เดือนตุลาเป็นเดือนแห่งประวัติศาสตร์การต่อสู้ของประชาชน สำหรับเยาวชนคนหนุ่มสาวเมื่อ 14 ตุลาคม 2516 คือ การต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการ ส่วน 6 ตุลาคม 2519 คือ โศกนาฏกรรมของชาติที่ถูกปลุกปั่นจากความหวาดกลัวภัยคอมมิวนิสต์ของฝ่ายขวาทำให้นักศึกษาถูกสังหารโดยอำนาจรัฐและมวลชนที่รัฐจัดตั้งขึ้นอย่างโหดเหี้ยม
ขณะที่นิสิตนักศึกษาในขณะนั้นบางคนถูกเข้าแทรกซึมปลูกฝังอุดมการณ์เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) หลายคนจึงหลบหนีการปราบปรามเข้าป่าจับปืนเพื่อร่วมโค่นอำนาจรัฐกับพรรคคอมมิวนิสต์ฯ
ในอดีตถ้า พคท.ชนะก็คือ การใช้ปืนยึดอำนาจเป็นรัฐฏาธิปัตย์ วันนี้ประเทศไทยจะเป็นอย่างไร
หลังสงครามเย็นรัฐบาลออกนโยบาย 66/2523 เพื่อนิรโทษกรรมให้กับนักศึกษาและประชาชนที่เข้าร่วมต่อสู้กับ พคท.ประจวบกับความขัดแย้งภายในของ พคท.ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมกับ พคท.กลับจากป่าสู่เมือง บางคนกลับมาเรียนต่อจนกลายเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย บางคนเข้าร่วมกับพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย บางคนประกอบอาชีพอิสระ แต่ก็ยังมีสายสัมพันธ์ที่โยงใยกันในฐานะทางสังคมว่า “คนเดือนตุลา” และบางคนยังมีเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงระบอบซ่อนเร้นไว้ในใจ
จากนั้นก็ผ่านมาถึงเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 หลังจากทหารที่เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลชาติชาย แต่เมื่อครบสัญญาคืนประเทศกลับสู่การเลือกตั้งแล้ว พรรคการเมือง 5 พรรค ซึ่งรวบรวมได้เสียงข้างมากกลับสนับสนุนพล.อ.สุจินดา คราประยูร ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ประชาชนจึงออกมาคัดค้านการสืบทอดอำนาจ โดยคนเดือนตุลามีบทบาทสำคัญไม่น้อยในฐานะที่มีประสบการณ์ในการต่อสู้ภาคประชาชน
พฤษภาคม 2535 จึงเป็นบทเรียนหน้าหนึ่งของรัฐบาลทหารที่พยายามสืบทอดอำนาจ
หลังจากนั้นการเมืองไทยก็ผ่านวันเวลามาจนถึงการเข้าสู่การเมืองของทักษิณ ชินวัตร นายทุนผู้ร่ำรวยมาจากสัมปทานผูกขาดธุรกิจโทรคมนาคม คนเดือนตุลาส่วนใหญ่สนับสนุนทักษิณเพราะเห็นว่าเป็นคนที่มีวิสัยกว้างไกลเมื่อเทียบกับนักการเมืองรุ่นเก่า แม้แต่สนธิ ลิ้มทองกุล ในช่วงแรกก็สนับสนุนทักษิณ
แต่ต่อมาเมื่อทักษิณอยู่ในอำนาจกลับเพิ่มให้เห็นถึงความเป็นเผด็จการรัฐสภามากขึ้นด้วยการกวาดซื้อ ส.ส.ซื้อพรรคการเมือง ซื้อ ส.ว.และซื้อองค์กรอิสระต่างๆ รวมทั้งการคอร์รัปชันเชิงนโยบายที่เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของวงศ์ตระกูล สะท้อนภาพของทุนนิยมสามานย์ออกมาอย่างชัดเจน คนที่มองเห็นความไม่ชอบมาพากลหลายคนจึงเริ่มถอยห่างจากทักษิณ
