วานนี้ (21 ต.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ และ นายวัชระ เพชรทอง 2 อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาเปิดเผยการตรวจสอบการบริหารงานของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่มีความผิดปกติหลายกรณีว่า ตนได้พบกับนายวิลาศ และนายวัชระ ที่เข้ามารายงานเรื่องต่างๆที่ได้ตรวจสอบให้ตนทราบแล้ว ถือเป็นการทำหน้าที่ในการตรวจสอบตามปกติ ยืนยันว่า ไม่ใช่ความขัดแย้ง ซึ่งจะได้นัด ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.มารืออีกครั้งหนึ่ง ขณะนี้ทราบว่าเดินทางกลับจากต่างประเทศแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตรงนี้ถือเป็นความขัดแย้งกันเองภายในพรรคหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวปฏิเสธโดยระบุว่า ในพรรคไม่มีความขัดแย้งใดๆ กรณีนี้คือนายวิลาศ และนายวัชระ มีคนร้องเรียนเข้ามา ก็ต้องทำหน้าที่ในการตรวจสอบตามปกติ ซึ่งหากเป็นในภาวะปกติก็คงมีการซักถามกันในการประชุมพรรค แต่ขณะนี้ไม่สามารถประชุมพรรคได้ และทางนายวิลาศก็ระบุว่า ไม่สามารถติดต่อกับทาง กทม.ได้ จึงออกมาเปิดเผยข้อมูลผ่านสื่อมวลชน
** ชวนออกทีวีชี้แจงพร้อมกัน
ขณะที่ นายวิลาศ จันทรพิทักษ์ อดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ 2 รองผู้ว่าฯกทม.ซึ่งถูกพาดพิงออกมาชี้แจงในเรื่องการบริหารงาน และการเดินทางไปต่างประเทศว่า ขอเชิญ 2 รองผู้ว่าฯกทม.ที่ออกมาชี้แจงในเรื่องดังกล่าวให้มาออกรายการโทรทัศน์พร้อมกับตน จะได้ไม่ต้องพูดกันคนละที โดยเปิดโอกาสให้ทั้งคู่เลือกมาว่าจะเป้นช่องไหนรายการใด เพื่อกันข้อกล่าวว่าตนนัดแนะกับทางรายการ อยากให้ทั้ง 2 คนตอบคำถามให้ตนรงประเด็น ทั้งกรณีเดินทางไปต่างประเทศปีละกี่ครั้ง ขอให้แสดงพาสปอร์ตส่วนตัว (เล่มแดง) และพาสสปอร์ตราชการ (เล่มสีน้ำเงิน) ทุกเล่มที่มีมาด้วย รวมถึงจะได้ชี้แจงถึงกรณีการจัดซื้อที่ส่อไม่โปร่งใสในโครงการต่างๆด้วย เพราะทราบว่า มีรายการทีวีหลายช่องติดต่อไป แต่รองผู้ว่าฯทั้งคู่ตอบว่า ยังไม่พร้อม ส่วนตัวเองก็ไม่อยากไปพูดซ้ำในรายการทีวีต่างๆ เพื่อจะได้เอาเวลาไปทำงานตรวจสอบข้อร้องเรียนอื่นๆอีก ทั้งนี้ยืนยันว่า กรณีนี้ไม่เกี่ยวข้อวงกับความพยายามตั้งข้อสังเกตว่าเป็นความขัดแย้งภายในพรรคเพราะเป็นการทำหน้าที่ตรวจสอบตามข้อร้องเรียนที่ได้รับเอกสารและข้อมูลมา
** “ชายหมู” พร้อมร่วมมือสอบโกง
อีกด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า ประเทศไทยมีองค์การตรวจสอบต่างๆมากมาย หากองค์กรใดมีข้อมูลว่า ผู้ใดใน กทม.กระทำผิดประพฤติมิชอบก็สามารถดำเนินการตรวจสอบได้ โดย กทม.พร้อมให้ความร่วมมือในการตรวจสอบทุกรูปแบบ แต่ตนจะไม่ร่วมสร้างสงครามวาจา โต้ตอบกันไปมา เพราะไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อเกิดเหตุดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้ว่าฯกทม.และพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ส่วนตัวไม่ได้มีปัญหาใดๆ กับพรรคประชาธิปัตย์ หากมีกรณีใดก็จะพูดคุยสายตรงกับหัวหน้าพรรคมาโดยตลอด กรณีที่บุคคลใดออกมาแอบอ้างว่าเข้ามาดำเนินการกับ กทม.ในเรื่องต่างๆ เพราะมีคำสั่งจากหัวหน้าพรรคนั้นไม่เป็นจริง
