ASTVผู้จัดการรายวัน – “พีทีที โกลบอลฯ”จับมือเปอร์ตามิน่า หาทำเลที่ตั้งโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ใหม่จากเดิมที่เมืองบาลองกัน ทางตอนกลางของเกาะชวา คาดชัดเจนปลายปีนี้ ส่งผลให้โครงการดังกล่าวล่าช้าออกไป เผยเร่งหาพาร์ทเนอร์ใหม่เพิ่มในโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่สหรัฐฯ ลดความเสี่ยงการลงทุน
แหล่งข่าวระดับสูง บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)(PTTGC) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทฯร่วมกับเปอร์ตามิน่า ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของอินโดนีเซีย อยู่ระหว่างการศึกษาคัดเลือกทำเลที่ตั้งโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ใหม่อีกครั้งจากเดิมที่เคยมีแผนจะสร้างโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่เมืองบาลองกัน (Balongan)ตอนกลางของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย คาดว่าจะมีความชัดเจนในปลายปีนี้ ส่งผลให้การลงทุนโครงการดังกล่าวต้องล่าช้าออกไปจากเดิมที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2563
โดยทำเลที่ตั้งโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ใหม่ จำเป็นต้องมีโรงกลั่นน้ำมันเพื่อนำวัตถุดิบ คือแนฟทาที่ได้จากโรงกลั่นมาเป็นวัตถุดิบต่อยอดไปสู่ปิโตรเคมี ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำแข่งขันได้ เพราะหากจะนำเข้าแนฟทาจากต่างประเทศมาผลิตปิโตรเคมีจะไม่มีความคุ้มค่าการลงทุนได้ซึ่งขณะนี้ทางบริษัทกับเปอร์ตามิน่าฯได้ร่วมกันพิจารณาในหลายทำเลเพื่อรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน
สำหรับมูลค่าการลงทุนในโครงการดังกล่าวนี้อาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างขึ้นอยู่กับขนาดของโรงกลั่นน้ำมัน ที่จะมีผลต่อขนาดโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ใหม่ ซึ่งเดิมคาดว่าจะใช้เงินลงทุน 4-5 พันล้านเหรียญสหรัฐในโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่บาลองกัน ประกอบด้วย โอเลฟินส์แครกเกอร์ขนาด 1.5 ล้านตัน/ปีและต่อยอดไปผลิตเม็ดพลาสติกชนิดต่างๆ โดยซาอุดิ อารัมโกได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมันขนาด 1.25 แสนบาร์เรล/วัน
ทั้งนี้ โครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่อินโดนีเซีย ทางเปอร์ตามิน่าถือหุ้น 51% และพีทีที โกลบอล เคมิคอล 49% โดยเบื้องต้นได้ร่วมกันทำตลาดเม็ดพลาสติกในประเทศอินโดนีเซีย รองรับโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นตลาดใหญ่
กำลังการผลิตเม็ดพลาสติกไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ทำให้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศจำนวนมาก
แหล่งข่าว กล่าวถึงความคืบหน้าการลงทุนโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ซึ่งจะใช้วัตถุดิบคือก๊าซอีเทนจากโครงการShale Gas ว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนการออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อสรุปความเป็นไปได้โครงการและเงินลงทุนรวม คาดว่าจะแล้วเสร็จในกลางปี 2559ขณะเดียวกันก็เจรจาผู้ขายวัตถุดิบหลายรายที่จะมาป้อนโครงการไปพร้อมๆกันด้วย
โดยโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่สหรัฐฯ จะประกอบด้วยโครงการอีเทน แครกเกอร์ 1 ล้านตัน/ปี และโครงการผลิตเม็ดพลาสติกHDPE 7 แสนตัน/ปี ,โครงการ MEG 5แสนตัน/ปี และโครงการ EO 1 แสนตัน ใช้เงินลงทุนประมาณ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2563 โดยเม็ดพลาสติกที่ผลิตได้จะขายในตลาดสหรัฐฯ
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่สหรัฐฯว่า จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่เติบโตในอัตราชะลอตัว ทำให้บริษัทฯต้องการหาพันธมิตรร่วมทุนเพิ่มมากขึ้น จากปัจจุบันมีมารูเบนี ซึ่งเป็นบริษัทเทรดดิ้งของญี่ปุ่นเข้ามาถือหุ้น โดยพีทีที โกลบอลฯต้องการถือหุ้นใหญ่เกิน 50%อยู่ขณะเดียวกันก็เดินหน้าโครงการอยู่
ส่วนในประเทศเองก็มีแผนจะนำแนฟทาที่ได้จากโรงกลั่นจากเดิมส่งออกมาเป็นวัตถุดิบเพื่อต่อยอดปิโตรเคมี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาว่าจะลงทุนโครงการใดบ้าง แต่จะเน้นการผลิตเม็ดพลาสติกเกรดพิเศษที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ซึ่งจะมีผลทำให้งบการลงทุนใน 5ปีข้างหน้าของบริษัทฯเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดิมที่เคยตั้งไว้ 4.5พันล้านเหรียญสหรัฐ