ขณะที่คนเดือนตุลามีทั้งคนที่ยังคงทำงานกับทักษิณต่อไป และหลายคนเริ่มถอยห่างออกมา คนที่ยังอยู่ต่อล้วนแล้วแต่ได้รับการตอบแทนจากทักษิณอย่างเป็นกอบเป็นกำ หลายคนจึงมีฐานะความเป็นอยู่ที่ร่ำรวยขึ้น คนเดือนตุลาหลายคนเข้ามามีบทบาทในรัฐบาลทักษิณ เข้าไปบริหารองค์กรของรัฐ และเป็นบอร์ดในรัฐวิสาหกิจ
จนกระทั่งเกิด “ปรากฏการณ์สนธิ” คนเดือนตุลาหลายคนที่หนีห่างจากทักษิณ และองค์กรภาคประชาชน รวมทั้งสมาชิกรัฐวิสาหกิจจึงเข้าร่วมต่อสู้กับสนธิ ลิ้มทองกุล จึงเกิดเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยขึ้นมา จนมีประชาชนเข้าร่วมชุมนุมขับไล่รัฐบาลทักษิณอย่างเนืองแน่น จนกระทั่งประกาศจะนัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 20 กันยายน 2549 ขณะเดียวกันรัฐบาลทักษิณก็ประกาศระดมมวลชนเพื่อมาปะทะกับมวลชนของพันธมิตรฯ
แต่แล้วก่อนจะถึงวันนัดหมายพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ได้ประกาศยึดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณ ในวันที่ 19 กันยายน โดยหลังทหารยึดอำนาจได้มีประชาชนมามอบดอกกุหลาบให้กำลังใจทหารจำนวนมาก
กล่าวอย่างรวบรัดรัฐบาลทหารยึดอำนาจอยู่เพียงปีเศษๆ ก็คืนอำนาจกลับมาสู่การเลือกตั้ง แม้ทักษิณจะหลบหนีความผิดจากคำพิพากษาของศาลอยู่นอกประเทศพรรคของทักษิณก็ยังชนะการเลือกตั้งอีก ไม่ว่าจะใช้นอมินีอย่างนายสมัคร สุนทรเวชหรือนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เพราะประชาชนชนชั้นล่างซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ชื่นชอบนโยบายประชานิยมที่ทักษิณหยิบยื่นให้
เมื่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคเพราะทุจริตการเลือกตั้ง เหตุการณ์ทางการเมืองเกิดการพลิกผันเมื่อเนวิน ชิดชอบ นำสมาชิกในสังกัดเปลี่ยนข้างมาสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีการกล่าวกันว่ามีการกดดันมาจากฝ่ายทหาร
แต่ไม่ว่าทักษิณจะสะท้อนภาพของเผด็จการทุนนิยมสามานย์ออกมาอย่างไร คนเดือนตุลาหลายคนก็ยังคนรับใช้ทักษิณและตระกูลของทักษิณมาจนถึงยุคที่ทักษิณเชิดน้องสาวมาครองเมืองทั้งๆ ที่ไม่มีสติปัญญา ยิ่งกว่าการสืบทอดอำนาจของเผด็จการ กระทั่งถูกมวลชนในนามของ กปปส.ออกมาขับไล่เพราะใช้อำนาจที่ฉ้อฉลและมีความพยายามจะนิรโทษกรรมให้ทักษิณ มีการใช้กองกำลังติดอาวุธเข้ามาทำร้ายประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาล จนทหารต้องเข้ายึดอำนาจอีกครั้ง
ไม่มีใครหรอกจะชอบรัฐบาลเผด็จการ แต่ก็มองไม่เห็นทางออกของบ้านเมือง เพราะขณะนั้นการเมืองเดินหน้าต่อไปไม่ได้แล้ว แต่ก็หวังว่า การเข้ามาของทหารจะเป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านไม่ซ้ำรอยกับเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม2535
