ที่รัฐสภา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี ที่ได้ทำหนังสือถึง กรธ.เสนอแนะให้ตัดสิทธินักการเมืองที่กระทำการทุจริตตลอดชีวิตว่า เป็นเจตนาที่ดีที่นายธานินทร์ห่วงใยประเทศ ซึ่งเราก็คงจะรับมาพิจารณา ซึ่งสิ่งที่นายธานินทร์เสนอมานั้นตรงกับ 10 ประเด็นที่รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 เขียนกำหนดไว้ ดังนั้นคงไม่ได้มีปัญหา
“ข้อเสนอดังกล่าวเป็นการแสดงถึงความห่วงใยของผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง อีกทั้งปัญหาการทุจริตเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายเป็นห่วง เราก็จะพยายามทำให้ดีที่สุด เรื่องนี้ไม่ค่อยมีใครมาโต้แย้งเท่าไร อย่างไรก็ต้องมีบทบัญญัติ แต่เราจะทำให้เข้มข้นแค่ไหน ขึ้นอยู่กับสติปัญญาของเรา” นายมีชัย ระบุ
** โวเขียน “สิทธิเสรีภาพ” แบบใหม่
นายมีชัยเปิดเผยถึงความคืบหน้าในการร่างรัฐธรรมนูญว่า ขณะนี้ได้ผ่านการพิจารณาไปแล้ว 2 หมวด คือ หมวดทั่วไป และหมวดพระมหากษัตริย์ และกำลังเริ่มพิจารณาหมวดสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ซึ่งกำลังหาวิธีเขียนใหม่ให้กระชับ และทบทวนความสอดคล้องกัน เราจะเขียนใหม่แบบกลับตาลปัตร ถือว่าทุกคนมีสิทธิเสรีภาพ ตราบเท่าที่รัฐธรรมนูญไม่กำหนดห้ามไว้สามารถทำได้หมด ถ้ารัฐจะให้ห้ามอะไรก็บอกมา แทนการบัญญัติไล่เรียงว่าประชาชนมีสิทธิเสรีภาพอะไรบ้าง อย่างที่ผ่านมาแต่ละกลุ่มอาชีพมีอะไรเสนอกันมาอยากให้ใส่ในรัฐธรรมนูญหมด พอขาดตกไม่ครอบคลุมก็มีปัญหากัน แต่การเขียนใหม่จะทำให้ทั่วถึงทุกกลุ่มอาชีพไม่มีตกหล่น
ผู้สื่อข่าวถามว่า กฎหมายอย่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การชุมนุมในที่สาธารณะ ที่บังคับใช้แล้วจะขัดกับร่างรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า เราไม่ลงรายละเอียด การชุมนุมทำได้แต่มีเงื่อนไขอะไรนั้นก็อยู่ที่กฎหมายลูก เวลาจะออกกฎหมาย ข้อจำกัดมีอะไร หลักๆต้องใส่ในรัฐธรรมนูญแบบกว้างๆไว้ เพื่อให้ประชาชนสามารถหยิบยกให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ เรื่องไหนที่กระทบสิทธิเสรีภาพ เรื่องไหนที่ต้องทำ จะเขียนไว้ให้ชัดเจนว่าอะไรทำได้ไม่ได้
** ยังไม่คิดยุบองค์กรอิสระ
ส่วนขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากองค์กรอิสระที่เสร็จสิ้นไปแล้วนั้น นายมีชัย กล่าวว่า เป็นการรับฟังแนวคิดความต้องการของแต่ละองค์กรที่ต้องการเพิ่มอำนาจ ซึ่ง กรธ.ต้องระวังว่าหากเพิ่มแล้วอำนาจหน้าที่ซ้อนกันหมด ปัญหาตามมา ดังนั้น จะดูให้สมดุลว่า ทำอย่างไรให้แต่ละองค์กรมีความเที่ยงธรรม มีกฎเกณฑ์ที่ดีพอสมควร และไม่เกิดปัญหา ส่วนปัญหาที่ประชาชนบางส่วนไม่ยอมรับองค์กรอิสระนั้น ก็เป็นความแคลงใจส่วนบุคคล พอผิดก็รู้สึกว่าไม่เป็นธรรม พอถูกก็รู้สึกว่าดี
“การยุบองค์กรใดหรือไม่นั้นยังไม่มีการพูดถึง เราอยากให้กระบวนการขององค์กรอิสระสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนเพิ่มขึ้น” นายมีชัย ระบุ
เมื่อถามว่า ข้อเสนอขององค์กรอิสระหยิบยกรูปแบบของรัฐธรรมนูญปี 2550 ขึ้นมาเสมอ หมายความว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ดีกว่าหรือไม่ รวมถึงควรจะมีกลไกดูแลองค์กรอิสระอย่างไร นายมีชัย กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับว่าเป็นมุมมองของใคร กลไกองค์กรอิสระมีอยู่ในกฎหมายลูกอยู่แล้ว ปกติถ้าทำผิดก็ต้องรับโทษ 2 เท่า ถ้าจะไปกำหนดให้มีคนดูแลอีก ก็จะเกิดคำถามว่าใครจะมาดูแลไม่มีที่สิ้นสุด
