมอบพื้นที่มักกะสัน 497 ไร่ ภายใน 2 ปี ซึ่งในทางปฎิบัติไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดได้เนื่องจาก ตามผลศึกษาในการย้ายโรงงานมักกะสัน จะใช้เวลาประมาณ 4 ปี โดยในช่วง 2 ปีแรก ร.ฟ.ท.จะส่งมอบพื้นที่แปลงA ซึ่งอยู่หน้าสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์จำนวน 140 ไร่ ให้ก่อน เนื่องจากปัจจุบัน พื้นที่ว่าง จากนั้นจะทยอยส่งมอบพื้นที่โรงพยาบาลรถไฟและบ้านพัก และในสัปดาห์นี้ จะมีการหารือกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อพิจารณาและศึกษาแนวทางในการย้ายโรงงาน,โรงพยาบาลและบ้านพัก ออกจากพื้นที่ให้เร็วขึ้นอีกด้วย
ส่วนพื้นที่บริเวณสถานีบางซืิ่อ 305 ไร่ มีโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ 218 ไร่ กำหนดพื้นที่ดำเนินการออกเป็น 3 โซนประกอบด้วย โซน A จำนวน 35 ไร่ โซน B จำนวน 78 ไร่ โซน C จำนวน 105 ไร่ โดยได้นำแนวคิด TOD (Transit Oriented Development) ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาจะส่งมอบผลการศึกษาภายในเดือนธ.ค.นี้ ส่วนโซน D จำนวน 87.5 ไร่ ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)เป็นผู้ศึกษาออกแบบรายละเอียดศูนย์คมนาคมขนส่งพหลโยธินและต้นแบบการพัฒนาโดยรอบศูนย์กลางคมนาคม ซึ่งหลังตรวจรับผลการศึกษาทั้งหมดแล้ว จะพิจารณารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมเพื่อออกประกาศเชิญชวนเอกชน เข้ามาร่วมลงทุนตามขั้นตอน การร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือ Public Private Partnerships (PPP) โดยประเมินว่าแนวทางที่เหมาะสมคือรวมประมูลพื้นที่ทั้ง 3 โซน และแบ่งเฟสในการพัฒนา
สำหรับโครงการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีแม่น้ำ จำนวน 260 ไร่ และโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณ กม.11 จำนวน 359 ไร่นั้น จะสรุปข้อมูลและผลศึกษาเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ในเดือนพ.ย.นี้เพื่อขอความเห็นชอบในหลักการดำเนินโครงการแบบ PPP พร้อมกันนี้ ร.ฟ.ท.จะดำเนินการว่าจ้างที่ปรึกษาดำเนินการศึกษารายละเอียดตามข้อกำหนดของการลงทุนแบบ
PPP ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ 56) โดยตั้งวงเงินงบประมาณไว้ โครงการละ 15 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม มูลค่าในการพัฒนาที่ดิน 4 แปลงใหญ่ คิดเป็นเงินกว่าแสนล้านบาท ซึ่งจะทยอยแบ่งเฟสในการลงทุน เพื่อให้โครงการมีความเป็นไปได้และมีผลตอบแทนในการลงทุนที่จูงใจ เช่น พื้นที่บางซื่อ เบื้องต้นกำหนดให้พัฒนาพื้นที่โซน A ก่อน และในอีก 5 ปีต่อไป หรือ ในปี 2564-2565 จึงจะพัฒนาพื้นที่โซน B เป็นต้น ซึ่งในส่วนของร.ฟ.ท.
จะเริ่มมีรายได้จากการพัฒนาพื้นที่ชัดเจนเมื่อเริ่มพัฒนาไปแล้ว 4-5 ปี
ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีหนี้สินประมาณ 113,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นหนี้ของแอร์พอร์ตลิงก์ประมาณ 33,000 ล้านบาท ซึ่งหากเจรจาแยกบัญชีกันได้ ร.ฟ.ท.จะเหลือหนี้ประมาณ 80,000 ล้านบาท และหากพัฒนาที่มักกะสันเพื่อชำระหนี้กับคลังกว่า 60,000 ล้านบาท จะเหลือหนี้ประมาณ 20,000 ล้านบาท ซึ่งร.ฟ.ท.สามารถนำรายได้จากการพัฒนา ย่านบางซื่อ กม.11
และสถานีแม่น้ำมาชำระหนี้ได้อย่างแน่นอน
สำหรับที่ดินของร.ฟ.ท.ทั่วประเทศ มีจำนวน 234,976 ไร่ เป็นที่ดินใช้เพื่อการเดินรถท198,674 ไร่ (84%) ประกอบด้วย พื้นที่เขตทาง 189,586 ไร่ ย่านสถานี 5,333 ไร่ และบ้านพัก 3,755 ไร่ เป็นที่ดินไม่ใช้เพื่อการเดินรถ 36,302 ไร่ (15.4%) ประกอบด้วย ที่ดินจัดประโยชน์ได้ 34,487 ไร่ ย่านพหลโยธิน 1,070 ไร่ และบ้านพัก 745 ไร่