เมื่อถามว่า ได้มีการพูดคุยกับรองผู้ว่าฯในกรณีดังกล่าวหรือไม่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ตนมีรองผู้ว่าฯ 4 คน ก็ได้มีการพูดคุยกับรองผู้ว่าฯทุกคนมาโดยตลอดอยู่แล้ว
** ศิษย์เก่า ปชป.ชี้ต้องว่ากันตามเนื้อผ้า
นายกษิต ภิรมย์ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ซในฐานะอดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า คงต้องว่ากันไปตามข้อเท็จจริง ตนมองว่า การปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาการทุจริตต้องมองในภาพกว้าง การปราบปรามนั้นต้องมีในทุกระดับ ตั้งแต่รัฐบาลกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ที่หมายรวมถึง ระดับอำเภอ ตำบล เทศบาลเมือง หรือ กทม.ด้วย โดยกระบวนการเบิกจ่ายงบประมาณจะต้องโปร่งใสและเหมาะสม เงินควรถูกนำไปใช้พัฒนาทุกข์สุขประชาชน เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์ขั้นพื้นฐาน สำหรับการเรียน การกีฬา การสาธารณสุข ไม่ควรหมดไปกับการก่อสร้างอาคารใหญ่โต หรือใช้ไปดูงานต่างประเทศ 3-4 ครั้งต่อปี เพราะงบประมาณพัฒนาบุคลากรเหล่านี้ ก็มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูอยู่แล้ว เช่น กรมข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือ กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ด้าน นายวิทยา แก้วภราดัย สมาชิก สปท. กล่าวว่า การปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาการการทุจริตเป็นเรื่องสำคัญ ตัวอย่างของรัฐบาลที่ผ่านมา ทำให้เห็นถึงการทุจริตของทุนนิยมสามานย์ ตนมองว่า การปราบปรามการทุจริตเป็นหน้าที่ของทุกคนจะต้องช่วยกัน ส่วนกรณีที่เรื่องที่เกิดขึ้นใน กทม.นั้น ก็ต้องดูกันที่ข้อเท็จจริง ฝ่ายถูกก็กล่าวหาก็ต้องอธิบายว่า เป็นอย่างไร ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมาย.
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตรงนี้ถือเป็นความขัดแย้งกันเองภายในพรรคหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวปฏิเสธโดยระบุว่า ในพรรคไม่มีความขัดแย้งใดๆ กรณีนี้คือนายวิลาศ และนายวัชระ มีคนร้องเรียนเข้ามา ก็ต้องทำหน้าที่ในการตรวจสอบตามปกติ ซึ่งหากเป็นในภาวะปกติก็คงมีการซักถามกันในการประชุมพรรค แต่ขณะนี้ไม่สามารถประชุมพรรคได้ และทางนายวิลาศก็ระบุว่า ไม่สามารถติดต่อกับทาง กทม.ได้ จึงออกมาเปิดเผยข้อมูลผ่านสื่อมวลชน
** ชวนออกทีวีชี้แจงพร้อมกัน
ขณะที่ นายวิลาศ จันทรพิทักษ์ อดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ 2 รองผู้ว่าฯกทม.ซึ่งถูกพาดพิงออกมาชี้แจงในเรื่องการบริหารงาน และการเดินทางไปต่างประเทศว่า ขอเชิญ 2 รองผู้ว่าฯกทม.ที่ออกมาชี้แจงในเรื่องดังกล่าวให้มาออกรายการโทรทัศน์พร้อมกับตน จะได้ไม่ต้องพูดกันคนละที โดยเปิดโอกาสให้ทั้งคู่เลือกมาว่าจะเป้นช่องไหนรายการใด เพื่อกันข้อกล่าวว่าตนนัดแนะกับทางรายการ อยากให้ทั้ง 2 คนตอบคำถามให้ตนรงประเด็น ทั้งกรณีเดินทางไปต่างประเทศปีละกี่ครั้ง ขอให้แสดงพาสปอร์ตส่วนตัว (เล่มแดง) และพาสสปอร์ตราชการ (เล่มสีน้ำเงิน) ทุกเล่มที่มีมาด้วย รวมถึงจะได้ชี้แจงถึงกรณีการจัดซื้อที่ส่อไม่โปร่งใสในโครงการต่างๆด้วย เพราะทราบว่า มีรายการทีวีหลายช่องติดต่อไป แต่รองผู้ว่าฯทั้งคู่ตอบว่า ยังไม่พร้อม ส่วนตัวเองก็ไม่อยากไปพูดซ้ำในรายการทีวีต่างๆ เพื่อจะได้เอาเวลาไปทำงานตรวจสอบข้อร้องเรียนอื่นๆอีก ทั้งนี้ยืนยันว่า กรณีนี้ไม่เกี่ยวข้อวงกับความพยายามตั้งข้อสังเกตว่าเป็นความขัดแย้งภายในพรรคเพราะเป็นการทำหน้าที่ตรวจสอบตามข้อร้องเรียนที่ได้รับเอกสารและข้อมูลมา