แหล่งข่าวระดับสูง บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)(PTTGC) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทฯร่วมกับเปอร์ตามิน่า ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของอินโดนีเซีย อยู่ระหว่างการศึกษาคัดเลือกทำเลที่ตั้งโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ใหม่อีกครั้งจากเดิมที่เคยมีแผนจะสร้างโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่เมืองบาลองกัน (Balongan)ตอนกลางของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย คาดว่าจะมีความชัดเจนในปลายปีนี้ ส่งผลให้การลงทุนโครงการดังกล่าวต้องล่าช้าออกไปจากเดิมที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2563
โดยทำเลที่ตั้งโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ใหม่ จำเป็นต้องมีโรงกลั่นน้ำมันเพื่อนำวัตถุดิบ คือแนฟทาที่ได้จากโรงกลั่นมาเป็นวัตถุดิบต่อยอดไปสู่ปิโตรเคมี ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำแข่งขันได้ เพราะหากจะนำเข้าแนฟทาจากต่างประเทศมาผลิตปิโตรเคมีจะไม่มีความคุ้มค่าการลงทุนได้ซึ่งขณะนี้ทางบริษัทกับเปอร์ตามิน่าฯได้ร่วมกันพิจารณาในหลายทำเลเพื่อรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน
สำหรับมูลค่าการลงทุนในโครงการดังกล่าวนี้อาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างขึ้นอยู่กับขนาดของโรงกลั่นน้ำมัน ที่จะมีผลต่อขนาดโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ใหม่ ซึ่งเดิมคาดว่าจะใช้เงินลงทุน 4-5 พันล้านเหรียญสหรัฐในโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่บาลองกัน ประกอบด้วย โอเลฟินส์แครกเกอร์ขนาด 1.5 ล้านตัน/ปีและต่อยอดไปผลิตเม็ดพลาสติกชนิดต่างๆ โดยซาอุดิ อารัมโกได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมันขนาด 1.25 แสนบาร์เรล/วัน
ทั้งนี้ โครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่อินโดนีเซีย ทางเปอร์ตามิน่าถือหุ้น 51% และพีทีที โกลบอล เคมิคอล 49% โดยเบื้องต้นได้ร่วมกันทำตลาดเม็ดพลาสติกในประเทศอินโดนีเซีย รองรับโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นตลาดใหญ่
กำลังการผลิตเม็ดพลาสติกไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ทำให้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศจำนวนมาก
แหล่งข่าว กล่าวถึงความคืบหน้าการลงทุนโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ซึ่งจะใช้วัตถุดิบคือก๊าซอีเทนจากโครงการShale Gas ว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนการออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อสรุปความเป็นไปได้โครงการและเงินลงทุนรวม คาดว่าจะแล้วเสร็จในกลางปี 2559ขณะเดียวกันก็เจรจาผู้ขายวัตถุดิบหลายรายที่จะมาป้อนโครงการไปพร้อมๆกันด้วย
โดยโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่สหรัฐฯ จะประกอบด้วยโครงการอีเทน แครกเกอร์ 1 ล้านตัน/ปี และโครงการผลิตเม็ดพลาสติกHDPE 7 แสนตัน/ปี ,โครงการ MEG 5แสนตัน/ปี และโครงการ EO 1 แสนตัน ใช้เงินลงทุนประมาณ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2563 โดยเม็ดพลาสติกที่ผลิตได้จะขายในตลาดสหรัฐฯ
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่สหรัฐฯว่า จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่เติบโตในอัตราชะลอตัว ทำให้บริษัทฯต้องการหาพันธมิตรร่วมทุนเพิ่มมากขึ้น จากปัจจุบันมีมารูเบนี ซึ่งเป็นบริษัทเทรดดิ้งของญี่ปุ่นเข้ามาถือหุ้น โดยพีทีที โกลบอลฯต้องการถือหุ้นใหญ่เกิน 50%อยู่ขณะเดียวกันก็เดินหน้าโครงการอยู่
ส่วนในประเทศเองก็มีแผนจะนำแนฟทาที่ได้จากโรงกลั่นจากเดิมส่งออกมาเป็นวัตถุดิบเพื่อต่อยอดปิโตรเคมี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาว่าจะลงทุนโครงการใดบ้าง แต่จะเน้นการผลิตเม็ดพลาสติกเกรดพิเศษที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ซึ่งจะมีผลทำให้งบการลงทุนใน 5ปีข้างหน้าของบริษัทฯเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดิมที่เคยตั้งไว้ 4.5พันล้านเหรียญสหรัฐ