ถ้าเราเชื่อมั่นในความยุติธรรม ความมีเสรีภาพเฉกเช่นอุดมการณ์ของคนเดือนตุลาแล้ว เราควรจะต่อสู้กับการปกครองที่ผิด มากกว่าจะอ้างความชอบธรรมของที่มา คือความถูกผิดต้องมาก่อน แต่ตลกก็คือ คนที่สนับสนุนทักษิณกลับเรียกตัวเองว่า ฝ่ายประชาธิปไตย แล้วกล่าวหาคนที่ต่อต้านทักษิณว่า เป็นฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตย ซึ่งเท่ากับตีความว่า ทักษิณคือประชาธิปไตย เพราะไม่ได้สนใจการใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรมของทักษิณอ้างอย่างเดียวว่า ทักษิณมาจากการเลือกตั้ง
ตุลาคม 2516 ต่อสู้กับเผด็จการที่ยึดครองอำนาจรัฐ แต่ปัจจุบันรับใช้เผด็จการทุนนิยมสามานย์
ก่อนที่การชุมนุมของคนเสื้อแดงจะจบลงด้วยการเสียชีวิตจำนวนมากและการเผาบ้านเผาเมือง วิสา คัญทัพ หนึ่งในคนเดือนตุลา ที่เป็นแกนนำเสื้อแดงเล่าว่า เขากับอดิศร เพียงเกษ วีระ มุสิกพงศ์ เห็นด้วยกับข้อเสนอยุบสภาของรัฐบาลที่เป็นธงในการต่อสู้จึงถอนตัวออกจากการชุมนุม แต่แกนนำบางคนเห็นว่า หากชุมนุมยืดเยื้อไปอีก จะได้ชัยชนะที่มากกว่าการยุบสภา จนกระทั่งรัฐบาลต้องใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุม เพราะทราบว่า มีกองกำลังติดอาวุธพร้อมสนับสนุนคนเสื้อแดงหลังเกิดเหตุการณ์ในวันที่ 10 เมษายน 2553
อะไรคือ ชัยชนะที่เหนือกว่าการยุบสภาที่เป็นปริศนาของแกนนำเสื้อแดง แต่วันนี้ที่ปิดไม่มิดก็คือขบวนการล้มเจ้าและอุดมการณ์สาธารณรัฐที่แฝงอยู่ในมวลชนเสื้อแดงนั่นเอง และคนเดือนตุลาบางคนที่สนับสนุนทักษิณยึดมั่นในแนวทางนี้
ขณะที่นิสิตนักศึกษาในขณะนั้นบางคนถูกเข้าแทรกซึมปลูกฝังอุดมการณ์เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) หลายคนจึงหลบหนีการปราบปรามเข้าป่าจับปืนเพื่อร่วมโค่นอำนาจรัฐกับพรรคคอมมิวนิสต์ฯ
ในอดีตถ้า พคท.ชนะก็คือ การใช้ปืนยึดอำนาจเป็นรัฐฏาธิปัตย์ วันนี้ประเทศไทยจะเป็นอย่างไร
หลังสงครามเย็นรัฐบาลออกนโยบาย 66/2523 เพื่อนิรโทษกรรมให้กับนักศึกษาและประชาชนที่เข้าร่วมต่อสู้กับ พคท.ประจวบกับความขัดแย้งภายในของ พคท.ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมกับ พคท.กลับจากป่าสู่เมือง บางคนกลับมาเรียนต่อจนกลายเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย บางคนเข้าร่วมกับพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย บางคนประกอบอาชีพอิสระ แต่ก็ยังมีสายสัมพันธ์ที่โยงใยกันในฐานะทางสังคมว่า “คนเดือนตุลา” และบางคนยังมีเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงระบอบซ่อนเร้นไว้ในใจ
จากนั้นก็ผ่านมาถึงเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 หลังจากทหารที่เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลชาติชาย แต่เมื่อครบสัญญาคืนประเทศกลับสู่การเลือกตั้งแล้ว พรรคการเมือง 5 พรรค ซึ่งรวบรวมได้เสียงข้างมากกลับสนับสนุนพล.อ.สุจินดา คราประยูร ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ประชาชนจึงออกมาคัดค้านการสืบทอดอำนาจ โดยคนเดือนตุลามีบทบาทสำคัญไม่น้อยในฐานะที่มีประสบการณ์ในการต่อสู้ภาคประชาชน
พฤษภาคม 2535 จึงเป็นบทเรียนหน้าหนึ่งของรัฐบาลทหารที่พยายามสืบทอดอำนาจ
หลังจากนั้นการเมืองไทยก็ผ่านวันเวลามาจนถึงการเข้าสู่การเมืองของทักษิณ ชินวัตร นายทุนผู้ร่ำรวยมาจากสัมปทานผูกขาดธุรกิจโทรคมนาคม คนเดือนตุลาส่วนใหญ่สนับสนุนทักษิณเพราะเห็นว่าเป็นคนที่มีวิสัยกว้างไกลเมื่อเทียบกับนักการเมืองรุ่นเก่า แม้แต่สนธิ ลิ้มทองกุล ในช่วงแรกก็สนับสนุนทักษิณ
แต่ต่อมาเมื่อทักษิณอยู่ในอำนาจกลับเพิ่มให้เห็นถึงความเป็นเผด็จการรัฐสภามากขึ้นด้วยการกวาดซื้อ ส.ส.ซื้อพรรคการเมือง ซื้อ ส.ว.และซื้อองค์กรอิสระต่างๆ รวมทั้งการคอร์รัปชันเชิงนโยบายที่เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของวงศ์ตระกูล สะท้อนภาพของทุนนิยมสามานย์ออกมาอย่างชัดเจน คนที่มองเห็นความไม่ชอบมาพากลหลายคนจึงเริ่มถอยห่างจากทักษิณ
ขณะที่คนเดือนตุลามีทั้งคนที่ยังคงทำงานกับทักษิณต่อไป และหลายคนเริ่มถอยห่างออกมา คนที่ยังอยู่ต่อล้วนแล้วแต่ได้รับการตอบแทนจากทักษิณอย่างเป็นกอบเป็นกำ หลายคนจึงมีฐานะความเป็นอยู่ที่ร่ำรวยขึ้น คนเดือนตุลาหลายคนเข้ามามีบทบาทในรัฐบาลทักษิณ เข้าไปบริหารองค์กรของรัฐ และเป็นบอร์ดในรัฐวิสาหกิจ
จนกระทั่งเกิด “ปรากฏการณ์สนธิ” คนเดือนตุลาหลายคนที่หนีห่างจากทักษิณ และองค์กรภาคประชาชน รวมทั้งสมาชิกรัฐวิสาหกิจจึงเข้าร่วมต่อสู้กับสนธิ ลิ้มทองกุล จึงเกิดเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยขึ้นมา จนมีประชาชนเข้าร่วมชุมนุมขับไล่รัฐบาลทักษิณอย่างเนืองแน่น จนกระทั่งประกาศจะนัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 20 กันยายน 2549 ขณะเดียวกันรัฐบาลทักษิณก็ประกาศระดมมวลชนเพื่อมาปะทะกับมวลชนของพันธมิตรฯ
แต่แล้วก่อนจะถึงวันนัดหมายพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ได้ประกาศยึดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณ ในวันที่ 19 กันยายน โดยหลังทหารยึดอำนาจได้มีประชาชนมามอบดอกกุหลาบให้กำลังใจทหารจำนวนมาก
กล่าวอย่างรวบรัดรัฐบาลทหารยึดอำนาจอยู่เพียงปีเศษๆ ก็คืนอำนาจกลับมาสู่การเลือกตั้ง แม้ทักษิณจะหลบหนีความผิดจากคำพิพากษาของศาลอยู่นอกประเทศพรรคของทักษิณก็ยังชนะการเลือกตั้งอีก ไม่ว่าจะใช้นอมินีอย่างนายสมัคร สุนทรเวชหรือนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เพราะประชาชนชนชั้นล่างซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ชื่นชอบนโยบายประชานิยมที่ทักษิณหยิบยื่นให้
เมื่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคเพราะทุจริตการเลือกตั้ง เหตุการณ์ทางการเมืองเกิดการพลิกผันเมื่อเนวิน ชิดชอบ นำสมาชิกในสังกัดเปลี่ยนข้างมาสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีการกล่าวกันว่ามีการกดดันมาจากฝ่ายทหาร
แต่ไม่ว่าทักษิณจะสะท้อนภาพของเผด็จการทุนนิยมสามานย์ออกมาอย่างไร คนเดือนตุลาหลายคนก็ยังคนรับใช้ทักษิณและตระกูลของทักษิณมาจนถึงยุคที่ทักษิณเชิดน้องสาวมาครองเมืองทั้งๆ ที่ไม่มีสติปัญญา ยิ่งกว่าการสืบทอดอำนาจของเผด็จการ กระทั่งถูกมวลชนในนามของ กปปส.ออกมาขับไล่เพราะใช้อำนาจที่ฉ้อฉลและมีความพยายามจะนิรโทษกรรมให้ทักษิณ มีการใช้กองกำลังติดอาวุธเข้ามาทำร้ายประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาล จนทหารต้องเข้ายึดอำนาจอีกครั้ง
ไม่มีใครหรอกจะชอบรัฐบาลเผด็จการ แต่ก็มองไม่เห็นทางออกของบ้านเมือง เพราะขณะนั้นการเมืองเดินหน้าต่อไปไม่ได้แล้ว แต่ก็หวังว่า การเข้ามาของทหารจะเป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านไม่ซ้ำรอยกับเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม2535
ถ้าเราเชื่อมั่นในความยุติธรรม ความมีเสรีภาพเฉกเช่นอุดมการณ์ของคนเดือนตุลาแล้ว เราควรจะต่อสู้กับการปกครองที่ผิด มากกว่าจะอ้างความชอบธรรมของที่มา คือความถูกผิดต้องมาก่อน แต่ตลกก็คือ คนที่สนับสนุนทักษิณกลับเรียกตัวเองว่า ฝ่ายประชาธิปไตย แล้วกล่าวหาคนที่ต่อต้านทักษิณว่า เป็นฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตย ซึ่งเท่ากับตีความว่า ทักษิณคือประชาธิปไตย เพราะไม่ได้สนใจการใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรมของทักษิณอ้างอย่างเดียวว่า ทักษิณมาจากการเลือกตั้ง
ตุลาคม 2516 ต่อสู้กับเผด็จการที่ยึดครองอำนาจรัฐ แต่ปัจจุบันรับใช้เผด็จการทุนนิยมสามานย์
ก่อนที่การชุมนุมของคนเสื้อแดงจะจบลงด้วยการเสียชีวิตจำนวนมากและการเผาบ้านเผาเมือง วิสา คัญทัพ หนึ่งในคนเดือนตุลา ที่เป็นแกนนำเสื้อแดงเล่าว่า เขากับอดิศร เพียงเกษ วีระ มุสิกพงศ์ เห็นด้วยกับข้อเสนอยุบสภาของรัฐบาลที่เป็นธงในการต่อสู้จึงถอนตัวออกจากการชุมนุม แต่แกนนำบางคนเห็นว่า หากชุมนุมยืดเยื้อไปอีก จะได้ชัยชนะที่มากกว่าการยุบสภา จนกระทั่งรัฐบาลต้องใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุม เพราะทราบว่า มีกองกำลังติดอาวุธพร้อมสนับสนุนคนเสื้อแดงหลังเกิดเหตุการณ์ในวันที่ 10 เมษายน 2553
อะไรคือ ชัยชนะที่เหนือกว่าการยุบสภาที่เป็นปริศนาของแกนนำเสื้อแดง แต่วันนี้ที่ปิดไม่มิดก็คือขบวนการล้มเจ้าและอุดมการณ์สาธารณรัฐที่แฝงอยู่ในมวลชนเสื้อแดงนั่นเอง และคนเดือนตุลาบางคนที่สนับสนุนทักษิณยึดมั่นในแนวทางนี้