** เล็งทำโพลถามที่มา ส.ส.-ส.ว.
ด้าน นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการ กรธ. ในฐานะประธานอนุกรรมการศึกษาโครงสร้างฝ่ายนิติบัญญัติ เปิดเผยว่าขณะนี้อนุกรรมการฯอยู่ระหว่างการพิจารณาตั้งคำถามเพื่อจะนำไปให้ประชาชนแสดงความเห็น ผ่านการสำรวจความคิดเห็น อาทิ ที่มาและจำนวนของ ส.ส. การได้มาและหน้าที่ของ ส.ว. รวมทั้งระบบเลือกตั้ง คาดว่าก่อนสิ้นเดือน ต.ค.นี้จะได้รูปแบบคำถามที่จะออกไปสำรวจความเห็น และเมื่อได้รับผลสำรวจแล้วอนุกรรมการฯจะเสนอ กรธ.ให้พิจารณาเพื่อประกอบการเขียนรายมาตราต่อไป
** ตั้งกรรมการประสาน สปท.-กรธ.
ขณะที่ นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษก กรธ.แถลงผลการประชุม กรธ.ว่า การพิจารณาในหมวด3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของบุคคลว่า ในหลักการของการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นหลักการที่ไม่ถูกจำกัดตามรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นๆ เว้นแต่เป็นการกระทำที่กระทบต่อความมั่นคง กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและประชาชน และเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพขอบุคคลอื่น หากเข้าข่าย 3 เงื่อนไขดังกล่าวจะไม่สามารถใช้สิทธิ หรือเสรีภาพได้ นอกจากนั้นในร่างบทบัญญัติที่ประชุมได้เห็นควรให้เพิ่มเติมในประเด็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพของปวงชนชาวไทยที่จะได้รับการคุ้มครองด้วย อย่างไรก็ตามในประเด็นเงื่อนไขของการจำกัดสิทธิ ทั้ง 3 ประการนั้น ที่ประชุมไม่ได้พิจารณาถึงรายละเอียดหรือกำหนดนิยามว่า หมายถึงการกระทำใดบ้าง
นายอมร กล่าวด้วยว่าสำหรับการรับฟังความเห็นของบุคคลต่างๆ รวมถึงสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ตามที่นายมีชัยทำหนังสือแจ้งไปยัง สปท. ต่อแนวทางการรับฟังความเห็นนั้น เบื้องต้นเข้าใจว่าเร็วๆนี้จะได้ตั้งกรรมการประสานงานร่วมระหว่าง สปท. และกรธ. เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างสอดคล้องกัน
** กรธ.ปัดข้อเสนอตั้งศาลเลือกตั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการหารือระหว่าง กรธ.กับ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น เบื้องต้นสรุปได้ว่า กรธ.เห็นสมควรที่จะให้ กกต.มีอำนาจเด็ดขาดในการป้องกันการทุจริตเลือกตั้ง โดยสามารถสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ (ใบเหลือง) และการเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง (ใบแดง) แก่ผู้สมัครที่กระทำผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งในช่วงก่อนวันเลือกตั้ง ก่อน และหลังประกาศผลการเลือกตั้ง ซึ่งจะเป็นลักษณะวิธีการที่คล้ายกับตอนรัฐธรรมนูญ 2540ส่วนข้อเสนอของ กกต.ที่ให้มีศาลเลือกตั้งนั้น กรธ.ได้มีความเห็นในประเด็นนี้ว่า การให้มีศาลเลือกตั้งอาจไม่ช่วยแก้ไขปัญหาอะไร เนื่องจากการพิจารณาของศาลจะเป็นวิธีการพิจารณาคดีทางอาญา ต้องมีหลักฐานพิสูจน์ได้โดยปราศจากความเคลือบแคลงสงสัย แต่รูปแบบการพิจารณาคดีของกกต.นั้นคือหลักฐานที่เชื่อได้ว่าทุจริต กกต.ก็สามารถแจกใบเหลืองและใบแดงได้ ดังนั้น เมื่อ กกต.ส่งสำนวนไปยังศาล คนทุจริตเลือกตั้งก็มักจะได้รับการพิจารณายกฟ้อง และไม่สามารถไปเปลี่ยนวิธีคิดของศาลได้ กรธ.จึงเห็นว่าแม้มีศาลเลือกตั้งก็คงไม่ช่วยอะไร จึงไม่เห็นด้วยที่จะให้มีศาลดังกล่าว
** องค์กรสื่อชง 3 ประเด็นใส่ รธน.
วันเดียวกัน ผู้แทนจาก 4 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้เข้ายื่นหนังสือถึงประธาน กรธ.ผ่าน นายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย กรรมการ กรธ. เพื่อเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะขององค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนเพื่อเป็นแนวทางการร่างรัฐธรรมนูญในหมวดที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน
โดย นายเทพชัย ในฐานะผู้แทนองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน กล่าวว่า เพื่อให้รัฐธรรมนูญ ยังดำรงไว้ซึ่งการรับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชน ตลอดจนมาตรการคุ้มครองเสรีภาพของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนและกลไกการป้องกันการแทรกแซงการทำหน้าที่ภายใต้กรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ รวมทั้งการมีองค์กรกำกับดูแลที่มีความเป็นอิสระจากการเมืองและธุรกิจ องค์กรวิชาชีพสื่อฯ จึงขอเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการร่างรัฐธรรมนูญต่อ กรธ.ใน 3 ประเด็น เวลานี้อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่อีกครั้ง ขอขอบคุณ กรธ. ที่เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็น ทั้ง 4 องค์กรสื่อฯ มีข้อเสนอร่วมกัน 3 ประการ ดังนี้ 1.สิทธิของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นต้องไม่มีข้อจำกัด สื่อมวลชนมีสิทธิเสรีภาพบนความรับผิดชอบ ไม่มีกลไกปิดกั้นสื่อ ซึ่งเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตย 2.มีหลักประกันให้สื่อได้รับความคุ้มครอง ไม่ถูกแทรกแซงให้ละเมิดจริยธรรม ห้ามนักการเมืองเป็นเจ้าของสื่อทั้งโดยตรงและโดยอ้อม และ 3.มีองค์กรที่เป็นอิสระในการจัดสรรดูแลคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ เพื่อประโยชน์สาธารณะ ปราศจากการครอบงำจากการเมืองและธุรกิจ
“ หลักการเหล่านี้ได้ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 มาแล้ว เป็นหลักการสำคัญที่เป็นที่เข้าใจร่วมกันและเป็นหลักที่ช่วยให้มีการพัฒนาการในทางที่ดีมาโดยตลอด” นายเทพชัย ระบุ
** สปท.กำหนดประชุมทุกจันทร์-อังคาร
วันเดียวกัน ที่รัฐสภา ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธาน สปท. พร้อมด้วย นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธาน สปท.คนที่1และ น.ส.วลัยรัตน์ ศรีอรุณ รองประธาน สปท.คนที่2 เข้าสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 บริเวณหน้าอาคารรัฐสภาและถวายพวงมาลัย แก่พระสยามเทวาธิราช เพื่อเป็นสิริมงคลในการเข้าทำหน้าที่ ก่อนที่จะเปิดการประชุมสปท.ในเวลา 09.30 น. โดยได้พิจารณากำหนดวันเวลาการประชุมของ สปท.สัปดาห์ละ 2 วัน คือ วันจันทร์ และวันอังคาร ตั้งแต่เวลา 09.30 เป็นต้นไป และแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างข้อบังคับการประชุมของ สปท.จำนวน 25 คน พร้อมกำหนดให้ยกร่างแล้วเสร็จภายใน 15 วัน ซึ่งได้กำหนดแนวทางให้สานต่อจากงานของสภาปฏอรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ และกำหนดให้มีคณะ กมธ.ปฏิรูป 11 ด้านตามที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวได้กำหนดเอาไว้ ทั้งยังจะแต่งตั้งคณะติดตามการร่างรัฐธรรมนูญ ของ กรธ.ด้วย.