** “ชายหมู” พร้อมร่วมมือสอบโกง
อีกด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า ประเทศไทยมีองค์การตรวจสอบต่างๆมากมาย หากองค์กรใดมีข้อมูลว่า ผู้ใดใน กทม.กระทำผิดประพฤติมิชอบก็สามารถดำเนินการตรวจสอบได้ โดย กทม.พร้อมให้ความร่วมมือในการตรวจสอบทุกรูปแบบ แต่ตนจะไม่ร่วมสร้างสงครามวาจา โต้ตอบกันไปมา เพราะไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อเกิดเหตุดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้ว่าฯกทม.และพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ส่วนตัวไม่ได้มีปัญหาใดๆ กับพรรคประชาธิปัตย์ หากมีกรณีใดก็จะพูดคุยสายตรงกับหัวหน้าพรรคมาโดยตลอด กรณีที่บุคคลใดออกมาแอบอ้างว่าเข้ามาดำเนินการกับ กทม.ในเรื่องต่างๆ เพราะมีคำสั่งจากหัวหน้าพรรคนั้นไม่เป็นจริง
เมื่อถามว่า ได้มีการพูดคุยกับรองผู้ว่าฯในกรณีดังกล่าวหรือไม่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ตนมีรองผู้ว่าฯ 4 คน ก็ได้มีการพูดคุยกับรองผู้ว่าฯทุกคนมาโดยตลอดอยู่แล้ว
** ศิษย์เก่า ปชป.ชี้ต้องว่ากันตามเนื้อผ้า
นายกษิต ภิรมย์ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ซในฐานะอดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า คงต้องว่ากันไปตามข้อเท็จจริง ตนมองว่า การปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาการทุจริตต้องมองในภาพกว้าง การปราบปรามนั้นต้องมีในทุกระดับ ตั้งแต่รัฐบาลกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ที่หมายรวมถึง ระดับอำเภอ ตำบล เทศบาลเมือง หรือ กทม.ด้วย โดยกระบวนการเบิกจ่ายงบประมาณจะต้องโปร่งใสและเหมาะสม เงินควรถูกนำไปใช้พัฒนาทุกข์สุขประชาชน เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์ขั้นพื้นฐาน สำหรับการเรียน การกีฬา การสาธารณสุข ไม่ควรหมดไปกับการก่อสร้างอาคารใหญ่โต หรือใช้ไปดูงานต่างประเทศ 3-4 ครั้งต่อปี เพราะงบประมาณพัฒนาบุคลากรเหล่านี้ ก็มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูอยู่แล้ว เช่น กรมข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือ กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ด้าน นายวิทยา แก้วภราดัย สมาชิก สปท. กล่าวว่า การปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาการการทุจริตเป็นเรื่องสำคัญ ตัวอย่างของรัฐบาลที่ผ่านมา ทำให้เห็นถึงการทุจริตของทุนนิยมสามานย์ ตนมองว่า การปราบปรามการทุจริตเป็นหน้าที่ของทุกคนจะต้องช่วยกัน ส่วนกรณีที่เรื่องที่เกิดขึ้นใน กทม.นั้น ก็ต้องดูกันที่ข้อเท็จจริง ฝ่ายถูกก็กล่าวหาก็ต้องอธิบายว่า เป็นอย่างไร ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมาย.