ณ วันนี้คงเป็นที่รับรู้ทั่วกันแล้วว่า กรีซตกอยู่ในภาวะล้มละลายเนื่องจากไม่มีเงินจ่ายให้เจ้าหนี้ ภาวะล้มละลายทำให้ชาวกรีกเดือดร้อนกันถ้วนหน้า เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ชาวกรีกไปเข้าแถวยาวเหยียดเพื่อรอถอนเงินจากธนาคาร แต่ก็ถอนไม่ได้ทุกคน ธนาคารไม่มีเงินคืนให้แก่ผู้ฝากเนื่องจากเงินสกุลยูโรที่มีอยู่ในมือถูกถอนไปหมด และธนาคารกลางของสหภาพยุโรปไม่ยอมโอนเงินเพิ่มให้ ทั้งนี้เพราะรัฐบาลของกรีซไม่ทำตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ตั้งแต่ในสมัยรัฐบาลก่อน
ในวันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคมนี้ รัฐบาลเปิดโอกาสให้ชาวกรีกไปออกเสียงว่าจะสนับสนุนจุดยืนของรัฐบาลในการต่อรองกับเจ้าหนี้หรือไม่ การออกเสียงลงประชามติเป็นไปตามหลักประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในกรีซโบราณมานานหลายพันปีแล้ว อาจเป็นที่ทราบกันดีว่า กรีซโบราณเป็นต้นตำรับของระบอบประชาธิปไตย แต่ก็ใช้ระบอบนั้นอยู่ไม่ถึง 100 ปีก่อนที่จะเลิกใช้และได้ล่มสลายกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน หลังจากนั้น กรีซถูกยึดครองโดยมหาอำนาจต่างๆ อย่างต่อเนื่องจนถึงยุคของอาณาจักรออตโตมาน กรีซกลับมาเป็นเอกราชอีกครั้งเมื่อปี 2466
หลังจากเป็นเอกราชใหม่ๆ กรีซยังไม่กลับไปใช้ระบอบประชาธิปไตยแบบเดิม ทหารเข้ามาจุ้นจ้านในการบริหารประเทศและทำรัฐประหารบ่อยครั้งจนกระทั่งปี 2510 ในปีนั้น ทหารยึดอำนาจอีกครั้งและปกครองแบบเผด็จการมาจนถึงปี 2517 จึงยอมคืนอำนาจให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย การนำระบอบประชาธิปไตยกลับมาใช้มีผลทำให้กรีซเป็นที่ยอมรับของสหภาพยุโรปที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตซึ่งในเวลาต่อมารับกรีซเข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี 2424 กรีซยอมรับเงื่อนไขของสหภาพยุโรปและเปลี่ยนมาใช้เงินสกุลยูโรแทนเงินดรักม่าของตนเมื่อปี 2545
การเข้าเป็นสมาชิกและรับเงื่อนไขของสหภาพยุโรปส่งผลให้กรีซได้รับความช่วยเหลือเพื่อปรับโครงสร้างและนโยบายเศรษฐกิจของตนให้สอดคล้องกับของประเทศสมาชิกอื่น หนึ่งในเงื่อนไขสำคัญได้แก่การป้องกันมิให้งบประมาณขาดดุลเกิน 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือจีดีพี การละเมิดเงื่อนไขข้อนี้เป็นต้นตอของปัญหาที่นำมาซึ่งความล้มละลายให้แก่กรีซ
กระบวนการละเมิดเงื่อนไขได้แก่การใช้จ่ายเกินตัวของรัฐบาลผ่านมาตรการประชานิยมแบบเลวร้ายต่างๆ รวมทั้งการจ้างพนักงานเกินความจำเป็นพร้อมกับมอบสวัสดิการให้ล้นเหลือเพื่อซื้อความนิยมให้แก่นักการเมือง เมื่องบประมาณขาดดุลเกิน 3% ของจีดีพี รัฐบาลก็ตกแต่งบัญชีเพื่อปิดบังความจริง ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็กู้เงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อนำมาปิดงบประมาณ กระบวนการนั้นอยู่มาได้ชั่วระยะหนึ่งกรรมจึงตามทันเมื่อกรีซไม่มีเงินพอจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ กรีซไปขอความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปและจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กรีซได้รับเงินก้อนใหญ่ แต่ก็ต้องทำตามเงื่อนไขของสัญญากู้ยืมโดยกรีซจะได้รับเงินเป็นงวดๆ
เงื่อนไขสำคัญเป็นการลดทอนสวัสดิการและพนักงานของรัฐพร้อมกับการขึ้นภาษีมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวกรีซทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ผลกระทบนั้นมีผลทำให้รัฐบาลชุดก่อนแพ้การเลือกตั้งเมื่อเดือนมกราคม 2558 รัฐบาลใหม่ชนะการเลือกตั้งเพราะได้ให้คำมั่นสัญญากับประชาชนว่าจะขอเปลี่ยนเงื่อนไขในการกู้ยืมเงินจากสหภาพยุโรปและไอเอ็มเอฟเพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยลง แต่การขอเปลี่ยนเงื่อนไขไม่ประสบผลสำเร็จ กรีซจึงไม่ได้เงินงวดต่อไปส่งผลให้ต้องเดินเข้าสู่ภาวะล้มละลายเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ในการลงประชามติ รัฐบาลจะถามชาวกรีกว่าจะยอมรับเงื่อนไขของไอเอ็มเอฟและสหภาพยุโรปหรือไม่ ถ้ายอมรับหมายความว่าชาวกรีกจะต้องรัดเข็มขัดมากขึ้นเพราะรัฐบาลจะต้องลดทอนงบประมาณพร้อมๆ กับการขึ้นภาษีอีก ถ้าไม่ยอมรับอาจหมายถึงกรีซจะถูกขับไล่ออกจากสหภาพยุโรปและกลับมาใช้เงินสกุลดรักม่าของตนเองอีกครั้ง การออกจากสหภาพยุโรปอาจสร้างปัญหามากกว่าการยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวก็ได้ แต่ ณ วันนี้ยังไม่มีใครคาดเดาได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
เหตุการณ์ในกรีซชี้ให้เห็นว่า ระบอบประชาธิปไตยอาจสร้างปัญหาถ้านำมาใช้ด้วยความมักง่ายและฉ้อฉล ความมักง่ายนำไปสู่การใช้นโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายส่งผลให้เกิดภาวะหนี้สินล้นพ้นจนล้มละลาย
กรีซเป็นประเทศที่อาจเรียกได้ว่าก้าวหน้าจึงได้เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป กรีซทั้งก้าวหน้าและเป็นต้นตำรับของระบอบประชาธิปไตยจึงน่าจะรู้ว่าอะไรจะทำให้ประชาธิปไตยล้มเหลว อาร์เจนตินาเป็นบทเรียนสดๆ ที่น่าจะประจักษ์แก่สายตาของชาวกรีกว่า ประชานิยมแบบเลวร้ายจะทำให้ประชาธิปไตยล่มจมแนนอน
เรื่องอาร์เจนตินาพูดกันมามากแล้ว จึงจะไม่นำมาพูดซ้ำอีกนอกจากจะชี้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับแรกของอาร์เจนตินาลอกแบบของสหรัฐอมริกามาทั้งดุ้น ยกเว้นใน 2 กรณีเท่านั้น นั่นคือ ห้ามมีทาสและกำหนดให้นิกายโรมันคาทอลิกเป็นศาสนาประจำชาติของตน ก่อนที่จะเกิดปัญหา อาร์เจนตินาก้าวหน้าเป็นสองรองจากสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
ในสหรัฐอเมริกา คนบางกลุ่มพยายามนำนโยบายประชานิยมเข้าไปใช้ แต่จุดไฟไม่ติดแม้จะตั้งพรรคประชานิยมขึ้นมาโดยตรงก็ตาม ส่วนในอาร์เจนตินา การเสนอใช้นโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายโดยไม่มีการตั้งพรรคการเมืองตามชื่อนั้นสามารถจุดไฟติดได้เนื่องจากประชาชนมักง่ายมากกว่า ประชานิยมแบบเลวร้ายส่งผลให้อาร์เจนตินาล้มละลายและยังล้มลุกคลุกมาจนถึงปัจจุบันนี้ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้ว
เมื่อหันมามองเมืองไทย คงไม่แปลกใจที่ระบอบประชาธิปไตยล้มลุกคลุกคลานมาตั้งแต่ปี 2475 ถ้ายอมรับว่าคนไทยมักง่าย แต่ไทยยังไม่ถึงกับล้มละลายในแนวเดียวกับเขาเนื่องจากเพิ่งนำประชานิยมแบบเลวร้ายเข้ามาใช้เมื่อปี 2544 นี่เอง ประชานิยมแบบเลวร้ายสร้างความเสียหายมหาศาล โครงการรับจำนำข้าวยังสร้างความเสียหายอยู่ในขณะนี้ ทั้งที่รัฐบาลปัจจุบันระงับการดำเนินงานไปแล้ว อย่างไรก็ดี ยังมีบางโครงการที่ยังมิได้ถูกระงับอีก โครงการจำพวกนี้จะต้องได้รับการปรับเปลี่ยนเพื่อลดความเสียหายลดลง หรือไม่ก็ยกเลิกไปเลย
ในขณะนี้ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการร่างรัฐธรรมนูญกำลังร่างฉบับใหม่เพื่อจะให้เมืองไทยเป็นประชาธิปไตยเสียที หลังพยายามากว่า 83 ปีแล้ว จะร่างรัฐธรรมนูญให้งามหรูเพียงใดน่าจะทำได้ไม่ยากนัก แต่ขอทำนายว่า ประชาธิปไตยในเมืองไทยจะยังล้มลุกคลุกคลานต่อไปเพราะคนไทยมักง่ายไม่น้อยกว่าชาวอาร์เจนตินาและชาวกรีก ส่วนจะล้มละลายแบบเขาหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าจะนำประชานิยมแบบเลวร้ายกลับมาใช้อีกหรือไม่และจะใช้มากน้อยเพียงใด
ในวันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคมนี้ รัฐบาลเปิดโอกาสให้ชาวกรีกไปออกเสียงว่าจะสนับสนุนจุดยืนของรัฐบาลในการต่อรองกับเจ้าหนี้หรือไม่ การออกเสียงลงประชามติเป็นไปตามหลักประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในกรีซโบราณมานานหลายพันปีแล้ว อาจเป็นที่ทราบกันดีว่า กรีซโบราณเป็นต้นตำรับของระบอบประชาธิปไตย แต่ก็ใช้ระบอบนั้นอยู่ไม่ถึง 100 ปีก่อนที่จะเลิกใช้และได้ล่มสลายกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน หลังจากนั้น กรีซถูกยึดครองโดยมหาอำนาจต่างๆ อย่างต่อเนื่องจนถึงยุคของอาณาจักรออตโตมาน กรีซกลับมาเป็นเอกราชอีกครั้งเมื่อปี 2466
หลังจากเป็นเอกราชใหม่ๆ กรีซยังไม่กลับไปใช้ระบอบประชาธิปไตยแบบเดิม ทหารเข้ามาจุ้นจ้านในการบริหารประเทศและทำรัฐประหารบ่อยครั้งจนกระทั่งปี 2510 ในปีนั้น ทหารยึดอำนาจอีกครั้งและปกครองแบบเผด็จการมาจนถึงปี 2517 จึงยอมคืนอำนาจให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย การนำระบอบประชาธิปไตยกลับมาใช้มีผลทำให้กรีซเป็นที่ยอมรับของสหภาพยุโรปที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตซึ่งในเวลาต่อมารับกรีซเข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี 2424 กรีซยอมรับเงื่อนไขของสหภาพยุโรปและเปลี่ยนมาใช้เงินสกุลยูโรแทนเงินดรักม่าของตนเมื่อปี 2545
การเข้าเป็นสมาชิกและรับเงื่อนไขของสหภาพยุโรปส่งผลให้กรีซได้รับความช่วยเหลือเพื่อปรับโครงสร้างและนโยบายเศรษฐกิจของตนให้สอดคล้องกับของประเทศสมาชิกอื่น หนึ่งในเงื่อนไขสำคัญได้แก่การป้องกันมิให้งบประมาณขาดดุลเกิน 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือจีดีพี การละเมิดเงื่อนไขข้อนี้เป็นต้นตอของปัญหาที่นำมาซึ่งความล้มละลายให้แก่กรีซ
กระบวนการละเมิดเงื่อนไขได้แก่การใช้จ่ายเกินตัวของรัฐบาลผ่านมาตรการประชานิยมแบบเลวร้ายต่างๆ รวมทั้งการจ้างพนักงานเกินความจำเป็นพร้อมกับมอบสวัสดิการให้ล้นเหลือเพื่อซื้อความนิยมให้แก่นักการเมือง เมื่องบประมาณขาดดุลเกิน 3% ของจีดีพี รัฐบาลก็ตกแต่งบัญชีเพื่อปิดบังความจริง ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็กู้เงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อนำมาปิดงบประมาณ กระบวนการนั้นอยู่มาได้ชั่วระยะหนึ่งกรรมจึงตามทันเมื่อกรีซไม่มีเงินพอจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ กรีซไปขอความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปและจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กรีซได้รับเงินก้อนใหญ่ แต่ก็ต้องทำตามเงื่อนไขของสัญญากู้ยืมโดยกรีซจะได้รับเงินเป็นงวดๆ
เงื่อนไขสำคัญเป็นการลดทอนสวัสดิการและพนักงานของรัฐพร้อมกับการขึ้นภาษีมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวกรีซทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ผลกระทบนั้นมีผลทำให้รัฐบาลชุดก่อนแพ้การเลือกตั้งเมื่อเดือนมกราคม 2558 รัฐบาลใหม่ชนะการเลือกตั้งเพราะได้ให้คำมั่นสัญญากับประชาชนว่าจะขอเปลี่ยนเงื่อนไขในการกู้ยืมเงินจากสหภาพยุโรปและไอเอ็มเอฟเพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยลง แต่การขอเปลี่ยนเงื่อนไขไม่ประสบผลสำเร็จ กรีซจึงไม่ได้เงินงวดต่อไปส่งผลให้ต้องเดินเข้าสู่ภาวะล้มละลายเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ในการลงประชามติ รัฐบาลจะถามชาวกรีกว่าจะยอมรับเงื่อนไขของไอเอ็มเอฟและสหภาพยุโรปหรือไม่ ถ้ายอมรับหมายความว่าชาวกรีกจะต้องรัดเข็มขัดมากขึ้นเพราะรัฐบาลจะต้องลดทอนงบประมาณพร้อมๆ กับการขึ้นภาษีอีก ถ้าไม่ยอมรับอาจหมายถึงกรีซจะถูกขับไล่ออกจากสหภาพยุโรปและกลับมาใช้เงินสกุลดรักม่าของตนเองอีกครั้ง การออกจากสหภาพยุโรปอาจสร้างปัญหามากกว่าการยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวก็ได้ แต่ ณ วันนี้ยังไม่มีใครคาดเดาได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
เหตุการณ์ในกรีซชี้ให้เห็นว่า ระบอบประชาธิปไตยอาจสร้างปัญหาถ้านำมาใช้ด้วยความมักง่ายและฉ้อฉล ความมักง่ายนำไปสู่การใช้นโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายส่งผลให้เกิดภาวะหนี้สินล้นพ้นจนล้มละลาย
กรีซเป็นประเทศที่อาจเรียกได้ว่าก้าวหน้าจึงได้เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป กรีซทั้งก้าวหน้าและเป็นต้นตำรับของระบอบประชาธิปไตยจึงน่าจะรู้ว่าอะไรจะทำให้ประชาธิปไตยล้มเหลว อาร์เจนตินาเป็นบทเรียนสดๆ ที่น่าจะประจักษ์แก่สายตาของชาวกรีกว่า ประชานิยมแบบเลวร้ายจะทำให้ประชาธิปไตยล่มจมแนนอน
เรื่องอาร์เจนตินาพูดกันมามากแล้ว จึงจะไม่นำมาพูดซ้ำอีกนอกจากจะชี้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับแรกของอาร์เจนตินาลอกแบบของสหรัฐอมริกามาทั้งดุ้น ยกเว้นใน 2 กรณีเท่านั้น นั่นคือ ห้ามมีทาสและกำหนดให้นิกายโรมันคาทอลิกเป็นศาสนาประจำชาติของตน ก่อนที่จะเกิดปัญหา อาร์เจนตินาก้าวหน้าเป็นสองรองจากสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
ในสหรัฐอเมริกา คนบางกลุ่มพยายามนำนโยบายประชานิยมเข้าไปใช้ แต่จุดไฟไม่ติดแม้จะตั้งพรรคประชานิยมขึ้นมาโดยตรงก็ตาม ส่วนในอาร์เจนตินา การเสนอใช้นโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายโดยไม่มีการตั้งพรรคการเมืองตามชื่อนั้นสามารถจุดไฟติดได้เนื่องจากประชาชนมักง่ายมากกว่า ประชานิยมแบบเลวร้ายส่งผลให้อาร์เจนตินาล้มละลายและยังล้มลุกคลุกมาจนถึงปัจจุบันนี้ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้ว
เมื่อหันมามองเมืองไทย คงไม่แปลกใจที่ระบอบประชาธิปไตยล้มลุกคลุกคลานมาตั้งแต่ปี 2475 ถ้ายอมรับว่าคนไทยมักง่าย แต่ไทยยังไม่ถึงกับล้มละลายในแนวเดียวกับเขาเนื่องจากเพิ่งนำประชานิยมแบบเลวร้ายเข้ามาใช้เมื่อปี 2544 นี่เอง ประชานิยมแบบเลวร้ายสร้างความเสียหายมหาศาล โครงการรับจำนำข้าวยังสร้างความเสียหายอยู่ในขณะนี้ ทั้งที่รัฐบาลปัจจุบันระงับการดำเนินงานไปแล้ว อย่างไรก็ดี ยังมีบางโครงการที่ยังมิได้ถูกระงับอีก โครงการจำพวกนี้จะต้องได้รับการปรับเปลี่ยนเพื่อลดความเสียหายลดลง หรือไม่ก็ยกเลิกไปเลย
ในขณะนี้ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการร่างรัฐธรรมนูญกำลังร่างฉบับใหม่เพื่อจะให้เมืองไทยเป็นประชาธิปไตยเสียที หลังพยายามากว่า 83 ปีแล้ว จะร่างรัฐธรรมนูญให้งามหรูเพียงใดน่าจะทำได้ไม่ยากนัก แต่ขอทำนายว่า ประชาธิปไตยในเมืองไทยจะยังล้มลุกคลุกคลานต่อไปเพราะคนไทยมักง่ายไม่น้อยกว่าชาวอาร์เจนตินาและชาวกรีก ส่วนจะล้มละลายแบบเขาหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าจะนำประชานิยมแบบเลวร้ายกลับมาใช้อีกหรือไม่และจะใช้มากน้อยเพียงใด