ASTVผู้จัดการรายวัน-"ปลัดคมนาคม"ยืนยันเปิดประมูล รถไฟความเร็วสูง 2 สาย กรุงเทพฯ-หัวหิน,กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง วงเงินรวม 2.5 แสนล. ในปี 59 และมั่นใจมีเอกชนร่วมลงทุนกับรัฐแน่นอนอย่างน้อย 2 ราย ที่เคยแสดงความสนใจไว้ มอบร.ฟ.ท. เร่งศึกษาตามขั้นตอน PPP เพื่อเสนอสคร.และกก.PPP พิจารณาต้นปีหน้า
นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 94,673 ล้านบาท และ กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 193.5 กิโลเมตร วงเงิน 155,774 ล้านบาท ว่า กระทรวงคมนาคมมอบหมายการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ดำเนินการ
ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน พ.ศ.2559 เพื่อขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และจะลงทุนรูปแบบ การร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือ Public Private Partnerships (PPP) ซี่งตามขั้นตอน
ร.ฟ.ท.จะต้องว่าจ้างที่ปรีกษาดำเนินการศึกษารายละเอียดตามข้อกำหนดของการลงทุนแบบ PPP ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ 56) โดยจะใช้เวลา 3-4 เดือน จากนั้นจะเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และ คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP)
เพื่อเปิดระกวดราคาภายในปี 2559ตามเป้าหมาย
ทั้งนี้ รถไฟความเร็วสูงใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ดังนั้นการจัดเก็บค่าโดยสารเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้โครงการคุ้มค่า เพราะไม่สามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารสูงๆ ได้ แต่จากการที่มีภาคเอกชนรายใหญ่ 2-3 รายแสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทางดังกล่าวก่อนหน้านี้ ทำให้มั่นใจว่า
เมื่อเปิดประกวดราคาจะมีผู้สนใจลงทุนแน่นอน ซึ่งร.ฟ.ท. จะกำหนดเงื่อนไข TOR เพื่อคัดเลือกตามขั้นตอน PPP และเมื่อได้สรุปชัดเจนแล้ว จะตั้งคณะกรรมการมาตรา 35 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 เพื่อพิจารณาข้อเสนอของเอกชนที่เหมาะสมที่สุด
"การประมูลจะต้องเปิดกว้าง โดยกำหนดเงื่อนไข TOR เบื้องต้น และพิจารณาข้อเสนอของแต่ละรายประกอบ เพราะมีข้อจำกัด เรื่องอัตราค่าโดยสารที่เก็บแพงมากไม่ได้ ดังนั้น เอกชนที่จะเข้ามาลงทุนอาจจะมีข้อเสนอที่แตกต่างกันไปเพื่อให้การลงทุนของโครงการมีความเป็นไปได้ ภายใต้เงื่อนไขที่ภาครัฐกำหนด"
สำหรับการศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบรายละเอียดทั้ง 2 เส้นทาง ดำเนินการเสร็จแล้ว โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดำเนินการเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน และร.ฟ.ท. ศึกษาออกแบบ เส้นทาง กรุงเทพฯ-ระยอง และอยู่ระหว่างการพิจารณารายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สผ.)
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้แสดงความสนใจลงทุนกรุงเทพฯ-หัวหินขณะที่ผู้แทน บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ กลุ่ม ซีพี ได้ยื่นข้อเสนอแสดงความสนในการลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทาง กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง โดยเสนอว่าจะร่วมกับ บริษัท CITIC Construction Co.,Ltd. จากประเทศฮ่องกง
ซึ่งเป็นบริษัทด้านก่อสร้าง ออกแบบ ที่ปรึกษา มีสถาบันการเงินสนับสนุนครบวงจร และบริษัท ไหหนาน กรุ๊ป (HNA Group) ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างท่าเรือ สนามบินและรถไฟโดยแจ้งว่ามีความเชี่ยวชาญในการการดำเนินงานในรูปแบบ BOT (Build-Operate-Transfer) คือ ก่อสร้างเสร็จแล้ว บริหารตามสัญญาสัมปทาน แล้วจึงโอนกิจการเป็นของรัฐ
นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 94,673 ล้านบาท และ กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 193.5 กิโลเมตร วงเงิน 155,774 ล้านบาท ว่า กระทรวงคมนาคมมอบหมายการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ดำเนินการ
ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน พ.ศ.2559 เพื่อขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และจะลงทุนรูปแบบ การร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือ Public Private Partnerships (PPP) ซี่งตามขั้นตอน
ร.ฟ.ท.จะต้องว่าจ้างที่ปรีกษาดำเนินการศึกษารายละเอียดตามข้อกำหนดของการลงทุนแบบ PPP ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ 56) โดยจะใช้เวลา 3-4 เดือน จากนั้นจะเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และ คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP)
เพื่อเปิดระกวดราคาภายในปี 2559ตามเป้าหมาย
ทั้งนี้ รถไฟความเร็วสูงใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ดังนั้นการจัดเก็บค่าโดยสารเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้โครงการคุ้มค่า เพราะไม่สามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารสูงๆ ได้ แต่จากการที่มีภาคเอกชนรายใหญ่ 2-3 รายแสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทางดังกล่าวก่อนหน้านี้ ทำให้มั่นใจว่า
เมื่อเปิดประกวดราคาจะมีผู้สนใจลงทุนแน่นอน ซึ่งร.ฟ.ท. จะกำหนดเงื่อนไข TOR เพื่อคัดเลือกตามขั้นตอน PPP และเมื่อได้สรุปชัดเจนแล้ว จะตั้งคณะกรรมการมาตรา 35 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 เพื่อพิจารณาข้อเสนอของเอกชนที่เหมาะสมที่สุด
"การประมูลจะต้องเปิดกว้าง โดยกำหนดเงื่อนไข TOR เบื้องต้น และพิจารณาข้อเสนอของแต่ละรายประกอบ เพราะมีข้อจำกัด เรื่องอัตราค่าโดยสารที่เก็บแพงมากไม่ได้ ดังนั้น เอกชนที่จะเข้ามาลงทุนอาจจะมีข้อเสนอที่แตกต่างกันไปเพื่อให้การลงทุนของโครงการมีความเป็นไปได้ ภายใต้เงื่อนไขที่ภาครัฐกำหนด"
สำหรับการศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบรายละเอียดทั้ง 2 เส้นทาง ดำเนินการเสร็จแล้ว โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดำเนินการเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน และร.ฟ.ท. ศึกษาออกแบบ เส้นทาง กรุงเทพฯ-ระยอง และอยู่ระหว่างการพิจารณารายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สผ.)
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้แสดงความสนใจลงทุนกรุงเทพฯ-หัวหินขณะที่ผู้แทน บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ กลุ่ม ซีพี ได้ยื่นข้อเสนอแสดงความสนในการลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทาง กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง โดยเสนอว่าจะร่วมกับ บริษัท CITIC Construction Co.,Ltd. จากประเทศฮ่องกง
ซึ่งเป็นบริษัทด้านก่อสร้าง ออกแบบ ที่ปรึกษา มีสถาบันการเงินสนับสนุนครบวงจร และบริษัท ไหหนาน กรุ๊ป (HNA Group) ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างท่าเรือ สนามบินและรถไฟโดยแจ้งว่ามีความเชี่ยวชาญในการการดำเนินงานในรูปแบบ BOT (Build-Operate-Transfer) คือ ก่อสร้างเสร็จแล้ว บริหารตามสัญญาสัมปทาน แล้วจึงโอนกิจการเป็นของรัฐ