“ข้อเสนอดังกล่าวเป็นการแสดงถึงความห่วงใยของผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง อีกทั้งปัญหาการทุจริตเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายเป็นห่วง เราก็จะพยายามทำให้ดีที่สุด เรื่องนี้ไม่ค่อยมีใครมาโต้แย้งเท่าไร อย่างไรก็ต้องมีบทบัญญัติ แต่เราจะทำให้เข้มข้นแค่ไหน ขึ้นอยู่กับสติปัญญาของเรา” นายมีชัย ระบุ
** โวเขียน “สิทธิเสรีภาพ” แบบใหม่
นายมีชัยเปิดเผยถึงความคืบหน้าในการร่างรัฐธรรมนูญว่า ขณะนี้ได้ผ่านการพิจารณาไปแล้ว 2 หมวด คือ หมวดทั่วไป และหมวดพระมหากษัตริย์ และกำลังเริ่มพิจารณาหมวดสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ซึ่งกำลังหาวิธีเขียนใหม่ให้กระชับ และทบทวนความสอดคล้องกัน เราจะเขียนใหม่แบบกลับตาลปัตร ถือว่าทุกคนมีสิทธิเสรีภาพ ตราบเท่าที่รัฐธรรมนูญไม่กำหนดห้ามไว้สามารถทำได้หมด ถ้ารัฐจะให้ห้ามอะไรก็บอกมา แทนการบัญญัติไล่เรียงว่าประชาชนมีสิทธิเสรีภาพอะไรบ้าง อย่างที่ผ่านมาแต่ละกลุ่มอาชีพมีอะไรเสนอกันมาอยากให้ใส่ในรัฐธรรมนูญหมด พอขาดตกไม่ครอบคลุมก็มีปัญหากัน แต่การเขียนใหม่จะทำให้ทั่วถึงทุกกลุ่มอาชีพไม่มีตกหล่น
ผู้สื่อข่าวถามว่า กฎหมายอย่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การชุมนุมในที่สาธารณะ ที่บังคับใช้แล้วจะขัดกับร่างรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า เราไม่ลงรายละเอียด การชุมนุมทำได้แต่มีเงื่อนไขอะไรนั้นก็อยู่ที่กฎหมายลูก เวลาจะออกกฎหมาย ข้อจำกัดมีอะไร หลักๆต้องใส่ในรัฐธรรมนูญแบบกว้างๆไว้ เพื่อให้ประชาชนสามารถหยิบยกให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ เรื่องไหนที่กระทบสิทธิเสรีภาพ เรื่องไหนที่ต้องทำ จะเขียนไว้ให้ชัดเจนว่าอะไรทำได้ไม่ได้
** ยังไม่คิดยุบองค์กรอิสระ
ส่วนขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากองค์กรอิสระที่เสร็จสิ้นไปแล้วนั้น นายมีชัย กล่าวว่า เป็นการรับฟังแนวคิดความต้องการของแต่ละองค์กรที่ต้องการเพิ่มอำนาจ ซึ่ง กรธ.ต้องระวังว่าหากเพิ่มแล้วอำนาจหน้าที่ซ้อนกันหมด ปัญหาตามมา ดังนั้น จะดูให้สมดุลว่า ทำอย่างไรให้แต่ละองค์กรมีความเที่ยงธรรม มีกฎเกณฑ์ที่ดีพอสมควร และไม่เกิดปัญหา ส่วนปัญหาที่ประชาชนบางส่วนไม่ยอมรับองค์กรอิสระนั้น ก็เป็นความแคลงใจส่วนบุคคล พอผิดก็รู้สึกว่าไม่เป็นธรรม พอถูกก็รู้สึกว่าดี
“การยุบองค์กรใดหรือไม่นั้นยังไม่มีการพูดถึง เราอยากให้กระบวนการขององค์กรอิสระสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนเพิ่มขึ้น” นายมีชัย ระบุ
เมื่อถามว่า ข้อเสนอขององค์กรอิสระหยิบยกรูปแบบของรัฐธรรมนูญปี 2550 ขึ้นมาเสมอ หมายความว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ดีกว่าหรือไม่ รวมถึงควรจะมีกลไกดูแลองค์กรอิสระอย่างไร นายมีชัย กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับว่าเป็นมุมมองของใคร กลไกองค์กรอิสระมีอยู่ในกฎหมายลูกอยู่แล้ว ปกติถ้าทำผิดก็ต้องรับโทษ 2 เท่า ถ้าจะไปกำหนดให้มีคนดูแลอีก ก็จะเกิดคำถามว่าใครจะมาดูแลไม่มีที่สิ้นสุด
** เล็งทำโพลถามที่มา ส.ส.-ส.ว.
ด้าน นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการ กรธ. ในฐานะประธานอนุกรรมการศึกษาโครงสร้างฝ่ายนิติบัญญัติ เปิดเผยว่าขณะนี้อนุกรรมการฯอยู่ระหว่างการพิจารณาตั้งคำถามเพื่อจะนำไปให้ประชาชนแสดงความเห็น ผ่านการสำรวจความคิดเห็น อาทิ ที่มาและจำนวนของ ส.ส. การได้มาและหน้าที่ของ ส.ว. รวมทั้งระบบเลือกตั้ง คาดว่าก่อนสิ้นเดือน ต.ค.นี้จะได้รูปแบบคำถามที่จะออกไปสำรวจความเห็น และเมื่อได้รับผลสำรวจแล้วอนุกรรมการฯจะเสนอ กรธ.ให้พิจารณาเพื่อประกอบการเขียนรายมาตราต่อไป
** ตั้งกรรมการประสาน สปท.-กรธ.
ขณะที่ นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษก กรธ.แถลงผลการประชุม กรธ.ว่า การพิจารณาในหมวด3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของบุคคลว่า ในหลักการของการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นหลักการที่ไม่ถูกจำกัดตามรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นๆ เว้นแต่เป็นการกระทำที่กระทบต่อความมั่นคง กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและประชาชน และเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพขอบุคคลอื่น หากเข้าข่าย 3 เงื่อนไขดังกล่าวจะไม่สามารถใช้สิทธิ หรือเสรีภาพได้ นอกจากนั้นในร่างบทบัญญัติที่ประชุมได้เห็นควรให้เพิ่มเติมในประเด็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพของปวงชนชาวไทยที่จะได้รับการคุ้มครองด้วย อย่างไรก็ตามในประเด็นเงื่อนไขของการจำกัดสิทธิ ทั้ง 3 ประการนั้น ที่ประชุมไม่ได้พิจารณาถึงรายละเอียดหรือกำหนดนิยามว่า หมายถึงการกระทำใดบ้าง
นายอมร กล่าวด้วยว่าสำหรับการรับฟังความเห็นของบุคคลต่างๆ รวมถึงสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ตามที่นายมีชัยทำหนังสือแจ้งไปยัง สปท. ต่อแนวทางการรับฟังความเห็นนั้น เบื้องต้นเข้าใจว่าเร็วๆนี้จะได้ตั้งกรรมการประสานงานร่วมระหว่าง สปท. และกรธ. เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างสอดคล้องกัน
** กรธ.ปัดข้อเสนอตั้งศาลเลือกตั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการหารือระหว่าง กรธ.กับ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น เบื้องต้นสรุปได้ว่า กรธ.เห็นสมควรที่จะให้ กกต.มีอำนาจเด็ดขาดในการป้องกันการทุจริตเลือกตั้ง โดยสามารถสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ (ใบเหลือง) และการเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง (ใบแดง) แก่ผู้สมัครที่กระทำผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งในช่วงก่อนวันเลือกตั้ง ก่อน และหลังประกาศผลการเลือกตั้ง ซึ่งจะเป็นลักษณะวิธีการที่คล้ายกับตอนรัฐธรรมนูญ 2540ส่วนข้อเสนอของ กกต.ที่ให้มีศาลเลือกตั้งนั้น กรธ.ได้มีความเห็นในประเด็นนี้ว่า การให้มีศาลเลือกตั้งอาจไม่ช่วยแก้ไขปัญหาอะไร เนื่องจากการพิจารณาของศาลจะเป็นวิธีการพิจารณาคดีทางอาญา ต้องมีหลักฐานพิสูจน์ได้โดยปราศจากความเคลือบแคลงสงสัย แต่รูปแบบการพิจารณาคดีของกกต.นั้นคือหลักฐานที่เชื่อได้ว่าทุจริต กกต.ก็สามารถแจกใบเหลืองและใบแดงได้ ดังนั้น เมื่อ กกต.ส่งสำนวนไปยังศาล คนทุจริตเลือกตั้งก็มักจะได้รับการพิจารณายกฟ้อง และไม่สามารถไปเปลี่ยนวิธีคิดของศาลได้ กรธ.จึงเห็นว่าแม้มีศาลเลือกตั้งก็คงไม่ช่วยอะไร จึงไม่เห็นด้วยที่จะให้มีศาลดังกล่าว
** องค์กรสื่อชง 3 ประเด็นใส่ รธน.
วันเดียวกัน ผู้แทนจาก 4 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้เข้ายื่นหนังสือถึงประธาน กรธ.ผ่าน นายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย กรรมการ กรธ. เพื่อเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะขององค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนเพื่อเป็นแนวทางการร่างรัฐธรรมนูญในหมวดที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน
โดย นายเทพชัย ในฐานะผู้แทนองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน กล่าวว่า เพื่อให้รัฐธรรมนูญ ยังดำรงไว้ซึ่งการรับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชน ตลอดจนมาตรการคุ้มครองเสรีภาพของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนและกลไกการป้องกันการแทรกแซงการทำหน้าที่ภายใต้กรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ รวมทั้งการมีองค์กรกำกับดูแลที่มีความเป็นอิสระจากการเมืองและธุรกิจ องค์กรวิชาชีพสื่อฯ จึงขอเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการร่างรัฐธรรมนูญต่อ กรธ.ใน 3 ประเด็น เวลานี้อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่อีกครั้ง ขอขอบคุณ กรธ. ที่เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็น ทั้ง 4 องค์กรสื่อฯ มีข้อเสนอร่วมกัน 3 ประการ ดังนี้ 1.สิทธิของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นต้องไม่มีข้อจำกัด สื่อมวลชนมีสิทธิเสรีภาพบนความรับผิดชอบ ไม่มีกลไกปิดกั้นสื่อ ซึ่งเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตย 2.มีหลักประกันให้สื่อได้รับความคุ้มครอง ไม่ถูกแทรกแซงให้ละเมิดจริยธรรม ห้ามนักการเมืองเป็นเจ้าของสื่อทั้งโดยตรงและโดยอ้อม และ 3.มีองค์กรที่เป็นอิสระในการจัดสรรดูแลคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ เพื่อประโยชน์สาธารณะ ปราศจากการครอบงำจากการเมืองและธุรกิจ
“ หลักการเหล่านี้ได้ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 มาแล้ว เป็นหลักการสำคัญที่เป็นที่เข้าใจร่วมกันและเป็นหลักที่ช่วยให้มีการพัฒนาการในทางที่ดีมาโดยตลอด” นายเทพชัย ระบุ
** สปท.กำหนดประชุมทุกจันทร์-อังคาร
วันเดียวกัน ที่รัฐสภา ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธาน สปท. พร้อมด้วย นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธาน สปท.คนที่1และ น.ส.วลัยรัตน์ ศรีอรุณ รองประธาน สปท.คนที่2 เข้าสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 บริเวณหน้าอาคารรัฐสภาและถวายพวงมาลัย แก่พระสยามเทวาธิราช เพื่อเป็นสิริมงคลในการเข้าทำหน้าที่ ก่อนที่จะเปิดการประชุมสปท.ในเวลา 09.30 น. โดยได้พิจารณากำหนดวันเวลาการประชุมของ สปท.สัปดาห์ละ 2 วัน คือ วันจันทร์ และวันอังคาร ตั้งแต่เวลา 09.30 เป็นต้นไป และแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างข้อบังคับการประชุมของ สปท.จำนวน 25 คน พร้อมกำหนดให้ยกร่างแล้วเสร็จภายใน 15 วัน ซึ่งได้กำหนดแนวทางให้สานต่อจากงานของสภาปฏอรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ และกำหนดให้มีคณะ กมธ.ปฏิรูป 11 ด้านตามที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวได้กำหนดเอาไว้ ทั้งยังจะแต่งตั้งคณะติดตามการร่างรัฐธรรมนูญ ของ กรธ.ด้วย.